1 / 30

หัวใจ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

หัวใจ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. 1. สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 1.ศาสนา หมายถึง เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่มีคำสอนของศาสดาให้ประพฤติปฏิบัติที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดในชีวิตและเกิดความสุขในการอยู่ร่วมกัน 2.องค์ประกอบของศาสนา

Download Presentation

หัวใจ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หัวใจ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

  2. 1. สาระศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม 1.ศาสนา หมายถึง เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่มีคำสอนของศาสดาให้ประพฤติปฏิบัติที่ดี เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดในชีวิตและเกิดความสุขในการอยู่ร่วมกัน 2.องค์ประกอบของศาสนา 1. ศาสดา 2. คัมภีร์ 3. นักบวช 4. ศาสนสถาน 5. พิธีกรรม 6. ผู้นับถือ 3.ประเภทของศาสนา 3.1ศาสนาแบบเทวนิยม เชื่อในพระเจ้าสร้างโลก ได้แก่ -ศาสนาพราหมณ์ (แบบพหุเทวนิยม) นับถือพระเจ้ามากกว่า 1 องค์ -ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสราม (แบบเอกเทวนิยม) นับถือพระเจ้าองค์เดียว 3.2ศาสนาอเทวนิยม ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าสร้างโลก แต่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้แก่ ศาสนาพุทธ

  3. 4. ศาสนาสากล เป็นศาสนาที่มีคนเคารพนับถือกันมาก ศาสนา จุดหมาย คัมภีร์ หลักธรรม พราหมณ์ โมกษะ พระเวท อาศรม 4 พุทธ นิพพาน พระไตรปิฎก อริยสัจ 4 คริสต์ อาณาจักรพระเจ้า ไบเบิล บัญญัติ 10 ประการ อิสราม ดินแดนสวรรค์ อัล กรุอ่าน ศรัทธา 6, ปฏิบัติ5 4.1 ศาสนาพุทธ แบ่งเป็น 2 นิกาย ได้แก่ 1.นิกายเถรวาท นับถือพระเจ้าสูงสุด นับถือกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.นิกายมหายาน นับถือพระธรรมสูงสุด นับถือกันมากในตอนเหนือประเทศของอินเดีย องค์ประกอบคัมภีร์ศาสนาพุทธ พระไตรปิฎก 1.พระวินัยปิฎก เกี่ยวกับ กฎ ศีล ระเบียบ 2.พระสุตันตปิฎก เกี่ยวกับ พระธรรมเทศนา 3.พระอภิธรรมปิฎก เกี่ยวกับ หลักธรรม คำสอน

  4. หลักธรรมที่สำคัญ 1.อริยสัจ 4 (ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ) 1.ทุกข์ (ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ) 2.สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหา หรือความยาก) 3.นิโรธ (ทางดับทุกข์วิธีแก้สมุทัย) 4.มรรค (ทางสายกลางนำไทสู่ความสุข) 2.มรรค มีองค์ 8 ประกอบด้วย 1.สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) 2. สัมมาสังกัปปะ (ความคิดชอบ) 3.สัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) 4.สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) 5.สัมมาอาชีวะ (หาเลี้ยงชีพชอบ) 6.สัมมาวาจามะ (ความเพียรพยายามชอบ) 7.สัมมาสติ (ระลึกชอบ) 8.สัมมาสมาธิ (ตั้งใจชอบ) มรรค 8 รวมกันเรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิปัญญา 3.ไตรลักษณ์ (ลักษณะธรรมชาติของสรรพสิ่ง 3 ประการ) 1.อนิจจัง (ความไม่คงที่) 2.ทุกขัง (ความเป็นทุกข์) 3.อนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตน)

  5. 4.2 ศาสนาพราหมณ์ แบ่งเป็น 4 นิกาย ได้แก่ 1.นิกายพรหม นับถือพรหม ผู้สร้างทุกสิ่ง เป็นนิกายเก่าแก่ 2.นิกายไวษณพ นับถือพระนารายณ์ 3.นิกายไศวะ นับถือพระศิวะ 4.นิกายศากติ ผู้ทรงกำลังของพระเจ้านับถือพระชายาทุกองค์ องค์ประกอบคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ พระเวท 1. คัมภีร์ศรุติ ที่รับมาจากพระเจ้า ได้แก่ ไตรเวท ประกอบด้วย 1. ฤคเวท (สรรเสริญพระเจ้า) ยชุรเวท (บทสวดถวายน้ำ) สามเวท (การบูชาพระเจ้า) 2. อาถรรพ์เวท (เวทมนต์คาถา) 2. คัมภีร์สมฤติ มนุษย์เขียนขึ้น ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ (กฎหมาย) คัมภีร์บุราณะ (ตรีมูรติ พระเจ้าสร้างโลก) และคัมภีร์อิติทาสะ (วีรกรรมของบรรพบุรุษ) เกี่ยวกับมหากาพย์รามายณะ และมหากาพย์มหาภารตะ หลักธรรมที่สำคัญ 1.อาศรม 4 (หลักการดำเนินชีวิต) ได้แก่ 1.พรหมจารี (วัยเด็ก ศึกษาเล่าเรียน) 2.คฤหัสถ์ (วัยครองเรือน มีครอบครัว) 3.วานปรัสถ์ (วัยชรา ศึกษาหลักธรรม) 4.สันยาสี (วัยออกบวช ปฏิบัติธรรม)

  6. 2.โมกษะ (ทางแห่งการหลุดพ้นทุกข์) ได้แก่ 1.ชญามรรค (ทางแห่งปัญญา) 2.กรรมมรรค (ปฏิบัติตนแบบโยคะ) 3.ภักติมรรค (ภักดีต่อพระเจ้า) 4.ราชมรรค (การฝึกจิต) 4.3 ศาสนาคริสต์ มี 3 นิกายใหญ่ ได้แก่ 1.นิกายคาทอลิค 2.นิกายออธอด๊อกซ์ 3.นิกายโปรแตสแตนท์ องค์ประกอบของคัมภีร์ศาสนาคริสต์ ไบเบิล 1. คัมภีร์เก่า (พันธสัญญาเดิม) กล่าวถึงประวัติชนชาติยิวและบัญญัติ 10 ประการ 2. คัมภีร์ใหม่ (พันธสัญญาใหม่) กล่าวถึงประวัติพระเยซูและการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ หลักธรรมที่สำคัญ 1.หลักความรัก (กฎทองคำ) ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข 2.บัญญัติ 10 ประการ 1.ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระยะโฮวา 2.ไม่เอ่ยนามพระเจ้าโดยไม่สมควร 3.ไม่บูชารูปเคารพอื่น 4.จงนับถือบิดามารดาของตน 5.รักษาวันบริสุทธิ์ (วันเสาร์) 6.อย่าฆ่าคน 7.อย่าประพฤติผิดประเวณี 8.อย่าลักทรัพย์ 9.อย่านินทาว่าร้ายผู้อื่น 10.อย่าโลภสิ่งของที่ไม่ใช่ของตน

  7. 3.หลักตรีเอกานุภาพ (พระเจ้าองค์เดียวใน 3 สภาวะ) 1.พระบิดา พระเจ้าผู้สร้างโลก 2.พระบุตร พระเยซู ผู้ไถ่บาป 3.พระจิต พระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ในตัวมนุษย์ 4.4 ศาสนาอิสราม มีหลายนิกาย เพราะนะบี มะหะหมัด ไม่ได้มอบหมายให้ใครเป็นผู้นำ 1.นิกายซุนนี่ เคร่งครัดในหลักธรรมคำสอน 2.นิกายชีอะห์ นิยมความรุนแรง 3.นิกายวาฮาบี นับถือแต่พระอัลเลาะห์ 4.นิกายคอวาริจญ์ ความคิดรุนแรง ยึดมั่นคำสอน 5.นิกายอิสมาอิลลี นิยมความรุนแรง เพื่อศาสนา 6.นิกายซูฟี ใช้ปรัชญากรีกและคริสต์ศาสนา เน้นการสวดมนต์ องค์ประกอบของคัมภีร์ศาสนอิสลาม อัลกรุอ่าน 1.คำสอนที่กล่าวถึงความสัมพันธ์พระเจ้ากับมนุษย์ 2.คำสอนที่กล่าวถึงความสัมพันธ์มนุษย์กับมนุษย์ หลักธรรมที่สำคัญ 1.หลักศรัทธา 6 ประการ ได้แก่ 1.ศรัทธาในพระเจ้า 2.ศรัทธาในทูตสวรรค์ 3.ศรัทธาในคัมภีร์อัลกรุอ่าน 4.ศรัทธาในศาสนทูต 5.ศรัทธาในวันพิพากษา 6.ศรัทธาในกฎสภาวะ

  8. 2.หลักปฏิบัติ 5 อย่าง ได้แก่ 1.ยอมรับพระเจ้า และนะบีมะหะหมัด 2.การละหมาด วันละ 5 เวลา 3.การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน 4.การบริจาคซะกาต 5.การประกอบพิธีฮัจญ์ หลักคำสอนที่สอดคล้องกัน 1.ส่งเสริมคุณธรรม 2.เป็นหลักดำเนินชีวิต 3.เป็นที่พึ่งทางใจ หลักธรรมที่สอดคล้องกัน 1.จุดหมายปลายทางของชีวิต 2.ความรักความเมตตา 3.ความเสียสละ 4.ความดี ความชั่ว 5.นรก สวรรค์ 5.จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมคือพฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการตามหลักศาสนาคุณธรรม คือคุณความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ศีลธรรม คือข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติตามหลักธรรมศาสนา ความสำคัญ 1.ต่อการพัฒนาตนเอง เบญจศีล เบญจธรรม 2.ต่อการพัฒนาสังคม บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม 6.ค่านิยม หมายถึง ความพึงพอใจของบุคคลในสิ่งที่ดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม

  9. ค่านิยมในสังคมไทย 1.เคารพสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 2.เคารพผู้อาวุโส ผู้มีพระคุณ 3.เคารพกฎกติกาของสังคม 2.สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนาธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ตอนที่ 1 สังคมวิทยา 1.มนุษย์กับสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกันพึ่งพาอาศัยกัน มีวัฒนาธรรม รู้จักใช้สัญลักษณ์ ในขณะที่สัตว์โลกใช้สัญชาตญาณ วัฒนธรรม เป็นแบบลักษณะของพฤติกรรมในสังคมที่ดีงามและประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา แบ่งออกเป็น 1.วัฒนธรรมทางวัตถุ (วัตถุธรรม) 2.วัฒนธรรมทางจิตใจ ได้แก่ (1)คติธรรม (ความเชื่อ) (2)เนติธรรม (กฎระเบียบ) (3)สหธรรม (การอยู่ร่วมสังคม) 2.ลักษณะของสังคมไทย แบ่งสังคมออกเป็น สังคมชนบท - ทำอาชีพเกษตรกรรม, สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน, เป็นครอบครัวขยาย, ติดต่อสัมพันธ์แบบกันเอง, ตั้งถิ่นฐานกระจายเป็นกลุ่มเล็ก,

  10. ยึดมั่นในวัฒนธรรมและค่านิยมที่ดี, ชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย สังคมเมือง - มีหลากหลายอาชีพ, ใกล้ชิดเป็นกลุ่มย่อย, ครอบครัวเดี่ยว, ติดต่อสัมพันธ์เป็นทางการ, ตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่น, รับวัฒนธรรมตะวันตก, ชีวิตความเป็นอยู่ซับซ้อน 3.ภูมิปัญญาไทย คือความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ การแก้ปัญหาในชีวิต สั่งสมสืบทอดต่อการมา ทำให้ชีวิตดีขึ้น และถ่ายทอดไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ปัจจัยที่ทำให้เกิดภูมิปัญญา 1.ปัญญาที่พบจากสิ่งแวดล้อม (ความอยากรู้อยากเห็น) 2.ประสบการณ์ในการแก้ปัญหา (พรแสวง) 3.ความรู้เดิมที่นำมาประยุกต์ (พรสวรรค์) 4.วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (นวัตกรรม) ตอนที่ 2 การเมืองการปกครอง 1.รัฐ คือชุมชนทางการเมือง มีประชากรอาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนที่แน่นอน มีรัฐบาลเป็นผู้ปกครอง และมีอำนาจอธิปไตย องค์ประกอบของรัฐ 1.ประชากร (พลเมือง) 2.ดินแดน (อาณาเขต) 3.รัฐบาล (ผู้ปกครองรัฐ) 4.อำนาจอธิปไตย (เอกราช)

  11. ประเภทของรัฐ1.รัฐเดี่ยว มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐบาลเดียว 2.รัฐรวม มีรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น (มลรัฐ) สถาบันการปกครองภายในรัฐ1.ประมุขแห่งรัฐ 2.รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) 3.รัฐบาล (ฝ่ายบริหาร) 4.ศาลยุติธรรม (ฝ่ายตุลาการ) รูปแบบการปกครองของรัฐ 1.ระบอบประชาธิปไตย มี 3 รูปแบบได้แก่(1)แบบรัฐบาลประชุมกษัตริย์ หรือประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งฝ่ายบริหารนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง(2)แบบประธานาธิบดีประมุขประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหารประธานาธิบดีเป็นคนเดียวกับประมุข(3)แบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ประมุขประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งฝ่ายบริหารนายกรัฐมนตรีที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง 2.ระบอบสังคมนิยม มี 2 รูปแบบได้แก่ (1)แบบเผด็จการอำนาจนิยม (สังคมนิยม)ประมุขประธานาธิบดีมาจากยึดอำนาจฝ่ายบริหารประธานาธิบดีเป็นคนเดียวกับประมุข(2)แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (คอมมิวนิสต์)ประมุขประธานาธิบดีมาจากการแต่งตั้งของพรรคฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของพรรค

  12. หลักการระบอบประชาธิปไตยมีพรรคการเมืองหลายพรรคเน้นประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ยอมรับเสียงข้ามมาก รับฟังเสียงข้างน้อย กระจายอำนาจการปกครองใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ มีสิทธิเสรีภาพ หลักการระบอบสังคมนิยมมีพรรคการเมืองเดียว อำนาจรัฐและความมั่นคงของรัฐสำคัญกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชน ความสัมพันธ์ระบอบการปกครองกับระบอบเศรษฐกิจ ระบอบประชาธิปไตย ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ระบอบสังคมนิยม ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม 2.อำนาจรัฐคืออำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 อำนาจ ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ, อำนาจบริหาร, อำนาจตุลาการ 3.นโยบายสาธารณะคือแผนดำเนินการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพื่อประโยชน์ของประชาชน 4.สิทธิมนุษยชนคือสิทธิขั้นมูลฐานที่มนุษย์มีอยู่ในตัว อย่างเท่าเทียมกันทั้งในด้านสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค

  13. ตอนที่ 3 กฎหมายเบื้องต้น 1.กฎหมาย คือข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ของรัฐเพื่อควบคุมความพฤติของคนในสังคม มีสภาพบังคับผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ 2.ลักษณะของกฎหมาย 1.ต้องมาจากรัฏฐาธิปัตย์ 2.เป็นข้อบังคับ ข้อห้าม คำสั่ง 3.ใช้บังคับทุกคนอย่างเสมอภาค 4.มีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน 3.กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายมหาชน เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน *โทษทางอาญามี 5 สถาน ได้แก่ริบทรัพย์ ปรับ กักขัง จำคุก ประหารชีวิต *กระบวนการยุติธรรมคดีอาญา ตำรวจ อัยการ พนักงานคุมประพฤติ ศาล เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 4.กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นกฎหมายเอกชนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ *โทษทางแพ่ง เป็นการบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหาย *กระบวนการยุติธรรมทางคดีแพ่ง1.เจ้าหนี้ (ถูกละเมิด) เขียนคำฟ้องร้องต่อศาล ในฐานะโจทย์ 2.โจทย์ แต่งตั้งทนายความ (นักกฎหมาย) ปรึกษาดำเนินการ 3.ศาลนักไต่สวน ตัดสินคดี

  14. 3.สาระเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ คือความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีประสิทธิภาพ สาเหตุของปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (1)ทรัพยากรมีจำกัด ความต้องการมีไม่สิ้นสุด (2)ทำให้เกิดความขาดแคลน (3)นำไปสู่ปัญหาการเลือกที่จะใช้ทรัพยากรอะไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (4)นำไปสู่ปัญหาประชากรผู้บริโภค (5)นำไปสู่ปัญหาการจัดระบบการผลิต (6)จะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใคร สาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์ 1.เศรษฐศาสตร์จุลภาค ศึกษาเศรษฐกิจหน่วยย่อยเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค ต้นทุน กำไร 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาเศรษฐกิจหน่วยใหญ่หน่วยใหญ่ระดับประเทศ เกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ ภาวะเงินเฟ้อ การศึกษาเศรษฐศาสตร์ 1.เศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริง สนใจเรื่องคุณภาพของสินค้า ราคาสินค้า 2.เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น สนใจคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อม

  15. ระบบเศรษฐศาสตร์ 1.แบบทุนนิยม เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ดำเนินการผลิตเอง โดยมีกลไกราคาตลาดและการแข่งขันเป็นแรงจูงใจ 2.แบบสังคมนิยม รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ดำเนินการผลิตเองตามความสามารถ ไม่มีการแข่งขัน ราคาอยู่กับต้นทุนของรัฐ 3.แบบผสม(ทุนนิยมและสังคมนิยม) ทุนนิยม เอกชนดำเนินการผลิตธุรกิจขนาดใหญ่ได้ สังคม รัฐดำเนินการด้านสาธารณูปโภค เอกชนร่วมได้ กระบวนการทางเศรษฐกิจ เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต คือการสร้างเศรษฐทรัพย์ในระบบเศรษฐกิจ มีกระบวนการ ดังนี้ (1)ปัจจัยการผลิต (4M) และผลตอบแทน (เงิน) ได้แก่ ทรัพยากร - ค่าเช่า, แรงงาน - ค่าจ้าง ค่าแรง เงินเดือน, เงิน - ดอกเบี้ย, การจัดการ - กำไร (2)ลำดับขั้นตอนการผลิตขั้นปฐมภูมิ คือการนำวัตถุดิบเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ขั้นทุติยภูมิ คือการแปรสภาพวัตถุดิบในระบบเศรษฐกิจ ขั้นตติยภูมิ คือการบริการ ขนส่ง การบริโภค (3)การกำหนดปริมาณการผลิตเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ผลิต

  16. *อุปสงค์คือความต้องการของผู้บริโภค (เสนอ) *อุปทานคือความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการ (สนอง) หน่วยเศรษฐกิจ คือผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนี้ 1.หน่วยครัวเรือน ทำหน้าที่หาปัจจัยการผลิตไปฝ่ายผลิต 2.หน่วยผลิต ทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการให้ผู้บริโภค วงจรเศรษฐกิจ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยครัวเรือน หน่วยเอกชน หน่วยธุรกิจ และหน่วยของรัฐ การเงิน เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ได้แก่ เหรียญกษาปณ์ ธนบัตร เช็ค และบัตรแทนเงินสด หน้าที่ของเงิน เป็นมาตรฐานในการเทียบค่า ใช้ชำระหนี้ภายหน้า และเป็นเครื่องรักษามูลค่า สถาบันการเงิน1.ธนาคาร - ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะอย่าง เช่น ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์, ธนาคารเพื่อการนำเข้าและการส่งออก (EXIM Bank)

  17. 2.สถาบันการเงินที่ไมใช่ธนาคาร - บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์, บริษัทประกันภัย, โรงรับจำนำ, สหกรณ์ออมทรัพย์, ฌาปนกิจสงเคราะห์, บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ภาวะเงินเฟ้อ คือภาวะที่เงินในมือประชาชนมีมาก มีกำลังในการซื้อสินค้ามาก เศรษฐกิจคล่องตัว สินค้าราคาสูงขึ้น สาเหตุ ภาวะเงินเฟ้อ อุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ระดมเงินฝากเข้าธนาคาร เพิ่มภาษี ควบคุมราคาสินค้า จัดทำงบประมาณเกินดุล นโยบายการเงิน เป็นนโยบายที่รัฐใช้ควบคุมปริมาณเงิน ให้พอดีกับปริมาณสินค้าและบริการที่มีอยู่ในตลาด การคลัง เป็นเศรษฐกิจภาครัฐบาล เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน รายรับของรัฐบาลและรายจ่ายต่างๆ นโยบายการคลัง เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี และการจ่ายเงินโครงการต่างๆ รายได้ของรัฐบาล (1) ภาษีอากร (2) ขายสิ่งของและบริการ (3) รายได้จากรัฐพาณิชย์ (4) รายได้อื่นๆ รายรับของรัฐบาล (1) ราบได้ของรัฐบาล (2) เงินกู้ การพัฒนาเศรษฐกิจ คือการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง

  18. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) มีสาระสำคัญ คือพัฒนาคน และคุณภาพชีวิตประชากร, เน้นเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาไทย, ส่งเสริมการส่งออก วิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 เกิดโรคต้มยำกุ้งที่ประเทศไทย พ.ศ. 2551 เกิดโรคแฮมเบอร์เกอร์ที่สหรัฐอเมริกา มีสาเหตุมาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขาดสภาพคล่อง มีอุปทาน(Supply) มากกว่า อุปสงค์(Demand) แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ปัญหาโรคต้มยำกุ้ง โดยยึดหลักการประหยัด มีความพอเพียง การรวมกลุ่มสหกรณ์ การสหกรณ์ เป็นองค์กรธุรกิจช่วยเหลือซึ่งกันและกันไม่หวังผลกำไร ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและยกฐานะเกษตรกรสมาชิก การร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ระดับโลก ได้แก่ ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และองค์การค้าโลก ระดับภูมิภาค ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (EFTA)และเขตการค้าเสรียุโรป (NAFTA)การร่วมทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย (ADB) กลุ่มประเทศเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม (G 8) หรือกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือ

  19. กลุ่มเศรษฐกิจเฉพาะอย่าง ได้แก่ กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC), กลุ่มประเทศอาหรับผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OAPEC), กลุ่มยางพาราโลก, กลุ่มน้ำตาลทรายโลก,กลุ่มแร่ดีบุกโลก 4.สาระประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อมตลอดจนพฤติกรรมวิวัฒนาการของมนุษย์ในสังคม 1.การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ไทย 1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์พบโครงกระดูก ภาพวาด เครื่องใช้ แบ่งเป็น 2 ยุคใหญ่ ได้แก่ (1) ยุคหิน : ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ (2) ยุคโลหะ : ยุคสำริด และยุคเหล็ก 2.ยุคประวัติศาสตร์มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งเป็น 3 สมัย ได้แก่ (1)สมัยโบราณ ได้แก่ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1-3 ) (2)สมัยใหม่ สมัยปรับปรุงประเทศ สมัยรัชกาลที่ 4-7 (3) สมัยปัจจุบัน สมัยประชาธิปไตย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองถึงปัจจุบัน

  20. ประวัติศาสตร์สากล 1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ แบ่งเป็น 2 ยุค ได้แก่ (1) ยุคหิน - ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ (2) ยุคโลหะ - ยุคสำริด และยุคเหล็ก 2.ยุคประวัติศาสตร์ มีการเป็นบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มี 4 สมัย ได้แก่ (1) สมัยโบราณ การตั้งถิ่นฐานลุ่มน้ำไนล์, เมโสโปเตเมีย, ลุ่มน้ำสินธุ/คงคา, ลุ่มน้ำแยงซีเกียง (2) สมัยกลาง การตั้งอาณาจักรกรีก, โรมัน,คริสต์ศาสนา มีอิทธิพลมาก (3) สมัยใหม่ พบทวีปอเมริกา, ปฏิวัติอุตสาหกรรม,ปฏิวัติการเมือง,สงครามโลก (4) สมัยปัจจุบัน สงครามเย็น, สงครามยุคใหม่, กระแสโลกาภิวัฒน์ 2. หลักฐานทางประวัติศาสตร์1.หลักฐานชั้นต้น (ปฐมภูมิ) เป็นเอกสารหลักฐานที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้น 2.หลัดฐานชั้นรอง (ทุติยภูมิ) เป็นเอกสารที่เขียนอ้างอิงเหตุการณ์ในสมัยต่างๆ 3. วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือขั้นตอนที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ประกอบหลักฐาน และธรรมการวิจัย มีลำดับ ดังนี้ 1.การกำหนดหัวเรื่อง 2.การรวบรวมข้อมูล 3.การประเมินคุณค่าของหลักฐาน 4.การตีความหมายหลักฐาน 5.การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ 6.การสรุป และนำเสนอ

  21. 4.การพัฒนาประวัติชนชาติไทย4.การพัฒนาประวัติชนชาติไทย 1.ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคูน้ำรอบเมือง ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำ มี เมืองโบราณ เป็นชุมชนเมืองที่เป็นศูนย์การปกครอง และการค้าขาย และแคว้นโบราณ เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ มีอำนาจเหนือเมืองอื่น เป็นศูนย์การปกครอง และการค้า 2.ยุคประวัติศาสตร์ พัฒนาการปกครองมีดินแดนกว้างไกลเป็นอาณาจักรร่วมสมัยสุโขทัย ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุพรรณภูมิ อาณาจักรอโยธยา และอาณาจักรนครศรีธรรมราช สมัยสุโขทัย(1) ด้านสังคม เป็นชุมชนขนาดเล็ก มีเสรีภาพ ไม่มีทาส (2) ด้านวัฒนธรรม รับพุทธศาสนาจากลังกา เจดีย์ ทรงระฆังคว่ำ ใช้ลายสือไทย (3) ด้านเศรษฐกิจ การค้าแบบเสรี ไม่เก็บภาษี แลกเปลี่ยนสินค้า (4) ด้านการปกครอง สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แบบพ่อปกครองลูก, สมัยมหาธรรมราชาลิไท แบบธรรมราชา สมัยอยุธยา(1) ด้านสังคม เป็นชุมชนขนาดใหญ่ แบ่งชนชั้น วัดเป็นศูนย์กลางชุมชน มีทาส (2) ด้านวัฒนาธรรม รับพุทธศาสนาจากลังกา สถาปัตยกรรมเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิคเข้าเผยแผ่ได้

  22. (3)ด้านเศรษฐกิจ การค้าแบบผูกขาดสินค้าต้องห้าม เก็บภาษี (4) ด้านการปกครอง สมัยพระเจ้าอู่ทอง ปกครองแบบจตุสดมภ์ รับมาจากเขมร, สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถรวมอาณาจักรสุโขมัย, ปฏิรูปการปกครองใช้แบบจตุสดมภ์เพิ่มตำแหน่งสมุหนายก (ดูแลพลเมือง) และสมุหกลาโหม (ดูแลทหาร) หมายเหตุสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น สภาพการณ์คล้ายกับสมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์(1) ด้านสังคมรัชกาลที่ 3 ชาติตะวันตกนำวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาติดต่อ คริสต์ศาสนานิกายโปรแตสแตนท์เข้าเผยแผ่ สร้าง ร.ร.กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, รัชกาลที่ 5 สร้าง ร.ร.พระตำหนักสวนกุหลาบ ร.ร.วัดมหรรณ์, ร.ร.มหาดเล็กหลวง, รัชกาลที่ 6 เลิกสร้างวัดสร้างโรงเรียนแทน (2) ด้านวัฒนธรรมรัชกาลที่ 2 เป็นยุคทองวรรณคดี นิยมสร้างวัด, รัชกาลที่ 4 รับวัฒนธรรมต่างชาติสร้างถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนสีลม (3) ด้านเศรษฐกิจ - รัชกาลที่ 3 ใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร ทำสัญญาบาวริ่ง การค้าแบบเสรีกับอังกฤษ, รัชกาลที่ 5 ใช้ระบบหอรัษฎากรพิพัฒน์, รัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (4) ด้านการปกครองรัชกาลที่ 5 ปฏิรูปการปกครอง ดึงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ปกครองแบบมณฑล ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง ยกเลิกตำแหน่งวังหน้า ตั้งมงกุฎราชกุมารขึ้นแทน,รัชกาลที่ 6 ยกเลิกมณฑลเปลี่ยนเป็นจังหวัดและอำเภอ เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1, รัชกาลที่ 7 ยุบจังหวัดบางแห่งเป็นอำเภอ เปลี่ยนแปลงการปกครอง

  23. 5. การพัฒนาประวัติชนชาติตะวันตก 1.ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ (1) อารยธรรมลุ่มแม่น้ำ แม่น้ำไนล์ (อียิปต์), ลุ่มน้ำไทรกิส ยูเฟรติส (เมโสโปเตเมีย) พวกสุเมเรียน, บาบิโลเนียน (2) อารยธรรมเขตที่ราบสูง เปอร์เซีย (อิหร่าน), อนาโดเลีย (ตุรกี) (3) อารยธรรมริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนฮีบรู (อิสราเอล), ซีเรีย 2.ยุคประวัติศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุคโบราณกรีก ปกครองแบบนครรัฐ ประชาธิปไตย ศิลปะรูปทรงเหลี่ยม เพื่อพิธีกรรมบูชาเทพเจ้า (2) ยุคกลางโรมัน ปกครองแบบจักรวรรดิรัฐหาร ศิลปะรูปโค้ง เพื่อเป็นที่รวมของประชาชน ศูนย์กลางเศรษฐกิจอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์และเมืองเจนัว ปลายยุคกลาง เรียกว่า ยุคมืดทางปัญญา คริสต์ศาสนาครอบงำคำสอนทุกเรื่อง นิกายคาทอลิคมีอิทธิพลมาก 3.สมัยใหม่ เป็นยุคสร้างชาติ เกิดอาณาจักรชนเผ่าเป็นรัฐชาติ เช่น พวกแฟรงค์ (ฝรั่งเศส), แองโกลแซกซอน (อังกฤษ)

  24. 6.การพัฒนาประวัติชนชาติตะวันออก6.การพัฒนาประวัติชนชาติตะวันออก จีนอารยธรรมลุ่มน้ำฮวงโหและแยงซีเกียง การเมืองการปกครองของจีน(1) สมัยโบราณ ราชวงศ์จาง มีอำนาจสูงสุด (2) สมัยศักดินา ราชวงศ์โจว ปฏิรูปการปกครองกษัตริย์ต้องมีคุณธรรม (3) สมัยจักรวรรดิ ราชวงศ์ถังปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สมัยราชวงศ์หมิงและซิง อำนาจอยู่ที่กษัตริย์จนถึงสมัยพระนางซูสีไทเฮา ได้ยกเกาะมาเก๊าให้โปรตุเกสเพราะเป็นมิตรที่ดี (4) สมัยสาธารณรัฐ ค.ศ. 1911 ดร.ซุน ยัดเซ็น ผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ ยกเลิกระบบศักดินา (5) สมัยสังคมนิยม ค.ศ.1949 เหมา เจ๋อตุง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ปฏิวัติเปลี่ยนการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดยการสนับสนุนของเลนิน ผู้นำคอมมิวนิสต์รัสเซีย ปัจจุบัน จีน ได้ชื่อว่า “1 ประเทศ 2 ระบบ” เพราะมาเก๊า และฮ่องกง ปกครองแบบเสรีประชาธิปไตย อินเดีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ - คงคา ด้านศิลปวัฒนธรรม 1.สมัยเมารยะ-คัมภีร์อรรถศาสตร์, สถูปรูปโดม 2.สมัยคันธระ-พระพุทธรูปผสมศิลปะกรีก 3.สมัยคุปตะ-ยุคทองวรรณกรรม เรื่องศกุนตลา 4.สมัยโมกุล-ทัชมา-ฮาล

  25. ด้านการเมืองการปกครอง 1.สมัยพระเวท แบ่งเป็นกลุ่มชนเผ่า มหาราชาเป็นผู้นำ 2.สมัยจักรวรรดิ มี 5 สมัย ได้แก่ 1.จักรวรรดิ มคธ 2.จักรดิโมริยะ 3.สมัยกรีกกรุกราน 4.จักรวรรดิคุปตะ อำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง 5.สมัยราชวงศ์โมกุล ถึงสมัยอังกฤษเข้าปกครองอินเดีย ญี่ปุ่น การเมืองการปกครอง มี 4 สมัย ได้แก่ 1.สมัยจักรวรรดิ จักรวรรดิไมมีอำนาจ อำนาจอยู่ที่โชกุนและขุนนางในระบบไดเมียว มีซามูไร 2.สมัยเมจิ เป็นยุคปฏิรูปประเทศจักรพรรดิมัตสุฮิโต ดึงอำนาจเข้าศูนย์กลาง ยกเลิกระบบไดเมียวและระบบซามูไร 3.สมัยลัทธิทหาร ญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้ามากทำให้ชนะสงครามกับจีนและรัสเซีย นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลี ปกครองแบบกษัตริย์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยึดครอง จนสิ้นสงคราม รัสเซีย เข้ายึดครองดินแดนตอนเหนือ เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ สหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองดินแดนตอนใต้และพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้า ปัจจุบัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมอยู่ในกลุ่ม อาเซียน + 3 เป็นกลุ่มเศรษฐกิจตะวันออก

  26. 5. สาระภูมิศาสตร์ 1.ภูมิศาสตร์กายภาพ เกี่ยวกับธรรมชาติ 2.ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม เกี่ยวกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 3.ภูมิศาสตร์ภูมิภาค เกี่ยวกับประเทศ ทวีปต่างๆ 4.ภูมิศาสตร์เทคนิค เกี่ยวกับเครื่องมือภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ 1.ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ เกิดจาก (1) ธรรมชาติภายในโลก (แผ่นดินไหว, ภูเขาไพระเบิด) ภายนอกโลก (น้ำท่วม ไฟป่า พายุ) (2) มนุษย์ เช่น ภาวะโลกร้อน (ปรากฏการณ์เรือนกระจก) เอลนิโญ และ ลา นิญา 2.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ลูกโลกและแผนที่ สิ่งสำคัญในแผนที่ 1.ชื่อแผนที่ 2.สัญลักษณ์ในแผนที่ 3.ทิศเหนือในแผนที่ 4.มาตราส่วน 5.เส้นวงกลมใหญ่ (เส้นละติจูดสัมพันธ์กับเขตอากาศ, เส้นลองกิจูด สัมพันธ์กับวัน เวลา) 3.เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ (1) ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)เก็บข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นชั้นๆใช้ดาวเทียมโคจรของไทย ชื่อ THEOS (2) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) สืบหาข้อมูลของสถานที่บนพื้นโลกจากดาวเทียมค้างฟ้ารอบโลก (3) ระบบสัมผัสระยะไกล (Remote Sensing) ใช้ดาวเทียมถ่ายภาพบนพื้นผิวโลก แล้วส่งสัญญาณภาพไปยังจานรับสัญญาณภาคพื้นดิน สัญญาณจะถูกส่งเข้าเครื่อง

  27. คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล แปรข้อมูลเพื่อนำมาใช้ต่อไป 4.ลักษณะกายภาพของโลก หินเปลือกโลก 1.หินอัคนี (แกรนิต) เกิดจากแทกม่าที่แข็งตัวอยู่ในเปลือกโลก 2.หินชั้น เกิดจากการทบถมของดินและหิน รวมถึงซากพืชและสัตว์ 3.หินแปร เกิดจากกาเปลี่ยนแปลง หินแกรนิต เป็นหินชนวน หินปูนเป็นหินอ่อน การผันแปรของเปลือกโลก (1) ตัวกระทำภายใน ทำให้เกิดรอยเลื่อน หุบเขา แอ่งแผ่นดิน (2) ตัวกระทำภายนอก ทำให้เกิดโขดหิน หน้าผา สันทราย เนินดิน กุด 5.ลักษณะภูมิประเทศของไทย - ภูเขา ฐานหินแกรนิตพบในภาคเหนือ ตะวันตกและใต้, ฐานหินปูนพบในภาคตะวันตกและใต้, ฐานหินทรายพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -ที่ราบ เกิดจากการทับถม ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบฝั่งทะเล -ทะเลสาบ 1.ทะเลภายใน (Lagoon) มีทางน้ำต่อกับทะเลใหญ่ เช่น ทะเลสาบสงขลา 2.ทะเลปิด (Land Lock) มีแผ่นดินล้อมรอบ เช่น กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาน - เกาะ เป็นเกาะริมทวีปทั้งหมด เช่น เกาะภูเก็ต เกาะสมุยเกาะพงัน เกาะช้าง เกาะกูด - ฝั่งทะเลมี 2 แบบ ได้แก่ (1) ฝั่งทะเลโผล่ เกิดจากการทับถม พบบริเวณรอบอ่าวไทย ตั้งแต่แหลมสารพัดพิษถึงนราธิวาส

  28. (2) ฝั่งทะเลจม เกิดจากการกัดเซาะพังทลาย พบบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ลักษณะภูมิอากาศในประเทศไทย 1.อากาศแบบมรสุมเมืองร้อน (Am) ได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียนำฝนมาตกในประเทศ ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม 2.อากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) ได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีน นำความเย็นและความแห้ง จนถึงแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม พายุโซนร้อนจะพัดจากทะเลจีนตอนใต้เข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำฝนมาตกมากโดยเฉพาะจังหวัดนครพนมที่อยู่ในแนวพายุ พืชพรรณธรรมชาติในประเทศไทย 1.ป่าไม้ไม่ผลัดใบ ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าสนเขา 2. ป่าไม้ผลัดใบ ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าแดง (ป่าโคกหรือป่าแพะ) ป่าพรุ (น้ำท่วมขังตลอดปี) และป่าชายหาด

  29. 6.เกณฑ์การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ประเทศไทย6.เกณฑ์การแบ่งภาคภูมิศาสตร์ประเทศไทย 1.ด้านกายภาพ จัดภูมิประเทศที่คล้ายกันไว้ในภาคเดียวกัน เช่น ภูเขา ที่ราบ 2.ด้านวัฒนธรรม พิจารณาจากวิถีชีวิตที่เหมือนกันไว้ภาคเดียวกัน เช่น ภาษา อาหารการกิน การแต่งกาย 3.ด้านเอกสารวิชาการ ประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการแบ่งเขตจังหวัด 4.การเรียกชื่อภาค ให้เรียกลักษณะภูมิประเทศก่อนต่อด้วยทิศที่ตั้ง เช่น เขตภูเขาสูงสลับที่ราบหุบเขาภาคเหนือ 7.โครงสร้างภูมิประเทศของไทย 1.ภาคเหนือ เป็นภูเขาสูงสลับที่ราบหุบเขา มีที่ราบดินตะกอนกระจายอยู่ในแอ่งแผ่นดิน 2.ภาคกลาง เป็นที่ราบติดตะกอนลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ตอนบนเป็นที่ราบฟูก มีขอบเป็นภูเขา 3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีภูเขาสูงทางตะวันตกและทางใต้ ลาดลงทางตะวันออก มีแอ่งแผ่นดินลุ่มน้ำ มูล-ชี,แอ่งแผ่นดินลุ่มน้ำสงคราม 4.ภาคภาคตะวันออก มีภูเขาตอนกลางมีที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง และที่ราบฝั่งทะเล 5.ภาคตะวันตก เป็นภูเขาสลับที่ราบหุบเขาแคบๆ มีที่ราบลุ่มน้ำแม่กลอง และที่ราบฝั่งทะเล 6.ภาคใต้ เป็นคาบสมุทรมีภูเขาเป็นแกน ขนาบด้วยฝั่งทะเล ฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบฝั่งทะเล ฝั่งตะวันตกแคบ มีหน้าผา

  30. 8.การกระจายตัวประชากรไทย8.การกระจายตัวประชากรไทย 1.เขตประชากรหนาแน่น ได้แก่ เขตที่ราบภาคกลาง และที่ราบฝั่งทะเล 2.เขตประชากรเบาบาง ได้แก่ เขตภูเขาสูง และเขตทุรกันดาร คุณภาพประชากรไทยขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพอนามัย โภชนาการ และคุณธรรม 9.ภูมิศาสตร์กับภูมิประเทศไทย เกิดจากฝนฟ้าอากาศ และการเกษตรกรรม ทำให้เกิดวัฒนธรรมประเพณี เช่น ประเพณีสงกรานต์, พิธีแห่นางแมว (ภาคกลาง), ประเพณีบุญบั้งไฟ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ประเพณีลอยกระทง 10.โครงการพระราชดำริเพื่อแก้ปัญหาภูมิศาสตร์ ได้แก่ 1.โครงการแก้มลิง 2.โครงการธรรมะปราบอธรรม 3.โครงการป่า 3 อย่าง 4 ประโยชน์ 4.โครงการ 4 น้ำ 3 รส 5.โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

More Related