1 / 36

เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์. คณะผู้จัดทำ 1 .นางสาวกุลนรี เข็มขาว เลขที่ 5 2. นางสาวชญา มัย แว่น ฉิม เลขที่ 10 3. นาสา วสุธี รา เวียงนาค เลขที่ 18 4. นางสาว ปาณิสรา สิบน้อย เลขที่ 26 5. นางสาวสุชาวดี เจือวานิช เลขที่ 38

rona
Download Presentation

เกษตรอินทรีย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เกษตรอินทรีย์

  2. คณะผู้จัดทำ 1.นางสาวกุลนรี เข็มขาวเลขที่ 5 2.นางสาวชญามัย แว่นฉิม เลขที่ 10 3.นาสาวสุธีรา เวียงนาค เลขที่ 18 4.นางสาวปาณิสรา สิบน้อย เลขที่ 26 5.นางสาวสุชาวดี เจือวานิช เลขที่ 38 6.นางสาวสุชีรา สถานพงษ์ เลขที่ 39 7.นางสาวจรรยวรรธน์ หล้าคำมี เลขที่ 41 8.นางสาวกมลมาศ ศิริสงค์ เลขที่ 44 9.นางสาวพรปวีณ์ สองจิตร์ เลขที่ 46 10.นางสาวสุทธินันท์ ยะพรม เลขที่ 47 เสนอ คุณครูจิรประภา ไตรกิตติคุณ

  3. คำนำ ความหมายของเกษตรอินทรีย์ สารบัญ หลักการของเกษตรอินทรีย์ หลักพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย์ ขั้นตอนการทำ องค์ความรู้ ภาคผนวก บรรณานุกรม

  4. คำนำ รายงานเรื่องเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสาระวิชา การงานและเทคโนโลยี(การเกษตร) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เรื่องเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทางคระผู้จัดทำได้มีการรวบรวมสรุปเนื้อหาต่างๆไว้ อย่างเช่น ความหมายของเกษตรอินทรีย์ หลักการการเกษตร หลักการพื้นฐานของการทำและขั้นตอนการทำ และองค์ความรู้ที่จะเป็นตัวให้เหตุผลของการทำเกษตรอินทรีย์ ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียต่างของการทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้มีรวบเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากสื่อต่างๆที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าหากมีเนื้อหาผิดพลาดประการใดทางคณะผู้จัดทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้คงเป็นประโยชน์แก่รุ่นน้องหรือผู้ที่สนใจได้รับความรู้ในระดับหนึ่ง 24/5/57 คณะผู้จัดทำ

  5. เกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติและหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมเน้นการใช้ อินทรียวัตถุ รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วย ผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย

  6. หลักการของเกษตรอินทรีย์หลักการของเกษตรอินทรีย์ หลักการเกษตรอินทรีย์ที่ยอมรับกันทั่วไปคือ หลักการที่กำหนดโดยสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ ซึ่งเกิดจากการระดมความคิดเห็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านเกษตรอินทรีย์โดยตรงจากทั่วโลก ที่ประชุมใหญ่สหพันธ์ฯ ได้ลงมติรับรองหลักการเกษตรอินทรีย์ที่ประกอบด้วย 4 มิติ คือ สุขภาพ,นิเวศวิทยาความเป็นธรรม และการดูแล(health, ecology, fairness and care) มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้

  7. (ก) มิติด้านสุขภาพ “เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำรงไว้และสร้างเสริมสุขภาพของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลกอย่างเป็นองค์รวม ไม่สามารถแบ่งแยกได้” ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ทำให้พืชพรรณต่างๆ ที่ผลิตจากผืนดินดังกล่าวมีสุขภาวะที่ดี และจะส่งผลสุขภาวะของสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่เพียงแค่ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หากแต่รวมถึงการดำรงไว้แห่งความเป็นอยู่ที่ดี ทางกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ซึ่งแสดงให้เห็นได้จากการมีภูมิต้านทานต่อโรค ความสามารถในการฟื้นตัวของร่างกายจากการเจ็บป่วย เป็นต้น เกษตรอินทรีย์มุ่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง มีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ โดยรวมดังกล่าว

  8. (ข) มิติด้านนิเวศวิทยา การผลิตจึงต้องอยู่บนพื้นฐานของวิถีแห่งระบบนิเวศ และการหมุนเวียน การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือหาของป่า จะต้องสอดคล้องกับวัฏจักรธรรมชาติและความสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีลักษณะของระบบนิเวศที่เป็นเฉพาะพื้นที่ ดังนั้น การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงต้องสอดคล้องกับสภาวะของท้องถิ่น และเหมาะสมกับขนาดการผลิต ปัจจัยการผลิตทั้งที่เป็นวัสดุ สิ่งของ และพลังงานควรใช้ในปริมาณที่ลดลงโดยใช้หลักการหมุนเวียน และการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตการแปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในแง่ของภูมิทัศน์ สภาพอากาศ ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพอากาศและน้ำ

  9. (ค) มิติด้านความเป็นธรรม “เกษตรอินทรีย์ควรดำเนินอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปและโอกาสในการดำเนินชีวิต” ผู้ที่ดำเนินการด้านเกษตรอินทรีย์จะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมต่อกันกับชนทุกกลุ่มและทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกษตรอินทรีย์ ทั้งเกษตรกร ผู้แปรรูปผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค ผลิตอาหารที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ และช่วยลดปัญหาความยากจน สำหรับความเป็นธรรมต่อสัตว์เกษตรอินทรีย์ต้องจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะตามธรรมชาติของปศุสัตว์ การใช้ทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคควรมีความเป็นธรรมทั้งทางสังคมและทางนิเวศวิทยา คำนึงถึงผลกระทบต่อชนรุ่นหลัง ภายใต้มิตินี้ ความเป็นธรรมถูกนำมาใช้กับระบบการผลิต การจัดส่ง และการค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งจะต้องเปิดเผยและยุติธรรม มีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิตด้วย

  10. (ง)มิติด้านการดูแลเอาใจใส่(ง)มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ “การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย”เกษตรกรสามารถดำเนินการเพื่อให้เกิดเพิ่มประสิทธิภาพแต่การดำเนินการดังกล่าวต้องไม่ตั้งอยู่บนความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพการนำเทคโนโลยีและกรรมวิธีการผลิตใหม่ๆ เข้ามาใช้กับเกษตรอินทรีย์จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างจริงจังเราจึงต้องดำเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเอาใจใส่และรับผิดชอบ อาจอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งยืนยันเพื่อให้มั่นใจว่าการทำเกษตรอินทรีย์นั้นสร้างเสริมสุขภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมกับระบบนิเวศ แต่เราไม่สามารถอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวในการประเมินผลกระทบได้ หากแต่จะต้องอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาร่วมเป็นสิ่งยืนยัน และควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ที่ผลลัพธ์ไม่มีความชัดเจน

  11. หลักพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย์หลักพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย์ • 1. ห้ามใช้สารเคมีสังเคราะห์ทางการเกษตรทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมน • 2. เน้นการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคแมลง

  12. 3. รักษาความสมดุลของธาตุอาหารภายในฟาร์ม โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4. ป้องกันมิให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีจากภายนอกฟาร์ม ทั้งจากดิน น้ำ และอากาศ โดยจัดสร้างแนวกันชนด้วยการขุดคู หรือปลูกพืชยืนต้น และพืชล้มลุก

  13. 5. ใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่มีความต้านทาน และมีหลากหลาย ห้ามใช้พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่ได้จากการตัดต่อสารพันธุ์กรรม • 6.การกำจัดวัชพืชใช้เตรียมดินที่ดี และแรงงานคนหรือเครื่องมือกล แทนการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช

  14. 7. การป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้สมุนไพรกำจัดพืชแทนการใช้ยาเคมีกำจัดศัตรูพืช • 8. ใช้ฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติ เช่น จากน้ำสกัดชีวภาพแทนการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์

  15. 9. รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการรักษาไว้ซึ่งพันธุ์พืช หรือสัตว์ สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตลอดจนปลูกหรือเพาะเลี้ยงขึ้นมาใหม่ 10. การปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปให้ใช้วิธีธรรมชาติ และประหยัดพลังงาน 11. ให้ความเคารพสิทธิมนุษย์และสัตว์ 12. ต้องเก็บบันทึกข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ปี เพื่อรอการตรวจสอบ

  16. ขั้นตอนการทำ 2) แหล่งน้ำต้องเป็นแหล่งน้ำคุณภาพดี ไม่มีสารพิษปนเปื้อนที่ขัดต่อการปลูกพืชอินทรีย์ หากขุดสระน้ำไว้ใช้เองในพื้นที่ ต้องนำน้ำนั้น ไปวิเคราะห์ และต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอต่อการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ด้วย 1) ตรวจสภาพแวดล้อมของพื้นที่ของแปลงอย่างถูกต้องตามมาตรฐานของการปลูกพืชอินทรีย์ ถ้าไม่แน่ใจให้นำดินไปตรวจวิเคราะห์เพื่อหาสารพิษตกค้างต่อไป

  17. 3) เมื่อทราบว่าดินและน้ำ ไม่ขัดต่อมาตรฐานการปลูกพืชอินทรีย์แล้ว จึงมาทำการวางรูปแบบแปลงถ้ามีพื้นที่ของแปลงมากเราต้องขุด ร่องน้ำล้อมรอบแปลง เพื่อเป็นการดัดน้ำหรือป้องกันน้ำที่มีสารปนเปื้อนไหลมาท่วมพื้นที่แปลง ในระยะเวลาที่มีฝนตกหนัก อาจทำร่องคูน้ำ ลึก 1 เมตร กว้าง 2 เมตร แต่ถ้ามีพื้นที่น้อยก็ให้ ทำร่องน้ำตามความเหมาะสม แล้วปลูกหญ้าแฝกเป็นกำแพงกรองน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี

  18. 5) เมื่อเตรียมแปลงเสร็จแล้วก็หันมาทำการปลูกพืชสมุนไพรไล่แมลงก่อนที่จะปลูกพืชต่างๆพืชสมุนไพร กันแมลงรอบนอก เช่น สะเดา ชะอม ตะไคร้หอม ข่า ปลูกห่างกัน 2 เมตร โดยรอบพื้นที่ 4) การเตรียมดินพยายามใช้แรงงานจากสัตว์ให้มาก เพราะถ้าใช้แรงงานจากเครื่องจักร อาจเกิดจากปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษ

  19. - ปุ๋ยพืชสด ได้แก่พืชตระกูลถั่วต่างๆ เช่นถั่วเขียว ถั่วพร้า - ปุ๋ยคอกมูลสัตว์ แหนแดง กากเมล็ดสะเดา สาหร่ายสีน้ำเงินแกลมเขียวทดแทนปุ๋ย N - หินฟอสเฟต มูลค้างคาว ทดแทนปุ๋ยฟอสฟอรัส P - ขี้เถ้าถ่าน ขี้เถ้าแกลบ และหินปูนขาวบางชนิด ทดแทนปุ๋ย โปแตสเซี่ยมK 6) การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ - ปุ๋ยคอก มูลสัตว์ต้องมูลสัตว์ที่ได้มาจากสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารเท่านั้น - ปุ๋ยหมัก ได้จากเศษพืชต่างๆ ในพื้นที่นำมาหมักไว้เป็นกอง ในฟาร์ม แล้วใช้จุลินทรีย์เพื่อช่วยย่อยสลายให้เร็วขึ้น

  20. 7) เมล็ดพันธุ์พืชหรือหญ้าที่นำมาปลูก ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ปนเปื้อนสารเคมีสังเคราะห์เจือปนหรือถ้ามีก็ต้องทำการล้างเมล็ดในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซนเซียส นาน 10-30 นาที

  21. องค์ความรู้ คำว่า “เกษตรอินทรีย์” ถูกกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในหนังสือของ Lord Northbourneที่มีชื่อว่าLook to the Landตีพิมพ์ในปีคริสต์ศักราช 1940 (พ.ศ.2483) โดยใช้คำภาษาอังกฤษว่า “organic farming” โดยผู้เขียนได้ให้กรอบแนวคิดของเกษตรอินทรีย์ที่ไม่ได้หมายความเพียงแค่การปรับปรุงดินโดยใช้วัสดุที่เป็นอินทรีย์สารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการออกแบบและจัดการฟาร์มที่ไม่พึ่งพาสารเคมีทั้งหมด คำนึงถึง ผืนดิน ผลิตผล ระบบนิเวศ และชุมชนในลักษณะที่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ซึ่งแนวคิดยังกล่าวยังถูกนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์หรือแนวคิดของเกษตรอินทรีย์จนถึงปัจจุบัน

  22. ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์ การทำการเกษตรโดยทั่วไปมีการใช้สารเคมีในระบบการผลิตทั้งในรูปของ ปุ๋ยเคมี ยากำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมน และอื่นๆ เกษตรเคมีแม้จะให้ผลผลิตต่อไร่สูง แต่ก่อผลเสียต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภค และอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งใช้ต้นทุนที่สูงขึ้นด้วย เพราะปุ๋ยเคมี รวมทั้งสารเคมีต่าง ๆ ทำให้ดินและสภาพแวดล้อมเสียหาย เมื่อใช้ไปหลายปีต้องใช้ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชจำนวนมากขึ้นตามลำดับ จึงทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เพิ่มขึ้น

  23. การเกษตรสมัยใหม่หรือเกษตรเคมีก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากดังนี้การเกษตรสมัยใหม่หรือเกษตรเคมีก่อให้เกิดปัญหาทางการเกษตรมากดังนี้ • ความอุดมสมบูรณ์ลดลง • ต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นทุกปีจึงจะได้รับผลผลิตเท่าเดิม • เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาดทำให้เกิดความยุ่งยากในการป้องกันและกำจัด • แม่น้ำและทะเลสาบปนเปื้อนด้วยสารเคมีและความเสื่อมโทรมของดิน • พบสารเคมีปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณที่กำหนด ทำให้เกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค • สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิม

  24. ประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์ประโยชน์ของเกษตรอินทรีย์

  25. 1.อนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้สมบูรณ์ ทำให้ห่วงโซ่อาหารที่ถูกทำลายไปโดยสารเคมีกลับฟื้นคืนดี ทำให้ประชาชนมีอาหารที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด นก ฯลฯ 2.ลดต้นทุนการผลิต ทำให้เกษตรกรได้กำไรมากขึ้น เกษตรกรที่ยากจนสามารถปลดเปลื้องหนี้สินให้ลดลงและหมดไปได้

  26. 3.ผลผลิตขายได้ราคาสูงกว่าผลผลิตจากการผลิต โดยใช้สารเคมีทั้งในตลาดต่างประเทศและในประเทศประมาณ 10-30% ประสิทธิภาพการผลิตต่อพื้นที่เพิ่มมากขึ้นในระยะยาว เพราะดินได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4.ผลผลิตปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้อัตราการป่วยไข้และเสียชีวิตของประชาชนทั้งประเทศลดจำนวนลง และประชาชนมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น ทำให้รัฐสามารถประหยัดเงินงบประมาณในการรักษาพยาบาลลงได้มาก

  27. 5.ประเทศไทยสามารถลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชลงได้คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000 ล้านบาท ประหยัดเงินตราต่างประเทศ และสามารถสร้างงาน และรายได้ในส่วนนี้ให้กับคนไทยที่ผลิตปุ๋ยชีวภาพ และสารธรรมชาติกำจัดศัตรูพืชขึ้นทดแทนได้อีกด้วย 6.แก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้าการเกษตรที่มีสารเคมีที่เป็นพิษเจือปนและถูกประเทศผู้นำเข้าตั้งข้อรังเกียจที่จะนำเข้าสินค้าการเกษตรจากประเทศไทย หากปรับเปลี่ยนมาใช้การผลิตโดยวิธีเกษตรอินทรีย์จะทำให้ประเทศส่งออกสินค้าการเกษตรได้มากขึ้น ทั้งปริมาณและมูลค่า

  28. 7.ลดภาระงบประมาณของรัฐในการดำเนินการควบคุมตามกฎหมายและตรวจวิเคราะห์สาครพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตรลงได้คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท7.ลดภาระงบประมาณของรัฐในการดำเนินการควบคุมตามกฎหมายและตรวจวิเคราะห์สาครพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตรลงได้คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท

  29. ข้อดีของเกษตรอินทรีย์ข้อดีของเกษตรอินทรีย์ 1.ให้ผลผลิตที่มีปริมาณ และคุณภาพที่ดีกว่า 2.ให้ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ดีกว่า 3.ให้สิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า 4.ให้คุณภาพชีวิต และคุณภาพจิตที่ดีกว่า 5.ผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิต ไม่ต้องเสี่ยงต่อสารพิษที่อาจก่อให้เกิดโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อชีวิตการเกษตรอินทรีย์ เป็นสิ่งดีที่น่าจะเป็นการสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่ระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน มั่งคงและปลอดภัย

  30. ผลเสีย 1. ผลผลิตจะไม่ออกทั้งปี แต่จะออกตามฤดูกาล เพราะเกษตรอินทรีย์เป็นการทำเกษตรที่พึ่งพาอาศัยธรรมชาติมากกว่าการฝืนธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ต้องการใช้สารเคมีมากขึ้นตามไปด้วย 2. ราคาผลผลิตจะสูงกว่า เพราะแม้จะใช้ปัจจัยในการผลิตลดลงแต่ต้องใช้แรงงานในการดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก

  31. ภาคผนวก

  32. เกษตรอินทรีย์ การควบคุมวัชพืชในการทำเกษตรอินทรีย์

  33. ปุ๋ยอินทรีย์ ทำมาจากเศษวัสดุในไร่นา • ปุ๋ยหมัก จะหมักจาก ฟางข้าว ขี้เลื่อย เศษไม้ เปลือกไม้ • ปุ๋ยคอกได้จาก สัตว์ที่เลี้ยงตามธรรมชาติ • ปุ๋ยพืชสด ได้จากเศษพืช และวัสดุเหลือใช้ในไร่นาในรูปสารอินทรีย์

  34. ผักที่ได้จากการทำเกษตรอินทรีย์จะมีลักษณะที่เขียวสดกว่า การใช้ปุ๋ยเคมี

  35. บรรณานุกรม • “เกษตรอินทรีย์มีประโยชน์อย่างไร” เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/287557 • “ข้อดีของเกษตรอินทรีย์” เข้าถึงได้จาก http://ridceo.rid.go.th/smsongkh/corbor/bor-kasedinsee1.html • “ปัญหาในการทำเกษตรอินทรีย์” เข้าถึงได้จาก http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=8813 • “ความหมายของเกษตรอินทรีย์” เข้าถึงได้จาก http://www.itrmu.net/web/10rs19/show-webcontent.php?cat_id=13&mid=22 • “หลักการของเกษตรอินทรีย์” เข้าถึงได้จาก http://www.environnet.in.th/?p=7386

  36. ขอบคุณค่ะ

More Related