1 / 33

บทที่ 6

บทที่ 6. กฎหมาย อ.อมรรัตน์ ดวงแป้น.

Download Presentation

บทที่ 6

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 กฎหมาย อ.อมรรัตน์ ดวงแป้น

  2. ปัจจุบันนี้ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็จะต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยตลอดเวลา เช่น เมื่อมีคนเกิดก็ต้องแจ้งเกิด ต้องตั้งชื่อ ต้องเข้าโรงเรียน อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปทำบัตรประจำตัวประชาชน นักเรียนที่อายุย่างเข้าปีที่ 18 ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน การสมรสอยู่กินเป็นครอบครัวการกู้ยืมเงิน ซื้อขาย การทำสัญญาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งสิ้น

  3. ในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของประเทศชาติ ถือเป็นสมาชิกของสังคม มีความจำเป็นต้องเรียนรู้กฏหมาย ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมและความอยู่รอดของคนในสังคม กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและวิถีการดำเนินชีวิตก็ยิ่งมีความสำคัญ เพราะความเป็นธรรม ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในสังคมก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ใช้กฏหมายเป็นบรรทัดฐานในการตกลง ตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ และเป็นการได้มาอย่างมีกฏเกณฑ์และเป็นที่ยอมรับของสังคม

  4. ความหมายของกฎหมาย • กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย "กฏหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ" • ดร.สายหยุด แสงอุทัย"กฏหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"

  5. กฏหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฏซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ • จากคำจำกัดความของกฏหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฏหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฏหมาย

  6. วิวัฒนาการของกฎหมายไทยสมัยสุโขทัย- กฎหมายที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรของไทยฉบับแรก คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งมีการรับรองสิทธิ-เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาจกล่าวได้ว่า ศิลาจารึกดังกล่าว มีลักษณะเสมือนรัฐธรรมนูญได้ เพราะรัฐธรรมนูญมีลักษณะสำคัญในการกำหนดสิทธิ-เสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนในรัฐ แต่ศิลาจารึกขาดความเป็นกิจจะลักษณะ คือ เป็นการบรรยายลักษณะการปกครองเสียมากกว่าความจะให้เป็นกฎหมาย

  7. สมัยอยุธยา-กฎหมายไทยในสมัยอยุธยารับอิทธิพลจากคัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ของประเทศอินเดียสมัยกรุงธนบุรี-รับอิทธิพลจากกฎหมายสมัยอยุธยา  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์-ร.1 ทรงรวบรวมกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วชำระขึ้นใหม่และตราเป็นกฎหมายตราสามดวง

  8. *ระวัง  กฎหมายตราสามดวง มิใช่ ประมวลกฎหมายเพราะประมวลกฎหมาย ต้องมีลักษณะการรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่เป็นกิจจะลักษณะ  แต่กฎหมายตราสามดวงเป็นการรวบรวมกฎหมายที่กระจัดกระจายในสมัยอยุธยาไว้ด้วยกันเท่านั้น ไม่มีการจัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบในลักษณะแห่งประมวลกฎหมายแต่อย่างใด

  9.  -สมัย ร.5  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(บิดาแห่งกฎหมายไทย) ทรงกลับจากการศึกษากฎหมายที่อังกฤษ แล้วนำระบบกฎหมายที่เป็นสากลมาใช้ ต่อมา ได้เกิดประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทยขึ้น คือกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127

  10. ลำดับศักดิ์ของกฎหมายลำดับศักดิ์ของกฎหมาย มีเพื่อกำหนดความสูงต่ำของกฎหมายแต่ละฉบับ  ซึ่งกฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้ง กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ามิได้  และการออกกฎหมาย ต้องอาศัยกฎหมายที่มีศักดิ์สูง(กฎหมายแม่บท) ในการออกกฎหมายลูกบท  ซึ่งลำดับศักดิ์ดังนี้

  11. ชั้นที่1รัฐธรรมนูญ(เป็นกฎหมายชั้นที่1รัฐธรรมนูญ(เป็นกฎหมาย สูงสุดของประเทศ กำหนดสิทธิ และ เสรีภาพของประชาชน เป็น กฎหมายที่แก้ไขยากเพื่อคงลักษณะของ ความเป็นกฎหมายสูงสุดไว้) ระวัง ! ทั้งหมดคือศักดิ์ชั้นเดียวกัน

  12. ชั้นที่2  -พระราชบัญญัติ(ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ) -พระราชกำหนด(ออกโดยฝ่ายบริหาร ในภาวะฉุกเฉิน หรือเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้มีทันที อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีต้องรีบเสนอขอความยินยอมจากรัฐสภา เพื่อยกพรก.ให้เป็นพรบ.ในภายหลัง)   -ประมวลกฎหมาย,  ประกาศคณะปฏิวัติ/รัฐประหาร/ปฏิรูปฯ

  13. ชั้นที่3พระราชกฤษฎีกา (เป็นกฎหมายลูกบทที่ออกโดยอาศัยอำนาจจาก พรบ.หรือ พรก.ให้อำนาจไว้)ชั้นที่4กฎกระทรวง (พิจารณาโดย ครม. ตราบังคับใช้โดยรมต.ว่าการกระทรวง)ชั้นที่5ประกาศกระทรวง (พิจารณาและตราบังคับใช้โดยรมต.ว่าการกระทรวง)ชั้นที่6กฎหมายท้องถิ่น  เช่น เทศบัญญัติ , ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร , ข้อบังคับตำบล เป็นต้น

  14. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย 1. กฎหมายมีลักษณะเป็นข้อบังคับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ - บังคับไม่ให้กระทำ เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ห้ามเสพสิ่งเสพย์ติด - บังคับให้กระทำ เช่น ประชาชนชาวไทยเมื่อมีอายุ 15 ปี ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน ผู้มีรายได้ต้องเสียภาษีอากร เป็นต้น

  15. 2. กฎหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดมีขึ้นโดยผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ เช่น ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกกฎหมาย ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีรัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมาย และพระราชบัญญัติ มีรัฐบาลเป็นผู้ออกพระราชกำหนด พระรากฤษฎีกาและกฎกระทรวง

  16. 3.กฎหมายจะต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้กับบุคคลทุกคนในรัฐโดยไม่มีข้อยกเว้น อย่างเสมอภาคไม่ว่าคนนั้นจะถือสัญชาติใดก็ตาม 4.กฎหมายมีผลบังคับใช้ตลอดไป จนกว่าจะมีคำสั่งยกเลิก 5.ผู้ใดฝ่าฝืนกฏหมายต้องได้รับโทษ การปฏิบัติตามกฏหมายไม่ได้เกิดจากความสมัครใจของผู้ปฏิบัติ แต่เกิดจากการถูกบังคับ ดังนั้นเพื่อให้การบังคับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืน ได้แก่

  17. ความผิดทางอาญากำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ - ประหารชีวิต - จำคุก - กักขัง - ปรับ - ริบทรัพย์สิน • วิธีการเพื่อความปลอดภัย เป็นมาตรการเพื่อให้สังคมปลอดภัยจากการกระทำของผู้กระทำผิดที่ติดเป็นนิสัยไม่มีความเข็ดหลาบ โดยไม่ถือว่าเป็นโทษทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญากำหนดไว้ 5 ประการ • - การกักกัน - ห้ามเข้าเขตกำหนด - เรียกประกันทัณฑ์บน - คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล - ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง

  18. กฎหมายต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ กฎหมายที่บัญญัติออกมาต้องมาจากรัฐที่มีเอกราช • พนักงานของรัฐเป็นผู้บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย หมายความว่า เมื่อมีการกระทำผิดที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดำเนินการลงโทษผู้กระทำผิด ผู้เสียหายจะแก้แค้นหรือลงโทษกันเองไม่ได้บุคคลเหล่านี้ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้พิพากษา เป็นต้น

  19. ที่มาของกฎหมาย • ที่มาของกฎหมาย หรือบ่อเกิดของกฎหมาย ( source of law) หมายถึง สภาพที่กฎหมายปรากฏตัว สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นกฎหมายพื้นฐาน และพิจารณาตามกฎหมายอื่น ๆ โดยภาพรวมแล้ว จะพบว่ากฎหมายไทยปรากฏตัวอยู่ใน 3รูป คือ รูปกฎหมายลายลักษณ์อักษร รูปจารีตประเพณี และรูปหลักกฎหมายทั่วไป

  20. กฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของไทยสามารถจำแนกตามรูปแบบและองค์กรที่ตราขึ้นได้ตามลำดับดังนี้ 1) รัฐธรรมนูญ 2) กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 3) พระราชบัญญัติ 4) พระราชกำหนด 5) พระราชกฤษฎีกา 6) กฎกระทรวง และ 7) กฎหมายที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตราขึ้น

  21. จารีตประเพณี ตามประวัติศาสตร์นั้นได้รับการใช้บังคับเสมอเป็นกฎหมายมาแต่บุรพกาลก่อนที่สังคมจะรวมเป็นรัฐและมีระบบอักษรใช้ ปัจจุบันบางประเทศมีการบันทึกจารีตประเพณีเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อประโยชน์ในการสืบทอดและขจัดข้อสงสัยด้วย

  22. ซึ่งได้มีความพยายามในการเขียนกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้มีความกว้างขวางแต่ก็ไม่อาจครอบคลุมกรณีทั้งปวงได้ จึงต้องอาศัยจารีตประเพณีมาประกอบให้สมบูรณ์เสมอ เช่น ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550)ว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

  23. หลักกฎหมายทั่วไป • ได้แก่ หลักกฎหมายที่ผู้พิพากษาค้นคว้าหามาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในกรณีที่ไม่มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และบทกฎหมายอันใกล้เคียงที่สุดใช้แล้ว ซึ่งผู้พิพากษาจะอาศัยสิ่งใดเป็นเครื่องค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปนั้น นักนิติศาสตร์ให้ความเห็นว่า

  24. 1. สุภาษิตกฎหมาย คือ คำกล่าวที่ปลูกถ่ายความคิดทางกฎหมาย และยังเป็นบทย่อของหลักกฎหมายต่าง ๆ ด้วย เช่น "กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" : • 2. การพิเคราะห์โครงสร้างกฎหมาย วิธีนี้เห็นกันว่าดีกว่าวิธีก่อน เนื่องเพราะมีความแน่นอนกว่าการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปโดยใช้สุภาษิตเป็นเครื่องมือ เพราะบางครั้งสุภาษิตก็ใช้แก่บางประเทศหรือบางท้องที่มิได้

  25. ที่มาของกฎหมาย (แหล่งที่มา) 1. ขนบธรรมเนียมประเพณี 2. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ 3. คำสั่งของฝ่ายบริหาร 4. คำพิพากษาของศาล 5. บทความทางวิชาการ 6. รัฐธรรมนูญ 7. สนธิสัญญา 8. ประมวลกฎหมาย 9. ประชามติ 10. หลักความยุติธรรม

  26. การแบ่งประเภทของกฎหมายการแบ่งประเภทของกฎหมาย • กฎหมายที่ก่อให้เกิดสิทธิ บัญญัติเพื่อประชาชน เป็นการรับรองเสรีภาพ และผลประโยชน์อันชอบธรรม • กฎหมายที่กำหนดวิธีการป้องกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน หรือป้องกันรักษาให้คุ้มครองสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายของปวงชน

  27. จุดประสงค์และความสำคัญของกฏหมายจุดประสงค์และความสำคัญของกฏหมาย • จัดระเบียบให้กับสังคม ทั้งยังช่วยรักษาความมั่นคงให้รัฐ ระงับข้อพิพาท ประสานผลประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ช่วยพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้า โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการรักษาระเบียบของสังคม เมื่อสังคมมีระเบียบจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

  28. กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ • กฎหมายภายในประเทศ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมบังคับระหว่างเอกชนต่อเอกชนและเอกชนกับรัฐบาล • กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมระหว่างรัฐกับรัฐ

  29. กฎหมายภายในประเทศ • กฎหมายเอกชน หรือ กฎหมายแพ่ง มีบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนหรือเอกชนกับนิติบุคคล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพระหว่างบุคคล

  30. กฎหมายเอกชน • เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของสังคมหรือชุมชนโดยส่วนรวม กฎหมายมหาชนมี 3 ประเภท • กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบการปกครองของรัฐ รูปของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตยและการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้านต่าง ๆ

  31. กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกำหนดสิทธิของประชาชนในความสัมพันธ์กับรัฐ • กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชนและประชาชนโดยส่วนรวม

  32. กฎหมายระหว่างประเทศ • เป็นกฎที่อารยประเทศโดยทั่วไปยอมรับว่าเป็นหลักเกณฑ์ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งหรือข้อพิพาท กฎหมายระหว่างประเทศก็มีส่วนยับยั้งหรือยุติข้อพิพาท (เป็นการยินยอมของประเทศต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามกฎ ข้อตกลง หรือสนธิสัญญา)

  33. ใบงาน ให้นักศึกษาอธิบายความแตกต่างต่อไปนี้ • กฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร • กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง • กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน

More Related