1 / 25

ยืมใช้สิ้นเปลือง ม.650 ( loan for consumption )

ยืมใช้สิ้นเปลือง ม.650 ( loan for consumption ). อ.ลภัสรดา ปราบปราม. คำถาม.

Download Presentation

ยืมใช้สิ้นเปลือง ม.650 ( loan for consumption )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยืมใช้สิ้นเปลือง ม.650(loan for consumption) อ.ลภัสรดา ปราบปราม

  2. คำถาม • นายมังคุด ยืมชามสังคโลกจากนายทุเรียน เพื่อไปใช้ในการจัดนิทรรศการแห่งหนึ่ง ไม่ได้ตกลงว่าจะคืนให้เมื่อใด เมื่อนำไปใช้นายมังคุด ได้ดูแลชามสังคโลกของนายทุเรียนเป็นอย่างดี หลังจากเสร็จงานก็ไม่ได้คืนแต่กลับให้นางลำไย ยืมต่อไปใช้ในงานอื่นนานหลายเดือน และปรากฏว่าแมวของนางลำไยได้ทำให้ชามใบดังกล่าวแตกเสียหาย นายมังคุดไม่กล้าต่อว่านางลำไยเนื่องจากเกรงใจ จึงได้ไปหาชามลักษณะใกล้เคียงกันมาคืนให้นายทุเรียน แต่นายทุเรียนไม่ยอมรับ ต้องการให้คืนชามสังคโลกใบเดิมเท่านั้น และถ้าไม่คืนจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนางลำไย ให้วินิจฉัยพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบว่านายมังคุดและนางลำไยจะต้องรับผิดต่อนายทุเรียนอย่างไร

  3. นิยาม ยืมใช้สิ้นเปลือง:สัญญา ซึ่งผู้ให้ยืม โอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณที่มีกำหนด ให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืม นั้นสัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

  4. ลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลืองลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลือง • 1. เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนได้ • ค่าตอบแทน (เงิน / สิ่งของ) • ไม่มีผลทำให้กลายเป็นสัญญาต่างตอบแทน

  5. สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง vs สัญญาเช่าทรัพย์

  6. ตัวอย่าง • ฎีกา 1050/2512 : การยืมข้าวเปลือกซึ่งตกลงให้ดอกเบี้ยเป็นข้าวเปลือกในอัตรา 1 ถังต่อข้าวเปลือกที่ยืม 2 ถังนั้น มิใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของกฎหมาย เพราะผลประโยชน์ที่เรียกเป็นดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นได้จากหนี้เงินเท่านั้น เมื่อตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนในการยืมข้าวเปลือกกันไว้อย่างไร ผู้ยืมก็จะต้องชำระตามข้อตกลงนั้น

  7. ลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลืองลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลือง • 2. โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมนั้นให้แก่ผู้ยืมและเป็นการโอนไปเด็ดขาด ผู้ให้ยืมต้องมีกรรมสิทธิ์/เป็นเจ้าของ/ตัวแทน/ผู้ได้รับมอบอำนาจ ทรัพย์สินสูญหาย บุบสลาย หรือวินาศโดย ไม่ใช่ความผิดของผู้ให้ยืม ตกเป็นบาปเคราะห์ แก่ผู้ยืม

  8. Res perit domino • แปลว่าอะไร

  9. Res perit domino • ความวินาศในทรัพย์สินตกเป็นพับแก่เจ้าของ

  10. ลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลืองลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลือง • 3. วัตถุแห่งสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ม. 650 : “...ทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป...” ทรัพย์สินประเภทที่เมื่อมีการใช้ทรัพย์นั้นแล้ว ตัวทรัพย์สินนั้นย่อมจะเสื่อมเสียสภาวะสลายหายไปหรือสิ้นเปลืองหมดไป อันจะทำให้ไม่สามารถเอากลับคืนมา หรือทำให้กลับสภาพเดิมได้อีกต่อไปทรัพย์ที่สามารถเอาของอื่นที่เป็นประเภทชนิดและปริมาณเดียวกันแทนได้

  11. ลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลืองลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลือง • 4. คืนทรัพย์ที่ยืมด้วยทรัพย์สินอื่นที่เป็นประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกับที่ยืม • ประเภท(kind) เป็นทรัพย์สินจำพวกเดียวกัน (ข้าวโพด-ข้าวโพด) • ชนิด(quality) เป็นการกำหนดรายละเอียดลงไป อันแสดงถึงคุณภาพโดยเฉพาะของทรัพย์สิน (ข้าวสารชนิด 5%- ข้าวสารชนิด 5%) • ปริมาณ (quantity) จำนวนของทรัพย์สินที่อาจ ชั่ง ตวง วัด โดยมีจำนวนเท่ากับจำนวนของทรัพย์สินที่ได้ยืมไปจากผู้ให้ยืม

  12. ลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลืองลักษณะสำคัญของยืมใช้สิ้นเปลือง • 5. เป็นสัญญาที่บริบูรณ์ด้วยการส่งมอบ • ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืม สัญญาไม่เป็นโมฆะ แต่ยังใช้ไม่ได้ ยังไม่เกิดสิทธิ หน้าที่ตามสัญญา • เมื่อใดก็ตามที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืม สัญญาก็จะครบถ้วนบริบูรณ์ คู่สัญญาจึงจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่ระบุในสัญญา

  13. หน้าที่ของผู้ยืม • 1. การเสียค่าใช้จ่าย ม. 651 : ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญา ค่าส่งมอบและส่งคืนทรัพย์สินซึ่งยืมก็ดี ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย ผู้ยืมเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญายืมเป็นส่วนใหญ่

  14. หน้าที่ของผู้ยืม 2. การคืนทรัพย์สินที่ยืม 2.1 ทรัพย์สินที่คืน ผู้ยืมต้องคืนทรัพย์ที่ยืมด้วยทรัพย์ที่เป็นประเภท ชนิด และ ปริมาณ เดียวกันกับทรัพย์ที่ให้ยืม 2.2 เวลาที่ต้องคืน ตามสัญญา ม.652 ...ภายในเวลาอันสมควร...

  15. ตัวอย่าง • ฎีกา 905/2505จำเลยได้ยืมไม้และสังกะสีของผู้ร้องเพื่อปลูกเรือน ซึ่งอาจต้องเอามาบั่นทอน ตัด ฟัน แปรสภาพไปเป็นตัวเรือนหาได้คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ และตามปกติเมื่อยืมมาใช้เช่นนี้ก็หมายความว่า ไม่ใช่จะเอาทรัพย์สินไปคืนอีก ฉะนั้นการยืมชนิดนี้ต้องถือว่าเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปเป็นของจำเลยแล้ว

  16. ตัวอย่าง • ฎีกาที่ 599/2535 จำเลยซึ่งเป็นชาวไร่ทำใบยาสูบ ยืมปุ๋ย ยาบำรุงใบยาสูบและยาฆ่าแมลงจากโจทก์เพื่อใช้ในการทำใบยาสูบ จำเลยตกลงกับโจทก์ไว้ว่าจะต้องส่งคืนสิ่งของเมื่อสิ้นฤดูการทำใบยาสูบ ซึ่งอนุมานได้จากพฤติการณ์ว่าภายในสิ้นเดือนเมษายน 2526 อันเป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน การที่จำเลยยังไม่ส่งคืนของที่ยืมภายในสิ้นเดือนเมษายน 2526 จึงยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัด แต่เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2529 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยคืนของที่ยืมภายในวันที่ 11 เดือนเดียวกัน จำเลยไม่คืนของตามที่ทวงถาม จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2529 ต้องใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของราคาสิ่งของที่ส่งคืนไม่ได้นับแต่วันดังกล่าว

  17. ปัญหา • ผู้ให้ยืมจะเรียกใช้สิทธิเรียกให้มีการคืนทรัพย์ที่ยืม โดยพลันตาม ม. 203 ได้หรือไม่ ? ฝ่ายแรก :ผู้ให้ยืมจะใช้สิทธิตามม. 203 ก็ได้ ฝ่ายที่สอง : เมื่อเอกเทศสัญญามีหลักกฎหมายเป็นการ เฉพาะตัวแล้ว ย่อมจะไม่นำเอาหลักทั่วไปมาใช้อีก

  18. ตัวอย่างฎีกา • ฎีกา 873/2518 การกู้ยืมเงินไม่ได้มีกำหนดเวลาชำระคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลัน ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง

  19. ตัวอย่างฎีกา • ฎีกา 1324/2519 หนี้ตามสัญญากู้ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระไว้นั้น เจ้าหนี้ฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก็ได้

  20. ความเห็น รศ.สุธี ศุภนิตย์ • สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองที่ไม่ได้กำหนดเวลาการชำระคืนนั้น ผู้ให้ยืมจะต้องได้มีการบอกกล่าวให้คืนทรัพย์สินที่ยืมในเวลาที่กำหนดก่อนเสมอ จะเรียกให้ส่งคืนโดยพลันไม่ได้ เช่นตามประมวลแพ่งเยอรมันม. 609, ประมวลแพ่งสวิส ม. 318, ประมวลแพ่งญี่ปุ่น ม. 591 , ประมวลแพ่งฝรั่งเศส ม. 1800

  21. หน้าที่ของผู้ยืม: 2.3 สถานที่ต้องคืนทรัพย์ที่ยืม • ผู้ยืมต้องส่งคืนทรัพย์สินที่ยืม ณ สถานที่กำหนดไว้ในสัญญายืม • ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาต้องคืน ณ ภูมิลำเนาปัจจุบันของผู้ให้ยืม

  22. อายุความ • กฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะในการจะฟ้องเพื่อการเรียกให้ส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมหรือให้ชดใช้ราคาทรัพย์แทนนั้น สิทธิเรียกร้องของผู้ให้ยืมที่จะให้ผู้ยืมคืนทรัพย์สินตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น เป็นสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามธรรมดาดังนั้น จึงต้องถือเอาหลักของอายุความทั่วไป คือ 10 ปี

  23. 1. ยืมมีกำหนดเวลา อายุความ 10 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดเวลายืมอันเป็นวันที่สัญญายืมระงับลง • 2. ถ้าเป็นการยืมไม่มีกำหนดเวลา แบ่ง 2 กรณี • ก. กรณีมีการบอกกล่าวเรียกทรัพย์สินคืนโดยกำหนดเวลาให้ในคำบอกกล่าวตาม ม. 652 อายุความ 10 ปีเริ่มนับตั้งแต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาในคำบอกกล่าวเลิกสัญญาของผู้ให้ยืม ข. กรณีไม่มีการบอกกล่าวเรียกทรัพย์สินคืนอายุความ 10 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่สัญญายืมเกิดขึ้นเพราะเป็นขณะแรกที่จะบอกกล่าวเรียกทรัพย์สินคืนได้

  24. ยืมใช้คงรูป VS ยืมใช้สิ้นเปลือง

More Related