1 / 25

ยูคารีโอต(eukaryote)

ยูคารีโอต(eukaryote). ลักษณะของเซลล์โพรคาริโอต เป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มีนิวเคลียสเด่นชัด (ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและdnaไม่จับกับโปรตีนเป็นโครโมโซม) และไม่มีออร์แกเนลล์ต่างๆเหมือนเซลล์ยูคารีโอต. ไฟลัมชิโซไฟตา.

newman
Download Presentation

ยูคารีโอต(eukaryote)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยูคารีโอต(eukaryote) • ลักษณะของเซลล์โพรคาริโอต เป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มีนิวเคลียสเด่นชัด(ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและdnaไม่จับกับโปรตีนเป็นโครโมโซม) และไม่มีออร์แกเนลล์ต่างๆเหมือนเซลล์ยูคารีโอต

  2. ไฟลัมชิโซไฟตา ได้แก่ พวกแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่ได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมแทบทุกแห่ง ทั้งในอากาศ พื้นดิน น้ำ(ตั้งแต่น้ำแข็งจนถึงน้ำพุร้อน) แม้แต่ในร่างกายสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ลักษณะสำคัญ -ขนาดประมาณ 1-5 ไมโครเมตร (0.001-0.005 มิลลิเมตร)-มีเซลล์แบบโพรคารีโอต ประกอบด้วย เยื่อหุ้มเซลล์ โพรโทพลาสซึม

  3. อาณาจักรมอเนอรา-เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryote)ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบ อาณาจักรมอเนอรา แบ่งย่อยเป็น2ไฟลัม-ไฟลัมชิโซไฟตา(Schizophyta)-ไฟลัมไซยาโนไฟตา(Cyanophyta)

  4. สิ่งมีชีวิตในไฟลัมนี้คือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ลักษณะสำคัญคือ นิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับแบคทีเรีย แต่ภายในเซลล์มีคลอโรฟิลล์ จึงสามารถสังเคราะห์ด้วแสงได้ นอกจากนี้ยังมีรงควัตถุสีน้ำเงินอยู่ด้วย ทั้งคลอโรฟิลล์ และรงควัตถุสีน้ำเงินกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ไม่ได้รวมตัวกันเป็นคลอโรพลาสต์

  5. -DNA วงเล็กๆเรียกว่า พลาสมิด(plasmid)ที่ถ่ายทอดไปให้แบคทีเรียอื่นได้โดยใช้วิธี คอนจูเกชัน-มีผนังเซลล์(cell wall) เป็นสาร peptidoglycan หุ้มเยื่อหุ้มเซลล์ และบางชนิดยังสร้างแคปซูลเป็นสารเมือกหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่ง-แบคทีเรียบางชนิดเคลื่อนที่ได้ เพราะมีแฟลกเจลลัม (flagellum) ช่วยในการเคลื่อนที่ มีโครงสร้างเป็นเส้นใยโปรตีน ที่แตกต่างจากแฟลกเจลลัมของเซลล์ยูคารีโอต (โครงสร้างเป็นโปรตีนไมโครทิวบูล เรียงตัวแบบ 9+2)-บางชนิดมีคลอโรฟิลล์ (แบคเทอริโอคลอโรฟิลล์)

  6. แบคทีเรียมักจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆโดยใช้ลักษณะต่างๆเป็นเกณฑ์ เช่น รูปร่าง โครงสร้าง ผนังเซลล์ การย้อมติดสีแกรม(Gram's stain)การใช้หรือไม่ใช้ออกซิเจน ฯลฯ-ชนิดแบคทีเรีย แบ่งโดยใช้รูปร่างของเซลล์เป็นเกณฑ์ มี3กลุ่ม-พวกคอคคัส(coccus) เป็นแบคทีเรียรูปร่างกลม(sphere)-พวกบาซิลลัส (bacillus) เป็นแบคทีเรียรูปร่างเป็นแท่ง (rod)-พวกสไปริลลัมหรือสไปโรขีต(spirillum or spirochete) เป็นแบคทีเรียรูปร่างเป็นเกลียว(spiral)

  7. ชนิดแบคทีเรีย แบ่งโดยใช้โครงสร้างผนังเซลล์เป็นเกณฑ์ได้แก่-พวกที่มีผนังเซลล์บาง ย้อมติดสีแกรมลบ-พวกที่มีผนังเซลล์หนา ย้อมติดสีแกรมบวก-พวกที่ไม่มีผนังเซลล์-พวกที่มีผนังเซลล์เป็นสารอื่น ที่ไม่ใช่peptidoglycanที่พบตามปกติ-ชนิดแบคทีเรีย แบ่งโดยการใช้ การใช้ออกซิเจนเป็นเกณฑ์-พวกที่หายใจแบบใช้ออกซิเจน (aerobic bacteria)

  8. พวกที่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria) ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก (clostridium tetani)-พวกที่หายใจแบบใช้หรือไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ (facultative aerobic bacteria)-การดำรงชีวิตของแบคทีเรีย ส่วนใหญ่สร้างอาหารเองไม่ได้ (heterotroph) ซึ่งมีทั้งพวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิต และแบบย่อยสลายหลายพวกสร้างอาหารเองได้ (autotroph) -แบคทีเรียที่สร้างอาหารเองได้ แบ่งเป็น2พวก-พวกสังเคราะห์แสง (photosynthesis) มีแบคเทอริโอคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์แสงของแบคทีเรียบางชนิด เช่น purple sulpher bacteria ใช้H2Sเป็นวัตถุดิบแทนH2O -

  9. จากการศึกษาทางธรณีวิทยาพบว่า เราสามารถแบ่งชั้นหินออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ถึง 4 ยุคด้วยกัน คือ1. มหายุค พรีแคมเบรียน (Precambrian Era) 570-3500 ล้านปีก่อนในยุคนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะมีลักษณะ แตกต่างจากมนุษย์หรือสัตว์ที่เรารู้จัก ทั้งนี้เพราะมันเป็นรูปแบบของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบง่ายที่สุด มีเพียงเซลล์เดียว เท่านั้น ไม่เหมือนดังเช่นมนุษย์ที่มีเซลล์อยู่ภายในร่างการนับล้าน ๆ เซลล์

  10. การดำรงชีวิตของเราขึ้นอยู่กับเจ้าเซลล์ จำนวนมากมายมหาศาลเหล่านี้ แต่เนื่องจากเซลล์ดังกล่าวมีขนาดเล็กมาก เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จึงจำเป็น ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง ๆ เข้ามาช่วย จึงจะทำให้สามารถมองเห็นเจ้าสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบง่าย ๆ เหล่านี้ได้ นักวิทยาศาสตร์ ได้ตั้งชื่อให้มันว่า "โปรคารีโอต (Prokaryote)"

  11. )" ปัจจุบันนี้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ เช่นนี้ ได้แก่ เชื้อบัคเตรี เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป 2,000 ล้านปี โปรคารีโอต เริ่มมีการพัฒนาตนเองให้มีความซับซ้อนมากขึ้น โครงสร้างภายในเริ่มมีอวัยวะมากขึ้น ภายในเริ่มมีนิวเคลียส ภายในจะบรรจุ DNA และสารพันธุกรรมอยู่เป็นจำนวนมากเซลล์ที่มี การวิวัฒนาการจนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ยูคารีโอต (Eukaryote)"

  12. มหายุค พาลีโอโซอิค (Paleozoic Era) 280-570 ล้านปีก่อนมหายุคพาลีโอโซอิค แบ่งเป็นยุคย่อย ๆ คือ1. ยุค แคมเบรียน (Cambrian) 500-570 ล้านปีสิ่งมีชีวิตที่มีการพัฒนาขึ้นมาในยุคนี้ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะไม่เย็นจนเกินไป เนื่องจากบริเวณดังกล่าวนี้เริ่มมีพืชทะเล จำนวนมากเกิดขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์พบว่าสิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุคนี้ ได้แก่ "ไทรละไบ (Trilobite)", "บราคิโอพอด(Brachiopods)","ซิสทอยด์(Cystoid)","เซฟาโลฟอด(Cephalopod)" และสัตว์จำพวกหอยทาก โดยจะพบจำนวนของไทรละไบ และ บราคิโอพอด อยู่ประมาณ 90% ของจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด

  13. ยุค ออโดวิเชียน (Ordovician) 480-500 ล้านปีสิ่งมีชีวิตในยุคนี้ก็ยังจะเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่เช่นเดิม เนื่องจากสภาพแวดล้อม ของอุณหภูมิเริ่มที่จะอบอุ่นมากขึ้น ทำให้สาหร่ายทะเลและปะการังเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงเหมาะสำหรับ เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่ถือกำเนิดในยุคนี้ ได้แก่ "ไบรโอซัว(Bryozoan)" , "กาสโตรพอด(Gastropod) " , "พีลีไซพอด(Pelecypod)" , "ออสตราโคเด(Ostracode)" และสัตว์ในตระกูล "อีซิโนเดิร์ม(Echi noderm)" เช่น " กราฟโตไลท์(Graptolite)" , "ปลาดาว(Starfish)" ,"บลาสทรอยด์(Blastoid)" ,"ไครนอยด์(Crinoid)" ,"ควึสโตอิด(Cystoid)" เป็นต้น สัตว์เหล่านี้ล้วนดำรงชีวิตอยู่ในน้ำทะเล และเริ่มมีสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นพวกแรก

  14. ยุค ซิลูเรียน 395-480 ล้านปีสภาพอุณหภูมิของน้ำในยุคนี้มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตมากขึ้น สัตว์ น้อยใหญ่จำนวนมากเริ่มแพร่พันธุ์กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ บนบกก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะเริ่มปรากฏว่าบนบกเริ่มมีพืชปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ยุคนี้จึงจัดว่าเป็นยุครอยต่อที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้

  15. ยุค ดีโวนีอัน (Devonian) 345-480 ล้านปีในยุคนี้สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำเริ่มมีบางส่วนที่ปรับตัวขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่อยู่ได้ไม่นานนักก็ต้องกลับลงไปในน้ำชั่วคราว จึงทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่ขึ้น เรียกว่า "สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ" ปลาในยุคนี้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียกยุคนี้ว่า ยุคของปลา มีการพัฒนาระบบการหายใจ จากเดิมที่ใช้เหงือกมาเป็นใช้ปอดสำหรับหายใจ ซึ่งปลาที่ปอดหายใจนี่เองนั่นได้ลองขึ้นมาใช้ชีวิตบนบก

  16. . ยุค คาร์บอนนิเฟอรัส (Carboniferous) 280-345 ล้านปี เป็นยุคที่มีถ่านหินเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมาย นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งชื่อยุคนี้ว่า ยุคกำเนิดคาร์บอน สภาพ ภูมิอากาศในยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับสภาพบรรยากาศในอดีต ทำให้บนบกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ในยุคนี้มีแมลงเกิดขึ้นมากมายและ พืชในยุคนี้ก็เจริญเติบโตมากขึ้นอย่างนานาพันธุ์จนกระทั่ง เป็นป่ารกทึบ ทำให้แมลงสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง

  17. . ยุค เพอร์เมียน (Permian) 225-280 ล้านปีในยุคนี้สัตว์ไร้กระดูกสันหลังได้ลดน้อยลงไป แต่สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกลับเพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ บางชนิดเริ่มเป็นสัตว์เลื้อยคลาน และกลับมาอาศัยอยู่บนบกอย่างถาวร สัตว์เลื้อยคลานที่มีความสำคัญอย่างมากชนิดหนึ่งคือ "พีลีโคซอร์(Pelycosaur)" บริเวณกลางสันหลัง จะมีครีบยาวติดกันตลอดทั้งลำตัว คาดกันว่าครีบดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการว่ายน้ำ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เจ้า พีลีโคซอร์ นั้น น่าจะเป็นบรรพบุรุษต้นตระกูลของไดโนเสาร์นั่นเอง

  18. เซลล์ยูคารีโอต • ลักษณะที่ใช้แยกยูคารีโอตได้อย่างเด่นชัดได้แก่นิวเคียสและออร์แกแนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม ยูคารีโอตมีรูปร่างหลายแบบและขนาดต่างๆกันรูปอาจกลมหรือเป็นแผ่นกลม รูปไข่เหลี่ยมหรือยาว บางชนิดมีแขนงยาว บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างได้ บางชนิดมีชีวิตอยู่ได้ตามลำพังเซลล์เดียวหรืออาจอยู่เป็นโคโลนีและบางชนิดเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์แต่ทุกเซลล์ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ชนิดใดก็จะประกอบด้วยส่วนสำคัญคือเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียสและไซโทพลาซึม

  19. ยูคารีโอต มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและโครโชมชัดเจน การแบ่งนิวเ คลียสแบบไมโตซิส ได้แก่ โปรโตชัว รา สาหร่ายอื่น ๆ ยกเว้น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ในปัจจุบันอาจจัดพวกยูคารีโอต เป็นอณาจักรโปรติสตา แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

  20. ลักษณะทั่วไปโปรติสตา ในปี ค.ศ.1866เฮกเกล นักสัตววิทยาชาวเยรมันได้เสนอไห้ใช้อณาจักรโปรติสตาสำหรับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ซึ่งเดิมจัดอยู่ในพวกพืชและสัตวไฟลัมโปรโตซัว

  21. นางสาว ฮัมดีย๊ะห์ กูเต๊ะ รหัส 404766016 โปรแกรมวิชา การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

More Related