1 / 34

2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ ( Information System Development)

2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ ( Information System Development). 2. Analysis Phase. 3. 1. Design Phase. Project Planning Phase. SDLC. Implementation Phase. Maintenance Phase. 4. 5. การพัฒนาซอฟต์แวร์ประกอบด้วยระยะต่าง ๆ ดังนี้. Phase 1 Project Planning Phase.

Download Presentation

2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ ( Information System Development)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศ(Information System Development) Systems Analysis & Design

  2. 2 Analysis Phase 3 1 Design Phase Project Planning Phase SDLC Implementation Phase Maintenance Phase 4 5 Systems Analysis & Design

  3. การพัฒนาซอฟต์แวร์ประกอบด้วยระยะต่าง ๆ ดังนี้ Systems Analysis & Design

  4. Phase 1 Project Planning Phase การวางแผนโครงการจัดเป็นกระบวนการพื้นฐานว่าทำไม (Why) ต้องสร้างระบบใหม่ ทีมงานต้องพิจารณาดำเนินงาน ขั้นตอนแรก คือ ต้องมีจุดกำเนิดโครงการ มักเกิดจากผู้ใช้ระบบ ระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้และคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่ ระยะของการวางแผนโครงการจะมีระยะเวลาค่อนข้างสั้น Systems Analysis & Design

  5. สรุประยะของการวางแผนโครงการประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ Systems Analysis & Design

  6. Phase 2 การวิเคราะห์ (Analysis Phase) ระยะการวิเคราะห์จะต้องมีคำตอบเกี่ยวกับคำถามว่าใคร (Who) เป็นผู้ใช้ระบบ และมีอะไรบ้าง (What) ที่ระบบต้องทำ ในระยะนี้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน (Current System) เพื่อนำมาพัฒนาระบบใหม่ (New System) วัตถุประสงค์หลักของระยะนี้ คือ จะต้องศึกษาในความต้องการต่างๆ ที่รวบรวมมา ดังนั้น การรวบรวมความต้องการ (Requirements Gathering) จัดว่าเป็นงานส่วนพื้นฐานของการวิเคราะห์ และเป็นการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้ (User Requirements) Systems Analysis & Design

  7. การรวบรวมความต้องการได้มาจากการสังเกตการทำงานของผู้ใช้ การสัมภาษณ์ หรือแบบสอบถาม เอกสารการปฏิบัติงาน ระเบียบกฏเกณฑ์ของบริษัท หลังจากสรุปความต้องการแล้วนักวิเคราะห์ระบบจะนำข้อกำหนดต่าง ๆ มาพัฒนาเป็นความต้องการของระบบใหม่ เทคนิคที่ใช้คือ การพัฒนาแบบจำลองกระบวนการ (Process Model) Systems Analysis & Design

  8. Phase 3 Design Phase ระยะการออกแบบ เป็นการพิจารณาว่า ระบบจะเนินการต่อไปได้อย่างไร (How) จะพัฒนาระบบใหม่ด้วยแนวทางใด เช่น พัฒนาขึ้นเอง ซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป หรือว่าจ้างบริษัทพัมนาระบบให้ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย การออกแบบรายงาน (Output Design) การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) การออกแบบผังงานระบบ (System Flowchart) รายละเอียดของโปรแกรม (specific Programs) ฐานข้อมูล (Dtatbases) Systems Analysis & Design

  9. การวิเคราะห์ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอะไร (What) การออกแบบ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างไร (How Systems Analysis & Design

  10. Phase 4 Implementation Phase ระยะการนำไปใช้ จะทำให้ระบบเกิดผลขึ้นมาด้วยการสร้างระบบ ทดสอบระบบ และการติดตั้งระบบ วัตถุประสงค์หลักของกิจกรรมในระยะนี้ คือ ระบบต้องมีความน่าเชื่อถือ ระบบต้องทำงานได้ดี และผู้ใช้ระบบต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อใช้งานระบบ Coding/Testing Implement Physical Model Implement Model Systems Analysis & Design

  11. Phase 5 Maintenance Phase ระยะการบำรุงรักษา จะไม่รวมอยู่ในส่วนของ SDLC ระยะนี้จะยาวนานที่สุด เนื่องจากระบบต้องได้รับการบำรุงรักษาตลอดระยะเวลาที่มีการใช้ระบบ และสามารถเพิ่มเติมคุณสมบัติใหม่ ๆ เข้าไปในระบบได้ ในระยะนี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง Systems Analysis & Design

  12. จากขั้นตอนการพัฒนาระบบตามแบบแผนของ SDLC มีคำที่ใช้บ่อย คือ ระยะ (Phase) คือ กลุ่มของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน กิจกรรม (Activity) กลุ่มของงานที่เกี่ยวข้องกัน งาน (Task) คือ ชิ้นงานที่ดำเนินการ Systems Analysis & Design

  13. กรรมวิธีการพัฒนาระบบ (System Development Methodology) Systems Analysis & Design

  14. กรรมวิธีการพัฒนาระบบ (System Development Methodology) โมเดล (Models) ประกอบไปด้วย Input Output Process Data Object … โดยส่วนใหญ่แล้วโมเดลหรือแบบจำลองจะนำเสนอในรูปแบบของภาพ ตัวอย่างเช่น ผังงาน (Flowchart) แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) อีอาร์ไดอะแกรม (E-R Diagram) ผังโครงสร้าง (Structure Chart) ยูสเคสไดอะแกรม (Use Case Diagram) แผนภาพแกนต์/เพิร์ต (Gantt Chart/PERT) Systems Analysis & Design

  15. กรรมวิธีการพัฒนาระบบ (System Development Methodology) เทคนิค (Techniques) คือ กลุ่มแนวทางที่ช่วยชี้นำ (Guidelines) ประกอบด้วย เทคนิคการบริหารโครงการ เทคนิคการสัมภาษณ์ เทคนิคการสร้างแบบจำลองข้อมูล เทคนิคการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เทคนิคการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง เทคนิคการออกแบบเชิงโครงสร้าง เทคนิคการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง เทคนิคการทดสอบซอฟต์แวร์ เทคนิคการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ Systems Analysis & Design

  16. วิธีการพัฒนาระบบ (System Development) ประกอบด้วย 2 วิธี ดังนี้ เป็นพื้นฐานการพัฒนาระบบสารสนเทศ ด้วยวิธีโครงสร้าง และการโปรแกรมข้อมูลแบบโมดูล เรียกวิธีนี้ว่า การพัฒนาระบบเชิงโครงสร้าง (Structured System Development) ประกอบด้วย การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structured Analysis) การออกแบบเชิงโครงสร้าง (Structured Design) การโปรแกรมเชิงโครงสร้าง (Structured Programming) • วิธีการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม (The Traditional Approach) Systems Analysis & Design

  17. วิธีการพัฒนาระบบเชิงวัตถุ (The Object-Oriented Approach) การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ (Object-Oriented Analysis And Design : OOAD) จัดเป็นวิธีใหม่ของการพัฒนาระบบ ประกอบไปด้วย 3 แนวทาง คือ การวิเคราะห์ระบบด้วยวิธีเชิงวัตถุ (Object-Oriented Analysis : OOA) เป็นการกำหนดวัตถุต่าง ๆ ที่ต้องมีในระบบ และแสดงถึงวัตถุแต่ละตัวจะโต้ตอบกันอย่างไรเพื่อให้งานใดงานหนึ่งสมบูรณ์ การออกแบบระบบด้วยวิธีเชิงวัตถุ (Object-OrientedDesign : OOD) เป็นการดำเนินการกำหนดชนิดของวัตถุเพิ่มเติมที่มีส่วนสำคัญในการสื่อสารกับมนุษย์และอุปกรณ์ในระบบและแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-OrientedProgramming : OOP) เป็นการเขียนชุดคำสั่งให้วัตถุทำงานร่วมกัน Systems Analysis & Design

  18. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) มีการนำหลักการนี้มาใช้ในราวปี ค.ศ.1968 เพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีมาตรฐาน และเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดย Sommerville ได้ระบุกิจกรรมพื้นฐานของกระบวนการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 4 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. ข้อกำหนดซอฟต์แวร์ (Software Specification) เป็นข้อกำหนดด้วยการกำหนดฟังก์ชันหน้าที่ของซอฟต์แวร์ กิจกรรมดังกล่าวปัจจุบันเรียกว่า วิศวกรรมความต้องการ (Requirements Engineering) 2. การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) คือ การพัฒนาหรือสร้างผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามข้อกำหนด ด้วยการนำกรรมวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Methodology) มาใช้ Systems Analysis & Design

  19. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) 3. การตรวจสอบความถูกต้องของซอฟต์แวร์ (Software Validation) ซอฟต์แวร์จะต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน 4. วิวัฒนาการของซอฟต์แวร์ (Software Evolution) ซอฟต์แวร์อาจมีความเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน ดังนั้นซอฟต์แวร์ควรออกแบบไว้เพื่อรองรับวิวัฒนาการที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้ใช้งานด้วย Systems Analysis & Design

  20. คุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย 1. มีความถูกต้อง (Correctness) คือ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน 2. มีความน่าเชื่อถือ (Reliability) คือ ความน่าเชื่อถือในผลลัพธ์ และข้อมูล 3. ใช้งานง่าย (User friendliness) คือ ใช้งานง่าย เรียนรู้ง่าย มีข้อความช่วยเหลือและคำอธิบายครบถ้วน 4. บำรุงรักษาง่าย (Maintainability) คือมีความเป็นไปได้ในกรณีที่ต้องมีการปรับปรุงซอฟต์แวร์ตามความต้องการของลูกค้าในอนาคต 5. สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ (Reusability) คือ ซึ่งมีผลต่อต้นทุนและเวลาลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการพัฒนา Systems Analysis & Design

  21. คุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย 6. มีความคงทน (Robustness) คือ สามารถทำงานได้เป็นปกติแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์หรือปัญหา 7. มีประสิทธิภาพ (Efficiency) คือ ความน่าเชื่อถือในผลลัพธ์ และข้อมูล 8. มีความสะดวกในการเคลื่อนย้าย (Portability) คือ สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อใช้งานบนสภาวะใหม่ หรือสะดวกต่อการถ่ายโอนข้อมูล 9. มีความปลอดภัย (Security/Safety) คือความปลอดภัยของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ Systems Analysis & Design

  22. โมเดลการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Process Models) คือ แบบจำลองที่ใช้สำหรับเป็นตัวชี้นำกิจกรรมหลักในการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยการกำหนดรายละเอียดหรือข้อบัญญัติไว้ในแต่ละกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน ที่มีลำดับไว้ชัดเจน โมเดลการพัฒนาซอฟต์แวร์จัดเป็น “กรรมวิธีการพัฒนาซอฟต์แวร์(Methodology)”หนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสำเร็จ Systems Analysis & Design

  23. โมเดลซอฟต์แวร์ ที่สำคัญ Built-and-Fix Model Water Fall Model Incremental Model Spiral Model Rapid Application Development (RAD) Joint Application Development (JAD) Rational Unified Process (RUP) Systems Analysis & Design

  24. โมเดลซอฟต์แวร์ ที่สำคัญ Built-and-Fix Model จัดเป็นโมเดลที่เก่าแก่ที่สุด เป็นการเขียนโปรแกรม และแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมไปเรื่อย ๆ ลองผิดลองถูกไปจนคิดว่าพอใจ หรือตรงตามความต้องการ ทำให้เสียเวลาไปกับการดีบั๊กโปรแกรม และการบำรุงรักษา เหมาะกับโปรแกรมขนาดเล็กที่ไม่มีความซับซ้อน Systems Analysis & Design

  25. โมเดลซอฟต์แวร์ ที่สำคัญ Water Fall Model หรือเรียกว่า โมเดลน้ำตก เป็นโมเดลที่ง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ มีความคล้ายคลึงกับวงจรการพัฒนาระบบ SDLC ข้อเสียของโมเดลน้ำตก คือ จะมีกระบวนการทดสอบอยู่ในตอนท้าย ๆ หากมีการจัดการที่ไม่ดีพอ มีโอกาสที่จะต้องวนกลับไปยังเฟสต้น ๆ ไปเรื่อย ๆ Systems Analysis & Design

  26. Water Fall Model Requirements Analysis Design Coding Testing Maintenance Systems Analysis & Design

  27. Incremental Model เป็นโมเดลที่นำหลักการของ Water Fall Model มาปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยข้อเสียของ Water Fall Model ดังนั้น Incremental Model จึงได้ลดข้อเสีย ด้วยการเพิ่มส่วนของการออกแบบและพัฒนาในรูปแบบของส่วนงานย่อยในลักษณะแบบก้าวหน้า (Increment) โดยแต่ละส่วนงานย่อยจะมีการทวนซ้ำเป็นรอบในลักษณะ Iteration พร้อมกับมีระบบตรวจสอบ จะมีการตรวจสอบความถูกต้อง 2 ด้านคือ 1. Verification เป็นการตรวจสอบความถูกต้องตามข้อกำหนด หรือความพยายามหาข้อผิดพลาดจากการประมวลผลโปรแกรม 2. Validation เป็นการตรวจสอบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ว่าตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ Systems Analysis & Design

  28. โมเดลซอฟต์แวร์ ที่สำคัญ Spiral Model แบบจำลองแบบนี้เหมาะกับระบบงานที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงบ่อย เนื่องจากในแต่ละเฟสจะมีการวิเคราะห์ความต้องการใหม่ และวิเคราะห์ความเสี่ยงว่าจะทำการพัฒนาต่อไปหรือไม่ หรือจะเพียงพอกับเฟสนี้เท่านั้น Systems Analysis & Design

  29. การวิเคราะห์ การออกแบบระบบ การสร้างระบบ ทดสอบระบบ โมเดลซอฟต์แวร์ ที่สำคัญ Rapid Application Development (RAD) คือ การพัฒนา Application อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักใช้เครื่องมือสนับสนุนอย่าง CASE Tools ช่วยในการพัฒนา เป็นการคิดค้นหาวิธีการ ในการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ ให้ใช้เวลาสั้นกว่า SDLC RAD มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ ต้องการรวบรวมกระบวนการสำคัญต่าง ๆ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชั่น ในระยะเวลาอันสั้น โดยใช้เครื่องมือ เช่น Case Tools, การใช้ภาษายุคที่ 4, เครื่องมือต้นแบบ (Prototype) ผลเสีย ก็คือ ไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง ในอนาคต Systems Analysis & Design

  30. โมเดลซอฟต์แวร์ ที่สำคัญ Joint Application Development (JAD) คือ การพัฒนาแอปพลิเคชั่นร่วมกัน ซึ่งเป็นรากฐานของกระบวนการพัฒนา ออกแบบ บนพื้นฐานของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยบุคคลในองค์กร และผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) จุดประสงค์หลักของ JAD คือ การพัฒนาระบบงานที่ใช้เวลาอันสั้นและมีความสมบูรณ์ในโครงการ หมายถึง คุณภาพของงานที่แล้วเสร็จตรงเวลา พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM Systems Analysis & Design

  31. โมเดลซอฟต์แวร์ ที่สำคัญ Rational Unified Process (RUP) เป็นกระบวนการที่ได้พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Rational Software จุดประสงค์ของ RUP คือ ต้องการให้ทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงตรงตามความต้องการของผู้ใช้ภายใต้งบประมาณและระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ โดยพื้นฐานสำคัญ คือการสร้างโมเดล และจัดการโมเดลด้วยภาษา UML โดยกำหนดไว้ 4 ระยะ Systems Analysis & Design

  32. เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการพัฒนาระบบTools to Support System Development เครื่องมือจะช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศมีความรวดเร็วและมีคุณภาพหนึ่งในเครื่องมือนี้ คือ เคสทูลส์ (Computer-Aided Software Engineering: Case Tools) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. Upper CASE Tools เป็นเครื่องมือสนับสนุนด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ในการสร้างและปรับปรุงการออกแบบระบบข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับงานนั้นจะถูกบันทึกไว้ประกอบด้วยไดอะแกรมหน้าจอรายงานและข้อมูลอื่น Systems Analysis & Design

  33. เครื่องมือที่ใช้สนับสนุนการพัฒนาระบบTools to Support System Development • Lower CASE Tools • เป็นเครื่องมือที่สนับสนุนด้านการนำไปใช้ (Implementation) จะใช้สำหรับการสร้างโปรแกรม (Source Code) ซึ่งทำให้ระบบนี้ ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเมอร์ซึ่งมีผลดีคือ 1. สามารถพัฒนาระบบได้อย่างรวดเร็ว 2. ลดเวลาที่จะเสียไปสำหรับการบำรุงรักษาระบบในส่วนของการเขียนโปรแกรม 3. ลดค่าใช้จ่ายเมื่อต้องการเปลี่ยนซอฟต์แวร์ 4. ลดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม Systems Analysis & Design

  34. Microsoft Visio เป็นโปรแกรมประเภทเครื่องมือช่วยวาด (Drawing Tool0 โดยนักวิเคราะห์ระบบสามารถนำมาใช้ในการวาดแบบจำลองระบบ หรือไดอะแกรมต่าง ๆได้ตามต้องการ Systems Analysis & Design

More Related