1 / 16

โรคอหิวาต์สุกร ( Swine Fever/ Hog cholera)

โรคอหิวาต์สุกร ( Swine Fever/ Hog cholera). ระบาดวิทยา เป็นโรคที่มีการระบาดทั่วโลกและเป็นโรคติดต่อที่รุนแรงมากในสุกร โดยเฉพาะหากไม่มีการทำวัคซีน ทำให้อัตราการป่วยและตายสูงมากในสุกรทุกอายุ สาเหตุ

Download Presentation

โรคอหิวาต์สุกร ( Swine Fever/ Hog cholera)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคอหิวาต์สุกร (Swine Fever/ Hog cholera) ระบาดวิทยา • เป็นโรคที่มีการระบาดทั่วโลกและเป็นโรคติดต่อที่รุนแรงมากในสุกร โดยเฉพาะหากไม่มีการทำวัคซีน ทำให้อัตราการป่วยและตายสูงมากในสุกรทุกอายุ สาเหตุ • เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีพอสมควร ทั้งสภาพอากาศร้อนชื้นและแบบอากาศหนาว (สามารถอยู่ในเนื้อแช่แข็งได้เป็นปี) รวมทั้งอยู่ในเนื้อหมักเกลือได้หลายเดือน • ถูกทำลายโดยน้ำยาฆ่าเชื้อประเภทโซดาไฟ หรือ ครีซอล โรคอหิวาต์สุกร

  2. การติดต่อ • ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงกับสิ่งขับถ่าย สิ่งคัดหลั่ง เช่น ขี้ตา น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ปัสสาวะ • สุกรในฝูงเป็นตัวอมโรคที่สำคัญ โดยเฉพาะการซื้อสัตว์ใหม่เข้าฟาร์มโดยไม่มีการกักโรค • พาหะและพาหนะที่เข้าออกฟาร์มสามารถแพร่เชื้อได้เป็นอย่างดีมาก โรคอหิวาต์สุกร

  3. อาการและวิการ 1. แบบเฉียบพลัน • เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในกระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง ตาอักเสบ ท้องเสียและอาจมีอาการทางประสาท • ไวรัสจะเข้าไปทำลายหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง ทำให้เกิดวิการเลือดออกและวิการอุดตายในอวัยวะต่างๆ ทำให้พบจุดเลือดออกที่ผิวหนังและในอวัยวะภายในทั่วไป หรืออาจพบว่าผิวหนังส่วน extremity มีสีม่วงคล้ำ โรคอหิวาต์สุกร

  4. อาการจุดเลือดออกใต้ผิวหนัง ซึ่งแสดงถึงภาวะโลหิตเป็นพิษ แต่ลักษณะจุดเลือดออกนี้ ไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของโรคอหิวาต์สุกร โรคอหิวาต์สุกร

  5. วิการจุดเลือดออกที่อวัยวะภายใน1วิการจุดเลือดออกที่อวัยวะภายใน1 ลักษณะ ภายในผนังลำไส้2 แบบแผลกระดุม 1 ม้ามโต 1 ม้ามผิดปกติ2(splenic infarct) ที่มาภาพ: 1:www.pighealth.com/diseases/petechiae.htm 2. www.vet.uga.edu/vpp/gray_book/FAD

  6. แสดงจุดเลือดออกที่ไต2(pinpoint hemorrhage) ทอนซิลอักเสบอย่างรุนแรง 2 แสดงจุดเลือดออกที่ต่อมน้ำเหลือง โดยเฉพาะบริเวณลำคอ มีลักษณะ strawberry-like 1 ที่มาภาพ: 1:www.pighealth.com/diseases/petechiae.htm 2. www.vet.uga.edu/vpp/gray_book/FAD? โรคอหิวาต์สุกร

  7. โดยเฉพาะเมื่อผ่านรกจะทำอันตรายต่อลูกอ่อน ทำให้เกิดการแท้ง ลูกกรอก และการตายคลอด • อัตราการป่วยและอัตราการตายสูงใกล้ 100% โดยเฉพาะในสัตว์ที่ไม่ได้ทำวัคซีน 2. แบบเรื้อรัง • อาจพบท้องผูก สลับกับท้องเสีย ผิวหนังอักเสบแบบเรื้อรัง แคระแกร็น และไม่สมบูรณ์พันธุ์ แต่อัตราการตายต่ำ โรคอหิวาต์สุกร

  8. การวินิจฉัยโรค • ส่งสัตว์ป่วยเพื่อผ่าซาก หรือส่งตัวอย่างอวัยวะภายในเพื่อทำการวินิจฉัยแยกเพาะเชื้อไวรัส • ต้องวินิจฉัยเปรียบเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ ส่วนแบบเรื้อรัง ไม่มีลักษณะและวิการเฉพาะของโรค การรักษา • ไม่มี โรคอหิวาต์สุกร

  9. การควบคุมและป้องกันโรคการควบคุมและป้องกันโรค • สุกรที่ซื้อเข้าฟาร์มจะต้องมีการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอและมีการกักสัตว์ก่อนเข้าฟาร์ม • เข้มงวดเรื่องการเข้าออกฟาร์ม และการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ • กำจัดสัตว์ที่อาจเป็นพาหะในการนำโรค เช่น นก ค้างคาว โรคอหิวาต์สุกร

  10. การควบคุมและป้องกันโรค (ต่อ) • วางโปรแกรมการทำวัคซีน* (กิจจาและคณะ, 2536) • 1. สุกรทดแทน • SF AD FMD AR/EP PV1 PV2 • ----//------/-----/-------/------/-------/---- ผสม (นน > 110 กก) • เริ่มต้นทำวัคซีนที่อายุ ~ 5-6 m และช่วงห่างระหว่างวัคซีน 2 w โรคอหิวาต์สุกร

  11. การควบคุมและป้องกันโรค (ต่อ) • 2. สุกรพันธุ์ • พ่อพันธุ์ ( SF, AD, FMD & PV)ปีละ 2 ครั้ง • แม่พันธุ์ • AD1 SF AR/EP PV AD2 FMD • ----/------/-------/-------/------//-------/-------/-------/ -4 -3 -2 -1 คลอด 1 2 3 w (อายุ) โรคอหิวาต์สุกร

  12. - 3. ลูกสุกร • แนะนำให้ทำที่อายุประมาณ 5-6 w (ไม่ควรทำช้ากว่านี้เด็ดขาด) แม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับภูมิคุ้มที่ลูกได้รับการถ่ายทอดจากแม่ทางน้ำนมเหลืองจะสิ้นสุดเมื่อใด นอกจากนี้ภาวะโรคและสุขภาพของแม่สุกรจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มของแม่ด้วย โรคอหิวาต์สุกร

  13. การควบคุมและป้องกันโรค (ต่อ) • EP1 EP2 SF1 FMD1 AD1 • ----//------/-------/-------/------//-------/-------/-------/-------/ เกิด 1 2 3 หย่านม 5 6 7 8 w (อายุ) • SF2 FMD2 AD2 • ----//-------------/-------------/--------------/------- • เข้าขุน 9 10 11 w (อายุ) • ฟาร์มที่มีการระบาดของโรค ให้ทำวัคซีนอย่างน้อย 2 ครั้งที่อายุ 3 และ 4 w ร่วมกับการทำวัคซีนในแม่ที่ 3 w ก่อนคลอด และใช้โปรแกรมนี้จนโรคสงบจริงๆ โรคอหิวาต์สุกร

  14. โรคไฟลามทุ่ง (Swine erysipelas) ระบาดวิทยา เป็นโรคที่ระบาดอยู่ทั้งในเขตร้อนและเขตหนาวและทำให้เกิดโรคในคน สาเหตุ • เกิดจากเชื้อแบคทีเรียรูปแท่ง ชนิดกรัมบวก ในสุกรเกิดจาก Erysipelothrix rhusiopathiae • เป็นเชื้อที่มีความทนต่อสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ในดินได้เป็นเดือน เจริญเติบโตได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 4-41 C การติดต่อ1. การซื้อสัตว์ใหม่ที่เป็นตัวอมโรคเข้าฝูง 2. แมลงที่เป็นพาหะนำโรค esp แมลงวันบ้านและแมลงวันคอก โรคไฟลามทุ่ง

  15. อาการ • มีทั้งแบบชนิดเลือดเป็นพิษ ซึ่งทำให้เกิดวิการจำเพาะเป็นหย่อมเลือดออกที่ผิวหนังเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และชนิดเรื้อรังซึ่งทำให้เกิดข้ออักเสบแบบไม่มีหนองและ/ หรือเยื่อบุหัวใจอักเสบแบบมีเนื้อเยื่อคล้ายหูด นอกจากนี้ยังทำให้แม่สุกรแท้งได้ จุดเลือดออกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนี้ ถือเป็นวิการที่จำเพาะของโรค โรคไฟลามทุ่ง

  16. การวินิจฉัยโรค วิการจุดเลือดออกรูปสี่เหลี่ยมเป็นวิการเฉพาะที่เห็นได้อย่างชัดเจน • ในกรณีที่ไม่แน่ใจให้ส่งตัวอย่างเลือดเพื่อทำการเพาะแยกเชื้อแบคทีเรีย การรักษา • ให้ยาจำพวกเพนนิซิลลิน เตตร้าซัยคลิน หรือยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างทั่วไป การควบคุมและป้องกันโรค • เหมือนโรคติดเชื้ออื่นๆ ร่วมกับการทำวัคซีน โรคไฟลามทุ่ง

More Related