1 / 43

การบรรยายและอภิปราย

การบรรยายและอภิปราย. เรื่อง ความสำคัญและการดำเนินงานด้านกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (National Qualifications Framework for Higher Education in Thailand) โดย รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ดร.จิรณี ตันติรัตนวงศ์) วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2551

peony
Download Presentation

การบรรยายและอภิปราย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยายและอภิปราย เรื่อง ความสำคัญและการดำเนินงานด้านกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย (National Qualifications Framework for Higher Education in Thailand) โดย รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ดร.จิรณี ตันติรัตนวงศ์) วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2551 ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี ชั้น 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กทม.

  2. หัวข้อในการบรรยาย ความสำคัญของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (NQF) - พ.ร.บ. แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่) พ.ศ. 2545 - มาตรฐานการศึกษาของชาติ - มาตรฐานการอุดมศึกษา - กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) การดำเนินงานของโครงการ NQF - ระยะที่ 1 ขั้นจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา - ระยะที่ 2 ขั้นนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติ

  3. ความสำคัญของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา • ระดับนโยบาย • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 • มาตรฐานการศึกษาของชาติ • มาตรฐานการอุดมศึกษา • กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551 – 2565)

  4. แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษาและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ระดับนโยบาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานที่ 2 : แนวการจัดการศึกษาจัดการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบริหารโดยใช้สถานศึกษา เป็นฐาน มาตรฐานที่ 3 : แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/สังคมแห่งความรู้ การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง มาตรฐานที่ 1 : คุณลักษณะของคนไทยที่ พึงประสงค์ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก คนไทยเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข มาตรฐาน การศึกษาปฐมวัย สพฐ. มาตรฐาน การอาชีวศึกษา สอศ. มาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. มาตรฐานการอุดมศึกษา สกอ.

  5. มาตรฐานการอุดมศึกษา

  6. มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิตมาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต

  7. ระดับนโยบาย ระดับการนำไปสู่การปฏิบัติ มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการการอุดมศึกษา มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (NQF) NQF สาขาวิชาที่ 2 NQF สาขาวิชาที่ 3 NQF สาขาวิชาที่ 1 รายละเอียดของหลักสูตรแต่ละสาขาวิชา

  8. ระดับการนำไปสู่การปฏิบัติระดับการนำไปสู่การปฏิบัติ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (NQF) • ยุทธศาสตร์หลักของปัจจัย สู่ความสำเร็จ • จัดทำรายละเอียดของหลักสูตรและรายวิชา • กำหนดยุทธศาสตร์การสอน การวัดและประเมินผลนักศึกษาที่มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่กำหนดใน NQF • ประเมินหลักสูตร • รายงานผลการดำเนินการและพัฒนา กรอบมาตรฐานฯ ตามระดับคุณวุฒิและสาขาวิชา ผลผลิตทางการศึกษาที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน • ผลที่คาดว่าจะได้รับ • ครู – อาจารย์ มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวิธีการสอน นักศึกษามีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ • บัณฑิตได้รับการสั่งสอน อบรม กล่อมเกลาให้มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถ ทักษะต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ เป็นที่พึงพอใจของผู้จ้างงานและสังคม สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ • สถาบันอุดมศึกษามีกรอบในการพัฒนาหลักสูตรและ จัดการเรียนการสอนให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกันได้

  9. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว (General Framework) เป้าDifferentiation of system (Global players, Real sector drivers, Knowledge workers) เครื่องมือ การสร้างความเข้มแข็งของ Leadership, Governance and Management ระบบการเงินอุดมศึกษา ระบบพัฒนาอาจารย์และบุคคลากร ประเด็น ระบบคุณภาพการศึกษา อุดมศึกษากับการแข่งขัน(และภาคการผลิตจริง) และการพัฒนาที่ยั่งยืน (การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและประชาสังคม) การเติบโตและการเรียนรู้ในโลกไซเบอร์ Novel systems, structures และเครือข่าย อุดมศึกษาและเขตพัฒนาเฉพาะภาคใต้ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร: การบรรยายเรื่อง “กรอบ NQF กับนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาในแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว 12 ก.ค. 50

  10. Global players Knowledge workers ในภาคการผลิตและ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น Real sector drivers Employability : ทักษะสังคม ภาษา ไอที ทักษะการสื่อสาร Learn ability คุณค่าพื้นฐาน : คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาการวิชาชีพ วิถีชีวิตพอเพียง ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร: การบรรยายเรื่อง “กรอบ NQF กับนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษาในแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว 12 ก.ค. 50

  11. กรอบคุณวุฒิ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ที่มา : ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร Brain Thrust 1.ความรู้ความเข้าใจ 2.ทักษะความคิดและเชาว์ปัญญา 3. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร ความสามารถบริหารจัดการช่วงกลาง (นบม. นบก. นบส.) ความสามารถ บริหารจัดการ เบื้องต้น Mentoring (10 ปี) การพัฒนา ความเป็นครู การเตรียม ความเป็นครู การพัฒนา นักวิจัยรุ่นกลาง การเพิ่มสมรรถนะ ทางวิชาชีพและ การจัดการระดับ กลาง / สูง (Shadowing, Sabbatical) การเริ่มขัดเกลา ทางสังคม การแนะแนวอาชีพ โปรแกรมการศึกษา และสถานศึกษา ครูอาวุโส นักวิจัยอาวุโส ผู้บริหารอาวุโส นักวิชาชีพอาวุโส การเพิ่มความเข้าใจ ในวิชาชีพ(Work Attachment) โควตา ระบบ Admission การขัดเกลาทางสังคม โดยประชาอาสา และบริการสังคม การเริ่มสร้าง ความเข้าใจ ในมิติวิชาชีพ ทุน การพัฒนา นักวิจัยรุ่นใหม่ ครู นักวิจัย ผู้บริหาร นักวิชาชีพ รุ่นกลาง O Net A Net ช่วงบ่มเพาะ - Early career development ( 5-10 ปี) 12/7/2550 ช่วงเรียนอุดมศึกษา ช่วงเก็บเกี่ยว (20 + ปี) มัธยมปลาย

  12. กรอบคุณวุฒิ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน ที่มา : ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร 1.ความรู้ความเข้าใจ 2.ทักษะความคิดและเชาว์ปัญญา 3. การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร ความสามารถบริหารจัดการช่วงกลาง (นบม. นบก. นบส.) Brain Thrust ความสามารถ บริหารจัดการ เบื้องต้น Five Domains of Learning การพัฒนา ความเป็นครู การพัฒนา นักวิจัยรุ่นกลาง ครูอาวุโส นักวิจัยอาวุโส ผู้บริหาอาวุโส นักวิชาชีพอาวุโส การเตรียม ความเป็นครู การเริ่มขัดเกลา ทางสังคม การแนะแนวอาชีพ โปรแกรมการศึกษา และสถานศึกษา การเพิ่มสมรรถนะ ทางวิชาชีพและ การจัดการระดับ กลาง / สูง (Shadowing, Sabbatical) การเพิ่มความเข้าใจ ในวิชาชีพ(Work Attachment) โควตา ระบบ Admission การเริ่มสร้าง ความเข้าใจ ในมิติวิชาชีพ การขัดเกลาทางสังคม โดยประชาอาสา และบรืการสังคม ทุน การพัฒนา นักวิจัยรุ่นใหม่ O Net A Net Mentoring (10 ปี) ช่วงบ่มเพาะ - Early career development ( 5-10 ปี) ช่วงเก็บเกี่ยว (20 + ปี) 12/7/2550 ช่วงเรียนอุดมศึกษา มัธยมปลาย

  13. การดำเนินงานด้านกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติการดำเนินงานด้านกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ คำนิยาม: กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (National Qualifications Framework or Higher Education) หมายถึง แนวคิดใน การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพตามที่มุ่งหวัง มีการกำหนดองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตที่คาดหวังในแต่ละคุณวุฒิ โครงสร้างและระดับขั้นของการศึกษา ชื่อปริญญา จำนวนหน่วยกิต ระยะเวลาในการศึกษา และปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิจะเป็นหลักให้สถาบันอุดมศึกษานำไปพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้บัณฑิตบรรลุกลุ่มมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละคุณวุฒิ และเป็นกรอบที่ผู้บริหาร คณาจารย์ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถสื่อสารกับผู้ใช้บัณฑิตและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงกระบวนการจัดการศึกษาและคุณภาพของบัณฑิตในแต่ละคุณวุฒิ

  14. วัตถุประสงค์ของการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวัตถุประสงค์ของการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ • เป็นกลไกระดับปฏิบัติของสถานศึกษาในการนำนโยบายเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนการสอนตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรม • มุ่งเน้นมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา • เป็นหลักให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการเรียนการสอนให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน (มาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิต) • เป็นเครื่องมือสื่อสารให้สังคม ชุมชน รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศเข้าใจถึงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่คาดหวังได้จากบัณฑิต และมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ

  15. ลักษณะของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิลักษณะของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 1. โครงสร้างหลักของการจัดการศึกษาและความต่อเนื่องเชื่อมโยงของระดับต่างๆ ของการศึกษาอย่างเป็นระบบ 2. ประมวลกฎ เกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ในการจัด การเรียนการสอนเข้าไว้ในกรอบเดียวกัน เช่น เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์การกำหนด ชื่อปริญญา หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียน และอื่นๆ 4. เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ - ลักษณะของหลักสูตร (Program Specifications) - กลยุทธ์การสอนของคณาจารย์ - การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษา / บัณฑิต - การประเมินหลักสูตรและพัฒนา 3. กลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) ที่คาดหวัง จากบัณฑิต - คุณธรรม จริยธรรม - ความรู้ - ทักษะและสมรรถนะต่างๆ

  16. องค์ประกอบของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯองค์ประกอบของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ • ระดับของคุณวุฒิและเส้นทางการศึกษาที่เชื่อมโยงกันทั้งในลักษณะวิชาการและวิชาชีพ ระดับของคุณวุฒิมี 6 ระดับ ได้แก่ อนุปริญญา, ปริญญาตรี, ประกาศนียบัตรบัณฑิต, ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง, และปริญญาเอก • กลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตที่คาดหวัง (Domains of Learning) ซึ่งอย่างน้อยต้องมี 5 ด้าน ได้แก่ • - ด้านการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม • - ด้านความรู้ • - ด้านทักษะทางเชาวน์ปัญญา • - ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ • - ด้านทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร

  17. องค์ประกอบของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (ต่อ) สำหรับสาขาวิชาที่ต้องมีการฝึกฝนและพัฒนาทางกายภาพ อาทิ ด้านศิลปะ ดนตรี พลศึกษา หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต้องเพิ่มกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Skill) ซึ่งเป็นการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านเพิ่มเติมไว้ด้วย 3. ปริมาณการเรียนรู้และระยะเวลาที่คาดหวังให้บัณฑิตบรรลุ ผลการเรียนรู้ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 4. การกำหนดชื่อปริญญา เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำหนดชื่อปริญญา 5.* การรับรองผลการเรียนรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อน ทั้งการศึกษาตามอัธยาศัย นอกระบบและในระบบ มีรายละเอียดตามหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษา ในระบบของกระทรวงศึกษาธิการ

  18. องค์ประกอบของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (ต่อ) 6.* เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ เป็นการกำหนดแนวทางที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงมาตรฐานผลการเรียนรู้ทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา การพัฒนารายละเอียดของหลักสูตรและรายวิชา (Program Specifications and Course Specifications) - มีการจัดทำแผนการเรียนการสอนที่ผู้สอนในทุกรายวิชาจะต้องร่วมกันกำหนดกลยุทธ์การสอนให้ส่งเสริมและสอดคล้องกับกลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด - มีการกำหนดวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา - มีการประเมินหลักสูตร หมายเหตุ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ดำเนินการโครงการคู่ขนานกันไปอีกโครงการหนึ่ง ได้แก่ การส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (Professional and Organizational Development Network Thailand : POD Network Thailand) เพื่อเป็นการพัฒนายุทธศาสตร์การสอนและการวิจัยให้แก่คณาจารย์

  19. โครงสร้างและระดับขั้นการศึกษาในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาโครงสร้างและระดับขั้นการศึกษาในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

  20. ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาระดับต่าง ๆ จำนวนหน่วยกิตและกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้

  21. โครงสร้างหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี 5 ปี ไม่น้อยกว่า 6 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสกอ. พ.ศ. 2548 (หน่วยกิต ระบบทวิภาค) คุณสมบัติผู้เข้าเรียน : จบ ม.ปลายหรือเทียบเท่า หมวด แบบที่ 1 แบบที่ 2 แบบที่ 3 แบบที่ 4 แบบที่ 5 1. ศึกษาทั่วไป - สังคมศาสตร์ - มนุษยศาสตร์ > 30 > 30 > 30 > 30 > 30 - ภาษา - วิทย์กับคณิตฯ 2.วิชาเฉพาะ >84 >84>84 >84>84 - วิชาแกน - วิชาเอก 1 > 30 > 30 > 30 > 30 - วิชาเอก 2 > 30 > 30 - วิชาโท > 15 > 15 - วิชาเลือก 3. เลือกเสรี • ,X • ,X • ,X • ,X > 6 > 6 > 6 > 6 > 6 รวม 4 ปี 5 ปี ไม่น้อยกว่า 6 ปี 120 หน่วยกิต 150 หน่วยกิต 180 หน่วยกิต

  22. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมายถึง วิชาที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารความหมาย ได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทย และของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต และดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี สถาบันอุดมศึกษาอาจจัดวิชาศึกษาทั่วไปในลักษณะจำแนกเป็น รายวิชา หรือลักษณะบูรณาการใด ๆ ก็ได้ โดยผสมผสานเนื้อหาวิชาที่ ครอบคลุมสาระของกลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา และ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

  23. การจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ควรพิจารณา 1. โครงสร้างของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2. รายวิชาที่เปิดสอน 3. แผนการสอน 4. เทคนิควิธีการสอน 5. สื่อการสอน/คู่มือ/เอกสารประกอบการสอน 6. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน 7. การวัดและประเมินผล 8. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทั้งในระดับบริหาร อาจารย์ และนักศึกษา 9. พัฒนาอาจารย์ผู้สอนในด้านเทคนิควิธีการสอน การพัฒนาสื่อการสอน/ คู่มือ/เอกสารประกอบการสอน ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 10. การบริหารจัดการ

  24. หมวดวิชาเฉพาะ หมายถึง วิชาแกน วิชาเฉพาะด้าน วิชาพื้นฐานวิชาชีพ และวิชาชีพ ที่มุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติงานได้ โดยมหาวิทยาลัย/สถาบันอาจจัดหมวดวิชาเฉพาะในลักษณะวิชาเอกเดี่ยว วิชาเอกคู่ หรือวิชาเอกและวิชาโทก็ได้ - วิชาเอก ต้องไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต - วิชาเอกคู่ หน่วยกิต รวมทั้งหลักสูตรต้องไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต (ปริญญาตรี 4ปี) - วิชาโท ต้องไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

  25. หมวดวิชาเลือกเสรี หมายถึง วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)

  26. การดำเนินการของโครงการ NQF ขั้นการเตรียมการ (พ.ศ. 2545 – 2546) จัดจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รศ.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ เป็นหัวหน้าคณะ) ดำเนินการโครงการวิจัย เรื่อง “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของไทยในการนำไปพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ ในระดับสากล

  27. การดำเนินการโครงการ NQF (ต่อ) NQF ระยะที่ 1 : ขั้นจัดทำเอกสารกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ พ.ศ. 2546 – 2547 • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เพื่อดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการออสเตรเลียตามโครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ออสเตรเลีย (Thai-Australia Government Sector Linkages Program : TAGSLP) • พัฒนาเอกสารกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและการนำไปปฏิบัติ • จัดประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่แนวคิดการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต และให้สถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะ

  28. การดำเนินการโครงการ NQF (ต่อ) NQF ระยะที่ 2 : ขั้นนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติ • เชิญคณาจารย์สาขาวิชาต่างๆ จากสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งที่มีการรวมตัวกัน ร่วมเป็นกลุ่มนำร่องศึกษาแนวคิดของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ และพัฒนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่าง ได้แก่ คณาจารย์ในสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ 1. วิทยาศาสตร์ (ที่ประชุมคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) 2. ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (ที่ประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย) 3. คอมพิวเตอร์ (คณะอนุกรรมการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาการและวิชาชีพคอมพิวเตอร์) 4. โลจิสติกส์ (คณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานต้นแบบหลักสูตรด้านโลจิสติกส์) 5. พยาบาลศาสตร์ (ที่ประชุมคณบดีและหัวหน้าสถาบันสาขาพยาบาลศาสตร์ของรัฐ) 6. อุตสาหกรรมเกษตร (คณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษากลุ่มสาขาวิชา อุตสาหกรรมเกษตร) 7. เทคโนโลยีชีวภาพ (คณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษากลุ่มสาขา วิชาเทคโนโลยีชีวภาพ) 8. การท่องเที่ยวและการโรงแรม (คณะอนุกรรมการพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษากลุ่มสาขา วิชาการบริการและการท่องเที่ยว)

  29. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติ • (ร่าง) ประกาศกระทรวงศึกษา เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2551 • (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2551 สู่การปฏิบัติ • เอกสารกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและการนำไปสู่การปฏิบัติ • ต้นแบบการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร (Template for Program Specification) • ต้นแบบการจัดทำรายละเอียดของรายวิชา (Template for Course Specification) • ต้นแบบการจัดทำรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (Template for Field Experience Specification) • ต้นแบบการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (Template for Course Report) • ต้นแบบการรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร (Template for Program Report)

  30. (ร่าง)ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑----------------------------------------------- โดยที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗ กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก จึงเห็นสมควรให้จัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา และเพื่อเป็นการประกันมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในแต่ละระดับการศึกษาและสาขาวิชา และใช้เป็นหลักในการจัดทำมาตรฐานด้านต่างๆ ของการจัดการเรียนการสอนให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันในการผลิตบัณฑิตได้อย่างมีคุณภาพ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในคราวประชุมครั้งที่ ...../๒๕๕๑ เมื่อวันที่.....เดือน.......... พ.ศ.๒๕๕๑ จึงให้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ” ไว้ดังนี้

  31. ๑. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการฉบับนี้ เรียกว่า “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๑” ๒. ให้ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนี้ สำหรับการกำหนดเป้าหมายของการจัดการศึกษาซึ่งมุ่งเน้นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาในทุกระดับการศึกษาและสาขาวิชา และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ๓. วัตถุประสงค์ เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา ๔. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ประกอบด้วย ๔.๑ มาตรฐานผลการเรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษาและสาขาวิชาต่าง ๆ จะต้องครอบคลุมอย่างน้อย 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะเชาวน์ปัญญา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร ๔.๒ ระดับการศึกษา ได้แก่ อนุปริญญา (๓ ปี) ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง และปริญญาเอก ๔.๓ ชื่อปริญญา จำนวนหน่วยกิต และระยะเวลาในการศึกษาและการเทียบโอนผลการเรียน ซึ่งต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

  32. ๕. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสนับสนุนให้มีกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษา เพื่อแต่ละสถาบันจะได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร ๖. ให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษาตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการโดยจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร รายวิชา และประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด และดำเนินการจัดการเรียนการสอนตลอดจนการวัดและการประเมินผลเพื่อให้มั่นใจว่าบัณฑิตของตนมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ อย่างน้อยตาม ข้อ ๔.๑ ๗. ให้ทุกหลักสูตรซึ่งพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษา ต้องกำหนดการประกันคุณภาพของหลักสูตรในประเด็นต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ และรวมทั้งการพัฒนาอาจารย์ ทั้งด้านวิชาการและวิธีการสอน

  33. ๘. ให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษาให้ทันสมัย แสดงการปรับปรุงดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเป็นระยะ ๆ อย่างน้อยทุกๆ ๕ ปี และมีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษาอย่างต่อเนื่องทุก๕ ปี ๙. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาขึ้นทะเบียนหลักสูตรในสาขาวิชาที่ได้พัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษาซึ่งได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาแล้ว โดยให้สถาบันอุดมศึกษาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบจากสภาสถาบันอุดมศึกษาและกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพ ๑๐. ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวได้ หรือมีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่จะพิจารณา และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการอุดมศึกษานั้นเป็นที่สุด ประกาศ ณ วันที่ ..... เดือน ....... พ.ศ. ......... ลงชื่อ .............................................. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

  34. (ร่าง)ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่อง แนวทางการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ สู่การปฏิบัติ ------------------------------------------------ เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติคณะกรรมการการอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่........./๒๕๕๑ เมื่อวันที่.............๒๕๕๑ จึงออกประกาศแนวทางการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๑ สู่ปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ ๑. ในประกาศนี้ คำจำกัดความและความหมายที่เกี่ยวกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายหมายเลข ๑ ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชาเดียวกันร่วมกันนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติไปพัฒนาเป็นกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษา เพื่อให้สถาบันที่เปิดสอนหรือจะเปิดสอนสาขาวิชานั้น ๆ นำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรต่อไป ทั้งนี้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษาจะต้องครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายหมายเลข ๒ ๓. การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาของแต่ละระดับการศึกษาตามข้อ ๒ มีแนวทางดังนี้

  35. ๓.๑ หลักสูตรที่พัฒนาต้องเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา และรายละเอียดของหลักสูตร รายวิชา และประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ต้องชัดเจน ซึ่งจะครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ตามเอกสารแนบท้ายหมายเลข ๓ ๓.๒ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบให้มีการบริหารจัดการหลักสูตร เพื่อให้บัณฑิตมีคุณลักษณะตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา และระดับการศึกษานั้น ๆ ๔. การดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จในการผลิตบัณฑิตให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดและเพื่อธำรงไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐาน จึงต้องมีการดำเนินการ ดังนี้ ๔.๑ สถาบันอุดมศึกษาต้องพัฒนาอาจารย์ทั้งด้านวิชาการและวิธีการสอนที่มุ่งเน้น การพัฒนามาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประกาศหลักเกณฑ์การพัฒนาอาจารย์อย่างชัดเจน ๔.๒ สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดสรรทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอนและการวิจัยให้เพียงพอที่จะจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งอาจประสานกับสถาบันอุดมศึกษาและหรือหน่วยงานอื่นเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันในการพัฒนาการจัดการเรียนให้มีคุณภาพ ๔.๓ สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่ ครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ในทุกๆด้าน

  36. ๔.๔ สถาบันอุดมศึกษาต้องติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง และให้คณะ/สาขาวิชารายงานผลการจัดการศึกษาเป็นรายวิชาทุกภาคการศึกษา และเป็น รายหลักสูตรทุกปีการศึกษา ตามเอกสารแนบท้ายหมายเลข ๔ ๕. การประกันคุณภาพหลักสูตร สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการรายงานผลต่อสภาสถาบันอุดมศึกษา ต่อสาธารณะ และต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อ นำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงคุณภาพหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่เสมอ ๖. คณะกรรมการการอุดมศึกษาอาจดำเนินการให้มีการกำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผล การจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมี คุณภาพและมาตรฐานตามเจตนารมณ์และแนวปฏิบัติของประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ เดือน พ.ศ. ๒๕๕๑ ศาสตราจารย์พจน์ สะเพียรชัย ประธานกรรมการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา

  37. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร เกณฑ์กำหนดชื่อปริญญา หลักเกณฑ์การเทียบโอน เกณฑ์แนวทางอื่น ๆ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการอุดมศึกษา ด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านการบริหารการจัดการ การอุดมศึกษา ด้านการสร้างและสังคม ฐานความรู้และส่งเสริมความรู้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ อุดมศึกษาแห่งชาติ NQF ระดับสาขาวิชา รายละเอียด ของหลักสูตร วางแผนปรับปรุง + พัฒนา การรายงานผลหลักสูตรประจำปี (รายงานผลการดำเนินการในภาพรวม ของหลักสูตร เทียบกับแผนและเสนอ แนวทางในการปรับปรุง) รายละเอียด ของรายวิชา กระบวนการเรียนการสอน (มุ่งเน้นกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้) การรายงานผล รายวิชา • กลวิธีการสอนแบบต่าง ๆ • (POD Network) การวัดผลประเมินผล (มุ่งวัดกลุ่มมาตรฐานผลการเรียนรู้) Teaching Unit การวิจัยในห้องเรียน ประกันคุณภาพทุกขั้นตอน

  38. บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติ ผู้บริหาร1. กำหนดนโยบายในการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สู่การปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน 2. ให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างเป็นระบบในการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จริงจังและต่อเนื่องในการผลักดันให้เกิดผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็น Trainer ในการพัฒนาหลักสูตร และการสอน สามารถให้คำแนะนำ สนับสนุนคณาจารย์ได้อย่างถูกต้อง 3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสร้างและใช้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณาจารย์ด้วยกันเอง ทั้งในและต่างสถาบันจนเกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้

  39. บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติ (ต่อ) ครู- อาจารย์1. ตระหนักถึงเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาบัณฑิตตามนโยบายของชาติ 2. ติดตามพัฒนาการทางการศึกษาและจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว 3. มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของบัณฑิตตามกรอบ NQF 4. ศึกษาหาความรู้และนำกลยุทธ์การสอนแบบใหม่ ๆ ไปใช้ใน การเรียนการสอนรวมถึงการใช้เกี่ยวกับกระบวนการวัดผลนักศึกษา การประเมินและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม

  40. บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการนำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสู่การปฏิบัติ (ต่อ) บุคลากรฝ่ายสนับสนุน 1. ศึกษาและทำความเข้าใจกับนโยบายและการดำเนินการในการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานของบัณฑิต 2. ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการของผู้บริหารและคณาจารย์ในการส่งเสริม ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 3. พัฒนาตนเองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน/ร่วมอาชีพทั้งใน สถาบันอุดมศึกษาของตนเองและสถาบันอื่นเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ และนำมาพัฒนางานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  41. ประโยชน์ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับแนวโน้มของการจัดการศึกษาในอนาคตประโยชน์ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับแนวโน้มของการจัดการศึกษาในอนาคต • ช่วยพัฒนาหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันของคณาจารย์ในสถาบันต่างๆ เพื่อจัดทำกรอบมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา ได้แก่ - สาขาวิชาที่มีการรวมตัวกันเป็นที่ประชุมหรือเป็น consortium อยู่แล้ว - สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวกันของคณาจารย์ที่ยังไม่มี consortium

  42. ประโยชน์ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับแนวโน้มของการจัดการศึกษาในอนาคต (ต่อ) 2. ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งมี Trainers ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนำ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิไปพัฒนาหลักสูตร เป็น Trainers ในระดับคณะและสถาบัน และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ 3. ใช้กรอบ NQF ในการ Post audit หลักสูตร โดยพิจารณาว่าหลักสูตรที่ได้รับการทบทวนหรือพิจารณาใหม่ตาม Program Specifications ของกรอบ NQF เป็นดัชนีตัวหนึ่งของ การประกันคุณภาพภายใน และเป็นเกณฑ์ตัวหนึ่งในการประเมินคุณภาพ โดย สมศ. 4. ประโยชน์ต่อการเทียบโอนหน่วยกิตของนักศึกษาที่ย้ายสถานที่เรียน (Credit Transfer) และเทียบมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ 5. ประโยชน์ต่อการเทียบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อการเทียบเคียงคุณภาพของบัณฑิตในคุณวุฒิเดียวกันระหว่างสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

  43. ประโยชน์ของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิกับแนวโน้มของการจัดการศึกษาในอนาคต (ต่อ) ประเทศอื่นที่มีการพัฒนากรอบมาตรฐาน NQF ในการปฏิรูปการศึกษา เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อัฟริกาใต้ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ซาอุดิอาระเบีย ฮ่องกง ฯลฯ ประเทศในทวีปยุโรป เช่น สหราชอาณาจักร (อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ ไอร์แลนด์) เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมันนี ฮังการี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ออสเตรีย เบลเยียม บัลแกเรีย โครเอเชีย โปรตุเกส สวิสเซอร์แลนด์ ฯลฯ 6. ในอนาคตสถาบัน/สาขาวิชาอาจกำหนดให้มี exit exam โดยใช้ Domains of Learning ตามกรอบ NQF สาขาวิชาเป็นหลักในการประเมินได้ 7. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาจารย์ทั้งในด้านวิชาการและวิธีการสอน ทั้งในระดับคณะ/มหาวิทยาลัย (มี Teaching Unit) และระดับชาติ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสถาบัน การสอนในระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (The National Institute for University Teaching)

More Related