280 likes | 443 Views
สวัสดีทุกท่าน ขอต้อนรับเข้าสู่โลกของ Virus,Worm,Trojan. Virus. เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้กระจายอยู่ในโปรแกรมอื่น สามารถสร้างความเสียหายให้กับไฟล์ข้อมูล โปรแกรม และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
E N D
สวัสดีทุกท่านขอต้อนรับเข้าสู่โลกของ Virus,Worm,Trojan
Virus เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้กระจายอยู่ในโปรแกรมอื่น สามารถสร้างความเสียหายให้กับไฟล์ข้อมูล โปรแกรม และเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ไวรัสมีความสามารถในการสำเนาตัวเองและแพร่กระจายตัวเอง จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จากการสำเนาไฟล์ โดยมนุษย์เป็นผู้นำพา ซึ่งไฟล์นี้อาจได้มาจากการสร้างเอง หรือไปดาวน์โหลดมาจากที่อื่น
Worm เป็นขบวนการ กลไก ในการบังคับประสิทธิภาพการทำงานของระบบ มีความสามารถในการสำเนาตัวเอง และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่าย จนทำให้เครือข่ายไม่สามารถให้บริการได้ การทำงานของหนอนคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นการโจมตีระยะไกล จะทำความเสียหายต่อระบบต่างๆ เช่น ทำลายรหัสผ่าน เปลี่ยนแปลงไฟล์ของเครื่อง server หรือ ลบไฟล์ที่สำคัญๆของระบบเพื่อไม่ให้ระบบทำงานได้ปกติ เป็นต้น
Trojan • โทรจัน มีลักษณะเป็นโปรแกรมเหมือนกับโปรแกรมทั่ว ๆ ไป ส่วนขนาดเนื้อที่ก็จะใหญ่กว่าไวรัส แต่จะมีลักษณะแตกต่างจากกไวรัสตรงที่มันจะไม่ copy ตัวเองหรือแอบไปฝังตัวอยู่กับไปอาศัยอยู่กับไฟล์อื่น อาจจะเพราะว่ามันมีขนาดที่ใหญ่ การแอบหรือฝังตัวในไฟล์ก็จะยากขึ้น ส่วนการสร้างความเสียหายนั้น จะเกิดกับระบบปฏิบัติการเป็นหลัก โดยจะเป็นการสร้างชุดคำสั่งให้ระบบปฏิบัติการกระทำบางสิ่งบางอย่างให้ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเจ้าของเครื่องทั้งที่เป็นเรื่องสร้างความรำคาญเล็ก ๆ น้อย ๆไปจนถึงขโมยข้อมูลที่เป็นความลับ ควบคุมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการติดต่อแพร่กระจายของมันส่วนมากจะเกิดจากที่ใช้อีเมลล์เป็นหลัก
อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พอจะคาดคะเนได้ว่าติดไวรัสหรือหนอนคอมพิวเตอร์อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พอจะคาดคะเนได้ว่าติดไวรัสหรือหนอนคอมพิวเตอร์ • การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้ากว่าปกติ • คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ • ข้อมูลหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ • ส่งเสียงหรือข่าวสารแปลกออกมา • ไดร์ฟหรือฮาร์ดดิสก์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ • ไฟล์ในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ถูกเปลี่ยนเป็นขยะ
อาการของเครื่องเมื่อถูกโทรจันคุกคามอาการของเครื่องเมื่อถูกโทรจันคุกคาม • หน้าจอกลบตาลบัตร กลับจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา • เมาส์ขยับไม่ได้ หรือเมาส์เลื่อนไหวเองโดยไม่ได้เลื่อนมัน • ขณะคีย์ข้อมูลอยู่ เคอร์เซอร์ก็ลบข้อความได้เอง • เปิดโปรแกรมอื่นให้ ท้งที่คุณยังไม่ได้คลิ๊กเมส์เพื่อเปิดมัน • แอบปิดโปรแกรมที่คุณกำลังทำงานอยู่ • CD พุ่งเปิดออกมาได้ แล้วก็ปิดเองได้ • อยู่ดีๆ เครื่องก็ถูก shut down ไปเฉย ๆโดยที่คุณไม่ได้สั่ง • ฯลฯ
ชนิดของไวรัส แบ่งตามแหล่งที่ซ่อนในเครื่องไวรัสติดอยู่ แบ่งตามลักษณะการทำงาน
แบ่งตามแหล่งที่ซ่อนในเครื่องไวรัสติดอยู่ได้ 3 ประเภท คือ • ไวรัสที่ติดอยู่ที่บูตเซ็กเตอร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่มักจะใช้บูตเซ็กเตอร์นี้เป็นแหล่งหลบซ่อนเพื่อให้มันสามารถออกไปฝังตัวในหน่วยความจำของเครื่องเพื่อรอปฏิบัติการตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องไวรัสพวกนี้ได้แก่ไวรัสที่มีชื่อว่า Stoned, Lao-duong deun (ลาวดวงเดือน) , Joshi , Print Screen , PingPong B, Invader , Michealangelo
2. ไวรัสที่ติดในตารางพาร์ติชันนของฮาร์ดดิสก์ ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่าง ที่มีความสำคัญและมีปริมาณมากๆโดยจะมีตารางพาร์ทิชั่นสำหรับเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดแบ่งเนื้อที่ทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์ดังนั้นถ้าหากตารางพาร์ทิชั่นถูกทำลายก็จะมีผลทำให้เราไม่สามารถเรียกข้อมูลต่างๆมาใช้ได้เลยไวรัสที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ Bloody, Asuzu, Michealangelo เป็นต้น
3. ไวรัสที่ติดในแฟ้ม ไวรัสประเภทนี้เป็นพวกที่แพร่กระจายออกไปติดตามแฟ้มชนิดต่างๆทั้งในแผ่นดิสก์และฮาร์ดดิสก์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแฟ้มนามสกุล .EXE,และ .COM เป็นหลักเนื่องจากเป็นแฟ้มโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้งานอยู่เป็นประจำทำให้ไวรัสมีโอกาสแพร่กระจายได้มากนอกจากนี้ยังมีไวรัสบางชนิดที่ติดอยู่ในส่วนที่เป็นมาโครโปรแกรม (Macro Program) ของแฟ้มนามสกุล .DOC, .XLS ฯลฯซึ่งเราเรียกไวรัสพวกนี้ว่าเป็นมาโครไวรัส (Macro Virus)
ชนิดของไวรัสแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น2 ประเภท • ไวรัสก่อกวน เป็นไวรัสประเภทที่ทำการก่อกวนหรือรบกวนการทำงานของเราโดยอาจมีการบรรเลงเพลงขึ้นมาเป็นระยะๆหรือทำให้ตัวหนังสือบนจอภาพหล่นลงมากองอยู่ด้านล่างของจอภาพโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆเช่นเครื่องพิมพ์ทำงานผิดปรกติเป็นต้นตัวอย่างไวรัสที่จัดอยู่ในประเภทนี้เช่น Lao duong, Joshi, Print Screen, Music Bug เป็นต้น
2. ไวรัสประเภททำลาย ไวรัสประเภทนี้จัดว่าเป็นไวรัสพวกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำลายส่วนสำคัญต่างๆภายในแผ่นดิสก์และฮาร์ดดิสก์อันได้แก่บู๊ตเซ็กเตอร์ , ตารางพาร์ติชัน , แฟ้มข้อมูลและแฟ้มโปรแกรมชนิดต่างๆตัวอย่างไวรัสประเภทนี้เช่น Generic Boot, Jeff, Invader, Braint, Jeru Salem เป็นต้น
การตรวจหาไวรัส • 1. การสแกน • การใช้โปรแกรมในการตรวจหาไวรัสโดยการดึงโปรแกรมบางส่วนของตัวไวรัสมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลส่วนที่ดึงมานั้นเรียกว่าไวรัสฃิกเนเจอร์ (Virus Signature) เมื่อสแกนเนอร์ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าตรวจหาไวรัสในหน่วยความจำบู๊ตเซ็กเตอร์และไฟล์โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่
2. การตรวจการเปลี่ยนแปลง • การหาค่าพิเศษเรียกว่าเช็คซัม (Checksum) เกิดจากการนำเอาชุดคำสั่งและข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมมาคำนวณหรืออาจใช้ข้อมูลอื่นๆของไฟล์ได้แก่แอตริบิวส์วันและเวลาเข้ามารวมในการคำนวณด้วยเนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมจะถูกแทนด้วยรหัสเลขฐานสองจึงสมารถนำเอาตัวเลขเหล่านี้มาผ่านขั้นตอนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าเช็คซัมนี้มีหลายแบบและมีระดับการตรวจสอบแตกต่างกันออกไปเมื่อตัวโปรแกรมภายในเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าไวรัสนั้นจะใช้วิธีการแทรกหรือเขียนทับก็ตามเลขที่ได้จากการคำนวณครั้งใหม่จะเปลี่ยนไปจากที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้
3. การเฝ้าดู • เป็นการสร้างโปรแกรมตรวจจับไวรัสสามารเฝ้าดูการทำงานของเครื่องได้ตลอดเวลาเรียกว่าเรซิเดนท์หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์โดยเทคนิคของการเฝ้าดูนั้นอาจใช้วิธีการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงหรือสองแบบรวมกันก็ได้หลักการทำงานโดยทั่วไปคือเมื่อซอฟท์แวร์ตรวจจับไวรัสที่ใช้วิธีนี้ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าไปตรวจในหน่วยความจำของเครื่องก่อนว่ามีไวรัสติดอยู่หรือไม่โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลจากนั้นจึงค่อยนำตัวเองเข้าไปฝังอยู่ในหน่วยความจำและต่อไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมเข้ามาใช้งานโปรแกรมเฝ้าดูนี้ก็จะเข้าไปตรวจโปรแกรมนั้นก่อนโดยใช้เทคนิคการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาไวรัสถ้าไม่มีปัญหาก็จะอนุญาตให้โปรแกรมนั้นขึ้นมาทำงานไดนอกจากนี้โปรแกรมตรวจจับไวรัสบางตัวยังสมารถตรวจสอบขณะที่มีการคัดลอกไฟล์ได้อีกด้วย
การป้องกันไวรัส • เมื่อได้รับโปรแกรมหรือแผ่นดิสก์มาจากผู้อื่นก่อนนำมาใช้งานควรทำการตรวจสอบไวรัสโดยละเอียดทุกแผ่นถ้าจำเป็นต้องไปใช้เครื่องฯที่มีผู้อื่นเปิดทิ้งไว้ให้ปิดเครื่องนั้นก่อนที่จะลงมือใช้งาน (ไวรัสที่ผู้อื่นอาจปล่อยทิ้งไว้ในหน่วยความจำจะหายไปเองเมื่อเราปิดเครื่อง) จากนั้นจึงทำการเปิดบู๊ตเครื่อง (Boot) โดยใช้แผ่นดอส (DOS) หรือแผ่นบู๊ตวินโดว์ (Windows) ที่มั่นใจได้ว่าไม่มีไวรัส
ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานร่วมกันกับคนอื่นๆให้มากที่สุดแต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ควรจะตรวจสอบไวรัสในฮาร์ดดิสก์นั้นก่อนที่จะเริ่มใช้งานควรหลีกเลี่ยงการใช้งานฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานร่วมกันกับคนอื่นๆให้มากที่สุดแต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ควรจะตรวจสอบไวรัสในฮาร์ดดิสก์นั้นก่อนที่จะเริ่มใช้งาน • ในการบู๊ตเครื่อง (เปิดเครื่องเพื่อเริ่มใช้งาน) นั้นแผ่นดอสหรือฮาร์ดดิสก์ที่ใช้บู๊ตเครื่องควรจะอยู่ในสภาพที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากไวรัสโดยเฉพาะในฮาร์ดดิสก์นั้นควรมีการติดตั้งโปรแกรมยามผู้เฝ้าระวังไวรัสเช่น Vshield , Norton Antivirus ฯลฯให้ทำหน้าที่คอยตรวจสอบระวังไวรัสตั้งแต่เครื่องเริ่มทำงาน
คำแนะนำและการป้องกันไวรัสคำแนะนำและการป้องกันไวรัส • สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ • สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์อย่าเรียกดอสจากฟล็อปปีดิสก์ • ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์ • อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น • เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท • เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วงๆ • เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง • เลือกคัดลอกซอฟต์แวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วใน BBS • สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์ • เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้ • เมื่อเครื่องติดไวรัสให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น
การกำจัดไวรัส • บู๊ตเครื่องใหม่ทันทีที่รู้ว่าติดไวรัส • เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัสให้ทำการบู๊ตเครื่องใหม่ทันทีโดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟล็อปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์เป็นไปได้ว่าตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีกเมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้วห้ามเรียกโปรแกรมใดๆก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัสเพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่
ตัวอย่าง ไวรัส, เวิร์ม ,โทรจัน • TROJ_NAVIDAD.A จากชื่อของโปรแกรมไวรัสที่พบนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ช่วงยกตัวอย่าเช่น • 1. TROJคือช่วงที่ 1 จะเป็น “ประเภทของไวรัส” นั้นก็คือโทรจันท์ • 2. NAVIDADคือช่วงที่ 2 คือ “ชื่อไวรัส” • .A หมายถึง “สายพันธุ์ของไวรัส” ซึ่งในที่นี้เป็นสายพันธุ์ A โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีความสามารถต่างๆ (ในทางที่ไม่ดี) ไม่เหมือนกันโดยสายพันธุ์ A คือสายพันธุ์แรกต่อมาเมื่อมันไปเจอกับสภาพแวดล้อมต่างๆทำให้ต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อความอยู่รอดโดยจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆและบริษัททำโปรแกรม Antivirus ก็จะเรียกเรียงตามตัวอักษรเช่น A>B>C>D>E ,123>124>125>126, หรือไม่ก็ A>D>H>K,123>210>386>490
PE_KRIZ.3862 เป็นไวรัสประเภท PerlScrip (ถูกเขียนขึ้นโดยภาษา Perl เป็นภาษาที่นิยมในการทำเว็บมาก) ชื่อไวรัสว่า“Kriz”และเป็นสายพันธุ์ 3862
ไวรัส 10 ตัวที่มีฤทธิ์ทำลายร้ายกาจ • VBS/LoveLetter @ MM • APStrojan.qa @ MM • W95/CH.100 • W97M/Mtx.gen@ M • W97M/Market. Gen • W32/Hybris.plugin@ MM • WM/Cap • W32/Kriz.4050 • W32/FunLove.gen • BackDoor-G2.svr.gen
ไวรัสที่พบในหน่วยงานมากที่สุดไวรัสที่พบในหน่วยงานมากที่สุด • X97m/laroux • X97m/Tristate.gen • W97m/Bablas • W97/Astia • W97m/Appder • Wscript/KillMBR
ภูมิใจนำเสนอโดย1.นายพงษ์ตะวัน เผ่าพงษ์จันทร์43-4016-012-82.น.ส.เตือนใจ ไหลประสิทธิ์พร 44-4016-910-23.น.ส.วราภรณ์ เสงี่ยมจิตร์44-4016-921-94.น.ส.จิราภรณ์ ศรีสงคราม44-4016-944-1