1 / 38

การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน. . รายงาน ( Report) เป็นงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่ผู้สอนกำหนดหรือตามความสนใจของผู้เรียน เพื่อใช้ประกอบการศึกษารายวิชาใดวิชาหนึ่ง อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม . ส่วนประกอบของรายงา น. 1. ส่วนประกอบตอนต้น มีส่วนประกอบดังนี้

osborn
Download Presentation

การเขียนรายงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนรายงาน

  2. . รายงาน (Report) เป็นงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามที่ผู้สอนกำหนดหรือตามความสนใจของผู้เรียน เพื่อใช้ประกอบการศึกษารายวิชาใดวิชาหนึ่ง อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม

  3. ส่วนประกอบของรายงาน • 1. ส่วนประกอบตอนต้น มีส่วนประกอบดังนี้ • 1.1 ปกนอก คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมด มีทั้งปกหน้าและปกหนังให้ใช้กระดาษสีอ่อนที่หนาและเหนียวพอสมควร บนปกประกอบด้วย • 1.1.1 ชื่อเรื่องรายงาน • 1.1.2 ชื่ออาจารย์ผู้สอน และชื่อผู้ทำรายงาน กรณีผู้ทำรายงานหลายคน ให้เรียงลำดับอักษร • 1.1.3 ข้อความที่ระบุว่าเป็นรายงานประกอบการศึกษารายวิชา รหัสวิชา คณะ สถาบันการศึกษา ภาคเรียน และปีการศึกษา • 1.2 ใบรองปก เป็นกระดาษว่างคั่นหลังหน้าปก ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง • 1.3 หน้าปกใน คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากปกนอก ข้อความบนหน้าปกในของรายงาน เป็นข้อความเดียวกับที่ปรากฏบนหน้าปกของรายงาน • 1.4 คำนำ เป็นหน้าที่ผู้ทำรายงานเขียนชี้แจงเกี่ยวกับสาเหตุของการเลือกเขียนรายงานเรื่องนั้น ขอบเขตของรายงาน ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการสืบค้นข้อมูลประกอบรายงาน • 1.5 สารบัญ หรือสารบาญ คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากคำนำในหน้าสารบัญจะมีลักษณะคล้ายโครงเรื่องของรายงาน เนื้อหาที่ปรากฏในรายงานเรียงตามลำดับเพื่อให้ผู้อ่านได้สามารถตรวจสอบหัวข้อต่าง ๆ ที่ต้องการว่าอยู่หน้าใด • 1.6 สารบัญตาราง คือ สารบัญรายการของตารางที่เสนอข้อมูลต่าง ๆ สารบัญตารางให้อยู่ต่อจากสารบัญ หลักเกณฑ์การพิมพ์สารบัญตารางใช้แนวเดียวกับการพิมพ์สารบัญ • 1.7 สารบัญภาพ คือ รายการของภาพที่นำมาประกอบการเรียบเรียงรายงาน อยู่ต่อจากสารบัญตาราง การแสดงชื่อภาพประกอบหลักเกณฑ์การพิมพ์ใช้แนวเดียวกับการพิมพ์สารบัญ

  4. ตัวอย่างปกรายงาน ชื่อเรื่องรายงาน ชื่อ-สกุลผู้เขียนรายงาน ระดับชั้น..............เลขที่/รหัสประจำตัว........................ วิชาเอก...............................................ห้อง................... รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา.................. ชื่อสถานศึกษา……………….. ภาคเรียนที่.........................ปีการศึกษา........................

  5. หน้าคำนำ คำนำ 7 ตัวอักษร (จากขอบเขียน) เว้น 1 บรรทัด /////// รายงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อ……………………………………………….. ……………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………. ขอบคุณบุคคลต่อไปนี้ คือคุณมกราคม คุณกุมภาพันธ์ ที่ได้ให้ความช่วย เหลือจนรายงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เว้น 1 บรรทัด สุขสวัสดี สีม่วง (ลงชื่อผู้เขียนรายงาน) 30 กันยายน 2556(ลงวันเดือนปี)

  6. ตัวอย่างสารบัญ สารบัญ เว้น 1 บรรทัด เนื้อเรื่อง………………………………………….. หน้า //ทรัพยากรสารสนเทศ.............................. 1 // ทรัพยากรตีพิมพ์................................. 1 // ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์............................. 4 // ส่วนประกอบของหนังสือ..................... 6 // วารสารและหนังสือพิมพ์......................8 // การระวังรักษาหนังสือ.......................... 10 // บรรณานุกรม…………………………… 12 หมายเหตุ เครื่องหมาย // คือ ระยะช่องไฟ

  7. ส่วนเนื้อเรื่อง • 2. ส่วนเนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่องจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ • 2.1 บทนำ คือ การเขียนอธิบายเนื้อหาอย่างกว้าง ๆ เป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่อง หรือเนื้อหาให้เข้าใจในเบื้องต้น • 2.2 เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่เสนอเรื่องราวทั้งหมดของรายงานตามลำดับหัวข้อที่ระบุไว้ในหน้าสารบัญ อาจแบ่งเป็นบทหรือตอน หรือหัวข้อของเนื้อเรื่องตามความเหมาะสม เนื้อเรื่อง มีส่วนประกอบย่อย ๆ อีกดังนี้ • 2.2.1 การอ้างอิงในเนื้อหา หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่นำมาอ้างอิงในการเรียบเรียงเนื้อหารายงาน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบหรือค้นคว้าเพิ่มเติมได้ • 2.2.2 ตาราง คือ การนำเสนอข้อมูลเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถบอกความหมายต่าง ๆ ได้ เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบนัยสำคัญ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจข้อมูลและเรื่องราวต่าง ๆ ได้รวดเร็ว • 2.2.3 ภาพประกอบ คือส่วนที่ใช้แสดงประกอบเนื้อเรื่อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจรวดเร็วขึ้น คำว่า ภาพประกอบจะครอบคลุมถึงภาพถ่าย ภาพวาด ภาพลายเส้น ภาพพิมพ์ แผนที่ ไดอะแกรม กราฟ

  8. ส่วนประกอบตอนท้าย • 3. ส่วนประกอบตอนท้าย ซึ่งอาจมีส่วนย่อย ๆ ดังนี้ • 3.1 หน้าบอกตอน คือ หน้าที่เขียนหรือพิมพ์ข้อความไว้กลางหน้ากระดาษ เพื่อบอกว่าส่วนที่อยู่ถัดไปคืออะไร เช่น หน้าบอกตอน บรรณานุกรม ภาคผนวก และ อภิธานศัพท์ • 3.2 บรรณานุกรม คือ บัญชีรายงานวัสดุสารสนเทศทุกประเภทที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงประกอบในการทำรายงานนั้น ๆ • 3.3 ภาคผนวก คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับรายงานนั้น แต่มิใช่เนื้อหาจริงที่ผู้เขียนต้องการเขียนแต่มีความสำคัญที่ควรนำมาประกอบไว้ เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาหรือเพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจได้ศึกษาเพิ่มเติมโดยไม่ต้องไปค้นจากแหล่งอื่นอีก • 3.4 อภิธานศัพท์ คือ บัญชีคำศัพท์เฉพาะหรือศัพท์เทคนิคที่ผู้เขียนหยิบยกมาใช้ในบทนิพนธ์นั้น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกันกับผู้เขียน ผู้เขียนจึงนำคำศัพท์นั้นมาเรียงตามตัวอักษรแล้วอธิบายความหมายไว้ แยกเป็นส่วนพิเศษต่างหาก จึงเรียกส่วนนี้ว่า อภิธานศัพท์

  9. ตัวอย่าง บรรณานุกรม • บรรณานุกรม • กรรณิการ์ ชลลัมพี และฉวีวรรณ สุวรรณรัฐ. (2541). การเขียนเอกสารอ้างอิงบรรณานุกรม. • ใน คู่มือวิทยานิพนธ์. หน้า 158-159. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. • การเขียนบรรณานุกรม. (2538). สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2553, จาก • http:ete-Wbi.site40.net.lesson-1-1.html • กิ่งกาญจน์ นาคะกุล. (2545). เอกสารคำสอนวิชาสารนิเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้า. เชียงใหม่ : • วิทยาลัยพลศึกษาจังหวังเชียงใหม่ • จุมพจน์ วนิชกุล. (2549). สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี • (ไทย-ญี่ปุ่น). • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. (2550). การค้นคว้าและการเขียนรายงาน. • พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

  10. ขั้นตอนการทำรายงาน • การเลือกเรื่องหรือหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา • การสำรวจแหล่งสารสนเทศ • การวางโครงเรื่องขั้นต้น • การกำหนดแหล่งข้อมูลเบื้องต้น • การค้นหาแหล่งข้อมูล • รวบรวมข้อมูลและจดบันทึก • การวางโครงเรื่องขั้นสุดท้าย • การเรียบเรียงรายงาน • การจัดทำบรรณานุกรม • การจัดทำส่วนประกอบอื่น ๆ ของรายงานให้ครบถ้วน • การจัดทำรูปเล่มรายงาน

  11. ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่องตัวอย่างการเขียนโครงเรื่อง ชื่อเรือง การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ 1. ความหมายของสารสนเทศ 2. ความต้องการสารสนเทศ 2.1 วิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 2.2 การพิจารณาลักษณะของสารสนเทศ 2.3 การวางแผนค้นหาสารสนเทศ 3. ทรัพยากรสารสนเทศ 4. การสืบค้นสารสนเทศ บรรณานุกรม

  12. ตัวอย่างส่วนของเนื้อหาตัวอย่างส่วนของเนื้อหา ชื่อเรื่องหรือชื่อบท (การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้) เว้น 1 บรรทัด หัวข้อใหญ่(ความหมายของสารสนเทศ ) เริ่มย่อหน้าข้อความ (เว้นจากขอบเขียน 7 ตัวอักษร)……………………. ……………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………… หัวข้อใหญ่ (ความต้องการสารสนเทศ) 1.วิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ …………………………………………. ……………………………………………………………………………………………. 2. การพิจารณาลักษณะของสารสนเทศ ……………………………………... …………………………………………………………………………………………….. หัวข้อใหญ่ (ทรัพยากรสารสนเทศ ) ………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………… หัวข้อใหญ่(การสืบค้นสารสนเทศ ) .  ……………………………………………………………………………………………… ......................................................................................................................................... ***หมายเหตุ รายการหัวข้อใหญ่ที่ปรากฏให้ขีดเส้นใต้ ( ตรงกันกับโครงเรื่อง) . 

  13. การเขียนอ้างอิง • คือ การบอก หรือแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่า ข้อความที่นำมาอ้าง หรือ ที่ผู้ทำรายงานได้คัดลอก หรือเรียบเรียงจากงานของบุคคลอื่น เพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของงาน และช่วยให้ผู้อ่านสามารถติดตามค้นคว้าหาเอกสารต้นฉบับที่สนใจได้ถูกต้อง ในปัจจุบันนิยมใช้การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา

  14. การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citation in Text) หรือเรียกอีกอย่างว่า การอ้างอิงแบบนาม-ปี เป็นการเขียนแหล่งอ้างอิงไว้ในวงเล็บเพื่อบอกที่มาของข้อความที่คัดลอกมา ปัจจุบันนิยมใช้ การอ้างอิงแบบนาม-ปี เพราะสามารถสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องและง่ายต่อการเขียน เป็น การเขียนสารสนเทศอ้างอิงไว้ในวงเล็บแทรกอยู่ในเนื้อหาของรายงานที่มีการนำข้อความอ้างอิง มีส่วนประกอบสำคัญ 3 รายการ คือ ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และ เลขหน้าที่อ้างอิงไม่ว่าวัสดุที่ใช้อ้างอิงนั้นเป็นประเภทใดก็ตาม 1. รูปแบบการเขียนอ้างอิงระบบนาม-ปี ส่วนประกอบคือ (ชื่อ/ ชื่อสกุล.// ปีพิมพ์ / : / เลขหน้าที่อ้างอิง)

  15. หลักเกณฑ์การเขียนอ้างอิงระบบนาม-ปี • 2. หลักเกณฑ์การเขียนอ้างอิงระบบนาม-ปี 2.1 การลงชื่อผู้แต่ง 2.1.1 การลงชื่อผู้แต่งคนไทย ไม่ใส่คำนำหน้า ยกเว้นผู้ที่มียศ บรรดาศักดิ์ หรือราชทินนามสำหรับชาวไทย ส่วนชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะนามสกุลเท่านั้น ตัวอย่าง (ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์.2548 : 19) (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี. 2526 : 50-55) (Putnum. 1999 : 15)

  16. การลงรายการผู้แต่ง 2.1.2 ผู้แต่งมีมากกว่า 1 คน ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการลงชื่อผู้แต่ง 1 คน และให้เขียนคำว่า และ หน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย ตัวอย่าง (ณรงค์ ณ ลำพูน และเพ็ชรี รูปวิเชตร.2546: 108-109) (Ettinger and Others. 1994 : 38) 2.1.2 ผู้แต่งมีมากกว่า 1 คน ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการลงชื่อผู้แต่ง 1 คน และให้เขียนคำว่า และ หน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย ตัวอย่าง (ณรงค์ ณ ลำพูน และเพ็ชรี รูปวิเชตร.2546: 108-109) (Ettinger and Others. 1994 : 38)

  17. ผู้แต่งที่เป็นชื่อหน่วยงานราชการผู้แต่งที่เป็นชื่อหน่วยงานราชการ 2.1.3 ระดับกระทรวง ตัวอย่าง ( กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 1). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2552 : 2).

  18. วัสดุอ้างอิงที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งวัสดุอ้างอิงที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง 2.1.4 วัสดุอ้างอิงที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเอกสารแทน ตัวอย่าง (รู้จักภาษาไทย. 2546: 22) (แนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน. 2551 : 5)

  19. การลงปีพิมพ์ การลงเลขหน้า 2.2 การลงปีพิมพ์ ให้เขียนเฉพาะตัวเลขของ พ.ศ. ถ้าไม่มีปีพิมพ์ให้ใช้ “ม.ป.ป.” หรือ “n.d.” แทน • 2.3 การลงเลขหน้า ถ้าไม่ปรากฏเลขหน้าที่อ้างอิงให้ใช้ว่า “ไม่ปรากฏเลขหน้า” หรือ “unpaged” แต่ถ้าส่วนที่อ้างเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือที่ไม่ใช่เนื้อหา และไม่มีเลขหน้าให้ระบุคำที่แสดงส่วนของหนังสือนั้นแทนเลขหน้า • ตัวอย่าง (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2548: คำนำ)

  20. การเขียนบรรณานุกรม บรรณานุกรม (Bibliography) คือ รายชื่อหนังสือ เอกสาร และโสตทัศนวัสดุที่ผู้เขียนนำมาอ้างอิงประกอบในการเขียนรายงาน ซึ่งจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่งไว้ในตอนท้ายของรายงานแต่ละเรื่อง บรรณานุกรม ประกอบด้วย รายการที่สำคัญ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์ เป็นต้น

  21. รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของหนังสือ รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของหนังสือ รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของหนังสือ เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามีหลายประเภท เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ และอื่น ๆ ดังนั้น การเขียนหรือพิมพ์รายการบรรณานุกรม จะมีการลงรายการบรรณานุกรมแตกต่างไปตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศนั้น ๆ ผู้เขียนรายงานสามารถใช้ตามความเหมาะสม รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของหนังสือทำได้ 2 รูปแบบ 2.1 รูปแบบที่ 1 มีรายละเอียดทางบรรณานุกรม ดังนี้ ผู้แต่ง.//ชื่อเรื่อง.// ครั้งที่พิมพ์.// สถานที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์,/ปีที่พิมพ์. ตัวอย่าง พฤกษ์ นิมิตพรอนันต์. เคล็ดลับเพิ่มพลังสมอง. กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2546.

  22. รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม 2 2.2 รูปแบบที่ 2 รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบเอพีเอ มีรายละเอียดทางบรรณานุกรม ดังนี้ ผู้แต่ง.// (ปีที่พิมพ์).// ชื่อเรื่อง.// ครั้งที่พิมพ์.// เมืองที่พิมพ์ :/ สำนักพิมพ์. ตัวอย่าง กรณีผู้แต่ง 1 คน อาภาพร ธาตุโลหะ. (2551). ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. ชลบุรี:พี. เค. กราฟฟิคพริ้นต์.

  23. กรณีผู้แต่ง 2 และ 3 คน ตัวอย่าง สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาคพิมพ์. สุวรรณ อภัยวงศ์, ไปรมา เฮียงราช และนัยนา ประทุมรัตน์. (2548). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 1500101 ภาษาไทยเพื่อ การสื่อสารและการสืบค้น. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. Diamondr, L., & Jefferies, J. (2001). Beginning statistics : An introduction for social scientist. London: Sage

  24. ผู้แต่งมากกว่า 3 คน การลงชื่อผู้แต่งมากกว่า 3 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งคนที่ 1 ที่ปรากฏในเอกสารนั้น ๆ แล้วตามด้วยคำว่า “และคนอื่น ๆ” หรือ “และคณะ” อย่างใดอย่างหนึ่งตลอดทั้งเล่ม สำหรับภาษาอังกฤษให้ใช้ “and others” หรือ “etal” ตัวอย่าง อมรา พงศาพิชญา และคณะ. (2549). การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัด คุณภาพชีวิตและพัฒนาโดยชุมชนมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จรวย บุญยุคล และคนอื่น ๆ. (2536). พลังงาน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

  25. ผู้แต่งที่ใช้นามแฝง การลงรายการผู้แต่งที่ใช้นามแฝงหรือชื่อย่อ ตัวอย่าง สมจินตนา (นามแฝง). (2549). บ้านรวย บ้านจน บ้านดี บ้านร้ายทำนายชะตาบ้าน เสริมชะตาคน. กรุงเทพฯ : ไพลิน. พ. นวลจันทร์ (นามแฝง). (2542). รู้ด้วยจิต : ออกจากใจใช่ ความคิด รู้ด้วยจิตใช่สมอง. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

  26. สิ่งพิมพ์ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งสิ่งพิมพ์ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง สิ่งพิมพ์ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการสำคัญ ตัวอย่าง เทคนิคการคิดและจำอย่างเป็นระบบ : Systematic Thinking & Mind Mapping. (2544). กรุงเทพฯ : เอ็กเปอร์เน็ท. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ : บนเส้นทางการพัฒนาอำเภอท่าหลวง. (2542). กรุงเทพฯ : กลุ่มวังขนาย.

  27. การลงรายการครั้งที่พิมพ์การลงรายการครั้งที่พิมพ์ การลงรายการครั้งที่พิมพ์ 1. ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่พิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป 2. การลงครั้งที่พิมพ์ในภาษาอังกฤษ ตัวเลขลำดับที่ไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค แต่คำว่า การพิมพ์ ให้เขียนย่อว่า ed (edition) เช่น หนังสือภาษาไทยให้ลงว่า พิมพ์ครั้งที่ 2 หนังสือภาษาอังกฤษ ให้ลงว่า 2 nd ed.

  28. รายการปีที่พิมพ์ การลงรายการปีที่พิมพ์ 1. ให้เขียนเฉพาะตัวเลขของ พ.ศ. ไว้ในวงเล็บ ถ้าไม่มีปีที่พิมพ์ให้ใช้ “ม.ป.ป.” หรือ “n.d.” (No Date) แทน ตัวอย่าง จิราพร โชตึก.(ม.ป.ป.).สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. ศรีสะเกษ: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ.

  29. การลงรายการเมืองที่พิมพ์ • การลงรายการเมืองที่พิมพ์ เมืองที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองหรือชื่อจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของผู้รับผิดชอบในการพิมพ์ ไม่ต้องใส่ชื่อประเทศ ถ้าไม่ปรากฏเมืองที่พิมพ์ให้ลงว่า “ม.ป.ท.” หรือ “n.p.” (Place of Publication) ในภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง จิราพร โชตึก.(ม.ป.ป.).สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. ม.ป.ท.: สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ.

  30. การลงรายการสำนักพิมพ์ • การลงรายการสำนักพิมพ์ ระบุเฉพาะชื่อสำนักพิมพ์ที่ปรากฏในหนังปกใน ตัดคำประกอบอื่น ที่ไม่จำเป็นออก ยกเว้นสำนักพิมพ์ของสถาบันอุดมศึกษาให้ระบุคำว่าสำนักพิมพ์ เพื่อแยกเอกสารที่เป็นของสถาบัน เช่น McGraw-Hill Companyลงว่าMcGraw-Hill สำนักพิมพ์ดวงกมล ลงว่า ดวงกมล บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด ลงว่า ซีเอ็ดยูเคชั่น สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ ลงว่า สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

  31. รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมวารสารรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมวารสาร • รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมวารสาร • มีดังนี้ • ชื่อ/ สกุลผู้เขียนบทความ.// (ปี,/ วัน/ เดือน).// ชื่อบทความ.// ชื่อวารสาร.// • ปีที่ (ฉบับที่)/ : / เลขหน้าที่อ้าง. • ตัวอย่าง • อรัญญา สุธาสิโนบล. (2549, ธันวาคม). การสอนแบบบูรณาการ. • วารสารวิชาการ. 5(12) : 20-26. ฟองหาว (นามแฝง). (2551, 15 มิถุนายน). ดีไซน์ : บาร์โค้ด. • พลอยแกมเพชร. 17(393) : 247.

  32. การเขียนบรรณานุกรมของบทความในหนังสือพิมพ์ รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของบทความในหนังสือพิมพ์ มีดังนี้ ผู้แต่ง.// (ปี,/ วันที่/ เดือน).// ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,//เลขหน้าที่อ้าง. ตัวอย่าง สุกัญญา รัตนนาคินทร์. (2550,5 มิถุนายน). คลินิกกฎหมาย : สินสอด. เดลินิวส์, หน้า 25.

  33. การเขียนบรรณานุกรมจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นออนไลน์การเขียนบรรณานุกรมจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นออนไลน์ • รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมจากแหล่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นออนไลน์ เป็นดังนี้ ข้อมูลจากหนังสือ ผู้แต่ง.// (ปีพิมพ์หรือปีที่สืบค้น).// ชื่อเรื่อง.// สถานที่พิมพ์/ :/ สำนักพิมพ์. สืบค้นเมื่อ/ วันที่/ เดือน/ ปี (หรือ Retrieved/ เดือน/ วัน/ ปี),// จาก (From)/ ชื่อเว็บไซต์. ตัวอย่าง หลักเกณฑ์การถอดอักษรภาษาไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง. (2542). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2543, จาก http://www.Royin.go.th.

  34. ตัวอย่าง ประวิตร พิศาลบุตร.(2551,พฤษภาคม).โรคที่มาจากการจูบ. ใกล้หมอ. 32(4) : 40-45. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2553,จาก http://www.este.ac.th/?g=node/177. หรือ สืบค้นโดย google ผักริมรั้ว.( 2556). สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน2556, จากhttp://www..........

  35. ตัวอย่างการเขียนเนื้อหา(หน้าที่ 1ไม่เขียนเลขหน้า) อาหาร เว้นบรรทัด ความหมายของอาหาร ………………………………………………………………….. ……………………………………… (จิราพร โชตึก.2553:5) ชนิดของอาหาร จิราพร โชตึก (2553:5) ……………………………………. ………………………………………………………………………….

  36. หน้าที่ 2(เริ่มเขียนเลขหน้า) 1 นิ้ว 2 1 นิ้ว ประโยชน์ของอาหาร ประโยชน์ของอาหารคือ (จิราพร โชตึก.2553:20) 1……………………………………………………………………... 2…………………………………………………………………….. สารอาหาร …………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………... ……………………………………………………(อาหาร .2553:ออนไลน์ )

  37. ชีวิตคิดบวก ☼เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ…..โอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความ เป็นมืออาชีพ ☼เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ….. บทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ ☼เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า นี่คือ….แบบฝึกหัด ที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต (ว.วชิรเมธี )

  38. ภาคเรียนที่ 1/2556 จบ จบ..จริงๆจ้า

More Related