1 / 48

721-485 น้ำ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ( Industrial Water)

721-485 น้ำ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ( Industrial Water) . ประเภทของแหล่งน้ำ. แบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ. น้ำผิวดิน (Surface Water). น้ำในลำคลอง, ห้วย, หนอง และบึงต่าง ๆ. น้ำประเภทนี้โดยทั่วไปจะมีสารแขวนลอย (Suspended Solids หรือ SS) สูง

nash
Download Presentation

721-485 น้ำ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ( Industrial Water)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 721-485 น้ำใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Water)

  2. ประเภทของแหล่งน้ำ แบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ • น้ำผิวดิน (Surface Water) น้ำในลำคลอง, ห้วย, หนอง และบึงต่าง ๆ • น้ำประเภทนี้โดยทั่วไปจะมีสารแขวนลอย (Suspended Solids หรือ SS) สูง • สารละลาย (Dissolved Solid) ค่อนข้างต่ำ ยกเว้นน้ำที่อยู่ในแหล่งที่มีเกลือแร่สูง

  3. น้ำผิวดิน (Surface Water) คุณภาพของน้ำในแม่น้ำลำคลองที่มีการไหลต่อเนื่องจะมีคุณภาพดีกว่าน้ำในบึง หนอง หรือน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ • น้ำในบึงหนอง หรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อาจมีการทิ้งน้ำเสีย • การระบายน้ำเข้ามาและสะสมอย่างต่อเนื่อง • ทำให้ปริมาณเกลือแร่ต่าง ๆ มีปริมาณสูงขึ้นเรื่อย ๆ • น้ำประปาสำหรับชุมชนจะใช้แหล่งน้ำผิวดินเป็นหลัก

  4. ประเภทของแหล่งน้ำ น้ำบาดาล • น้ำใต้ดิน (Ground Water) • ส่วนใหญ่ค่อนข้างใส แทบจะไม่มีสารแขวนลอย • แต่จะมีปริมาณสารละลายสูงกว่าน้ำผิวดิน ขึ้นกับบริเวณของแหล่งน้ำ • บางกรณีปริมาณสารละลายของน้ำบาดาลจะน้อยกว่าน้ำผิวดิน • โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะใช้น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำ • เนื่องจากน้ำประปามีปริมาณไม่เพียงพอ และบริการไม่ทั่วถึงโรงงาน

  5. ประเภทของแหล่งน้ำ น้ำบาดาล • น้ำใต้ดิน (Ground Water) • ปัจจุบันระดับน้ำบาดาลในบริเวณภาคกลางมีแนวโน้มลดลงไปมาก • เนื่องจากมีการสูบขึ้นมาใช้กันในปริมาณมาก • การเติมน้ำลงใต้ดินโดยวิธีธรรมชาติมีไม่พียงพอและไม่ทันต่อการใช้งาน ดังนั้นในปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรมจึงต้องมีการควบคุมการใช้น้ำบาดาล โดยการกำหนดให้ขออนุญาติก่อนการเจาะใช้บ่อบาดาล และมีการเก็บค่าน้ำตามปริมาณที่ใช้

  6. ประเภทของแหล่งน้ำ • น้ำกร่อย (Brackish Water) • น้ำประเภทนี้อาจเป็นน้ำผิวดินหรือน้ำใต้ดินก็ได้ • น้ำกร่อยเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ทะเลตามชายฝั่งและตามเกาะต่าง ๆ • ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำใต้ดินที่น้ำทะเลได้ไหลเข้ามาผสมกับน้ำจืดใต้ดิน • เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับเกาะและเมืองชายทะเล • ความกร่อยของน้ำเกิดขึ้นจากมีเกลือคลอไรด์ค่อนข้างสูง

  7. ประเภทของแหล่งน้ำ • น้ำทะเล (Sea Water) • เป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุด แต่นำมาผลิตเป็นน้ำใช้น้อยที่สุด • เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูง และต้องใช้เครื่องมือการผลิตที่มีราคาแพง

  8. ประเภทของแหล่งน้ำ • น้ำทะเล (Sea Water) • เป็นแหล่งน้ำสำหรับสถานที่ที่ขาดแคลนน้ำจืด เช่น • ประเทศแถวตะวันออกกลาง • ฐานเจาะน้ำมันกลางทะเล • แหล่งท่องเที่ยวตามเกาะต่าง ๆ เรือเดินข้ามมหาสมุทร

  9. สารแขวนลอย สารละลายน้ำ ก๊าซที่ละลายน้ำได้ (Dissolved Gases) สารปนเปื้อนในน้ำ

  10. สารปนเปื้อนในน้ำ ไม่ละลายน้ำ สารแขวนลอย สารแขวนลอยและตกตะกอนได้ (Suspended and Settleable Solids) • มีขนาดใหญ่ • สามารถตกตะกอนได้ด้วยน้ำหนักของตัวมันเอง • รวมตัวให้ตกตะกอนได้โดยใช้สารเคมี • สามารถกำจัดออกจากน้ำได้โดยการกรองธรรมดา

  11. สารปนเปื้อนในน้ำ สารแขวนลอย สารแขวนลอยและไม่ตกตะกอน (Colloidals) • มีขนาดเล็กมาก บางครั้งเป็นสารที่มีประจุบวก/ลบ • สามารถตกตะกอนได้โดยใช้สารเคมี ทำลายประจุให้เป็นกลาง • สามารถกำจัดออกจากน้ำได้โดยการกรองธรรมดา

  12. สารปนเปื้อนในน้ำ ความขุ่น (Turbidity) สารแขวนลอย • เป็นผลมาจากมีสารที่เป็น Colloidalsอยู่ในน้ำ • สามารถกำจัดออกจากน้ำได้โดยการกรองธรรมดา การวัดความขุ่น ใช้วิธีการวัดความหักเห และ การกระจัดกระจายของแสงที่ผ่านน้ำ มีหน่วยเป็น NTU (Nephlo-metric Turbidity Units)

  13. สารปนเปื้อนในน้ำ สี (Color) สารแขวนลอย การกำจัด สีที่เกิดขึ้นในน้ำมี 2 ชนิด คือ สีที่เกิดจากการมีสารแขวนลอย กรองธรรมดา สีที่เกิดจากการมีสารละลายในน้ำ การดูดซึมด้วยถ่านกัมมันต์ และวิธีอื่น ๆ เช่นกรองด้วยเมมเบรน

  14. สารปนเปื้อนในน้ำ สารละลายน้ำ (Dissolved Solids) บางครั้งจะใช้คำว่า Total Dissolved Solid (TDS) มีหลายชนิด ส่วนมากละลายอยู่ในสภาพเกลือแร่ ในรูปของสารประจุบวกและประจุลบ ตัวอย่าง • ไนเตรต • ฟอสเฟต • คลอไรด์ • แคลเซียม • เหล็ก

  15. เหล็กในน้ำ • โลหะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในหินที่เกิดจากลาวา(igneous rock) และในหินทราย • หากมีเหล็กในน้ำดื่มเกิน 0.3 ppm จะทำให้เกิดสีและรสที่ไม่พึงประสงค์ • นอกจากนั้นยังทำให้เกิดคราบเกาะตามเสื้อผ้าและอ่างล้างอีกด้วย • ในท่อส่งน้ำมักจะมีเหล็กละลายอยู่ในน้ำ เมื่อสัมผัสกับออกซิเจนจะกลายเป็นสารประกอบชนิดใหม่ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า(visible) หรือที่เราพบเป็นประจำในรูปสนิมเหล็ก

  16. ซัลเฟตในน้ำ • ซัลเฟต(หรือสารประกอบซัลเฟต) มักพบในน้ำผิวดินทั่วไปและพบมากในน้ำใต้ดิน • ถ้ารวมตัวกับแคลเซียม เป็น CaSO4ก็จะส่งผลให้เป็นความกระด้างถาวรในน้ำ ซึ่งเมื่อเกิดตะกรันแล้วจะกำจัดได้ยากมาก • ถ้ามีซัลเฟตปนเปื้อนในน้ำมากกว่า 250 ppm เมื่อบริโภคเข้าไปจะส่งผลให้ท้องเสียได้

  17. คลอไรด์ในน้ำ • คลอไรด์ในน้ำจะอยู่ในรูป C l-เป็นสารอนินทรีย์ที่พบมาก • ถ้ามีคลอไรด์ในน้ำ 250 ppm จะทำให้น้ำเริ่มมีรสเค็ม • บริเวณชายหาดจะพบคลอไรด์ในบ่อที่มีน้ำชะดินจากแหล่งน้ำกร่อยเข้ามา คลอไรด์ปะปนมาในน้ำประปาโดยเครื่องกรองน้ำ (water softener units) • ถ้าคลอไรด์มีปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อท่อส่งน้ำ(ที่ทำจากโลหะ)ได้ และทำให้พืชน้ำเจริญ • ในทางการแพทย์ได้กำหนดว่าโภชนาการที่ดีนั้นจะต้องมีปริมาณเกลือโซเดียมคลอไรด์ต่ำ

  18. สารปนเปื้อนในน้ำ ก๊าซที่ละลายน้ำ (Dissolved Gases) ซึ่งมีผลต่อคุณภาพน้ำใช้อุตสาหกรรม ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ก๊าซออกซิเจน (O2)

  19. สารปนเปื้อนในน้ำ ก๊าซที่ละลายน้ำ (Dissolved Gases) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) • เมื่อละลายน้ำจะอยู่ในรูปของก๊าซ CO2 • กรดคาร์บอนิก (H2CO3) หรือเกลือไบคาร์บอเนต (HCO3) • จะมีผลต่อการเกิดสนิมในท่อเหล็ก • หรือมีปัญหาเรื่องโฟม • การ Carry-over ในไอน้ำ

  20. สารปนเปื้อนในน้ำ ก๊าซที่ละลายน้ำ (Dissolved Gases) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) • จะมีอยู๋ในน้ำใต้ดินบางแห่ง ทำให้มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า • ในระบบไอน้ำจะกลายสภาพเป็นกำมะถัน (H2SO4) • ซึ่งจะกัดกร่อนโลหะต่าง ๆ

  21. สารปนเปื้อนในน้ำ ก๊าซที่ละลายน้ำ (Dissolved Gases) ก๊าซออกซิเจน (O2) • เป็นก๊าซที่ละลายน้ำอยู่ตามธรรมชาติ • ซึ่งสัตว์น้ำต้องใช้ในการหายใจ ดำรงชีวิต • แต่จะก่อให้เกิดปัญหาสนิมในโลหะต่าง ๆ

  22. หน่วยต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการผลิตน้ำ หน่วยน้ำหนักต่อปริมาตร หน่วยที่ใช้กันมากคือ • มิลลิกรัมต่อลิตร (มก./ล.) • กรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ก./ม.3) เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณน้ำหนักสารละลายที่มีอยู่ในปริมาตรน้ำหนึ่งหน่วย

  23. หน่วยต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบการผลิตน้ำ หน่วยน้ำหนักต่อน้ำหนัก หน่วยที่ใช้กันมากคือ • ppm (parts per million) หนึ่งส่วนในล้านส่วน ในสารละลายเจือจาง มีค่าเท่ากับหน่วยน้ำหนักต่อปริมาตร

  24. หน่วยน้ำหนักต่อน้ำหนักหน่วยน้ำหนักต่อน้ำหนัก ตัวอย่าง หน่วย ppm 10 ppm = 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำ 10 ppm = 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม น้ำ 1 ลิตร มีน้ำหนักเท่ากับ 1 กิโลกรัม น้ำทะเล 10 ppm = …………………………มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  25. น้ำทะเล 1 ลิตร มีน้ำหนักเท่ากับ…………1…………..กิโลกรัม น้ำทะเล 1 ลิตร มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม ความถ่วงจำเพาะ คืออัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสสารหนึ่งๆ ต่อความหนาแน่นของน้ำ

  26. ตัวอย่าง น้ำทะเลมีความเข้มข้น 30,000 ppm มีความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.05 ให้หาความเข้มข้นในหน่วย มิลลิกรัมต่อลิตร ความถ่วงจำเพาะเท่ากับ 1.05 หมายถึง ความหนาแน่นของน้ำเท่ากับ 1.05 kg/l น้ำทะเลมีความเข้มข้น 30,000 ppm หมายถึง น้ำทะเลมีความเข้มข้น 30,000 mg/kg สิ่งที่ต้องการ คือ ความเข้มข้นในหน่วย มิลลิกรัมต่อลิตร

  27. Conductivity ค่าที่ใช้วัดความบริสุทธิ์ของน้ำ • วัดค่าความเป็นตัวนำไฟฟ้าของน้ำ • หน่วยที่นิยมใช้คือ ไมโครโมห์ต่อเซ็นติเมตร (Micromho/cm) • น้ำบริสุทธิ์เป็นตัวนำไฟฟ้าที่เลวมีค่า Conductivity ต่ำ • น้ำที่มีสารละลายมากจะเป็นตัวนำที่ดีขึ้น และมีค่า Conductivity สูงขึ้น

  28. Resistivity ค่าที่ใช้วัดความบริสุทธิ์ของน้ำ • คือ การวัดค่าความต้านทานการไหลไฟฟ้าของน้ำ • หน่วยที่นิยมใช้คือ เมกะโอห์มเซ็นติเมตร (Megaohm-cm) • น้ำบริสุทธิ์มีค่าความต้านทานการไหลไฟฟ้าและค่า Resistivityสูง • น้ำที่มีสาระลายมากมีค่าความต้านทานการไหลไฟฟ้าและค่า ต่ำลง

  29. ค่าที่ใช้วัดความบริสุทธิ์ของน้ำค่าที่ใช้วัดความบริสุทธิ์ของน้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างค่า Conductivity และ Resistivity คือ 1 micromho/cm=1megaohm-cm = 106 ohm-cm ความสัมพันธ์ระหว่างค่า TDS และค่า Conductivity ไม่มีอัตราส่วนมาตรฐาน เพราะขึ้นกับชนิดของสารละลายในน้ำ TDS (มก.-ล.) X (1.5-1.67) = Conductivity ค่า Conductivity และ Resistivity ของน้ำบริสุทธิ์จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของน้ำ

  30. คุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมีคุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมี • pH แสดงความเป็นกรดหรือเบสของน้ำ • ค่าที่แสดงปริมาณหรือความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนในน้ำ (Hydrogen or hydronium ion: H+ or H3O+) ซึ่งเกิดจากสารที่สามารถแตกตัวให้อนุมูลกรด(H+)หรือด่าง(OH-)ได้ • ความเป็นกรด-ด่าง (พีเอช) pH มีค่าตั้งแต่ 0 - 14

  31. คุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมีคุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมี • pH แสดงความเป็นกรดหรือเบสของน้ำ • สภาพเป็นกรด (Acid) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH ต่ำกว่า 7 • สภาพเป็นด่าง/เบส (Base) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH มากกว่า 7 • สภาพเป็นกลาง (Neutral) หมายถึง ค่าที่เป็นกรด-ด่าง หรือ พีเอช pH เท่ากับ 7

  32. คุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมีคุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมี • pH • น้ำดื่มควรมีค่า pH ระหว่าง 6.8-7.3 • โดยทั่วไปน้ำที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า pH ที่ต่ำ (PH < 7) ซึ่งหมายถึงมีความเป็นกรดสูงมีฤทธิ์กัดกร่อน

  33. คุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมีคุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมี • pH การวัดค่า pH • อย่างง่าย โดยการใช้กระดาษลิตมัสในการวัดค่าความเป็นกรด – เบส ซึ่งให้สีตามความเข้มข้นของ [H+]

  34. คุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมีคุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมี • pH การวัดค่า pH • การวัดโดยใช้ pH meter เมื่อต้องการให้มีความละเอียดมากขึ้น

  35. คุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมีคุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมี • pH สภาพเบส (alkalinity) • คือสภาพที่น้ำมีสภาพความเป็นเบสสูงจะประกอบด้วยไอออนของ OH-, CO3- , H2CO3ของธาตุแคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม หรือแอมโมเนีย • สภาพเบสนี้จะช่วยทำหน้าที่คล้ายบัฟเฟอร์ต้านการเปลี่ยนแปลงค่า pH ในน้ำทิ้ง

  36. คุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมีคุณสมบัติของของน้ำเชิงเคมี • pH สภาพกรด ( acidity) • โดยทั่วไปน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชนจะมีบัฟเฟอร์ในสภาพเบสจึงไม่ทำให้น้ำมีค่า pH ที่ต่ำเกินไป • แต่น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีค่า pH ต่ำกว่า 4.5 ซึ่งมาจาก CO2ที่ละลายน้ำ

  37. ความสำคัญของความเป็นด่างความสำคัญของความเป็นด่าง ใช้เป็นสารเคมีในการรวมตะกอน • Chemical Coagulation • Water Softening • Corrosion Control • Buffer Capacity การกำจัดความกระด้าง ควบคุมการกัดกร่อน จํานวนโมลของกรดแกหรือเบสแกที่ทําใหบัฟเฟอรจํานวน 1 ลิตร มีคาพีเอชเปลี่ยนแปลงไป 1 หนวย (unit)

  38. Buffer Solution • หมายถึง  สารละลายที่มีความสามารถในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงค่า pH เมื่อเติมสารละลายกรดแก่หรือเบสแก่ลงไป

  39. Buffer Solution หน้าที่ของสารละลายบัฟเฟอร์ • เป็นสารละลายที่ใช้ควบคุมความเป็นกรดและเบสของสารละลาย  เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก  เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย  • นั่นคือ การรักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ให้คงที่เสมอ  แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไป  ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไป  • เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า  buffer capacity

  40. ความกระด้าง (Hardness) เกิดจากอะไร??? ทำไมต้องกระด้าง??? เกิดปัญหาอะไรบ้าง???

  41. ความกระด้าง (Hardness) • ความกระด้างเกิดขึ้นจากโลหะที่สามารถตกตะกอนทำให้เกิดตะกรันใน boiler, ท่อน้ำร้อน และอุปกรณ์ให้ต่างร้อนต่าง ๆ • เช่น Ca2+, Mg2+, Fe2+, Mn2+ etc. • มักเกิดตะกรันกับ CO32- ,SO42- Ca2+ + CO32- CaCO3 (s) Mg2+ + CO32-  MgCO3 (s)

  42. การวิเคราะห์ความกระด้างการวิเคราะห์ความกระด้าง • M2+สามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับ EDTA (Ethylenediaminetetraacetic acid) EDTA

  43. ใช้Eriochrome Black T เป็นอินดิเคเตอร์ เนื่องจากสามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนอ่อน ๆ กับ M2+ ได้ • M2+ + EBT (Blue)  (M –EBT)complex (Wine Red) • เมื่อไทเทรตด้วย EDTA โลหะจะเกิด complex กับEDTA ทำให้เกิดสีน้ำเงินของ EBT

  44. Sample (M2+) (M - EBT)complex (Wine Red) (M – EDTA)stronger complex + EBT (Blue) + Eriochrome Black T + Titrate with EDTA

  45. ได้จุดยุติสีน้ำเงิน ซึ่ง mol eq. EDTA = mol eq. M2+ • หน่วยความกระด้าง เป็น mg/L as CaCO3 • 1 mol eq. = 50 g CaCO3 ปริมาณตะกรันที่เกิดขึ้นทั้งหมด CaCO3 1 mol = 2 mol eq. = 100 g/mol

  46. Note: All units in mg/L Carbonate Hardness • ความกระด้างทั้งหมดเป็นการวัดปริมาณ M2+ที่สามารถเกิดตะกรันได้ โดยตะกรันส่วนมากเป็นเกลือคาร์บอเนต • Alkalinity เป็นปริมาณของคาร์บอเนต (HCO3- + CO32-) • ถ้า Total hardness < Alkalinity  ถือว่าความกระด้างทั้งหมดเป็นความกระด้างคาร์บอเนต

  47. Note: All units in mg/L • ถ้า Total hardness > Alkalinity  ถือว่าความกระด้างทั้งหมดมีทั้งความกระด้างคาร์บอเนตและ Non-carbonate Hardness • โดยที่ Non-carbonate Hardness = Total hardness - Alkalinity • Non-carbonate Hardness บางครั้งเรียกว่าความกระด้างถาวรเนื่องจากไม่สามารถกำจัดได้โดยการต้ม

More Related