1 / 40

แนวทางการดำเนินงานคลินิกไร้พุง ( Diet & Physical Activity Clinic : DPAC)

แนวทางการดำเนินงานคลินิกไร้พุง ( Diet & Physical Activity Clinic : DPAC). ประเด็น. ทำไมต้องเป็น “คลินิกไร้พุง” มีการจัดตั้งและดำเนินการ “คลินิกไร้พุง” อย่างไร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน “คลินิกไร้พุง” และ “องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร.

nicole
Download Presentation

แนวทางการดำเนินงานคลินิกไร้พุง ( Diet & Physical Activity Clinic : DPAC)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการดำเนินงานคลินิกไร้พุง(Diet & Physical Activity Clinic : DPAC)

  2. ประเด็น • ทำไมต้องเป็น “คลินิกไร้พุง” • มีการจัดตั้งและดำเนินการ “คลินิกไร้พุง” อย่างไร • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน “คลินิกไร้พุง” และ “องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง” เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

  3. คลินิกไร้พุง (Diet & Physical Activity Clinic : DPAC) คลินิกที่ดำเนินการเพื่อให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและมีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลัง พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดผลการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานที่กำหนดไว้แต่ละกลุ่มวัยอย่างถูกต้อง สนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ

  4. การจัดตั้งและดำเนินการ “คลินิกไร้พุง” เพื่อแก้ปัญหารายบุคคลหรือกลุ่ม (8-12 คน) ในกรณีที่ องค์กร/ชุมชนไม่สามารถแก้ปัญหาได้

  5. การดำเนินงานที่ชัดเจนการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการจัดตั้งเป็นรูปแบบคลินิกในโรงพยาบาล มีทีมทำงาน มีรูปแบบการดำเนินงานกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม มีระบบการพัฒนา ติดตาม และประเมิน

  6. ผู้รับบริการ ประชาชนทั่วไป ที่สนใจดูแลสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้านพฤติกรรม ประชาชนที่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรัง 5โรค (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ มะเร็ง หลอดเลือดสมอง)

  7. กลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องเข้าคลินิคDPACกลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องเข้าคลินิคDPAC • 1.BMI 30 ขึ้นไป • 2. รอบเอวในผู้หญิงมากกว่า 88 ซม. • 3. รอบเอวในผู้ชายมากกว่า 102 ซม. • 4. มีภาวะ Pre DM( 100 – 125 mg%) • 5. มีภาวะ Pre HT (BPมากกว่า 120/80 – 139/99) • 6 ผู้ป่วย NCDที่ควบคุมโรคไม่ได้

  8. แนวทางการจัดตั้งคลินิกไร้พุงแนวทางการจัดตั้งคลินิกไร้พุง

  9. โครงสร้างการจัดตั้งคลินิกไร้พุงโครงสร้างการจัดตั้งคลินิกไร้พุง ผู้นำองค์กร นโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพ,NCD กิจกรรม การจัดตั้ง ผู้ปฏิบัติ สถานที่  บุคลากร/ทีมงาน รูปแบบ M & E อุปกรณ์ สื่อ เอกสาร ความรู้ พัฒนา ปรับปรุง องค์ความรู้ / ทฤษฎีอ้างอิง

  10. การนำองค์กรและการบริหารการนำองค์กรและการบริหาร การกำหนดนโยบายในการดำเนินงาน มีโครงสร้างและผู้รับผิดชอบ มีการจัดทำแผนงาน / แผนปฏิบัติการ มีรูปแบบกิจกรรมการดำเนินงานที่ชัดเจน มีกลไก การดูแล กำกับ ติดตาม และประเมินผล

  11. การจัดสรรทรัพยากรและพัฒนาทรัพยากรบุคคลการจัดสรรทรัพยากรและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน การจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ การจัดสรรบุคลากรเพื่อทำงานในคลินิกอย่างน้อย 2 คน

  12. ขั้นตอนการให้บริการในคลินิกขั้นตอนการให้บริการในคลินิก • เจ้าหน้าที่แนะนำบริการ • ความจำเป็นที่ต้องลดน้ำหนัก • ความสำคัญของการกิน/ออกกำลังกาย • ภาวะอ้วนกับสุขภาพที่เป็นปัญหา ผู้รับบริการ/ผู้ที่สนใจ เข้ามาที่คลินิก • พูดคุย ซักถาม • ใช้แบบประเมินสุขภาพพฤติกรรมการกิน • และการใช้แรงกาย • ดัชนีชี้วัดสุขภาพ ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว ประเมินความพร้อมที่ จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พร้อม ยังไม่พร้อม สนใจเข้ารับบริการ • ให้เอกสารความรู้เรื่องสุขภาพ • โทรติดตามพูดคุยเพื่อให้มาตามนัด • เข้าเป็นสมาชิกคลินิก • ทำทะเบียนบันทึกประวัติ • พูดคุยตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว • จัดโปรแกรมการกิน/ออกกำลังกาย • รับปฏิทิน/เอกสารการบันทึก • นัดติดตามการดูแลต่อเนื่อง • การติดตาม • นัดหมาย 1-2 สัปดาห์ (แล้วแต่บริบทของผู้รับบริการ) เพื่อเข้ามารับความรู้เพิ่มเติม • พูดคุยเกี่ยวกับอุปสรรค การตั้งเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและชั่งน้ำหนัก • ติดตามทางโทรศัพท์ (กรณีไม่มาตามนัด โทรนัดติดตามใหม่ 2 ครั้ง) • ประเมินสุขภาพและพฤติกรรม นัดพบเป็นระยะทุก 1-2 เดือน บันทึกดัชนีชี้วัดทางสุขภาพ • ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว

  13. กระบวนงานและขั้นตอนการให้บริการในโรงพยาบาลชุมชน / โรงพยาบาลทั่วไป / โรงพยาบาลศูนย์ผู้รับบริการรายใหม่ ลงทะเบียน/ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินภาวะเสี่ยงและ ภาวะสุขภาพ โปรแกรม ส่งเสริมสุขภาพ ปกติ(ไม่พบโรค) ผิดปกติ(พบโรค) ส่งพบแพทย์ ให้คำปรึกษาความผิดปกติ ของโรคที่พบ • ให้คำปรึกษา • ด้านโภชนาการ • ด้านการออกกำลังกาย • ด้านอารมณ์ • ให้คำปรึกษา • ด้านโภชนาการ • ด้านการออกกำลังกาย • ด้านอารมณ์ นัดติดตามและประเมินผล ครั้งต่อไป นัดติดตามและประเมินผล ครั้งต่อไป

  14. กระบวนงานและขั้นตอนการให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / ศูนย์สุขภาพชุมชน ลงทะเบียน ชั่งน้ำหนัก / วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต/วัดชีพจร วัดรอบเอว คิดค่าดัชนีมวลกาย ผิดปกติ ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีภาวะแทรกซ้อน ที่ต้องพบแพทย์ ส่งต่อ รพ.ชุมชน / รพ.ทั่วไป / รพ.ศูนย์ ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว หลักการ 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และการประเมินตนเอง เบื้องต้นได้ถูกต้อง • ให้คำแนะนำการปฏิบัติตน หลักการ 3 อ. • อาหาร • ออกกำลังกาย • อารมณ์ นัดประเมินผลซ้ำ

  15. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ 3 อ.2 ส. อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุรา สูบบุหรี่

  16. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกำหนดเป้าหมายการลดน้ำหนักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกำหนดเป้าหมายการลดน้ำหนัก 1. เป้าหมายของการลดน้ำหนักที่ควรจะเป็น : ร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน หรือ ลด 0.5-1 กก./สัปดาห์ช่วงระยะเวลา 6 เดือน 2. เป้าหมายการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ) 2.1 อาหาร : ลดพลังงานโดยรวมลง 500-1,000 กิโลแคลอรี/วัน 2.2 กิจกรรมประจำวันและการออกกำลังกาย : เริ่มจาก ออกกำลังกายขนาดหนักปานกลาง 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที หรือสะสมอย่างน้อยครั้งละ 10 นาที และพัฒนาเป็นมากกว่าหรือเท่ากับ 60 นาที ทุกวัน 3. ควบคุมพฤติกรรม โดยมีทีมงานคลินิกดูแล เป็นไปตามเป้าหมาย ประเมินผล ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย • ตั้งเป้าหมายใหม่ วิเคราะห์หาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข • ปฏิบัติซ้ำและประเมินผลเป็นระยะๆ • ทบทวนและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง • น้ำหนักให้คงที่ • กระตุ้นเรื่องการกินอาหารและออกกำลังกาย • ชั่งน้ำหนัก BMI เส้นรอบเอว ทุก 1-2 ปี ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นไปตามเป้าหมาย ประชุมทีมงานคลินิกเพื่อวางแผนและ แก้ไขปัญหาในการดำเนินงาน

  17. แผนผังแสดงขั้นตอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแผนผังแสดงขั้นตอนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม • ซักถาม (Ask) • พฤติกรรมการกินอาหารเพื่อสุขภาพ • พฤติกรรมการออกแรง/ออกกำลัง • 5 R’s approach • -แนะนำให้ตรงปัญหา (Relevance) • เสี่ยง (Risks) • ผลดี (Rewards) • อุปสรรค (Roadblocks) • ทำซ้ำ (Repetition) • แนะนำ (Advise) • ความจำเป็นที่จะต้องลดน้ำหนัก • ความสำคัญของการกิน/ออกกำลังกาย • ภาวะอ้วนกับสุขภาพที่เป็นปัญหา ใช้แบบประเมินสุขภาพ และพฤติกรรม • ประเมิน (Access) • ดัชนีมวลกาย / เส้นรอบเอว • พฤติกรรมการกิน/ออกกำลังกาย • ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง • ช่วยเหลือ (Assist) • .ใช้หลัก 5 R และเคารพสิทธิ • การตัดสินใจของผู้รับบริการ ความพร้อมที่จะ เปลี่ยนแปลง? ไม่พร้อม พร้อม • ช่วยเหลือ(Assist) • ตั้งเป้าหมายระยะสั้น/ระยะยาว • จัดโปรแกรมการกิน/ออกกำลังกาย พร้อม ในกรณีพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ครั้งต่อไปที่มาพบ ตามนัดหมาย ไม่ต้องประเมิน ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมอีกครั้ง การติดตาม (Arrange) “หากคุณ/ท่านพร้อมเมื่อไหร่ ขอเชิญที่นี่ เราสามารถช่วยคุณได้ • การติดตาม (Arrange) • จัดตารางนัดหมาย • ติดตามทางโทรศัพท์/จดหมาย • ชมเชย/เสนอแนะ

  18. เกณฑ์การประเมินหน่วยงานที่ดำเนินงานคลินิกไร้พุง (DPAC)

  19. สรุป แนวทางการดำเนินงานคลินิกไร้พุง มีการจัดตั้งเป็นรูปแบบคลินิกในสถานบริการ มีทีมทำงาน มีรูปแบบการดำเนินงานกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม มีระบบการพัฒนา ติดตาม และประเมินผลลัพท์ ( เปลี่ยนแปลง-ไม่เปลี่ยนแปลง-อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง) และต้องมีทะเบียนรายชื่อเพื่อติดตาม

  20. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิกไร้พุง และองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุงเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

  21. การดำเนินงาน แบ่งเป็น 2 ระดับ • ระดับชุมชน คือ องค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง • ระดับบุคคล คือ คลินิกไร้พุง

  22. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน คลินิกไร้พุง • รายบุคคล เพื่อพัฒนาให้มีพฤติกรรมในขั้นตอนที่สูงกว่า • กลุ่ม ประมาณ 8-12 คน • กลุ่มที่มีขั้นตอนการเปลี่ยนพฤติกรรมเดียวกัน เพื่อพัฒนาให้มีพฤติกรรมในขั้นที่สูงกว่า • กลุ่มที่มีขั้นตอนการเปลี่ยนพฤติกรรมแตกต่างกัน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและพัฒนาให้มีพฤติกรรมในขั้นที่สูงกว่า

  23. เป้าหมายปี 2556 ประชาชนชายอายุ 15 ปีขึ้นไป มีรอบเอวไม่เกิน 90 ซม. ร้อยละ 80.0 ประชาชนหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป มีรอบเอวไม่เกิน 80 ซม.ร้อยละ 70.0 (ตัวชี้วัด * รพสต.มีการขยายการดำเนินงานหมู่บ้าน/ชุนชนผ่านเกณฑ์ลดหวาน มัน เค็ม ลด อ้วนลดโรค อย่างน้อย 1 หมู่บ้าน/ชุมชน) * รพสต./PCU ผ่านเกณฑ์คลินิคไร้พุง อำเภอละ 2 แห่ง * รพสต./PCU มีครอบครัวต้นแบบไร้พุงอย่างน้อยแห่งละ 1 ครอบครัว * มีสถานประกอบการเป็นองค์กรไร้พุง อำเภอละ 2 แห่ง * ร้อยละ 10 ของผู้ที่เข้าคลินิคที่มีรอบเอวเกิน สามารถลดรอบเอวได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5

  24. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในองค์กร/ชุมชนต้นแบบไร้พุง • การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย • ต้องมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ทั้งด้านกายภาพและสังคม • นโยบายสาธารณะหรือมาตรการทางสังคม

  25. หลักในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกขณะลดน้ำหนักหลักในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกขณะลดน้ำหนัก พยายามหลีกเลี่ยงการไปศูนย์อาหาร หรือจุดที่มีอาหาร เพื่อจะได้ไม่กระตุ้นให้เราหิว หรืออยากชิมอาหารหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่าพยายามนึกถึงความอร่อยหรือรสชาติของอาหารเหล่านั้น เมื่อพบเห็นอาหารต้องพยายามสะกดอารมณ์ของตัวเองไม่ให้อยากลองหรือบริโภคมากเกิน โดยต้องมีสติพร้อมทั้งต้องระลึกไว้เสมอว่าหากบริโภคอาหารจะทำให้เราอ้วนขึ้น ต้องทำความเข้าใจกับครอบครัวและคนรอบข้างถึงความจำเป็นในการลดน้ำหนัก เพื่อคอยช่วยเหลือและเป็นกำลังใจขณะลดน้ำหนัก รวมทั้งไม่ซ้ำเติมหรือยั่วให้เราบริโภคอาหารเกิน ที่มา :สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  26. คุณสมบัติของการปรับพฤติกรรมใน คลินิกไร้พุง ไม่เน้นอดีต (Ahistorical) หลีกเลี่ยงการใช้การตีตรา การจัดประเภทบุคคล และการใช้คำบางคำ เช่น คนอ้วน การปรับพฤติกรรมเป็นเรื่องเข้าใจได้ (Sensible) การปรับพฤติกรรมสามารถฝึกผู้อื่นทำได้ สามารถฝึกให้บุคคลปรับพฤติกรรมของตนเองได้

  27. วิธีการปรับพฤติกรรม 1.เน้นที่พฤติกรรมเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มเสี่ยง 2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลโดยผ่านกระบวนการ เรียนรู้ 3. ต้องมีการกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน 4. ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 5. จะเน้นที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น

  28. วิธีการปรับพฤติกรรม (ต่อ) 6. เน้นที่ความเป็นมนุษย์ของบุคคล โดยไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น 7. การนำเทคนิคต่างๆไปใช้ ให้คำนึงถึงข้อดีและข้อจำกัด ตลอดจนหลักเกณฑ์การใช้เทคนิคเหล่านั้นให้รอบคอบ 8. การปรับพฤติกรรมจะเน้นการใช้วิธีการทางบวกมากกว่าการ ลงโทษ 9. การปรับพฤติกรรมสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมตามลักษณะ ปัญหาของแต่ละบุคคล

  29. ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม(Stages of change theory) Prochaska and DiClimente. 1970 Transtheoretical Model : TTM ขั้นไม่สนใจปัญหา (Pre-contemplation) ขั้นลังเลใจ(Contemplation) ขั้นตัดสินใจและเตรียมตัว (Preparation) ขั้นลงมือปฏิบัติ(Action) ขั้นกระทำต่อเนื่อง (Maintenance)

  30. ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

  31. ขั้นที่ 1 ไม่สนใจปัญหา (Pre-contemplation) ลักษณะของบุคคลในขั้นนี้ ไม่ตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่รับรู้ ไม่ใส่ใจต่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของตนเอง เบื่อที่จะเปลี่ยนแปลงตนเอง หรือคิดว่าไม่สามารถทำได้ จะไม่อ่าน ไม่พูด หรือคิดเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ตระหนักในปัญหา หรือรู้ปัญหาแต่ไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลง การให้คำแนะนำ ให้ข้อมูลสะท้อนกลับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และสุขภาพ ให้ความรู้ ความเข้าใจ โดยเน้นข้อเท็จจริง เป็นเหตุเป็นผล และเป็นกลาง ไม่ชี้นำ หรือขู่ให้กลัว

  32. ขั้นที่ 2 ลังเลใจ (Contemplation) ลักษณะของบุคคลในขั้นนี้ ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะเวลาอันใกล้นี้ (6 เดือนข้างหน้า) มีความตระหนักถึงข้อดีของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่ก็ยังคงกังวลกับข้อเสียในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วย การชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี-ข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อาจทำให้เกิดความลังเลใจอย่างมากจนทำให้บุคคลต้องติดอยู่ในขั้นนี้เป็นเวลานาน มีการผัดวันประกันพรุ่ง (behavioral procrastination) จึงยังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงในทันที การให้คำแนะนำ ควรมีการพูดคุยถึงข้อดี-ข้อเสียของพฤติกรรมเก่าและใหม่ เปิดโอกาสให้ได้ชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดี-ข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการให้ข้อมูลที่ถูกต้องได้ด้วย

  33. ขั้นที่ 3 ตัดสินใจและเตรียมตัว (Preparation) ลักษณะของบุคคลในขั้นนี้ ตั้งใจว่าจะลงมือปฏิบัติในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเร็ว ๆ นี้ (ภายใน 1 เดือน) เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมใดของตน อย่างเช่น เลิกบุหรี่ ลดน้ำหนัก หรือออกกำลังกาย วางแผนว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เช่น เข้าร่วมฟังการบรรยายเรื่องสุขภาพ ขอคำปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ ค้นคว้าข้อมูลหรือซื้อหนังสือเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมตนเองมาอ่าน กำหนดวันที่จะเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คำแนะนำ บุคคลที่อยู่ในขั้นนี้ควรได้มีทางเลือกในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยให้เขาตัดสินใจเลือกเอง การส่งเสริมศักยภาพในการกระทำของเขา

  34. ขั้นที่ 4 ลงมือปฏิบัติ (Action) ลักษณะของบุคคลในขั้นนี้ ลงมือปฏิบัติหรือกระทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3-6 เดือน พฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นจะต้องบรรลุตามข้อกำหนดที่ผู้เชี่ยวชาญหรือเจ้าหน้าที่วิชาชีพเห็นว่าเพียงพอที่จะลดพฤติกรรมเสี่ยงได้ การให้คำแนะนำ การส่งเสริมให้ลงมือกระทำตามวิธีที่เขาเลือกอย่างต่อเนื่อง การช่วยหาทางขจัดอุปสรรคและให้กำลังใจ

  35. ขั้นที่ 5 กระทำต่อเนื่อง (Maintenance) ลักษณะของบุคคลในขั้นนี้ มีการกระทำพฤติกรรมใหม่หรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากกว่า 6 เดือน จนกลายเป็นนิสัยใหม่ หรือเป็นชีวิตประจำวัน การกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆจะมีอิทธิพลน้อย และมีความเชื่อมั่นว่าตนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ การให้คำแนะนำ ควรมีการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ โดยการดำเนินชีวิตที่สมดุลอย่างมีคุณค่า มีการจัดการกับชีวิตประจำวันได้ดี บริหารเวลาอย่างเหมาะสมในการดูแลสุขภาพตนเอง และอื่นๆ

  36. การกลับไปมีปัญหาซ้ำ (Relapse) ลักษณะของบุคคลในขั้นนี้ มีการถอยกลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิมๆก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ บุคคลจะกลับไปสู่สถานการณ์เสี่ยง (การบริโภคอาหาร และการใช้แรงกาย) ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผลไม่สามารถจัดการกับความอยากได้ การให้คำแนะนำ พยายามดึงเขากลับเข้าสู่เส้นทางการเปลี่ยนพฤติกรรมให้เร็วที่สุด มีการให้กำลังใจ มีการสรุปบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำอีก และมุ่งมั่นในการเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไป

  37. พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม การรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ในปริมาณพอเหมาะหรือพออิ่มในแต่ละมื้อ ไม่รับประทานอาหารมากเกินไป โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลอรีต่ำ งดอาหารมันจัด หวานจัด และเค็มจัด รับประทานผักและผลไม้รสไม่หวานมากขึ้น ไม่กินจุบกินจิบ รับประทานอาหารมื้อเย็นห่างจากเวลานอนไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง

  38. การเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกายการเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ขณะออกกำลังกายจะต้องมีการหายใจเร็วขึ้นกว่าปกติและมีเหงื่อออก ใช้การเคลื่อนไหวออกแรงให้เป็นวิถีชีวิตประจำวัน เช่น เดินมากขึ้น ปั่นจักรยาน เดินเร็ว เป็นต้น

  39. สรุป การปรับพฤติกรรมและเทคนิคพัฒนาสุขภาพ เน้นที่พฤติกรรมเฉพาะเจาะจง เฉพาะกลุ่มเสี่ยง เน้นที่ความเป็นมนุษย์ของบุคคล โดยไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น รู้ว่า มีพฤติกรรมอยู่ในขั้นตอนใด เพื่อพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า จนกลายเป็นนิสัยใหม่ ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีเป้าหมายที่ชัดเจน ใช้วิธีการทางบวกมากกว่าการลงโทษ การปรับพฤติกรรมใช้ได้อย่างเหมาะสมตามลักษณะปัญหาของแต่ละบุคคล

  40. สวัสดี

More Related