1 / 47

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. รหัสวิชา 2500101. บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์.

raine
Download Presentation

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน รหัสวิชา 2500101

  2. บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์บทที่1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์

  3. พฤติกรรมของมนุษย์ที่เราสังเกตเห็นได้โดยทั่วไปนั้น เป็นผลของการแสดงออกจากความรู้สึกนึกคิดของบุคคล ซึ่งความรู้สึกนึกคิดนั้นจัดเป็นพฤติกรรมภายใน บุคคลจะแสดงพฤติกรรมทั้งหลายออกมาจากความรู้สึกนึกคิดของตนเองมาเป็นพฤติกรรมที่ทำให้คนอื่นสังเกตได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์นั้น เป็นการศึกษาถึงสาเหตุและผลของพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งสามารถศึกษาได้ 2 ประการ คือ สาเหตุภายนอกตัวมนุษย์ ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์และสภาพทางสังคมวัฒนธรรม เป็นต้น ส่วนสาเหตุภายในได้แก่ ลักษณะทางจิตใจของมนุษย์ที่มีผลต่อพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมที่มีแนวทางในการสร้างสรรค์สังคมและกประเทศในทิศทางที่เหมาะสม ในการที่จะศึกษาพฤติกรรมของบุคคลนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าใจหลักจิตวิทยาหรือวิทยาศาสตร์แห่งการศึกษาพฤติกรรมมนุศย์ให้ถ่องแท้ทั้งลักษณะพฤติกรรมภายในและภายนอก ตลอดจนแนวคิดและวิธีการศึกษาจิตพฤติกรรมที่แตกต่างกันตามลักษณะของจิตวิทยากลุ่มต่างๆ

  4. การศึกษาจิตวิทยา คำว่า “ จิตวิทยา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า psychology ซึ่งมีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า psyche หมายถึง จิต ( mind) หรือ วิญญาณ ( soul ) กับคำว่า logos หมายถึง การเรียนหรือการศึกษา ( study ) ศาสตร์ วิชาความหมายของจิตวิทยากู๊ด ( Good. 1959 ) ให้ความหมายว่า จิตวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวของอินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมฮิลการ์ด (Hilgard . 1959 ) ให้ความหมายว่า จิตวิทยา หมายถึงศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์

  5. จิตวิทยาเป็นศาสตร์ทางพฤติกรรม คำว่าศาสตร์แบ่งได้เป็น 1 . ศาสตร์บริสุทธิ์ (pure science) หมายถึงการศึกษาค้นคว้าหาความจริงต่างๆ ในโลกโดยมุ่งศึกษาเรื่องราวตามธรรมชาติที่เป็นอยู่ ผลการศึกษาของศาสตร์บริสุทธิ์นี้ปรากฎในรูปของกฎเกณฑ์ หรือหลักการที่ตายตัวไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก และวิธีการใช้ในการศึกษามักจะแน่นอนและรัดกุม ถ้าเปรียบเทียบกับศาสตร์แขนงอื่นๆ 2. พฤติกรรมศาสตร์ (behavioral sciecnce) ในความหมายของคำว่า “ พฤติกรรมศาสตร์ ” นั้นเป็นการศึกษาพฤติกรรมมมนุษย์โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ว่ามนุษย์นั้นมีพฤติกรรมอะไรบ้าง และทำไมจึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น เป็นการศึกษเพื่อต้องการทราบว่าทำไมคนเราจึงมีการกระทำบางอย่างที่คล้ายๆ กันและไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังพยายามคาดการณ์หรือทำนายถึงความ

  6. ต้องการมนุษย์และพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดประโยนช์สูงสุดต่อบุคคลและสังคมโดยส่วนรวม ในการศึกษาศาสตร์แห่งพฤติกรรมนี้ต้องอาศัยศาสตร์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาศึกษาให้เห็นชัด ได้แก่ ศาสตร์ทางด้านจิตวิทยา ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือพฤติกรรมที่เราต้องศึกษานั้น จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมศาสตร์นี้มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ คือ การรวมเอาเนื้อหา หลักการของศาสตร์ต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์มาผสมผสานกันอย่างมีหลักเกณฑ์และหลักการทางวิทยาศาสตร์ และการที่ต้องอาศัยศาสตร์มากกว่าหนึ่งสาขานั้น เนื่องจากว่าไม่มีสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเพียงสาขาเดียวในโลกที่มีมโนทัศน์กว้างพอที่จะครอบคลุม “ พฤติกรรมศาสตร์ ” ในทุกๆด้านได้ พฤติกรรมศาสตร์ยังมีลักษณะที่ไม่สามารถกำหนดเนื้อหาในแต่ละสาขาวิชาที่เจาะจงลงไป เพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรมที่ต้องการศึกษาได้ อีกทั้งลำดับความสำคัญของสาขาวิชาที่เลือกมาศึกษาก็ยังต้องขึ้นอยู่กับปัญหา และพฤติกรรมที่ต้องการศึกษา และยังต้องเป็นเนื้อหาในแต่ละสาขาวิชาที่เลือกมาศึกษาก็ยังต้องขึ้นอยู่กับปัญหา และพฤติกรรมเท่านั้น เช่น พฤติกรรมทางการเมือง เนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องตามลำดับความสำคัญก็คือ การถ่ายทอดทางการเมือง และเนื้อหาในวิชารัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางการเมืองที่ต้องการศึกษาเท่านั้น

  7. จิตวิทยาจัดเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะเนื้อหาสาระของวิชาจิตวิทยาได้มาโดยกระบวนการหรือขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 1.ขั้นปัญหา ปัญหาที่เกิดขึ้นคือปัญหาใด ต้องการคำตอบในเรื่องอะไร แล้วให้ชื่อเรื่องที่ปัญหาที่ต้องการศึกษา 2. ขั้นปัญหาสมมุติฐาน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือปัญหาแล้ว ผู้ที่ทำการศึกษาจะต้องคาดคะเนคำตอบไว้ล่วงหน้าว่าคำตอบนั้นจะอย่างไร ซึ่งจะต้องตั้งอยู่บนเหตุผลที่สนับสนุนสมมุติฐานพอสมควร 3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล เป็นการแสวงหาคำตอบโดยการรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล โดยการนำข้อมูลที่ได้ในขั้นตอนที่ 3 มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อเท็จจริง ทดสอบสมมุติฐานตั้งไว้ว่าจริงหรือไม่ โดยใช้วิธีการทางสถิติวิจัย แล้วตีความหมายของข้อมูล

  8. 5. ขั้นการประเมินและสรุปผล โดยการสรุปเป็นเกณฑ์ หรือ ทฤษฎี หรือ คำตอบ เป็นการแปลความหมายและรายงานผล 6. การนำผลที่ได้ไปใช้ ขั้นตอนนี้เป็นการนำเอาคำตอบที่ได้พิสูจน์แล้วไปใช้เป็นหลักเกณฑ์หรือทฤษฎีนำไปอธิบายและแก้ปัญหาต่างๆ ดังนั้นจิตวิทยาจึงเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะข้อมูลที่นำมาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์นั้นมาจากขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ มีการพิสูจน์ ค้นคว้า ทดลอง ค้นหาความจริงที่มีระเบียบแบบแผนและมีการสรุปผลที่แน่นอน

  9. สาขาต่างๆ ของจิตวิทยา จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม พฤติกรรม คือการกระทำซึ่งมนุษย์แสดงออก ศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานทางจิตวิทยา ได้แก่ ปรัชญา สรีรวิทยา และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติต่างๆ จิตวิทยาเกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่นๆ ไม่เฉพาะกับวงการแพทย์เท่านั้น ปัจจุบันจิตวิทยามีส่วนเกี่ยวข้องกันแทบทุกวงการ เกี่ยวข้องกับอาชีพต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าวงการศึกษา กฎหมาย การเมือง และทางาอุตสาหกรรมซึ่งสามารถจัดสาขาวิชาต่างๆ ของจิตวิทยาได้ดังนี้ 1. จิตวิทยาทั่วไป ทำการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเบื้องต้นโดยทั่วๆ ไป ที่เป็นพื้นฐานของจิตวิทยาประยุกต์อื่นๆ ซึ่งศึกษาในแง่ทฤษฎี หลักเกณฑ์หรือหลักการ เช่น การเรียนรู้ การรับรู้ ความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา แรงจูงใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นต้น

  10. 2. จิตวิทยาการศึกษา เป็นการนำหลักจิตวิทยาไปใช้ในระบบวงการศึกษา การจัดการเรียนการสอนวิธีการเรียนรู้ให้ได้ผลอย่างประสิทธิภาพ หลักการใช้แรงจูงใจการเรียนการสอน การนำทฤษฏีกการเรียนรู้ต่างๆ ไปใช้การจัดการเรียนการสอน เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของบุคคล 3. จิตวิทยาอปกติ เป็นการศึกษาพฤติกรรมที่ผิดปกติของมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ศึกษาค้นคว้าหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนหรือผิดปกติเหล่านั้นว่าเกิดจากสาเหตุใด 4. จิตวิทยาคลีนิค ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาที่อันเนื่องมาจาก ความผิดปกติต่างๆ ของบุคลิกภาพพฤติกรรมที่เป็นปัญหาหรือเบี่ยงเบนไปจากปกติของมนุษย์ 5. จิตวิทยาพัฒนาการ ทำการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ทุกๆ ด้าน อันได้แก่ พัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ตั้งแต่แรกจนกระทั่งถึงวัยชรา 6. จิตวิทยาพัฒนาการ ทำการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของมนนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมหรือวงการต่างๆ เช่น จิตวิทยาอุตสาหกรรม จิตวิทยาธุรกิจ จิตวิทยาการเมือง เป็นต้น

  11. แนวความคิดของจิตวิทยากลุ่มต่างๆ 1. กลุ่มโครงสร้างของจิต ( Structuralism ) กลุ่มนี้เกิดจากผลงาน ของ อีบี. ทิสเชอเนอร์ วัตถุประสงค์ของจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ การวิเคราะห์ภายในจิตใจของมนุษย์ห ( introspection ) หรือ การพินิจภายใน ด้วยความระมัดระวัง ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับลักษณะและประสบการณ์เกี่ยวกับจิตสำนึกแบบง่ายๆ แล้วนำมาหาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆ กลุ่มนี้เห็นว่าควรทำการวิเคราะห์สิ่งย่อยๆ หลายๆ อัน ทั้งสิ่งที่ยากและง่ายรวมเข้าเป็นกลุ่มก้อน พยายามมองว่าจิตประกอบด้วยประสบการณ์ย่อยๆ หลายๆ อัน นักจิตวิทยากลุ่มนี้สนใจศึกษาถึงเรื่องจิตธาตุ ( mental elements ) คือ เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยร่างกาย กับจิตใจ ซึ่งต่างก็เป็นอิสระแก่กัน แต่ก็ทำงานสัมพันธ์กัน พฤติกรรมของบุคคลเกิดการจากกระทำของร่างกาย ซึ่งการกระทำของร่างกายนั้นเกิดจากการควบคุมและสั่งการของจิตใจ ซึ่งกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าโครงสร้างของจิตประกอบไปด้วย จิตธาตุ (mental elements ) ซึ่งจิตธาตุนี้ประกอบด้วยสัมผัส ( sensation ) รู้สึก ( feeling ) และจิตนา

  12. การหรือภาพจิต หรือจิตภาพ หรือจินตภาพ หรือมโนภาพ ( image ) จิตธาตุทั้ง 3 นี้ เมื่อมาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดรูปจิตผสมขึ้น เช่น เกิดความคิด อารมณ์ ความจำ การหาเหตุผล ฯลฯ ซึ่งจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญคือความเชื่อในเรื่ององค์ประกอบของบุคคลว่า บุคคลประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจ จิตใจยังแบ่งย่อยได้ เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการคิด การจำ ฯลฯ และสิ่งที่นำใช้ในการจัดการศึกษานักการศึกษาเชื่อว่าหากต้องการฝึกจิตธาตุส่วนใดให้มีความสามารถต้องฝึกฝนเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เช่น วิชาที่เกี่ยวกับการท่องจำ วิชาที่ต้องใช้ทักษะ วิชาที่ต้องใช้ความคิด เป็นต้น

  13. 2. กลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism ) ผู้พัฒนากลุ่มนี้ คือ วิลเลียม เจมส์ ผู้บุกเบิกเริ่มต้น คือ จอร์ห ดิวอี้ และ เจมส์ แองเจิล นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ การทดสอบทางจิต และการใช้เนื้อหาวิชาต่างๆ โดยเน้นเกี่ยวกับ “ อะไร ” .” เพื่ออะไร ” สนใจเกี่ยวกับว่ามีสิ่งมีชีวิตทำอะไร และการกระทำนี้จะรวมถึงอากัปกริยาที่แสดงออกรวมกับความตั้งใจในการกระทำ ซึ่งจิตจะมีหน้าที่ควบคุมการกระทำกิจกรรมของร่างกายในการที่ร่างกายในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมแนวความคิดของกลุ่มหน้าที่ของจิตสรุปได้ 2 ประการ

  14. 1. การแสดงออก หรือการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของบุคคล เป็นการแสดงออกของจิตเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าต้องการจะศึกษาจิตใจของคนต้องศึกษาที่การแสดงออก หรือการกระทำของเขาในสถานการณ์ต่างๆ 2. พฤติกรรมการกระทำ และการแสดงออกของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ได้รับมา นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการเรียนรู้ การจูงใจ การแก้ปัญหา ความจำของคนเพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้กับสิ่งแวดล้อมได้ แนวคิดของกลุ่มนี้มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาคือเพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสูข ซึ่งตรงกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ว่า การศึกษาคือการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม วิธีการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ให้มากที่สุด

  15. 3. กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) ผู้นำกลุ่มนี้ คือ จอห์น บี วัตสัน ( John B. Watson ) กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการพินิจภายในหรือวิธีการตรวจสอบตนเอง และถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในเรื่องที่ว่าพยายามทำให้มนุษย์เป็นเหมือนเครื่องจักรวัตสันมีความเห็นว่า พฤติกรรมเป็นการกระทำที่ทุกคนเห็นได้ ส่วนจิตสำนึกเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่สามารถมองเห็นได้ดังนั้นศาสตร์ควจจะเกี่ยวข้องกับความจริงทุกคนเห็นได้ มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเราเกิดขึ้นจากการแสดงอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และการตอบสนองติดต่อกันไปเรื่อยๆ จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ เชื่อว่าพฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุมาจากสิ่งเร้า จิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไข เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชื่อว่าการฝึกอบรมเด็กให้มีพฤติกรรมตามที่ปรารถนได้ พฤติกรรรมของคนเกิดการเรียนรู้มากกว่าที่จะเป็นไปเองธรรมชาติ

  16. 4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ ( Psychoanalysis ) ผู้นำจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ( Sigmund Freud ) ฟรอยด์เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา ประเทศออสเตรีย ฟรอยด์ได้วิเคราะห์ภาวะจิตใจของคนเราออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ภาวะจิตรู้สำนึก ( conscious mind ) คือภาวะที่คนเราความรู้สึกตัวว่าเราคือใคร กำลังทำอะไร รู้ตัว รู้ตนว่าเป็นอะไร คือเป็นภาวะที่คนเรารู้สึกตัวมีสตินั่นเอง ส่วนจิตใต้สำนึก ( subconscions mind ) คือ สภาพที่ไม่รู้ตัวบางขณะ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่จำและไม่ได้ลืมเสียทีเดียว แต่ไม่ได้นึกถึงในขณะนั้น จะนึกขึ้นมาได้อีกครั้งก็ต่อเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเตือนทำให้นึกออกหรือคิดได้ทันที เป็นประสบการณ์ต่างๆ ที่เก็บไว้ในรูปของความทรงจำ เป็นสภาวะที่คนเราสามารถระลึกได้ และจิตไร้สำนึก ( unconscious mind ) เป็นสภาวะที่คนเราเก็บกดบางสิ่งบางอย่างเอาไว้ในส่วนลึกของจิตใจ บางครั้งเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้ว่าการทำสิ่งนั้นเพราะอะไร เป็นสิ่งที่เก็บกดเอาไว้หรือพยายามที่จะลืม บางครั้งก็อาจลืมไปได้จริงๆ เพราะอาจเป็นสถานการณ์ที่เจ็บปวดไม่อยากจะจำไว้

  17. การออกของจิตไร้สำนึกหรือสิ่งที่เราเก็บกดเอาไว้เหล่านี้มักจะออกมาในรูปของความฝัน การละเมอการพลั้งปากพูดออกไป หรือการสะกดจิตของจิตแพทย์ เพื่อต้องการรู้ถึงจิตไร้สำนึกซึ่งเป็นความขัดแย้งในใจและเชื่อว่าเป็นสาเหตุของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติและบุคลิกภาพที่เป็นปัญหาของบุคคล นอกจากนี้ ฟรอยด์ยังได้วิเคราะห์องค์ประกอบของจิต หรือ พลังจิต ออกเป็น 3 ส่วน คือ อิด ( id ) หรือ ตัณหา คือ ความอยากทั้งหลายทั้งปวง ความต้องการดั้งเดิมของมนุษย์ รวมทั้งสัญชาติญาณและแรงขับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจิตที่คอยกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมตามหลักแห่งความพอใจ ( pleasure principle ) เพื่อตอบสนองความต้องการของตน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้

  18. ขัดเกลา ไม่คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น แสดงออกให้มาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ ทำพฤติกรรมต่างๆ ตามความพอใจ พฤติกรรมที่แสดงออกมาภายใต้อิทธิพลของอิดนี้จึงมีลักษณะค่อนข้าง ก้าวร้าว หยาบคาย เห็นแก่ตัว บางครั้งโหดร้าย เป็นต้น ส่วนอีโก้ ( ego) คือ พลังจิตที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมซึ่งบุคคลได้รับมาจากการในสังคม ได้ผ่านการอบรมมาแล้ว การแสดงออกของอีโก้นั้นยึดหลักของเหตุผล ( reality principle ) เป็นเหตุเป็นผลหาทางให้อิดได้ตอบสนองโดยไม่ขัดกับคุณธรรม หรือค่านิยมของสังคม ให้บุคคลแสดงพฤติกรรมดำเนินไปอย่างเหมาะสม และตัวสุดท้าย คือ ซุปเปอร์อีโก้ ( super ego )คือ ส่วนที่เป็นอุดมการณ์ ค่านิยมอุดมคติ เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกของความรู้สึกชอบชั่วดีบทบาทของกลุ่มจิตวิเคราะห์นี้จะเน้นหนักไปทางด้านบุคลิกภาพ การแนะแนว และมักเกี่ยวกับผู้ที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ใช้ประโยชน์ในจิตวิทยาคลีนิค การให้คำปรึกษา ศึกษาพวกอปติ โดยจะศึกษาถึงสาเหตุของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติของมนุษย์โดยทั่วไป

  19. 5. กลุ่มเกสตัสท์ ( Gestalt Psychology ) ผู้นำจิตวิทยากลุ่มนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไธเมอร์ กับคณะ คือ เคิร์ท คอฟกา และวูฟแกง โดห์แลอร์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ที่ประเทศเยอรทมันนี ส่วนคำว่า “ เกสตัลท์ ” ( Gestalt )นั้นเป็นคำในภาษาเยอรมันซึ่งตรงกับคำในภาษาอังฤกษ “ form ” หรือ “ figure ” หรือ “ configuration ” หมายถึง แบบหรือรูปร่างรูปแบบ การรวมหน่วยย่อย การรวมเป็นรูปร่าง หรือโครงรูปแห่งการรวมหน่วย นักจิตวิทยากลุ่มนี้ยืดถือเอาส่วนรวมทั้งหมดเป็นสำคัญ หลักสำคัญที่เกี่ยวกับจิตวิทยาเกสตัลท์ ได้แก่

  20. 1) การรับรู้ภาพและพื้น ( figure and ground ) การที่คนเรารับภาพต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือรูปภาพทางเรขาคณิต เป็นรูปต่างๆขึ้นมาได้นั้น เพราะเส้นต่างๆตัดพื้น ทำให้เกิดภาพขึ้นมามองเห็นเป็นกระสวน ( pattern ) ของรูปภาพต่างๆ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพและพื้น บางครั้งเราจะมองเห็นภาพและพื้นสลับกัน การเห็นเป็นแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับการมองหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล 2) การรับรู้เป็นหมวดหมู่และเป็นกระสวน ( perceptal grouping and pattern ) กระสวนที่เรียบง่ายของเส้น ของจุด ย่อยมีความสัมพันธ์กับจนเรามองเห็นเป็นกลุ่มเดียวกันได้ง่ายเนื่องจากโครงสร้างของภาพต่างๆ มีอิทธิบังคับให้เราเห็นเป็นกระสวนไปตามที่จงใจจัดไว้

  21. 3) การพิสูจน์การรับรู้ ( perceptual hypothesis ) ภาพที่มองอาจจะกลับไปกลับมาก็ได้ ( reversible figure ) การเห็นภาพกลับได้เช่นนี้ชี้ว่าในเมื่อสิ่งเร้าเสนอภาพมาให้เลือกเป็นสองแง่เช่นนี้ เราก็ต้อง กำหนดไว้ว่าการมองของเรานั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิสูจน์ให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าเราจะรับรู้ความหมายอันไหน 4) มายาแห่งการรับรู้ในการมองภาพ ( visual illusion ) บางครั้งเราเลือกรับรุ้ภาพผิดอันเป็นผลจากการพิสูจน์สมมุติฐานไม่ออก เราจะพบภาพมายาทันที แบ่งออกเป็น 4.1 มายาแห่งการรับรู้อาจได้จากปัจจัยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของขนาด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆ ที่ห้อมล้อมอยู่

  22. 4.2 มายาแห่งการรับรู้อาจเกิดขึ้นจากเอาภาพหนึ่งฉายเข้าไปในมิติที่สาม ทำให้เกิดการตัดกันของเส้นตรง 4.3 มายาที่เกิดจากเส้นขนานที่ถูกอิทธิพลของระยะไกล เช่น เราทราบว่าทางรถไฟนั้นขนาดเดียวกันตลอด กระนั้นเราก็เห็นส่วนที่ใกล้กว้างกว่าส่วนที่ไกล เราเรียกว่า ponzo illusion 5) การหยั่งเห็น ( insight ) กลุ่มนี้เชื่อว่าความสามารถในการแก้ปัญหาของคนเรานั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการหยั่งเห็น คนเราจะหยั่งเห็นได้ต้องอาศัยการมีประสบการณ์เป็นตัวช่วยในการรับรู้

  23. การนำหลักของจิตวิทยาเกสตัลท์มาใช้จิตวิทยาเกสตัลท์เน้นเรื่องการรับรู้และการรับรู้ มีการนำหลักมาใช้ดังนี้ 1. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะแสวงหาข้อยุติ หากมีสถานการณ์ หรือปัญหาใดยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์มนุษย์จะมุ่งความสนใจจนกว่าจะได้รับคำตอบในเรื่องนั้นอย่างบูรณ์ 2. มนุษย์มุ่งสนองความต้องการในปัจจุบันให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ แต่ละคนจะรับรู้ต่างๆ ตามความต้องการในขณะนั้นของตน เช่น วัตถุทรงบกลม สำหรับที่กำลังหิวอาจเห็นเป็นลูกแอปเปิ้ล ส่วนเด็กที่กำลังอยากเล่นจะเห็นเป็นฟุตบอลก็ได้ 3. พฤติกรรมของมนุษย์เป็นหน่วยรวม ที่มีความสำคัญมากกว่าพฤติกรรมย่อยหลายๆ อันมารวมกัน เช่น การฟังดนตรี เป็นกระบวนการที่เกิดจากการรวมเสียงตัวโน้ตแต่ละตัวรวมกันเป็นทำนองเพลง

  24. 4. พฤติกรรมของมนุษย์จะเป็นที่เข้าใจและมีความหมาย เมื่อทราบถึงที่มาของพฤติกรรมนั้นเช่น เด็กที่ถูกพ่อแม่เฆี่ยนตีเสมอ เมื่อเห็นครูเดินถือไม้บรรทัดเข้ามาหาก็อาจคิดว่าครูกำลังจะเขามาโทษตัวเอง 5. ประสบการณ์ที่มนุษย์ได้รับเป็นผลจากหลักการภาพและพื้น ถ้าเราให้ความสนใจต่อสิ่งใดในขณะนั้น สิ่งนั้นเป็นภาพและสิ่งอื่นจะเป็นพื้น เช่น ในขณะที่เราดูภาพวาดสีและรูปทรงถือเป็นภาพจะเปลี่ยนเป็นพื้น จะเห็นได้ว่าจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์นี้เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ได้ผลดีกับปัญหาต่างๆ หลายด้าน เช่น การบรรลุสัจการแห่งตน การาพัฒนาสภาพจิต การสื่อสารระหว่างบุคคล การตัดสินใจแก้ปัญหา การพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์

  25. 6. กลุ่มมนุษย์นิยม ( Humaniam ) ผู้นำกลุ่มนี้ คือ คาร์ โรเจอร์ ( Carl R. Rogers ) และ อับราฮัม มาสโลว์ ( Abraham H. Maslow ) มีแนวคิดดังนี้ ( กันยา สุวรรณแสง .2540) 1)เชื่อว่ามนุษย์ทีจิตใจ มีความรู้สึก มีความรัก ต้องการความอบอุ่น ต้องการความเข้าใจและมีความสามารถเฉพาะตัว 2) เชื่อว่ามนุษย์พยายามที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองอื่นและและยอมรับในความสามารถของตนเอง 3) มีความเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็เข้าใจผู้อื่นและยอมรับตนเองอยู่แล้ว ต่างก็มุ่งสร้างความเป็นที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง 4) มนุษย์ควรมีอิสระที่จะเลือกกระทำ เลือกประสบการณ์ให้แก่ตนเอง

  26. 5) มีความเห็นว่าวิธีการค้นคว้า และ แสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงต่างๆ นั้น เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญกว่าตัวความรู้หรือข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวความรู้จึงไม่คงที่ตายตัว ดังนั้นที่สำคัญก็วิธีการแสวงหาความรู้ กลุ่มนี้มองว่ามนุษย์มีแต่สิ่งที่ดีงาม ทุกคนอยากทำความดี จะเน้นคุณค่าของความเป็นเพราะมนุษย์มีความเป็นอิสระในการคิดการตัดสินใจและมีความรับชอบด้วยกันทุกคน

  27. 7. มนุษย์ตามหลักพุธทศาสนา จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสนานี้ กล่าวว่ามนุษย์ประกอบด้วยกาย ( รูปขันธ์ ) และจิต ( นามขันธ์ ) ขันธ์ แปลว่า หนวด หมู่ กอง ซึ่งมนุษย์ประกอบด้วยขันธ์ห้า หรือเบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบ 5 ส่วน ที่ประชุมรวมกันเป็นหน่วยรวม ซึ่งสมมุติเรียกว่าบุคคล ( a human beig ) หรือตัวเรา ( a person ) นั่นเองขันธ์ 5 ( the five aggregateas ) ประกอบด้วย ( จำลอง ดิษยวณิช . 2541 ) 1) รูปขันธ์ ( corporeality ) คือ กองรูปได้แก่ส่วนที่เป็นร่างกาย รวมทั้งพฤติกรรมอาการและคุณสมบัติต่างๆ ของร่างกาย เช่น ผม เล็บ ฟัน หนังปอด ตับไต การยืน การเดิน การยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นสภาพทางกายจับต้องได้ มองเห็นได้อย่างชัดเจน 2) เวทนาขันธ์ ( feeling ) คือ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดจากการทำงานของรูป โดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้า เป็นความรู้สึกจากการเสวยอารมณ์ซึ่งความรู้สึกนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สุขเวทนาคือความรู้สึกที่เป็นสุข ทุกขเวทนาคือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ และอุเบกขาเวทนาคือความรู้สึกเฉยๆหรือไม่สุขไม่ทุกข์

  28. 3) สัญญาขันธ์ ( perception ) คือ ความรู้สึกต่างๆที่เกิดจากการทำงานของรูป โดยผ่านอวัยวะรับสัมผัสแล้วประทับอยู่ในความทรงจำ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้นรส การสัมผัสและการนึกคิด สัญชานยังมีความคล้ายกันอย่างมากกับความรู้สึกจากการสัมผัสหรืออินทรีย์สัมผัส (sensation) และสัญชาน หรือการกำหมดรู้ (Perception) ในทางจิตวิทยาความรู้สึกจากการสัมผัสคือการเปลื่ยนรูปของสิ่งเร้าทีมากระทบอวัยวะรับสัมผัสไปเป็นกระแสประสาทที่ถูกส่งมาเป็นข้อมูลทางสรีรวิทยาให้เป็นข้อมูลทางจิตใจที่มากระทบอวัยวะรับสัมผัสไปเป็นกระแสประสาทที่ถูกส่งมาเป็นข้อมูลทางสรีวิทยาให้เป็นข้อมูลทางจิตใจที่สามารถจะรู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร

  29. 4) สังขารขันธ์ (mental formation) หรือความคิดคือการสังขารเป็นส่วนของความคิดที่ปรุงแต่งขึ้นมาจากรูปขันธ์ มาประกอบกันเป็นมโนกรรม แบ่งเป็น การคิดกุศล การคิดอกุศล การคิดอกุศล และการคิดตามปกติวิสัยในเรื่องทั่วๆ ไป ความคิดเหล่านี้ก่อให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจาและใจที่เป็นบุญ บาป หรือกลางๆ ดังนั้นกิเลสที่แท้จริงก็คือตัวสังขารหรือกิเลสอยู่ที่สังขารนั่นเอง 5) วิญญาณขันธ์ (consciousness) คือ กางวิญญาณ ได้แก่ส่วนที่เป็นการรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า อารมณ์ในทางพุทธศาสนาแตกต่างจากอารมณ์หรืออาเวค (emotion) ในทางจิตวิทยา อารมณ์ทางพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งเร้าภายนอก 6 ซึ่งได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่ถูกต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก

  30. คิด ส่วนในทางจิตวิทยาอารมณ์ หรือ อาเวค หมายถึง ความสะเทียนใจที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายถูกยั่วยุโดยสถานการณ์บางอย่างจนเกิดการตอบสนองทางสรีวิทยาอย่างซับซ้อน เช่น ความโกรธ ความกลัว ความสุข ความสะเทือนใจ เป็นต้น เวลาโกรธ จะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งความจริงแล้วอารมณ์ในทางจิตวิทยาก็คือเวทนาในลักษณะหนึ่งนั่นเอง ดังนั้นแนวความคิดที่ว่ามนุษย์ประกอบด้วยกายและจิตว่าเป็นอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง ยังคงถกเถียงกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นักจิตวิทยาก็ยังคงศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ทั้งสองอย่าง โดยศึกษาทั้งพฤตกรรมนอก (กาย) และพฤติกรรมภายใน (ใจ)

  31. พฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรม ( behavior ) หมายถึง การกระทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้งที่สามารถสังเกตได้และที่สังเกตไม่ได้ โดยใช้เครื่องมือวัด โดยทางอ้อม ทั้งที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. พฤติกรรมภายนอก (external behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เราสามารถสังเกตได้ด้วยตาหรือใช้เครื่องมือวัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยๆ คือ 2. พฤติกรรมโมเลกุล (molecular behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เราที่ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตา ต้องอาศัยเครื่องมือหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อื่นมาวัดจึงสามารถรู้ได้ เช่น การเต้นของหัวใจการย่อยอาหารของกระเพาะ การตรวจคลื่นสมอง การตรวจหาปริมาณน้ำตาลในเลือด เป็นต้น

  32. 2. พฤติกรรมภายใน (internal behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรงและไม่สามารถใช้เครื่องมือวัดได้ ได้แก่ พฤติกรรมที่เป็นความในใจ ความรู้สึกนึกคิด ความกลัว ความโกรธ ต่างๆ ซึ่งเราสามารถสันนิษฐานได้จากพฤติกรรมภายนอก แต่บางครั้งก็ไม่สามารถสรุปแน่นอนได้ เจ้าตัวเท่านั้นที่สามารถบอกได้ว่าเขารู้สึกอย่างไร ดังนั้นการสรุปพฤติกรรมภายในเป็นสิ่งที่ควรระวังให้มากเพราะอาจผิดพลาดได้ เพื่อสะดวกในการศึกษาเราอาจแบ่งพฤติกรรมภายในได้ดังนี้ 2.1พฤติกรรมที่เป็นความรู้สึกที่เกิดจากสิ่งเร้ามากระทบกับประสาทสัมผัส เช่น การที่ได้ยิน การได้เห็น การได้กลิ่น การได้รู้รส การได้สัมผัส เป็นต้น 2.2 พฤติกรรมที่เป็นการตีความ เมือสิ่งเร้ามากระทบประสาทสัมผัสจะเกิดความรู้สึก และการที่จะทราบว่าอะไรเกิดขึ้นนั้นต้องอาศัยการตีความเข้าช่วย ดังนั้นการรับรู้จึงเป็นกระบวนการที่เกิดจากการรู้สึกและการตีความ หากไม่สามารถตีความ การรับรู้ก็ไม่สมบูรณ์ เช่น เขาพูดภาษาอังกฤษเราตีความไม่ได้ก็ไม่รู้ว่าเขาพูดอะไร หมายความว่าอย่างไร เป็นต้น

  33. 2.3 พฤติกรรมที่เป็นการคิดและการตัดสินใจ ซึ่งการคิดในที่นี้ หมายถึง การจินตนาการการคิด และการตัดสินใจเป็นหัวใจในการบงการให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมภายนอกมาในรูปต่างๆ กันในขณะเดียวกันการคิดและการตัดสินใจย่อยขึ้นอยู่กับการรับรู้และการจำด้วย การเกิดพฤติกรรมของมนุษย์มีแนวคิดดังนี้ 1.พฤติกรรมเกิดจากการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งแรงขับต่างๆ จะไปกระตุ้นให้ร่างกายแสดงออกพฤติกรรม 2. พฤติกรรมเกิดจากความคิดความเข้าใจ การคิดเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องเปลี่ยนแปลงการคิดของบุคคล 3. พฤติกรรมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลของการกระทำถ้าได้สิ่งที่พอใจจะทำให้มีพฤติกรรมนั้นสูงขึ้น 4. พฤติกรรมเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรม

  34. สาเหตุของพฤติกรรม การศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของพฤติกรรมนั้น มีรูปแบบดังนี้ 1.รูปแบบจิตลักษณะ (traits model) เป็นการศึกษาที่อยู่ภายในตัวบุคคลที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรม ได้แก่ การศึกษาลักษณะบุคลิกภาพของบุคคล โดยมีหลักการว่าบุคคลมีบุคคลภาพที่แตกต่างกันทำให้เกิดบุคลิกภาพที่แตกต่างกันด้วย ในแต่ละลักษณะของบุคคลภาพจะประกอบไปด้วยลักษณะจิตใจง่ายๆ หลายจิตลักษณะและลักษณะจิตใจนี้จะคงสภาพอยู่ในตัวบุคคล ทำให้บุคคลมีลักษณะพฤติกรรมและการกระทำแตกต่างไปจากบุคคลอื่น เช่น ลักษณะบุคลิกภาพแบบเก็บตัว จะต้องประกอบไปด้วยลักษณะย่อยๆ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความตระหนักในตนเองต่ำ และพฤติกรรมที่สอดคล้องกันก็คือ การเป็นคนเงียบเฉยไม่ชอบสมาคมกับคนอื่น ชอบทำงานอยู่คนเดียว เป็นต้น

  35. 2. รูปแบบพลวัตทางจิต (psychodynamic modele) เป็นการศึกษาเชิงโครงสร้าง หรือ กระบวนต่างๆ ทางจิตที่เป็นต้นเหตุของพฤติกรรม หลักการในการศึกษาก็คือ พฤติกรรมของบุคคลเกิดจากความขัดแย้งของโครงสร้างทางจิต 3 ด้าน ได้แก่ อิด (id) อีโก้ (ego) ซูปเปอร์อีโก้ (super ego) โครงสร้างทางจิต 3 ด้านนี้จะมีความขัดแย้งกันตลอดเวลา โดยที่อิดจะเป็นแรงขับในการกระทำตามความต้องการของตน อีโก้เป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นตามวัยที่เป็นตัวควบคุมให้มีพฤติกรรมอยู่ในขอบเขตของสังคม และซุปเปอร์อีโก้เป็นตัวที่ควบคุมอิดกับอีโก้ให้มีความขัดแย้งกันในสภาพสมดุลย์หรือไม่สมดุลย์ ซึ่งแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม

  36. 3. รูปแบบสถานการณ์นิยม (situationism models) รูปแบบนี้มีหลักการว่าพฤติกรรมย่อมเป็นไปตามสถานการณ์หนึ่งๆ มากกว่าหนึ่งๆ มากกว่าจะเป็นลักษณะที่คงที่ถาวรดังกล่าวไว้ในสองแบบแรก รูปแบบที่สามนี้กล่าวว่า สถานการณ์ภายนอกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ สามารถแก้ไข ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ได้ สถานการณ์แวดล้อมภายนอก เงื่อนไขทางสังคม และสิ่งเร้าต่างๆ จะมีอิทธิพลอย่างเดียวโดยไม่สนใจถึงสาเหตุภายในนั้น ไม่สามารถชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของพฤติกรรมที่ครบถ้วนได้

  37. 4. รูปแบบปฏิสัมพันธ์นิยม ( interactionism models ) เป็นการศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมโดยนำรูปแบบที่หนึ่งและที่สามารถรวมกัน แล้วเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสถานการณ์ การเกิดพฤติกรรมนั้นจะขึ้นอยู่กับระหว่างจิตลักษณะของบุคคลกับสถานการณ์ที่เขากำลังประสบอยู่ กลักสำคัญของรูปแบบปฎิสัมพันธ์นี้ ก็คือ มีการกำหนดตัวแปรที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรม 3 ประเภท คือ ลักษณะทางจิตใจของผู้กระทำ เช่น มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความมุ่งมั่น เป็นต้น อันที่สองคือลักษณะของสถานการณ์ที่การกระทำนั้นจะเกิดขึ้น เช่น ตำแหน่งหน้าที่การงาน การศึกษาต่อ เป็นต้น และสุดท้ายคือ สาเหตุร่วมระหว่างลักษณะทางจิตใจกับลักษณะของสถานการณ์ ซึ่งอาจวัดและศึกษได้ในรูปของการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะบางประการของสถานการณ์ การตีความหรือการเห็นความสำคัญของสถานการณ์นั้นของบุคคลผู้กระทำ

  38. วิธีการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ ในการศึกษาพฤติกรรมนั้นสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกันคือ ( กันยา สุวรรณแสง . 2540 ) 1. วิธีการทดลอง ( experimental method )วิธีการทดลองนี้เป็นวิธีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการศึกษาพฤติกรรมเชิงเหตุและผลระหว่างตัวแปร (valiable) ซึ่งตัวแปรนี้ หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ไม่คงที่ สำหรับตัวแปรที่เป็นสาเหตุ หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลตามมา เราเรียกว่า ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ ( independent valible ) ซึ่งเป็นตัวแปรถูกสร้างขึ้นมาเพื่อดูว่าส่งผลต่อตัวแปรตามอย่างไรส่วนตัวแปรที่เป้นผลเรียกว่า ตัวแปรตาม ( dependent valible ) สำหรับการปฏิบัติของผู้ทดลองต่อตัวแปรอิสระ เรียกว่า การจัดกระทำ ( treatment ) ในการทดลองแต่ละครั้ง ผู้ทดลองต้องตั้งสมมุติฐานก่อนแล้วทำการทดลอง ในการทดลองจะมีสองลักษณะ คือ การ

  39. ทดลองในสภาพธรรมชาติ กับการทดลองในห้องปฏิบัติการในการทดลองแต่ละครั้งต้องคำนึงถึง การปฏิบัติซ้ำ หมายถึงว่าการกระทำซ้ำอีกก่าครั้งแม้ว่าจะบุคคลและสถานที่กันก็ได้ผลอย่างเดิมทุกครั้ง นักจิตวิทยาควรทำการทดลองซ้ำๆหลายๆ ครั้งเพื่อให้ได้ผลอย่างเดิมเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ส่วนการควบคุมตัวแปรนั้นจะเห็นว่าในการทดลองแต่ละครั้งมีข้อจำกัด เพราะการที่จะควบคุมตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งนั้น อาจจะมีตัวแปรซ้อนมาทำให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ ในการสรุปผลก็เช่นเดียวกันต้องมีขอบเขตจำกัด คือ ผลการทดลองจะเกิดลักษณะนี้ได้เฉพาะในกลุ่มทีมีคุณลักษณะแบบนั้นเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้กับกลุ่มอื่นที่แตกต่างกันออกไปได้

  40. 2. วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง ( introspection method ) วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง หรือ วิธีการพินิจภายในนี้ หมายถึง วิธีการที่บุคคลสังเกตตนเองหรือสำรวจตนเอง โดยการให้บุคคลพิจารณาความรู้สึกของตนเอง สำรวจตรวจสอบตนเอง แล้วรายงานถึงสาเหตุและความรู้สึกของตนเองออกมา ซึ่งในการตรวจสอบจิตตนเอง บางครั้งอาจใช้วิธีการนึกย้อนทบทวนไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และฝังใจหรือประทับใจในอดีต อาจกลายเป็นปมขัดแย้งซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ ก็เป็นได้

  41. 3. วิธีทางคลีนิค ( clinical method )วิธีการนี้เป็นหลักการศึกษาทางจิตวิทยาวิธีหนึ่ง ที่สามารถช่วยให้บุคคลมีสุขภาพจิตดีขึ้น โดยการเรียนรู้หลักเกณฑ์และความจริงต่างๆ จาการทำงานและทำการศึกษาคนไข้เป็นรายบุคคล คนไข้หรือผู้ป่วย (client) ที่มีปัญหาหรือมีความผิดปกติทางจิต ซึ่งมาหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลีนิค นักจิตวิทยาจะไม่เพียงแต่ศึกษาเรื่องตามที่คนไข้เล่าให้ฟังเท่านั้น ยังต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประสบการณ์ในอดีตชีวประวัติ ศึกษาความสัมพันธ์ในครอบครัวและสิ่งแวดล้อมเพื่อดูภูมิหลังทางสังคมของคนไข้ โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การทดสอบ การศึกษารายกรณี การสังเกต การสัมภาษณ์ สังคมมิติ การทดสอบทางจิตวิทยา อาทิ การทดสอบบุคลิกภาพ การฉายจิต เพื่อศึกษาเจตคติ ความต้องการทางอารมณ์และทางจิตใจ เพื่อดูสาเหตุของปกติทางบุคลิกภาพนั้นๆ ว่ามีสาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไร

  42. 4. การใช้แบบสอบถาม ( questionnaire ) การใช้แบบสอบถามเหมาะสำหรับในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีจำนวนมากๆ และต้องการคำตอบอย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายอื่นๆ แบบสอบถามทีใช้จะต้องเป็นเครื่องมือที่มีความเป็นมาตรฐาน มีคุณภาพ มีความเที่ยงตรง มีความเชื่อมั่นได้ สามารถวัดในสิ่งที่เราต้องการจะวัด ในการให้ตอบแบบสอบถามมักจะถาทเกี่ยวกับเจตคติเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการาจะทราบ เมื่อรวบรวมข้อมูลจาการตอบแบบสอบถามได้แล้วก็จะใช้วิธีการทางสถิติวิจัยหาคำตอบออกมา เพื่อให้ได้ผลที่ชัดเจนขึ้นควรนำวิธีการอื่นมาใช้ตรวจสอบอีกครั้ง เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกต เป็นต้น

  43. 5. การสังเกต ( observation )การสังเกตเป็นวิธีการเฝ้าดูพฤติกรรมของบุคคลโดยใช้ตา ซึ่งเป็นวิธีการที่มีความชัดเจน ง่าย และสะดวก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสังเกตว่าจะมีความรู้ความเข้าใจในจิตวิทยา มีทักษะความชำนาญ มีความสามารถในการสังเกตมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้ผู้สังเกตควรได้รับการฝึกฝนการสังเกตมาเป็นอย่างดี การสังเกตที่ดีนั้นจะต้องมีจุดมุ่งหมาย ว่าจะสังเกตเรื่องอะไร สังเกตไปทำไม สถานการณ์และสภาพการณ์ที่ต้องการสังเกตจำนวนครั้งในการสังเกต ระยะเวลา วันเวลาในการสังเกต สิ่งเหล่านี้ต้องกำหนดให้ชัดเจน และที่สำคัญผู้ที่ทำการสังเกตต้องไม่มีอคติต่อผู้ถูกสังเกตและเรื่องที่ทำการสังเกตอยู่

  44. สรุปท้ายบท จิทวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งศาสตร์แบ่งออกเป็นศาสตร์บริสุทธิ์และพฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เพราะข้อมูลที่ได้นำมาอธิบายพฤติกรรมมนุษย์นั้นได้มาจากขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่มีการพิสูจน์ การค้นคว้าทดลอง การค้นคว้าหาความจริงที่มีระเบียบแบบแผน มีการสรุปผลที่แน่นอน จิตวิทยาแบ่งออกเป็นหลายสาขา อาทิ จิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาอปกติ จิตวิทยาคลีนิค จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาสังคม และจิตวิทยาประยุกต์ เป็นต้น แนวคิดของจิตวิทยากลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่มโครงสร้างของจิต กลุ่มหน้าที่นิยม กลุ่มพฤติกรรม กลุ่มจิตวิเคราะห์ กลุ่มเกสตัลท์ กลุ่มมนุษยนิยม และมนุษย์ตามแนวพุทธ

  45. ศาสนา ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะระบุผู้นำกลุ่ม แนวคิดและวิธีการศึกษาที่แตกต่างกันและคล้ายคลึงกันในบางส่วน อย่างไรก็ดีนับเป็นการศึกษาพฤติกรรม ซึ่งหมายถึงการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่สามารถสังเกตได้โดย ใช้เครื่องมือวัด โดยทางอ้อม และที่สังเกตไม่ได้ด้วยตาทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ พฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน โดยรูปแบบการศึกษาพฤติกรรมหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบจิตลักษณะ รูปแบบพลวัตรทางจิต รูปแบบสถานการณ์นิยมและรูปแบบปฎิสัมพันธ์นิยม รวมทั้งวิธีการศึกษาพฤติกรรมหลายวิธี อาทิ วิธีการทดลอง วิธีการทดลอง วิธีตรวจสอบจิตตนเอง วิธีทางคลีนิค การใช้แบบสอบถาม การสังเกต เป็นต้น

  46. คำถามท้ายบท1. จงอธิบายความหมายของคำว่า “ จิตวิทยา ” ที่วิวัฒนาการมาก่อนถึงยุคปัจจุบัน2. คำว่า “ จิตวิทยา ” “ ศาสตร์บริสุทธิ์ ”และ “ พฤติกรรมศาสตร์ ” หมายถึงอะไร3. “ จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ ” จงอธิบายว่าจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร4. จิตวิทยาแยกเป็นหลายสาขา จงอธิบายจิตวิทยาเป็นวิทยาสาขาต่างๆ ที่ท่านคิดว่าสำคัญแก่การดำรงชีวิตอย่างน้อย 3 สาขา5. จิตวิทยากลุ่มต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดและวิธีการศึกษาต่างกัน จงสรุปแนวคิดและวิธีการศึกษาของนักจิตวิทยากลุ่มดังกล่าวที่ต่างกัน6. จงจำแนกประเภท และบอกความหมาย “ พฤติกรรม ” พร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรมแต่ละประเภท7. “พฤติกรรมย่อมมีสาเหตุ สาเหตุเหมือนกันหรือต่างกันอาจมีพฤติกรรมเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ “ จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ8. “ พฤติกรรมย่อมสาเหตุ ”ท่านจะศึกษาสาเหตุของพฤติกรรมด้วยรูปแบบ และวิธีการศึกษาอย่างไร9. จงสรุปโมเดการเกิดพฤกติกรรมของมนุษย์ในทัศนะนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม10. จงจำแนกและอธิบายวิธีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในทางจิตวิทยาทั้ง 5 วิธี มาให้เข้าใจ

  47. กันยา สุวรรณแสง. จิตวิทยาทั่วไป . กรุงเทพฯ : อักษรพิทยา , 2540.คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ , สำนักงาน.จิตวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์เล่ม 1 ภาค 1และภาค2ตอนต้น . เอกสารอ้างอิง

More Related