1 / 23

การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. นายกิตติพงษ์ พิมพ์อรัญ กลุ่มกฎหมายมาตรฐานด้านการต่างประเทศ สำนักกฎหมาย สมอ. คุยกันสบายๆ หลากสไตล์ การมาตรฐาน 31 ส.ค. 2552. มาตรา 190 วรรคหนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.

Download Presentation

การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 นายกิตติพงษ์ พิมพ์อรัญ กลุ่มกฎหมายมาตรฐานด้านการต่างประเทศ สำนักกฎหมาย สมอ. คุยกันสบายๆ หลากสไตล์ การมาตรฐาน 31 ส.ค. 2552

  2. มาตรา 190 วรรคหนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำแนกประเภทของหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ • หนังสือสัญญาสันติภาพ • หนังสือสัญญาสงบศึก • หนังสือสัญญาอื่น

  3. มาตรา 190 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย • หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย • หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือ • จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือ • มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือ • มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา

  4. หนังสือสัญญาคืออะไร • คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ • อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศหรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ค.ศ. 1986 • มติคณะรัฐมนตรี และแนวปฏิบัติของกระทรวงการต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

  5. หนังสือสัญญาคืออะไร ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยที่ 11/2542 วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 และคำวินิจฉัยที่ 6-7/2551 วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 วินิจฉัยว่า “หนังสือสัญญา” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศทุกประเภทที่จัดทำขึ้นระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ ในรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร และอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะถูกบันทึกไว้ในเอกสารฉบับเดียวหรือหลายฉบับที่เกี่ยวพันกัน และไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร

  6. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6-7/2551 วันที่ 8 กรกฎาคม 2551 หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางและหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ เป็นเรื่องที่ผู้ทำหนังสือสัญญาจะต้องใคร่ครวญก่อนที่จะดำเนินการทำหนังสือสัญญา โดยจะต้องพิจารณาว่า หากกระทำไปแล้วจะก่อให้เกิดผลกระทบหรือมีผลผูกพันตามประเภทของหนังสือสัญญา แล้วตัดสินใจว่าจะต้องขอความเห็นชอบของรัฐสภาก่อนหรือไม่

  7. อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. 1969 และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญาระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศหรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ค.ศ. 1986 ได้กำหนดความหมายของ “treaty” ไว้ว่า“ความตกลงระหว่างประเทศที่ทำขึ้นเป็นหนังสือระหว่างรัฐต่างๆ หรือระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศด้วยกัน และอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะทำขึ้นเป็นฉบับเดียวหรือสองฉบับหรือหลายฉบับผนวกเข้าด้วยกัน และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร”

  8. ชื่อเรียกของหนังสือสัญญา กลุ่มที่ 1 • สนธิสัญญา (Treaty) ทำกันระหว่าง 2 ประเทศ • อนุสัญญา (Convention) นิยมทำกันระหว่างหลายประเทศ • พิธีสาร (Protocol) มักทำในรูปแบบตราสารต่อท้าย • ความตกลง (Agreement) • ข้อตกลง (Arrangement) • กรรมสารทั่วไป (General Act) • กรรมสารสุดท้าย (Final Act)

  9. ชื่อเรียกของหนังสือสัญญา กลุ่มที่ 2 • กฎบัตร (Charter) • ตราสารหลักของกลุ่ม (Pact) • ธรรมนูญ (Statute ; Constitution) • มาตราบท (Articles of Agreement) เป็นตราสารก่อตั้งองค์กร เช่น IMF

  10. ชื่อเรียกของหนังสือสัญญา กลุ่มที่ 3 • บันทึกช่วยจำ (Aide-Mémoire) • บันทึกวาจา (Procès-Verbal) • บันทึก (Mémorandum) • บันทึกความเข้าใจ (Mémorandum Of Understanding) • แถลงการณ์ (Communique)

  11. ชื่อเรียกของหนังสือสัญญา กลุ่มที่ 4 • Modus Vivendi • ปฏิญญา (Declaration) ความตกลงที่เรียกชื่ออย่างอื่น "exchange of notes" "exchange of letter" "memorandum of agreement" "agreed minute"

  12. หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ • ความตกลงว่าด้วยการค้าเสรีระหว่าง • ไทย-จีน,ไทย-ออสเตรเลีย,ไทย-นิวซีแลนด์,ไทย-สหรัฐอเมริกา • การเข้าร่วมเป็นภาคีในระบบการยอมรับร่วมในข้อมูลการประเมินสารเคมีขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาการทางเศรษฐกิจOECD • ASEAN-China TBT MoU

  13. กฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญากฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญรวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป

  14. มาตรา 190 วรรคสาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนทำหนังสือสัญญา 1. คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และ 2. ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น 3. ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย

  15. หลักการเตรียมการทำหนังสือสัญญาหลักการเตรียมการทำหนังสือสัญญา • จัดลำดับความสำคัญในเรื่องที่จะต้องเจรจา • ประเมินคู่เจรจา • ประเมิน SWOT จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส สิ่งท้าทาย • ศึกษาความพร้อมภายในประเทศ สิ่งแวดล้อมภายนอกประเทศ ความพร้อมของคู่เจรจา • จัดทำกรอบการเจรจา

  16. กรอบการเจรจา(Framework) • ผู้เจรจา • วัตถุประสงค์ • ขอบเขต • พันธกรณี • กรอบเวลา

  17. กรณีที่ไม่มีการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันกรณีที่ไม่มีการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน หนังสือสัญญาที่เข้าข่ายตามมาตรา 190 วรรคสอง เมื่อเจรจาเสร็จแล้ว ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ก่อนลงนาม

  18. กรณีที่มีการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน (ratification): หลังการลงนาม ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน • ต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น • ในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม

  19. หลังการแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน (ratification) • ติดตามผลการใช้บังคับของหนังสือสัญญา • ติดตามพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากหนังสือสัญญา

  20. การเข้าร่วมเป็นภาคีในระบบการยอมรับร่วมในข้อมูลการประเมินสารเคมีขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ OECD มติ ครม. 22 มกราคม 2551 แสดงเจตจำนงเข้าร่วมเป็นภาคี กุมภาพันธ์ 2551 อยู่ระหว่างเสนอการแจ้งยืนยันเข้าเป็นภาคี รับฟังความคิดเห็นของประชาชน 18 ก.พ.2552

  21. ระบบการยอมรับร่วมในข้อมูลการประเมินสารเคมีของ OECDThe Mutual Acceptance of Data (MAD) in the assessment of chemicals ดำเนินการให้การรับรองและกำกับดูแล Lab ทดสอบสารเคมีให้มีระบบการจัดการเป็นไปตามหลักการ GLP : OECD รองรับการดำเนินการภายใต้กฎระเบียบของสหภาพยุโรป REACH RoHS ก่อนได้รับการผนวกเข้ากับ OECD Council Acts ประเทศไทยต้องยอมรับข้อมูลการประเมินสารเคมีของประเทศอื่น ซึ่งเป็นการยอมรับแบบฝ่ายเดียว ข้อมูลการประเมินสารเคมีที่ผลิตและส่งออกไป EU จากห้องปฏิบัติการ GLP ของไทย จะเป็นที่ยอมรับของ EU โดยไม่ต้องทดสอบซ้ำ

  22. ASEAN-China TBT MoU ปี 2545 ASEAN-China มีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้การเจรจาเขตการค้าเสรี ASEAN-China ACCSQ ในการประชุมครั้งที่ 31 วันที่ 17-21 มีนาคม 2551 ได้พิจารณาร่าง ASEAN-China TBT MoU ซึ่งจัดทำโดยหน่วยบริหารงานกลางว่าด้วยการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบ และการกักกันแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (AQSIQ) ACCSQ ได้พิจารณารายละเอียดของร่าง ร่วมกับผู้แทนจีนจาก AQSIQ และในการประชุม ครั้งที่ 5 วันที่ 19 มีนาคม 2552 ได้ให้ความเห็นชอบ final draft

  23. เสริมสร้างความร่วมมือทางด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรอง • จัดให้มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ • จัดให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของบุคลากรด้านการบริหารจัดการ ด้านการกำกับดูแล และด้านวิชาการ • จัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรม การสัมมนา และกิจกรรมอื่นในลักษณะเดียวกันตามความจำเป็นและความสามารถของคู่ภาคี • การร่วมทำวิจัย • เรื่องอื่นๆ ตามที่ได้ตกลงกัน ASEAN-China TBT MoU

More Related