340 likes | 746 Views
แนวทางในการจัดทำผลงานทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ว. 17 ของ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (รองฯ) สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (คศ. 4 ) และเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ. 5 ). สรุปรวบรวมโดย ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง ผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ. ศธ. 1. ผู้ร้องขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน คือ.
E N D
แนวทางในการจัดทำผลงานทางวิชาการอย่างมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ว.17 ของ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (รองฯ) สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ (คศ.4) และเชี่ยวชาญพิเศษ (คศ.5) สรุปรวบรวมโดย ดร.พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง ผู้ทรงคุณวุฒิใน กคศ. ศธ.
1. ผู้ร้องขอต้องผ่านการประเมิน 3 ด้าน คือ 1.1 ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ (สำหรับทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ) โดยผู้ขอรับการประเมินรายงานพฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นผู้มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ และรวบรวมเอกสารหลักฐานอ้างอิงไว้ที่สถานที่ปฏิบัติงานเพื่อรอรับการประเมินจากคณะกรรมการชุดที่ 1 มีคะแนน 100 คะแนน แบ่งเป็น 5 ตอนๆ ละ 20 คะแนน ตอนที่ 1การมีวินัย (5 ตัวบ่งชี้/พฤติกรรม) ตอนที่ 2การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (มี 5 ตัวบ่งชี้) ตอนที่ 3การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม (5 ตัวบ่งชี้) ตอนที่ 4ความรักและความศรัทธาในวิชาชีพ (5 ตัวบ่งชี้) ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ (5 ตังบ่งชี้)
1.2 ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1.2.1ส่วนที่ 1การเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารและจัดการศึกษาคะแนนเต็ม 60 คะแนน มีการรายการประเมิน 5 รายการ จำนวน 15 ตัวบ่งชี้ 1) การบริหารงานทั่วไป (20 คะแนน) มี 5 ตังบ่งชี้ 2) การพัฒนาด้านวิชาการ (16 คะแนน) มี 4 ตัวบ่งชี้ 3) การบริหารบุคคล (12 คะแนน) มี 3 ตังบ่งชี้ 4) การบริหารงบประมาณการเงินและทรัพย์สิน (8 คะแนน) มี 2 ตัวบ่งชี้ 5) งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย (4 คะแนน) มี 1 ตัวบ่งชี้ 1.2.2ส่วนที่ 2การพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการบริหารและจัดการศึกษา คะแนนเต็ม 40 คะแนน มี 1 รายการประเมิน คือ การประเมินตนเอง มี 6 ตังบ่งชี้
1.3 ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน คะแนนเต็ม 100 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.3.1 ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพในเชิงการบริหารและจัดการศึกษา (60 คะแนน) 1) ผลงานการพัฒนาที่เกิดกับผู้เรียน มี 6 ตัวบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ที่ (1) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติ เช่น O – Net หรือ NT หรือ LAS หรือผลการทดสอบอื่นๆ ในภาพรวมทุกสาระการเรียนรู้ ในระดับชั้นใดชั้นหนึ่ง (2) ร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบตามข้อ (1) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ (3) ร้อยละของจำนวนประชากรในวัยเรียนที่ได้รับการศึกษาภาคบังคับ (4) ร้อยละของจำนวนประชากรในวัยเรียนที่เข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับแล้วสำเร็จการศึกษา (5) ร้อยละของจำนวนประชากรในวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับและศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปรายหรือเทียบเท่าทั้งสายสามัญและสายอาชีพ (6) ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ประสบความสำเร็จ
2) ผลการพัฒนาที่เกิดกับบุคลากรทางการศึกษา ตัวบ่งชี้ คือ บุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น (มีระบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทางการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา) 3) ผลการพัฒนาที่เกิดกับสถานศึกษา ตัวบ่งชี้ คือ สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการศึกษา 4) ผลการพัฒนาที่เกิดกับหน่วยงาน มี 2 ตังบ่งชี้ คือ ตัวบ่งชี้ ที่ 1 คือ ผลการประเมินประสิทธิภาพตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวบ่งชี้ ที่ 2 คือ ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 5) ความพึงพอใจของสถานศึกษา ตัวบ่งชี้ คือ ระดับความพึงพอใจของสถานศึกษาที่มีต่อการบริหารและการจัดสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ดูว่ามีมากน้อยเพียงใด)
1.3.2 ส่วนที่ 2ผลงานวิชาการ (40 คะแนน) 1) ด้านคุณภาพของผลงานวิชาการ (20 คะแนน) มี 4 ตัวบ่งชี้ คือ (1) ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (7 คะแนน) (2) ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (6 คะแนน) (3) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (4 คะแนน) (4) การพิมพ์และการจัดทำรูปเล่ม (3 คะแนน) 2) ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (20 คะแนน) มี 2 ตัวบ่งชี้ คือ (1) ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษา หน่วยงานการศึกษา และชุมชน (10 คะแนน) (2) ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ และการเผยแพร่ในวงวิชาการ (10 คะแนน)
2. อำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (รองฯ)ให้ยึด มาตรา 24 พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ที่กำหนดไว้ว่าให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้บริหารราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) รับผิดชอบการปฏิบัติราชการที่เป็นอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย (2) เสนอแนะการบรรจุแต่งตั้ง และการบริหารงานบุคคลในเรื่องอื่นที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (3) พิจารณาเสนอความดีความชอบของผู้บริหารศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(4) จัดทำแผนและส่งเสริมการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา (5) จัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา (6) จัดทำมาตรฐานคุณภาพงาน กำหนดภาระงานขั้นต่ำและเกณฑ์การประเมินผลงานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (7) ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคลและจัดทำระบบงานบริหารงานบุคคลเสนอ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ. ต่อไป (8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่นหรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
3. ในมาตรา 37 ของ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 กำหนดไว้ว่า ให้มีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 36 (ไปค้นดู) และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นและมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ (1) อำนาจหน้าที่ในการบริหารและการจัดการศึกษา และพัฒนาสาระของหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) อำนาจหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการ และจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
(3) รับผิดชอบในการพิจารณาแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด สำนักงานตามวรรคหนึ่ง มีผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง (ศธ.)...... ในสำนักงานตามวรรคหนึ่ง จะให้มีรองผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรองจากผู้อำนวยการเพื่อช่วยปฏิบัติราชการก็ได้ รองผู้อำนวยการหรือผู้ดำรงตำแหน่งนี้เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงาน มีอำนาจหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการกำหนดหรือมอบหมาย
4 . สรุปงาน 5 ด้านที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 4.1 ด้านการบริหารงานทั่วไป (1) ความสามรถในการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา (2) ความสามรถในการวางแผนการพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีในการบริหารจัดการศึกษาครอบคลุมภารกิจขององค์การ และสอดคล้องกับนโยบายทุกระดับ (3) ความสามรถในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (4) ความสามารถในการประสานงาน ระดมทรัพยากร และมีส่วนร่วมการจัดการศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน (5) ความสามารถในการกำกับ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและนิเทศการปฏิบัติตามแผนงานของเขตพื้นที่การศึกษา
4.2 การพัฒนาด้านวิชาการ (1) ความสามารถในด้านการพัฒนาด้านวิชาการ (2) ความสามารถในการส่งเสริม การใช้และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน (3) ความสามารถในการส่งเสริม สนับสนุน การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (4) ความสามารถในการจัดการระบบประกันคุณภาพการศึกษา
4.3 ด้านการบริหารงานบุคคล (1) ความสามารถในการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้งบุคลากรตามหลักธรรมาภิบาล (2) ความสามารถในการพัฒนาบุคลากรให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ความสามารถในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ 4.4 ด้านการบริหารงบประมาณ (1) ความสามารถในการบริหารการเงินและงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ (2) ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพย์สินของทางราชการให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า 4.5 ด้านงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
5. ขั้นต้อนการพัฒนางานในอำนาจหน้าที่ของ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 5 ขั้น (5 ร.) ดังนี้ 5.1 ขั้นรวมคนรวมพลัง– สร้างเป้าหมายเพื่อสร้างพลังกลุ่มในการดำเนินงาน 5.2 ขั้นร่วมคิดร่วมวางแผน– กำหนดแนวทางวางแผนเพื่อให้บรรลุผล เพื่อสร้างพลังความคิด 5.3 ขั้นร่วมทำร่วมดำเนินงาน – แบ่งงานกันทำตามถนัดให้เกิดพลังการจัดการ เพื่อพลังการจัดการที่มีประสิทธิภาพ 5.4 ขั้นร่วมสรุปเป็นบทเรียน– ตรวจสอบ ประเมินผล สรุปเป็นองค์ความรู้ เพื่อสร้างพลังปัญญา 5.5 ขั้นร่วมรับผลการกระทำและนำมายกย่องเชิดชู– รับผลที่เกิดขึ้นยกย่อง และเชิดชู เพื่อสร้างพลังปิติ
6. บทบาทหน้าที่ (การทำหน้าที่) 5 ประการ ของ ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาในการพัฒนางานในอำนาจหน้าที่ฯ ให้บรรลุตามที่ตั้งเป้าหมาย คือ 6.1 ศึกษา (หรือสร้างปัญญา) โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้น คือ 6.1.1 ขั้นรับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และยุทธศาสตร์เข้ามาสู่ตนโดยการผ่านตา หู สัมผัส หรือกิจกรรม สุ-จิ-ปุ-ลิ เช่น การเห็น การอ่าน การฟัง การเขียน การสัมผัสด้วยประสาทต่าง ๆ (สตะมายะปัญญา) 6.1.2 ขั้นนำข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และยุทธศาสตร์ที่รับเข้ามาสู่ตนไปสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดจัดระบบและเชื่อมโยง คิดใคร่ครวญไตร่ตรอง ทำให้ถูกต้อง (โยนิโสมานะสิการ) จนเกิดเป็นแนวคิดที่สร้างสรรค์พัฒนาและต่อยอด เกิดเป็นแนวคิดใหม่ในการแก้พัฒนาและพัฒนางาน (จินตะมายะปัญญา)
6.1.3 ขั้นนำแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์และพัฒนาไปทดลองไปปฏิบัติ ไปฝึกฝนจนประเมินผลได้ชัดเจน ถูกต้องเป็นจริงจึงนำไปพิสูจน์และสรุปผลได้ว่า ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และยุทธศาสตร์ที่รับเข้ามาในขั้นที่ 1 นั้น เป็นข้อมูลข่าวสาร ความรู และยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เป็นของจริง / ของแท้นำมาใช้จริงได้ (ภาวะนามายะปัญญา) 6.2 ปฏิบัติ (ลงมือทำ) โดยการนำข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง ไปปฏิบัติให้เกิดผลให้สำเร็จผลตามเป้าหมาย 6.3 สัมผัสผล (รับผล) 6.4 เผยแพร่
7. คำถาม – คำตอบ เพื่อนำไปสู่การทำผลงานวิจัยทางการศึกษาเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม ว. 17/2552 7.1 ฉันนั้นคือใคร ? (ฉันคือครูผู้สอน...ฉันคือผู้บริหารสถานศึกษา...ฉันคือ...) 7.2 ฉันมีหน้าที่อะไร ? (ให้บอกหน้าที่แต่ละตำแหน่งทั้ง 4 – 6 ตำแหน่ง) 7.3 ในการทำหน้าที่ของฉันนั้นมีปัญหาสำคัญที่สุดคืออะไร ? (ระบุปัญหา) 7.4 มีหลักฐานอะไรบ้างที่แสดงว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ของฉันจริง ? (ต้องมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือมาแสดง) 7.5 ปัญหาของฉันมีสาเหตุที่แท้จริงอย่างไร ? (บอกสาเหตุของปัญหา) 7.6 จากสภาพปัญหาและสาเหตุที่ฉันพบ จะมีแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างไร? (หาแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนา)
7.7 จากสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาที่ฉันพอ จะนำมาสร้างเป็นกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา หรือ กรอบแนวคิดในการวิจัย ได้อย่างไร? (กำหนดกรอบแนวคิดในการแก้ปัญหา หรือ กรอบกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยวิเคราะห์สังเคราะห์และพัฒนาจากสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ปัญหา โดยการกำหนดตัวแปรที่จะศึกษาวิจัย คือตัวแปรต้น คือ สาเหตุหรือต้นเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ คือ แปรตามซึ่งก็คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สำหรับหน้าที่ของผู้วิจัยก็คือการหาวิธีพิสูจน์ให้เห็น ว่าตัวแปรต้นนั้นคือต้นเหตุหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์หรือตัวแปรตามที่เราระบุไว้จริง เรียกวิธีพิสูจน์หรือวิธีทดสอบว่าตัวแปรต้นเป็นต้นเหตุหรือสาเหตุทำให้เกิดตัวแปรตามผลลัพธ์ที่ระบุไว้แล้วนั้นจริงว่า “วิธีวิจัย (Research Methodology) หรือกระบวนการวิจัย ดังนั้น กรอบแนวคิดการวิจัยจึงประกอบด้วยอย่างน้อย 3 ส่วน คือ (1) ตัวแปรต้น (2) ตัวแปรตาม และ (3) วิธีวิจัย/กระบวนการวิจัย/วิธีการศึกษาซึ่งกรอบแนวคิดการวิจัยเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการทำวิจัยจะต้องสร้างหรือกำหนดให้ได้ก่อนลงมือทำวิจัย เพราะจะเป็นส่วนที่ต้องนำไปใช้ในทุกบทของกระบวนการวิจัย”)
7.8 จากกรอบแนวคิดการวิจัยที่กำหนดขึ้น หัวข้อการวิจัยหรือชื่อเรื่องการวิจัยครั้งนี้ควรตั้งชื่อว่าอย่างไร? [การกำหนดหัวข้อการวิจัย/ชื่อเรื่องการวิจัยต้องเป็นเหตุเป็นผลและเหมาะสม นั้นคือชื่อเรื่องการวิจัยต้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกับตัวแปรต้น (ต้นเหตุ/สาเหตุ) กับตัวแปรตาม (ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากตัวแปรต้น) โดยกำหนดให้กะทัดรัด ไม่สั้นไม่ยาวเกินไป] 7.9 เมื่อได้ชื่อเรื่องการวิจัยและกรอบแนวคิดการวิจัยแล้ว ก็นำมาทำเค้าโครงการวิจัยว่าควรประกอบด้วยบทที่เท่าไร และหัวข้ออะไรบ้าง ? (จัดทำเค้าโครงการวิจัย Rescareh Proposal) โดยการเขียน 3 บทแรก คือ บทที่ 1 หรือ บทนำ บทที่ 2 และ บทที่ 3) 7.10 ในการเขียนบทที่ 1 หรือบทนำมีหัวข้อย่อยอะไรบ่าง? หมายเหตุ :แต่คำถามข้อ 7.10 (บทที่ 1) ข้อ 7.11 (บทที่ 2) ข้อ 7.12 (บทที่ 3) ข้อ 7.13 (บทที่ 4) ข้อ 7.14 (บทที่ 5) ขอให้ดูราบละเอียดในหัวข้อ 8 ถัดไปนี้
8. ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวกับงานวิจัยทางการศึกษาเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะของราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม ว. 17/2552 1. งานวิจัย ในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะฯตาม ว.17ต้องเป็นงานวิจัยทางการศึกษา เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ 2. งานวิจัยทางการศึกษา ตาม ว.17 ต้องเน้นที่การส่งเสริมเรียนรู้ของผู้เรียนหรือการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของครู การบริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์มาตรฐานของชาติ เกณฑ์มาตรฐานปฐมวัยและตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารการศึกษา และเกี่ยวข้องกับกระบวนการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ในการส่งเสริมประสิทธิภาพ ประสิทธิผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ส่งผลให้สถานศึกษาโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่สร้างคุณภาพและแข่งขันได้
3. งานวิจัยทางการศึกษา ตาม ว.17 ต้องเน้นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นลำดับแรกและประโยชน์ความก้าวหน้าทางวิชาการ วิชาชีพ เป็นลำดับต่อไป 4. งานวิจัยทางการศึกษา ตาม ว.17 อาจเป็นงานวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) หรือวิจัยชั้นเรียน(Classroom Research) การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและคุณภาพ (Mixed ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบวิจัยที่สอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการศึกษา 5. งานวิจัยทางการศึกษา ต้องเริ่มโดยการค้นหรือระบุปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ให้พบและต้องมีหลักฐานมาแสดงหรืออ้างอิง จากนั้นก็มาทำการวิเคราะห์หาสาเหตุหรือเหตุหรือค้นเหตุแห่งปัญหา หาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย อาจรวมถึง Bert Practice เพื่อทำเป็นข้อมูลกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งกรอบแนวคิดการวิจัยจะทำให้ผู้วิจัยเห็นตัวแปรที่จะศึกษาวิจัย คือ ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
6. กรอบแนวคิดการวิจัย เป็นโครงสร้างสำคัญซึ่งผู้วิจัยจะต้องกำหนดให้ชัดเจนเป็นอันดับแรก เพราะจากกรอบแนวคิดการวิจัยจะนำไปเป็นกรอบพิจารณา (1) กำหนดหัวข้อการวิจัยที่เป็นเหตุเป็นผลและเหมาะสม (2) การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยที่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง สภาพปัญหา โจทย์หรือคำถามการวิจัย (3) ใช้เป็นสาระสำคัญในการเขียนขอบเขตการวิจัยด้านเนื้อหา (4) นำมาเป็นหัวข้อสำคัญในการนำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 7. เมื่อพบปัญหาการวิจัย ได้ศึกษาค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยจนสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยสำเร็จแล้ว ได้กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัยได้แล้ว ก็นำมาจัดทำเค้าโครงการวิจัย ( ResearchProposal) โดยการเขียน 3 บทแรก คือ (1) บทที่ 1 (บทนำ) (2) บทที่ 2 (แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง) (3) บทที่ 3 (วิธีดำเนินการวิจัย)
8. การเขียนบทที่ 1 หรือบทนำ มีหัวข้อย่อยคือ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาโดยต้องระบุปัญหาพร้อมหลักฐานอ้างอิง 2. โจทย์หรือคำถามการวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าดำเนินการและช่วยตั้งวัตถุประสงค์การวิจัยให้จัดเจนขึ้น 3. วัตถุประสงค์การวิจัย คือ การกำหนดสิ่งที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้คำตอบ มาตอบโจทย์การวิจัย / คำถามการวิจัย หรือสิ่งที่เราต้องการคำตอบ 4. สมมุติฐานการวิจัย อาจมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีจะต้องทดสอบสมมุติฐานทุกข้อที่ตั้งไว้ โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ 5. ขอบเขตการวิจัย เป็นการกำหนดขอบเขตของสิ่งที่เราจะศึกษาวิจัยให้ภาพกว้างกว่ากรอบแนวคิดการวิจัย โดยทั่วไปขอบเขตการวิจัยจะนำเสนอสาระสำคัญอย่างย่อใน ด้านเนื้อหา, ด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง, ด้านตัวแปรที่ศึกษา, และด้านสถานที่และระยะเวลาในการวิจัย 6. นิยามศัพท์ เพื่อให้ความหมายคำสำคัญคือตัวแปรที่จะศึกษา คำสำคัญในวัตถุประสงค์การวิจัย จะทำให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยเข้าใจตรงกับผู้วิจัย และผู้วิจัยนำนิยามศัพท์ไปสร้างเป็นเครื่องมือวิจัยได้อย่างมีความเที่ยงตรง ในเชิงเนื้อหา 7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ให้เน้นประโยชน์ทางด้านวิชาการและประโยชน์ทางการนำไปประยุกต์ใช้
9. บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอให้นำกรอบแนวคิดการวิจัยนำมาเป็นกรอบในการกำหนดหัวข้อเสนอหัวข้อเรื่อง ขั้นการพิจารณาหัวข้อที่จะนำเสนอในบทที่ 2 จะได้เสนอเกี่ยวข้องสอดคล้องกับเรื่องราวกับการวิจัยโดยแท้จริง มิใช้นำเสนอหัวข้อที่ไม่ตรงและเกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่วิจัย เรียกว่านำขยะมาใส่ไว้ ขอให้นำเอกสารใหม่ๆ มาใช้ (อย่าให้เกิน 5 ปี) หน้าสุดท้ายขอให้ใส่แผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดการวิจัยไว้ในบทที่ 2 ด้วย สำหรับหัวข้อรองสุดท้ายคืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอให้เกี่ยวข้องจริงๆ เพราะในบทที่ 5 หัวข้อการอภิปรายผล ผู้วิจัยจะนำงานวิจัยที่มาอ้างไว้นี้ไปอภิปรายทุกงานวิจัยว่าข้อค้นพบจากการวิจัยการวิจัยหรือสรุปผลการวิจัยที่ได้ สอดคล้องหรือแตกต่างจากงานวิจัยที่นำมาอ้างอิงอย่างไร และเพราะอะไร
10. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยจะบอกว่าการวิจัยเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์ว่าอย่างไร ใช้รูปแบบการวิจัยหรือวิธีการวิจัยแบบใด ในบทนี้ควรนำเสนอ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ขั้นตอนการวิจัย ว่ามีขั้นตอนในการวิจัยจนถึงขั้นได้คำตอบในกระบวนการวิจัย (ส่วนใหญ่ขั้นตอนการวิจัยจะยึดขั้นตอนตามจำนวนของวัตถุประสงค์) ส่วนที่สองคือ วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1.) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ต้องบอกให้ชัดว่าเลือกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีใด 2.) เครื่องมือการวิจัยโดยเน้นการสร้างเครื่องมือ และการพัฒนาหาความเชื่อมั่นต้องรายงานค่าความเชื่อมั่น ของเครื่องมือทุกชุด 3.) การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีใด ได้กลับคืนมาเป็นร้อยละเท่าไร 4.) การวิเคราะห์ผลและสถิติที่ใช้สำหรับในบทที่ 3 หน้าสุดท้ายจะใส่แผนภูมิแสดงขั้นตอนการวิจัย ที่แสดงกิจกรรมการวิจัยแต่ละขั้นตอนและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนเป็นการตอบวัตถุประสงค์การวิจัยในแต่ละข้อด้วย
11. บทที่ 4 การวิเคราะห์ผล ให้นำวัตถุประสงค์การวิจัยมากำหนดเป็นตอนของการวิเคราะห์ผล เช่นมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ข้อ ก็กำหนดตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์เป็น 3 ตอน และในแต่ละตอนมีกิจกรรมการวิจัยอย่างไรก็วิเคราะห์ตามกิจกรรมนั้น (ดูขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย) และเมื่อวิเคราะห์เสร็จในแต่ละตอน ก็ให้ผู้วิจัยสรุปเป็นภาพรวมเพื่อตอบวัตถุประสงค์โดยเขียนอย่างสั้นๆ กะทัดรัดประมาณ 3-4 บรรทัด ซึ่งผลการสรุปเป็นคำตอบ (วัตถุประสงค์) นี้จะนำไปใช้ในการสรุปผลการวิจัยในบทที่ 5 และนำไปใช้ในการเขียนบทคัดย่อด้วย
12. บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ให้ผู้วิจัยนำเสนอชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์การวิจัย และสรุปขั้นตอนการวิจัยและวิธีดำเนินการวิจัยอย่างย่อๆ ประมาณ 1 หน้าหรือ 1หน้าครึ่ง จากนั้นก็สรุปผลการวิจัย โดยนำข้อสรุปในแต่ละขั้นตอน (3-4 บรรทัด) ในบทที่ 4 มาใส่ไว้ในสรุปผลบทที่ 5 ซึ่งการสรุปผลจะตอบวัตถุประสงค์การวิจัยแต่ละข้อ (ต้องสรุปผลให้เท่าและตรงกันกับวัตถุประสงค์ อย่าน้อยหรือมากกว่าวัตถุประสงค์ไม่ได้) จากนั้นขอให้อภิปรายผล โดยนำสรุปผลแต่ละข้อมาอภิปรายโดยใช้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเทียบเคียง อนึ่งถ้าตั้งสมมุติฐานจะต้องมีการทดสอบในบทที่ 4 ด้วยและต้องสรุปผลและอภิปรายผลด้วยว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้แต่ละข้อเป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
13. งานวิจัยทางการศึกษาที่ดี ต้องมีการเผยแพร่ให้คนเอาไปใช้ การเผยแพร่ ตาม ว.17 ต้องเขียนเป็นบทความวิจัยราว 8-10 หน้ากระดาษ A 4 เพื่อนำไปลงในวารสารวิจัยหรือวารสารทางวิชาการที่คณะกรรมการตรวจสอบการวิจัยรับรองหรือยอมรับ เช่น วิทยาจารย์ของคุรุสภา จะทำให้ผลงานวิจัยมีคุณค่าได้คะแนนการเผยแพร่สูง (ดีกว่าส่งไปตามโรงเรียนต่างๆ แล้วแสดงจดหมายตอบรับ) บทความวิจัยต้องทำสำเนามาลงไว้ในภาคผนวกด้วย ซึ่งบทความวิจัย ประกอบด้วย 1. ชื่อเรื่อง - ชื่อผู้วิจัย 2. บทคัดย่อ ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ 3. บทนำ ความเป็นมาวัตถุประสงค์การวิจัยขอบเขตการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะรับ 4. วิธีดำเนินการวิจัย 5. การวิเคราะห์ผล 6. สรุปผล 7. ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรมที่สำคัญ ไม่เกิน 10 รายการ (รวม 8-10 หน้า) ถ้าวารสารวิชากา รับพิมพ์แต่ยังไม่ได้พิมพ์ก็ขอให้เขียนในใบรับการตีพิมพ์ นำมาใส่ไว้หน้าบทความวิจัยใส่ไว้ในภาคผนวกด้วย
14. หน้าสุดท้ายของภาคผนวกขอให้ใส่ประวัติผู้วิจัยด้วย 15. การวิจัยทางการศึกษา ขอให้ตรวจพิสูจน์ความถูกต้องตัวอักษร และการพิมพ์ขอให้ยึดรูปแบบมาตรฐานการเขียนรายงานการวิจัย การจัดทำรูปเล่มขอให้เรียบร้อย
ขอให้โชคดีครับ ดร.พลสัณท์ โพธิ์ศรีทอง