1 / 23

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค beid . ddc . moph . go . th

Leishmaniasis. สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid . ddc . moph . go . th. สถานการณ์ในต่างประเทศ.

noe
Download Presentation

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค beid . ddc . moph . go . th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Leishmaniasis สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค http://beid.ddc.moph.go.th

  2. สถานการณ์ในต่างประเทศสถานการณ์ในต่างประเทศ • พ.ศ.2545 : พบการระบาดทางตอนเหนือของเมือง Kabal ประเทศอัฟกานิสถาน พบผู้ป่วย 200,000 ราย โดยมีสัตว์เป็นแหล่งรังโรค และมีการแพร่ระบาดจากคนสู่คนเป็นวงกว้าง และในจังหวัด Kurram ประเทศปากีสถาน พบผู้ป่วย 5,000 ราย ส่วนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี • พ.ศ.2549 : ประเทศอัฟกานิสถาน พบผู้ป่วย 2,000 ราย และอาจมากถึง 40,000 ราย และประเทศอิหร่าน พบผู้ป่วย 20,492 ราย ซึ่งเพิ่มจากปี พ.ศ.2545 ถึง 10,363ราย • พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จังหวัด Measan ตอนใต้ของกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก พบผู้ป่วย 190 ราย เจ้าหน้าที่ได้เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ ที่มา : สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่

  3. จากรายงานพบว่า โรคลิชมาเนียมีการแพร่ระบาดไม่ต่ำกว่า 74 ประเทศ อาทิเช่น จีนอินเดียประเทศในแถบตะวันออกกลางแถบเมดิเตอร์เรเนียนแอฟริกาเหนืออเมริกากลางและตอนเหนือของอเมริกาใต้เขตปรากฏโรคทางภูมิศาสตร์ไม่ค่อยแน่นอนเนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ต้องแจ้ง แต่ส่วนมากปรากฏอยู่ในเขตชนบทนอกจากนี้ความชุกของโรคสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมของดินฟ้าอากาศ ที่มา : สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่

  4. สถานการณ์ ในประเทศไทย พบผู้ป่วยVisceral Leishmaniasisรวม 16 ราย โดย 3 รายแรกเป็น Imported Case ชาวปากีสถาน บังคลาเทศ และอินเดีย ต่อมาในปีพ.ศ. 2528 – 2529 มีรายงานพบผู้ป่วยคนไทย 5 ราย ซึ่งมีประวัติไปทำงานที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลังจากนั้นเริ่มพบผู้ป่วยที่เป็นคนไทยแบบประปรายรวม 8 ราย ระหว่างปีพ.ศ. 2539 – 2553 ดังนี้ ผู้ป่วยรายแรก (พ.ศ. 2539)เป็นเด็กหญิง อายุ 3 ปี จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ผู้ป่วยรายที่สอง (พ.ศ. 2548)เป็นชาย อายุ 40 ปี จากจังหวัดน่าน ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ผู้ป่วยรายที่สาม (พ.ศ. 2549)เป็นชาย อายุ 54 ปี จากจังหวัดพังงา ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ที่มา:สำนักระบาดวิทยา

  5. สถานการณ์ ในประเทศไทย(2) ผู้ป่วยรายที่สี่ (พ.ศ. 2550) เป็นชาย อายุ 44 ปี จากจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ผู้ป่วยรายที่ห้า (พ.ศ. 2550)เป็นชาย อายุ 66 ปี จากจังหวัดกรุงเทพมหานคร ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ผู้ป่วยรายที่หก (พ.ศ. 2550)เป็นชายอายุ 81 ปี จากจังหวัดสงขลา มีประวัติเดินทางไปประเทศมาเลเซียบ่อย ๆ และมีผลบวกต่อการติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยรายที่เจ็ด (พ.ศ. 2551)เป็นชายอายุ 37 ปี จากจังหวัดจันทบุรี ป่วยเป็นโรคเอดส์ ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ผู้ป่วยรายที่แปด (พ.ศ. 2553) เป็นเด็กหญิงอายุ 5 ปี จากจังหวัดสตูล ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ที่มา:สำนักระบาดวิทยา

  6. สถานการณ์ ในประเทศไทย(3) สำหรับโรค cutaneous Leishmaniasis ในประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2524 เป็นต้นมา พบผู้ป่วยที่เป็นคนไทยแล้วไม่น้อยกว่า 10 ราย โดยรายล่าสุดได้รับรายงานในปีพ.ศ. 2551 จากจังหวัดเชียงราย เป็นชาย อายุ 36 ปี อาชีพรับจ้างก่อสร้าง เป็นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย ไม่มีประวัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นและไม่มีประวัติไดัรับเลือด และไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ ที่มา:สำนักระบาดวิทยา

  7. Leishmaniasis (ลิชมาเนียซีส) • Leishmaniasis (ลิชมาเนียซีส) เกิดจากเชื้อ โปรโตซัว Leishmaniaspp. เป็นโรคได้ทั้งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และคน • สามารถติดต่อจากคนถึงคน จากสัตว์ถึงสัตว์ และจากสัตว์ถึงคนได้ • มีริ้นฝอยทราย (sand fly) บางชนิดเป็นแมลงพาหะนำโรค เชื้อลิชมาเนีย ในเม็ดเลือดขาว ริ้นฝอยทราย พาหะนำโรคลิชมาเนีย

  8. การติดต่อ เชื้อลิชมาเนีย ในเม็ดเลือดขาว • เชื้อแพร่สู่คนโดยผ่านการกัดของแมลง “ริ้นฝอยทราย” ซึ่งหลังจากกินเลือดของผู้ป่วย แล้ว  amastigote จะใช้เวลาประมาณ 4-15 วันเจริญเติบโตเป็นระยะ promastigote  อาศัยอยู่ตรงบริเวณคอหอยเป็นโรคของสัตว์แต่แพร่สู่คนได้ (zoonosis) สัตว์รังโรคเป็นสัตว์กัดแทะจำพวกกระรอกกระแตหน ูสุนัข เป็นต้น

  9. พาหะนำโรค : ริ้นฝอยทราย • เป็นแมลงอยู่ใน อันดับ Diptera วงศ์ Phebotomidae โดยเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 มม. มีสีน้ำตาลและขนเต็มตัว เป็นแมลงที่บินได้ช้า ตอนกลางวันชอบหลบพักตัวอยู่ตามที่มืดและอับชื้น เฉพาะตัวเมียที่มีปากแบบแทงดูดกัดกินเลือดคน และอาจดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นอื่นๆ ด้วย โดยจะออกหากินในเวลากลางคืน ผู้ถูกกัดจะรู้สึกคล้ายกับถูกเข็มแทง หลังจากนั้นจะเกิดเป็นตุ่ม และเกิดอาการแพ้ถ้าถูกกัดบ่อย ๆ • ริ้นฝอยทรายจะเพาะพันธุ์ตามรอยแตกของบ้าน ใต้ก้อนหินหรือโพรงไม้ ตามที่มืดชื้น วงจรชีวิตจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 21-60 วัน ริ้นฝอยทราย พาหะนำโรคลิชมาเนีย

  10. วงจรชีวิต ริ้นฝอยทราย ตัวเต็มวัย (Adult) 5-17 วัน ไข่ (Egg) 6-10 วัน ดักแด้ (pupa) 6-17 วัน ตัวอ่อน (Larva) 26-42 วัน(4-6 สัปดาห์) ขนปลายหาง(Cadul brktles) คราบที่ลอกครั้งสุดท้าย Matcbstick hair ขนปลายหาง (candal bristles)

  11. รูปริ้นฝอยทราย (Sand Flies) พบที่ ถ้ำโพธิสัตว์ อ. หนองหิน จ. เลย วันที่ 28 มกราคม 2548 ที่มา : สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

  12. แหล่งที่อยู่ของริ้นฝอยทรายแหล่งที่อยู่ของริ้นฝอยทราย โดยจะอยู่บริเวณ กองอิฐ กองหิน กองไม้ฟืน จอมปลวกเก่า รอยแตกตามผนังหรือตามอิฐตอไม้ผุ พื้นดินที่มีใบไม้ปกคลุมในป่าทึบ ใกล้คอกสัตว์ เล้าเป็ดไก่

  13. ลักษณะของโรค • แบ่งเป็น 3 ลักษณะ - Cutaneous Leishmaniasis : เป็นแผลเรื้อรังตามผิวหนังในบริเวณที่ถูกริ้นฝอยทรายกัด - Visceral Leishmaniasis : เกิดจากการติดเชื้อในอวัยวะภายในร่างกาย โดยเฉพาะที่ไขกระดูก ม้าม ต่อมน้ำเหลือง และตับ เป็นต้น ถือว่าเป็นลักษณะโรคที่รุนแรง - Mucocutaneous Leishmaniasis : ซึ่งมีลักษณะคล้ายคล้ายกับที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง แต่จะเกิดแผลลุกลามในอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก เป็นต้น

  14. ลิชมาเนียแต่ละชนิดก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่แตกต่างกันลิชมาเนียแต่ละชนิดก่อให้เกิดพยาธิสภาพที่แตกต่างกัน ประเภทก่อเกิดแผลที่ผิวหนังและเยื่อบุ (Cutaneous and Mucocutaneous leishmaniasis:CL and MCL) Cutaneous leishmaniasis หรือเรียกอีกชื่อว่า Oriental sore โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง มี 2 ชนิด คือ ชนิดแผลผื่นเปียกในเขตชนบท  (wet rural form ) เกิดจากเชื้อ L.major และชนิดแผลผื่นแห้งในเขตเมืองใหญ่ (dry urban form ) เกิดจากเชื้อ L.tropica เป็นโรคของคนแต่ถ่ายทอดสู่สัตว์ได้เช่นกัน ส่วน Mucocutaneous leishmaniasis ลักษณะของโรคจะเป็นแผลตามรอบปากและจมูกมีหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของตัวเชื้อโรคและความรุนแรงของโรคชนิดที่เรียกว่า espundia ร้ายแรงที่สุด ตัวเชื้อโรค คือ L.brazilliensis ชนิด Uta ไม่ร้ายแรงเท่ากับชนิดแรกตัวเชื้อโรค คือ L.peruviana และชนิด Ulcer ไม่ร้ายแรงตัวเชื้อโรค คือ L.mexican

  15. ลักษณะทางคลินิก 1.  ขึ้นเฉพาะที่ มี 3 แบบ1.1  แบบเฉียบพลันผิวหนังตรงบริเวณถูกริ้นฝอยทรายกัดจะเกิดเป็นตุ่มแดง ขนาด 3-4 ซม. แล้วค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นต่อมาแตกเป็นแผลไม่เจ็บอาจมีอาการคันบ้างเล็กน้อยขอบแผลนูนขึ้น น้ำเลือดหรือน้ำเหลืองแห้งกรังติดบนแผลต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงโตและอักเสบเมื่อแผล หายแล้วอาจปรากฏมีแผลเป็นได้ประมาณ 10 % ของแผลเหล่านี้จะกลายเป็นแผลลักษณะคล้าย แผลซิฟิลิสหรือวัณโรคที่ผิวหนังตรงกลางแผลมีลักษณะปกติแต่ขอบแผลบวมแดงแผลนี้ใช้ เวลานายหลายปีกว่าจะหาย

  16. ลักษณะทางคลินิก(ต่อ) 1.2  แบบเรื้อรังขึ้นเป็นผื่นหนาสีแดงอยู่นานเป็นปีอาจดีขึ้นและเป็นใหม่อยู่เรื่อยๆ มักเป็นที่หน้าและใบหู อาจมี 1 ถึงหลายตุ่มต่อมน้ำเหลืองไม่โต 1.3  แบบเป็น แผลเป็นเริ่มต้นคล้ายแบบเฉียบพลันหายแล้วมีแผลเป็นแม้ว่าหายแล้วนานหลายปีอาจเป็นขึ้นใหม่ได้มีสีน้ำตาลแดงตามขอบ

  17. ลักษณะทางคลินิก(ต่อ) 2.  ชนิดเป็นทั้งตัวอาจเป็นแบบตุ่มเล็ก ๆ ทั่วไปหรือเชื้อกระจายไปตามตัว อันเนื่องมาจากถูกกัดหลายแห่งหรือภูมิต้านทานต่ำเริ่มเป็นตุ่มเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ ขยายออกผิวขรุขระ นูน หนา และแตกออก

  18. ลักษณะทางคลินิก(ต่อ) 3.  ก่อเกิดสภาพอวัยวะภายใน (Visceral  leishmaniasis :VL) เรียกอีกชื่อว่าKala-azarหมายถึง  “Black fever” เพราะเมื่อเป็นโรคนี้นาน ๆ จะทำให้ผิวหนังสีคล้ำขึ้น

  19. Kala-azar Kara – azar เป็นลักษณะของโรคลิชมาเนีย แบบที่ก่อให้เกิดสภาพที่อวัยวะภายใน ลักษณะทางคลินิก • ระยะฟักตัวมีตั้งแต่สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน (เฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน) เคยมีรายงานระยะฟักตัวนานถึง 9 ปี • ระยะ 2-8 สัปดาห์แรกผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีไข้ต่ำ ๆอ่อนเพลียและมีอาการไม่สบายในท้องอาจท้องเดินท้องผูกเบื่ออาหารและปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อบางครั้งอาจมีไข้สูงขึ้นมาคล้ายเป็นมาลาเรียไข้อาจเป็นเวลา • ชนิด intermittent, remittent และร่วมกับมีอาการท้องเดิน ไอแห้ง ๆ อาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกทางจมูกไรฟันมีจุดเลือดออกตามตัวและทางเดินอาหาร • ม้ามจะโตมาก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้ม้ามนุ่มไม่เจ็บปวดและอาจโตมากจนถึงเชิงกรานตับโตและบางรายจะมีต่อมน้ำเหลืองโตด้วยเลือดซีด • ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นร่วมด้วยคือ ปอดบวมกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ • ต่อมามีอาการทางผิวหนัง เรียกว่า Post kala-azar dermal leishmaniasis เป็นตุ่มนูนและผื่นแดงเกิดขึ้น

  20. การตรวจวินิจฉัย • Cutaneous และ Mucocutaneous leishmaniasis สามารถตรวจดูแผลตามร่างกายหารอยแมลงกัด ซักประวัติการเข้าไปยังพื้นที่แหล่งแพร่โรค ขูดแผลทำ stained smears หาเชื้อ หรือทำ PCR    ส่วน Visceral leishmaniasis ใช้วิธี ELISA, IFAT, DAT, Formal-gel reaction เจาะไขกระดูกต่อมน้ำเหลืองหรือตัดชิ้นเนื้อดูดของเหลวของ ตับ ม้าม มาทำ stained smear หรือเพาะเลี้ยงเชื้อแล้วฉีดเข้าสัตว์ทดลอง เป็นต้น

  21. การรักษา การรักษาขึ้นอยู่กับประเภทและอาการของโรค มียารักษาเฉพาะโรคเช่น Pentavalent antimonials หรือ Amphotericin B เป็นต้นหรือใช้ยาทาและ ผ่าตัดรวมทั้งการรักษาตามอาการอย่างไรก็ตามยารักษาเฉพาะโรคนั้น มักจะมีอาการแทรกซ้อนมากจึงต้องใช้อย่างระมัดระวังและอยู่ในการดูแล ของแพทย์ปัจจุบันมียาเม็ดชนิดรับประทาน “Miltefosine“ซึ่งองค์การอนามัยโลกนำมาใช้กำจัดโรคลิชมาเนียในประเทศอินเดีย เนปาลและบังคลาเทศ

  22. การป้องกัน 1.โรคลิชมาเนียโดยเฉพาะประเภทที่มีคนเป็นรังโรคต้องดำเนินการค้นหาผู้ป่วยให้พบอย่างรวดเร็ว (active-case detection) แล้วให้การรักษา ส่วนสัตว์รังโรคก็ให้ควบคุมโรคในสัตว์หรือลดจำนวนรังโรคลงให้เร็วที่สุด 2.  ประเทศไทยแม้ไม่มีรายงานว่าติดต่อแล้วแต่ควรมีการเฝ้าระวังโรค เช่น แรงงานไทยทุกคนที่เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นแหล่งแพร่โรคควรได้รับการตรวจร่างกายเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคลิชมาเนียเนื่องจากผู้ป่วยมักไม่ทราบเพราะไม่มีอาการรุนแรงหรือโรคอาจหายเองได้ถ้าภูมิต้านทานดีขึ้น 3.  กำจัดพาหะริ้นฝอยทรายกรณีโรคมีการระบาดระยะแรกควรศึกษาหาข้อมูลชนิดพาหะริ้นฝอยทรายตามสถานที่สำคัญในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคนี้ในอนาคต   4. จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านเรือนให้สะอาด ไม่มีเศษอาหารตกค้างให้หนูมากินจนเป็นแหล่งอยู่อาศัย ไม่มีโพรงไม้ รูหนู กองขยะ กองไม้กองหิน และสัตว์เลี้ยงควรอยู่ในตาข่ายถี่เวลากลางคืน

More Related