1 / 59

File ชุดที่ 1 – งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว

(ร่าง) ข้อเสนอ หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556. เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง. File ชุดที่ 1 – งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว. มิถุนายน 2555 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (ร่าง) กรอบวงเงินงบอัตราเหมาจ่ายรายหัวปี 2556.

polly
Download Presentation

File ชุดที่ 1 – งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. (ร่าง) ข้อเสนอหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 เสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง File ชุดที่ 1 – งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว มิถุนายน 2555 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  2. (ร่าง) กรอบวงเงินงบอัตราเหมาจ่ายรายหัวปี 2556

  3. 1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป

  4. (ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (1) การบริหารจัดการแบ่งเป็น 3 รายการย่อย ได้แก่ 1.1 จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อผู้มีสิทธิ 1.2 จ่ายตามผลงานบริการ 1.3 จ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ 1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับประสิทธิภาพ

  5. (ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (2) 1.1 จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อผู้มีสิทธิ จำนวน912.62 บาทต่อประชากร เท่ากับปี 2555 จ่ายตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียน โดยหลักการคำนวณเหมือนปี 2555 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ • จำนวนเท่ากับปี 2555 (757.39 บาทต่อประชากร) ให้มีการ diff. capitation ด้วยจำนวนประชากรตามโครงสร้างอายุประชากรและให้ปรับค่าความต่างของอัตราต่อหัวแต่ละจังหวัด(สป.สธ.) / CUP (สังกัดอื่นๆ) ให้ต่างจากค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ± 10% โดย • หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ให้ปรับที่ระดับจังหวัด • หน่วยบริการสังกัดอื่นๆ ที่เหลือ ให้ปรับที่ระดับ CUP • จำนวนที่เหลือ (155.23 บาทต่อประชากร)ให้จ่ายในอัตราเท่ากัน

  6. (ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (3) 1.2 จ่ายตามผลงานบริการ จำนวนเงิน 18.09 บาทต่อประชากร กรอบแนวทางการบริหารเหมือนปี 2555 แต่เพิ่มด้านคุณภาพของการให้บริการโดย • จ่ายตามจำนวนผลงานและตามคุณภาพของการให้บริการจากข้อมูล OP/PP individual records • จ่ายตามจำนวนผลงานและคุณภาพของข้อมูลทางการเงินหน่วยบริการ • การพัฒนาระบบข้อมูลผู้รับบริการ

  7. (ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (4) 1.3 จ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ บริการปฐมภูมิเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่จะต้องดำเนินการ • มติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ • 22 ม.ค.2551 ให้ใช้กลไกการเงินสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ โดยให้มีแผนลงทุนขยายและพัฒนา ระบบบริการปฐมภูมิและกำลังคนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง • 14 มิ.ย.2552 ให้มีงบเหมาจ่ายเพิ่มเติมสนับสนุนหน่วยบริการปฐมภูมิ หรือ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์ศักยภาพ • นโยบายรัฐบาลเร่งด่วนปีแรกข้อ 1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ ซึ่งมีทิศทางตามข้อเสนอ SMART Health ระบุประเด็นหลักหนึ่งว่า “มีหมอใกล้บ้านใกล้ใจ” • ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2555 – 2559 ยุทธศาสตร์ ที่ 3 “สร้างความเข้มแข็งของระบบบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะระบบบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมในทุกมิติและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ (primary care strengthening)”

  8. บริการปฐมภูมิ

  9. กลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายด้านบริการปฐมภูมิกลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายด้านบริการปฐมภูมิ • ผลักดันเชิงนโยบายร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ • ใช้กลไกการเงินกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการประจำ/โรงพยาบาลแม่ข่ายพัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิให้เข้มแข็ง • ทิศทางการใช้กลไกการเงินปรับจากโครงสร้างไปสู่ผลผลิตและผลลัพธ์มากขึ้น • ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข องค์กรวิชาชีพ และภาคีต่างๆในการสนับสนุนการผลิต กระจาย และพัฒนากำลังคนในบริการปฐมภูมิ • กระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่พื้นที่ (ระดับเขตและจังหวัด) • สนับสนุนภาคส่วนอื่น (อปท. เอกชน social enterprise) เข้ามาร่วมจัดการบริการสาธารณสุขในพื้นที่ที่ยังมีช่องว่าง • เสริมบทบาทกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน

  10. (ร่าง) กรอบการบริหารงบจ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ ปี 2556 งบจ่ายตามเกณฑ์บริการปฐมภูมิ 37 บ./ปชก. ตามเกณฑ์ศักยภาพบริการปฐมภูมิ 30 บ./ปชก. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการปฐมภูมิ 7 บ./ปชก. • เป็นเกณฑ์เชิงโครงสร้าง + Output/Outcome โดย • บริหารจัดการเป็น global budget ระดับเขต ตามจำนวนปชก. : ผลงานปี2555 ที่สัดส่วน 50 : 50 • น้ำหนักเกณฑ์ เน้น output และ outcome(PC) เพิ่มขึ้น • กำหนด minimum requirements • เกณฑ์กลางระดับประเทศ + เกณฑ์ระดับพื้นที่ • มีเงื่อนไขให้ CUP ต้องสนับสนุน PCU • วัดผลงานระดับ CUP / PCU • การจ่ายตามค่าคะแนนของผลการประเมิน ภายใต้ global budget ระดับเขต พัฒนาศักยภาพการจัดบริการปฐมภูมิ 80% สนับสนุนการผลิตพัฒนาและกระจายบุคลากร 20% • เป็น global budget ระดับเขตที่คำนวณตามจน.ปชกทั้งหมด : จน. PCU ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ศักยภาพ ด้วยสัดส่วน 30:70 • สนับสนุนพัฒนา/จัดหากำลังคนที่จำเป็นและขาด ตามบริบทพื้นที่ ตามทิศทางที่ สปสช. กำหนด • ส่งเสริมนวตกรรมระบบบริการปฐมภูมิ • พัฒนาระบบบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ (District health system :DHS) • การดำเนินงานผ่านการพิจารณาของ อปสข.

  11. ผลลัพธ์งบ On top Payment • ปี 2554 มีพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานใน รพ.สต 7,689 แห่ง(77.87%) รวมจำนวน 10,274 คน ซึ่งในจำนวนนี้ผ่านการอบรมพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป(NP)จำนวน 7,415 คน (72.17%) เปรียบเทียบกับในปี 2551 ก่อนมีงบon topมีพยาบาลจำนวน 6,158 คนที่ปฏิบัติงานใน PCU • ปี 2554 มี PCU ที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียน 94.43% เปรียบเทียบกับ ปี 2551 ก่อนมีงบ ontop มี PCU ที่ผ่านเกณฑ์ขึ้นทะเบียน 60%

  12. (ร่าง) 1.กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2556 (5) 1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการปรับประสิทธิภาพ • จำนวน 6.65 บาทต่อประชากร (งบมาจากรายการที่มีเป้าหมายในการปรับประสิทธิภาพการบริหารงบกองทุน เมื่อเทียบกับปี 2555) • สำหรับการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับประสิทธิภาพการจัดบริการและการบริหารกองทุน เช่น การพัฒนาต้นทุนบริการ/รายโรค การเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่มีการปรับประสิทธิภาพ เป็นต้น • แนวทางการจ่ายให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง กำหนด

  13. 2.งบบริการผู้ป่วยในทั่วไป2.งบบริการผู้ป่วยในทั่วไป

  14. (ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (1) จำนวนเงิน 972.17 บาทต่อประชากร เท่ากับปี 2555 และกรอบแนวทางบริหารเหมือนปี 2555 โดย • ครอบคลุมบริการผู้ป่วยในทุกรายการ ยกเว้นที่กำหนดให้จ่ายจากประเภทบริการอื่น • บริหารเป็น global budget (GB) ที่ระดับเขต โดย 2.2 การคำนวณ GB เป็นไปตามมติ 12 ก.ค.2553 (45% ตามโครงสร้างอายุ 55% ตาม workload) 2.2 การคำนวณ GB ให้ประมาณการเป็นทั้งปี โดยใช้ข้อมูลผลการให้บริการที่เกิดขึ้นที่เป็นปัจจุบัน

  15. (ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (2) • การจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการ 3.1) ให้กันเงินเพื่อจ่ายตามจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการได้ไม่เกิน 15 บาทต่อหัวประชากรโดยความเห็นชอบของ อปสข.และที่เหลือให้จ่ายด้วยระบบ DRG with global budget ด้วย DRG version 5 3.2) การจ่ายตามระบบ DRG ให้จ่ายตามการใช้บริการที่เกิดขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายจำนวน adjRWที่จะเกิดขึ้น และอัตราจ่ายต่อ adjRWโดยให้ อปสข.พิจารณาเป้าหมายจำนวนน้ำหนักสัมพัทธ์ที่จะเกิดขึ้นและอัตราจ่ายต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ให้แต่ละจังหวัดภายใต้เพดานกองทุนย่อยผู้ป่วยในระดับเขตของแต่ละเขต

  16. (ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (2) • อัตราจ่ายต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ (บาทต่อadjRW) ดังนี้ 4.1) จ่ายกรณีไปรักษานอกเขต ในอัตรา 9,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ทุกระดับและไม่ปรับลดค่าแรงสำหรับหน่วยบริการภาครัฐและสำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.ที่มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่ใกล้กับจังหวัดของพื้นที่ สปสช.เขตอื่น ให้สามารถกำหนดอัตราตามข้อตกลงระหว่างหน่วยบริการได้ แต่อัตราจ่ายต้องไม่เกิน 9,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ 4.2) อัตราจ่ายกรณีผู้ป่วยระบบสำรองเตียง ให้เป็นไปตามความจำเป็นและข้อตกลง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ 4.3) การใช้บริการกรณีมาตรา 7 (ทั้งหน่วยบริการในระบบและนอกระบบ) ให้เป็นไปตามเงื่อนไขบริการและอัตราที่ สปสช.กำหนด 4.4) อัตราที่รักษาคนในเขต ให้เป็นอัตราเดียวในแต่ละเขต และ และสามารถกำหนดอัตราจ่ายเป็นอย่างอื่นเพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาระบบบริการภายในเขตได้ แต่เมื่อเทียบกับการจ่ายต่อ adjRWต้องไม่เกิน 9,000 บาทต่อ adjRWโดยผ่านความเห็นชอบของ อปสข.

  17. (ร่าง)2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2556 (5) • การบริหารการจ่ายค่าบริการให้หน่วยบริการแต่ละเขตให้สามารถกำหนดอัตราจ่ายเบื้องต้นที่อัตราหนึ่ง และต้องให้จ่ายให้หมดวงเงิน GB ระดับเขตตามเงื่อนไขมาตรการวินัยทางการเงิน (กำหนดเวลาการส่งข้อมูล การปรับลดการจ่ายหากส่งข้อมูลล่าช้า) โดยให้ อปสข. พิจารณางบประมาณส่วนที่อาจจะเหลือ (จากการกำหนดเป้าหมายและอัตราจ่ายต่อ adjRW เบื้องต้น) ให้หน่วยบริการเป็นค่าบริการสาธารณสุขต่างๆ เพิ่มเติมได้ • ให้มีการเสนอข้อมูลการใช้บริการให้ทราบทั่วกัน เพื่อการตรวจสอบและการพัฒนาระบบบริการ โดยเฉพาะ • กรณีส่งผู้ป่วยที่มีน้ำหนักสัมพัทธ์ (RW)<=2 ไปรักษานอกเขตพื้นที่ • กรณีการรักษาที่ RW<=0.5 จำแนกทั้งรักษาในเขตและนอกเขตพื้นที่

  18. 3.เงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง3.เงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง

  19. (ร่าง) 3.กรอบแนวทางบริหาร เงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง จำนวน 60.99บาทต่อประชากร เท่ากับปี 2555 แนวทางการจ่ายส่วนเหมือนปี 2555 จ่ายโดยคำนึงถึงต้นทุนคงที่ สำหรับโรงพยาบาลชุมชนและเครือข่าย, โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กและเครือข่าย เพื่อให้จัดบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการจ่ายให้ประยุกต์วิธีการทางสถิติ โดยใช้ cost function และข้อมูลงบการเงินหน่วย ดังนี้ • ประยุกต์ผลจาก cost function คำนวณเป็นค่าใช้จ่ายที่ควรจะเป็น โดยใช้ cost function ชุดเดียวกับที่ใช้ในการคำนวณปี 2555 • จ่ายเป็นผลต่างระหว่างค่าใช้จ่ายที่ควรจะเป็นราย CUP กับการจ่ายค่าบริการ OP-ทั่วไป • สำหรับจังหวัดที่มีประชากร UC ต่ำกว่า 300,000 คนปรับให้ภาพรวมของงบระดับจังหวัดหลังเงินเดือนได้ประมาณค่าเฉลี่ย -1SD บาทต่อประชากรสิทธิ • ให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังเป็นผู้พิจารณากรณีหน่วยบริการที่มีภาระในการสงเคราะห์การให้บริการประชากรอื่นๆ เช่น พท.ติดชายแดนของจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน สระแก้วเป็นต้น • กรณีมีงบประมาณเหลือให้จัดสรรให้หน่วยบริการประจำตามจำนวนประชากรสิทธิ ในอัตราเดียวกัน

  20. หลักการในการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูงหลักการในการจ่ายเงินเพิ่มสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง Diff Cap+ 180.89(รายได้) จำนวนเงิน • Cost function • Fix • OP variable (per capita ระดับจังหวัด) Fix cost Fix cost cap จำนวนประชากร

  21. 4.งบบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง, อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน, บริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึง

  22. (ร่าง) 4. กรอบแนวทางการบริหารงบบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง, อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และบริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึงปี 2556(1) • ครอบคลุมรายการบริการต่างๆ • ไม่มีการเพิ่มเติมรายการใหม่ • ย้ายมาจากรายการบริการอื่น 3 บริการ ได้แก่ • บริการทันตกรรมประดิษฐ์ (เป็นค่าฟันเทียม ให้รวมไว้กับ Instrument) • บริการทันตกรรมจัดฟันและฝึกพูด สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ • บริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อข้ามจังหวัด • แนวทางการจ่ายส่วนใหญ่เหมือนปี 2555 ยกเว้นรายการ OP-refer ข้ามจังหวัด

  23. 4.1 บริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง (HC)

  24. 4.2 บริการอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน (AE,PUC) ปี 2556 ปรับแนวทางการจ่าย OP-refer ข้ามจังหวัด

  25. แนวทางบริหารงบ OP-refer ที่ใช้บริการข้ามจังหวัด ปี 2556 จำนวน15 บาทต่อประชากร สำหรับกรณีบริการผู้ป่วยนอกรับส่งต่อเฉพาะข้ามจังหวัด (ย้ายรายการมาจาก OP-ทั่วไป) เท่ากับปี2555 โดยมีกรอบแนวทางบริหาร ดังนี้ • จ่ายแบบร่วมจ่ายกับหน่วยบริการประจำของผู้ป่วย โดยจัดตั้งเป็นกองทุนระดับเขต/ระดับจังหวัด • แนวทางการจ่าย โดยการคำนวณเพดานต่อครั้งบริการ หลังหักเงินที่จะจ่ายด้วยรายการอื่นๆ ออกไปก่อน • หน่วยบริการประจำ จ่ายแบบมีเพดานตามจ่ายไม่เกินอัตราที่ สปสช.กำหนด ต่อครั้ง • งบ OP Refer-ข้ามจังหวัด จ่ายบริการส่วนที่เกินอัตราที่ สปสช.กำหนด ต่อครั้ง • สปสช. ทำหน้าที่ในการหักชำระบัญชีระหว่างกัน (Clearing house) แทนหน่วยบริการประจำ

  26. 4.3 บริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึง สำหรับการปลูกถ่ายตับในเด็กกรณีท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด และการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ให้ใช้งบรายการบริการผู้ป่วยทดแทนไต เหมือนปี2555

  27. สรุปงบบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง, อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน และบริการกลุ่มโรคที่มีปัญหาการเข้าถึงปี 2556 ทั้งนี้ให้เกลี่ยงบประมาณระหว่างข้อ 4.1 ถึง ข้อ 4.3 ได้

  28. 5.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค5.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

  29. กรอบแนวคิดหลักของการบริหารจัดการงบ P&P • ครอบคลุมบริการ P&P รายบุคคลและครอบครัวสำหรับคนไทยทุกคน • กรอบการบริหารจัดการเพื่อ • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ทั้งที่เป็นปัญหาความสำคัญในระดับประเทศ/เขต/จังหวัด/หน่วยบริการ/ชุมชน และนโยบายที่เน้นหนักของรัฐบาล • สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P • ผู้ดำเนินการจัดบริการจะเป็นหน่วยบริการ สถานพยาบาล หน่วยงาน องค์กรต่างๆ และชุมชน ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการจัดบริการ P&P

  30. วัตถุประสงค์ 1. ลดอัตราป่วย อัตราตายและปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ 2. เพิ่มการเข้าถึงบริการที่จำเป็นและมีคุณภาพตามมาตรฐานบริการอย่างเท่าเทียมในแต่ละกลุ่มวัย

  31. (ร่าง) กรอบวงเงินการบริหารงบ P&P ปี 2556 P&P Capitation ( 232.36 บาท x ปชก. ทุกสิทธิ 65.404ล้านคน) คำนวณจาก 313.70 บาท/ปชก.UC 48.445 ล้านคน (1) NPP& Central procurement 25.72 บ.(11%) (4) สนับสนุนและส่งเสริม 7.68บ.(3%) (3) PPA 57.4บ. (25%) (2) PP E 124.96 บ. (54%) (5) ทันตกรรมส่งเสริม 16.60บ. (7%) ชุมชน (กองทุนอบต.) (40) หักเงินเดือน Capitation+ Workload 99.96 บ. จังหวัด/เขต (17.4) Quality Performance 25 บ. CUP/สถานพยาบาล/หน่วยบริการอื่นๆ กรณี สปสช.เขต 10 (กรุงเทพมหานคร) ให้สามารถบูรณการการบริหารงบ PPE และ PPA เพื่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ตามที่กำหนด เนื่องจากไม่มีสาขาจังหวัดและบริบทพื้นที่แตกต่าง

  32. (ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (1) 5.1 P&P National priority program & Central procurement • NPP • เป็นค่าบริการและส่งเสริมสนับสนุนการจัดบริการ P&P ที่เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ (Thalassemia , แรงงาน ,มะเร็ง ,HIV ,DM HT) และบริการที่เน้นหนักตามนโยบายรัฐบาล (การส่งเสริมสุขภาพเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา ) • บริหารจัดการโดยส่วนกลางร่วมกับหน่วยงานระดับประเทศที่เกี่ยวข้อง(กรมวิชาการ/สถาบันวิชาการ/สมาคมวิชาชีพ) • Central Procurement • วัคซีนได้แก่ ;วัคซีนพื้นฐานตามโปรแกรมมาตรฐานที่กำหนด , วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ • สมุดบันทึกสุขภาพมารดาทารก และสุขภาพนักเรียน

  33. (ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (2) 5.2 P&P Expressed demand • สำหรับบริการ P&P ที่มีความต้องการเด่นชัดที่ประชาชนมารับบริการที่หน่วยบริการ หรือหน่วยบริการจัดบริการเชิงรุกในชุมชน • การบริหารจัดการโดย สปสช.เขต สปสช.สาขาจังหวัด จัดสรรให้หน่วยบริการด้วย เงื่อนไข 3 ประการ คือ ตามจำนวนประชากร ตามปริมาณงาน และ ตามผลสัมฤทธิ์บริการ 5.3 P&P Area based • สำหรับบริการ P&P ที่เป็นความสำคัญระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับชุมชน • การบริหารจัดการ โดย • กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นการบริการ P&P ที่ดำเนินการในชุมชน ในรูปแบบความร่วมมือกับ อปท. • สปสช.เขต และ สปสช.สาขาจังหวัด สำหรับบริการ P&P ที่เป็นบริการเน้นหนักตามนโยบายสำคัญ ซึ่งต้องเร่งดำเนินการในทุกพื้นที่ รวมถึงบริการที่เป็นปัญหาสำคัญเฉพาะของแต่ละเขต/จังหวัด

  34. (ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (3) 5.4 สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P 1) เป็นค่าสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P โดยเน้นสำหรับกิจกรรมการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน P&P ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ รวมถึงพัฒนาระบบสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการด้านศักยภาพบุคลากร ด้านการ บริการ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ 2) การบริหารจัดการโดยส่วนกลาง สปสช.เขต และ สปสช.สาขาจังหวัดภายใต้หลักของการบูรณาการงานและเงินสนับสนุนและส่งเสริมจากกองทุนฯอื่น 5.5 ทันตกรรมส่งเสริม • เป็นค่าบริการและสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการทันตกรรมส่งเสริมทุกกลุ่มวัย โดยเน้นในกลุ่มเด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียน • การบริหารจัดการ • หน่วยบริการ และ สปสช.สาขาจังหวัด ในการบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากทันตกรรมป้องกัน ที่เป็นปัญหาสำคัญ รวมทั้งผสมผสานงานอนามัยโรงเรียนอื่นๆ • สปสช.เขตและสปสช.สาขาจังหวัด ในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการทันตกรรม โดยเน้นกิจกรรมการกำกับติดตามประเมินผล

  35. (ร่าง) 5. กรอบแนวทางบริหาร งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปี 2556 (4) ตัวชี้วัด SMART health ด้านบริการ P&P ตามนโยบายรัฐบาลข้อ 1.14 ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน P&P ปี 2556 อัตราการได้รับการป้องกันภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในทารก อัตราการได้รับวัคซีนในเด็กปฐมวัย อัตราการตรวจสายตาในเด็กปฐมวัย อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่า12สัปดาห์ อัตราการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ 65ปีขึ้นไป อัตราการเกิดโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียรายใหม่ อัตราทารกเกิดภาวะดาวน์รายใหม่ อัตราการป่วยเบาหวานรายใหม่ อัตราการป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

  36. 6.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ6.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

  37. ร่าง) 6. กรอบแนวทางการบริหาร งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ปี 2556 (1)

  38. (ร่าง) กรอบวงเงินบริหารงบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ปี 2556 งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ (12.88 บาท/ประชากร) งบสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ (ไม่เกิน10%) งบบริการฟื้นฟูและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ (ไม่น้อยกว่า 90%) • สำหรับหน่วยบริการ และกองทุนฟื้นฟูฯ ระดับจังหวัด • ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ(จัดหา ผลิต ซ่อม) • ค่าบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการผู้สูงอายุ ผู้ป่วย sub acute(บริการผู้ป่วย OPD และในชุมชน) • ค่าฝึกการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ • สำหรับหน่วยบริการองค์กรคนพิการ และกองทุนฟื้นฟูฯ ระดับจังหวัด • ส่งเสริและสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการตามความพร้อม • ส่งเสริมศักยภาพองค์กรคนพิการ/ผู้ดูแล • ส่งเสริมระบบบริการในชุมชนร่วมกับอปท. • ส่งเสริมกำลังคนด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ • ส่งเสริมการจัดบริการรูปแบบใหม่และพัฒนาองค์ความรู้

  39. 7.บริการแพทย์แผนไทย

  40. (ร่าง) 7. กรอบแนวทางการบริหารงบ บริการการแพทย์แผนไทย ปี 2556

  41. (ร่าง) 7. กรอบแนวทางบริหารงบบริการการแพทย์แผนไทย ปี 2556 บริการการแผนไทย 7.20 บ./ปชก.สิทธิ UC 2. งบสนับสนุนและ ส่งเสริมการจัดบริการ 0.35 บ./ปชก.(ไม่เกิน5%) 1. งบค่าบริการเพิ่มเติม 6.85 บ/ปชก. (ไม่น้อยกว่า 95%) • จ่ายเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการที่จัดบริการเวชกรรมไทย/ นวด อบ ประคบ /การใช้ยาสมุนไพร ตามเกณฑ์ที่กำหนด • จัดให้มีคลินิกเวชกรรมไทยโดยนักการแพทย์แผนไทยคู่ขนานกับการแพทย์แผนปัจจุบัน • มีผลงานการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทย เพิ่มขึ้น • จัดสรรงบเป็น Global เขต : สัดส่วน ปชก. และผลงานเดิม(demand-supply) • ส่วนกลางกำหนดเกณฑ์กลาง เป้าหมาย กติกา/เขตกำหนดเกณฑ์เพิ่มเติมและแนวทางการจ่าย สนับสนุนและร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สถาบันทางวิชาการ องค์กรเอกชนพัฒนาบริการแพทย์แผนไทย สนับสนุนกลไกบริหารจัดการระดับจังหวัดในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์แผนไทยอย่างครบวงจร พัฒนาข้อมูล การกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

  42. เป้าหมายตัวชี้วัด (ร่าง) 7. กรอบแนวทางบริหารงบบริการการแพทย์แผนไทย ปี 2556 หมายเหตุ : ตัวชี้วัดที่ 1 – 3 เป็นตัวชี้วัด SMART health ตามนโยบายรัฐบาลข้อ 1.14

  43. 8. งบค่าเสื่อม

  44. งบค่าเสื่อม แนวคิด /หลักการและเหตุผล งบค่าเสื่อม เป็นงบประมาณที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพในการให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีคุณภาพ ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นและมีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน ความหมายของงบค่าเสื่อม งบค่าเสื่อมใช้ในการจัดหา โดยการ จัดซื้อ จัดจ้าง หรือเช่า เพื่อการทดแทนส่วนขาด และซ่อมบำรุงครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้าง ที่เสื่อมสภาพ หรือถดถอย หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ดังเดิม จากการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันฯ

  45. (ร่าง) 8.กรอบการบริหารงบค่าเสื่อม ปี2556 จ่ายให้หน่วยบริการในระบบ UC ทุกสังกัด ยกเว้นหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะโรค และหน่วยบริการที่เข้าใหม่ระหว่างปี โดยมีกรอบการบริหารดังนี้ • แยกงบระหว่างหน่วยบริการเป็น 3 กลุ่ม สำหรับ • หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. • หน่วยบริการภาครัฐอื่นๆ • หน่วยบริการภาคเอกชน • แบ่งสัดส่วนค่าเสื่อมระหว่างบริการ OP-IP-PP ด้วยสัดส่วนงบอัตราต่อหัวที่ได้รับจากรัฐบาลของค่าบริการ OP-IP-PP • เกณฑ์การจัดสรร “ตามจำนวนผู้ลงทะเบียนและผลงาน” โดย • OP & PP ตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียน • IP ตามจำนวนadjRW • กรณีที่มีหน่วยบริการลาออก และมีการโอนถ่ายประชากรกลางปีงบประมาณ ให้โอนงบค่าเสื่อมให้กับหน่วยบริการที่รับดูแลประชากรจริงตามสัดส่วนที่ให้บริการ

  46. (ร่าง) กรอบแนวทางบริหารเงินค่าเสื่อม ปี2556 งบค่าเสื่อม (A) ภาครัฐ (B) ภาคเอกชน หน่วย บริการ (A2) ตติยภูมิเขต (500 ลบ.) (~10 บ./ปชก.) (A3) ภาครัฐนอก สังกัดสป.สธ. (A1) ภาครัฐสังกัดสป.สธ. (A1.1) ส่วนกลาง(กสธ.) 10% หน่วย บริการ (A1.2) เขต 20% • หมายเหตุ • สำหรับเขตที่อยู่ในพื้นที่นำร่องเขตบริการสาธารณสุข ในส่วนภูมิภาค สามารถกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณภายในเขตได้ (งบในส่วน A1.2 + A1.3 +A1.4) แต่อย่างน้อยต้องได้ข้อมูล และเงื่อนไขตามที่คณะอนุกรรมการงบลงทุนฯ กำหนด โดยแนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. • เงินตติยภูมิ (A2) เฉพาะเขต 9 และ13 ตัดจากงบของเอกชนมารวมด้วย (A1.3) จังหวัด/หน่วยบริการ 70% หน่วยบริการ

  47. การเรียกคืนงบค่าเสื่อมการเรียกคืนงบค่าเสื่อม ปี 51-56 ปี 49-50 • เนื่องจากมีการจัดสรรงบลงทุนทดแทนทั่วไปจำนวน 70 % และงบปฐมภูมิ, งบตติยภูมิ อีก30% ให้กับหน่วยบริการ ดังนั้น การลาออกจากโครงการทุกครั้ง จะมีการคิดค่าเสื่อมในส่วน 30% ของ งบปฐมภูมิ, งบตติยภูมิ ด้วย จะไม่มีการเรียกคืนงบค่าเสื่อม(งบลงทุน)หากอยู่ครบปีงบประมาณ เนื่องจากมีการแยกชัดเจนกับงบที่มีการพัฒนา การเรียกคืนค่าเสื่อมจะเกิดขึ้นกรณีที่หน่วยบริการไม่สามารถให้บริการสาธารณสุขจนครบปีงบประมาณของสัญญาการให้บริการสาธารณสุข

  48. 9.งบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ9.งบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ

  49. (ร่าง) กรอบแนวทางบริหารงบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ ปี2556 (1) วัตถุประสงค์ & แนวคิดหลัก • สร้างกลไกการจัดการทางการเงินตามผลงานคุณภาพ (Quality outcome performancepayment ) • สร้างแรงจูงใจให้ หน่วยบริการที่รับการส่งต่อ จัดบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง • เป็น incentive แก่หน่วยบริการที่มีผลลัพธ์คุณภาพการบริการในแต่ละพื้นที่

  50. (ร่าง) กรอบแนวทางบริหารงบส่งเสริมคุณภาพผลงานบริการ ปี2556 (2) จำนวน 4.76 บาทต่อประชากร มีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้ • ให้ใช้งบส่งเสริมคุณภาพบริการ ร่วมกับ งบ IP ระดับเขต เพื่อจ่ายตามคุณภาพผลงานบริการของโรงพยาบาล • ปรับปรุงตัวชี้วัดและแนวทางการประเมิน และให้มีกลไกของเขตพื้นที่ ในการคัดเลือกตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับปัญหาพื้นที่ • ตัวชี้วัดผลลัพธ์ด้านบริการ ได้แก่ กลุ่มโรคอัตราตายสูง 2-3 โรค , กลุ่มโรคเรื้อรัง 1-2 โรค และ บริการส่งเสริมสุขภาพ • ตัวชี้วัดผลลัพธ์ด้านกระบวนการคุณภาพ ได้แก่ มาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล (HA) คุณภาพระบบงาน (เช่น งานเภสัชกรรม งานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ งานเวชระเบียน งานฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นต้น )

More Related