1 / 14

การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis)

การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis). อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์.

moral
Download Presentation

การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis) อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

  2. การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ • พารามิเตอร์หมายถึง ตัวแปรต่าง ๆ หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการประมาณค่า ตัวอย่างของพารามิเตอร์ต่าง ๆ เช่น เงินลงทุน มูลค่าซาก ค่าปฏิบัติการรายปี อายุการใช้งาน อัตราการผลิต ต้นทุนวัตถุดิบ และอื่น ๆ นอกจากนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราเงินเฟ้อก็เป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์

  3. การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ • ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์นั้น ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ เป็นค่าที่เกิดจากการประมาณ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยส่วนใหญ่มีค่าไม่ถูกต้องมากนัก ซึ่งผลการเปลี่ยนแปลงทำได้โดยการวิเคราะห์ความไว ในการวิเคราะห์ความไวโดยส่วนใหญ่จะทำการเปลี่ยนแปลงตัวแปรทีละหนึ่งตัวแปร ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อตัวแปรอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติจริงนั้น ตัวแปรนี้ย่อมส่งผลต่อตัวแปรอื่น

  4. การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ • การวิเคราะห์ความไวก็คือ การคำนวณหามูลค่าปัจจุบัน (PW) มูลค่ารายปี (AW) อัตราผลตอบแทน (ROR) หรืออัตราผลประโยชน์ต่อต้นทุน (B/C) มีผลต่อการเลือกโครงการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ เช่น MARR อาจจะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ ถ้าทุกทางเลือกมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า MARR แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงอายุของโครงการ (n) จะมีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจ

  5. การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ • โดยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นกับอายุโครงการ ค่าใช้จ่ายรายปี รายได้ที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากราคาขายเปลี่ยน การผลิตที่ระดับการผลิตที่แตกต่างกัน อัตราเงินเฟ้อ และอื่น ๆ • ขั้นตอนต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ความไว • พิจารณาว่าพารามิเตอร์ใดที่เราสนใจและมีผลต่อการตัดสินใจ • เลือกขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงค่าของพารามิเตอร์เหล่านั้น • เลือกวิธีการวัด • คำนวณหาผลลัพธ์ที่ได้จากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละพารามิเตอร์ • แปรความจากการวิเคราะห์ความไว โดยวิธีเขียนกราฟ ระหว่างพารามิเตอร์กับค่าที่วัดได้

  6. ตัวอย่าง 15.1 หน้า 284 • ตัวอย่างที่ 15.1 บริษัท Wild Rice Inc. คาดว่าจะซื้อสินทรัพย์ใหม่โดยมีราคาประมาณ 80,000 เหรียญสหรัฐ มูลค่าซากเป็นศูนย์ และกระแสเงินสดก่อนหักภาษีมีความสัมพันธ์คือ 2,700–2,000t เหรียญสหรัฐ ค่า MARR ของบริษัทอยู่ระหว่าง 10% ถึง 25% ขึ้นอยู่กับประเภทการลงทุน อายุการใช้งานอยู่ระหว่าง 8 ถึง 12 ปี วิเคราะห์ความไวของโครงการโดยวิธี PW โดยเปลี่ยนแปลงค่าดังนี้ a) MARR โดยอายุการใช้งานคงที่ที่ 10 ปี b) n โดยกำหนดให้ MARR = 15% ให้ทำการวิเคราะห์โดยผู้ประเมินและคอมพิวเตอร์

  7. ตัวอย่าง 15.1 • วิธีทำ • ทำตามขั้นตอนต่างของการวิเคราะห์ความไว โดยวิธี PW โดยเปลี่ยนค่า MARR • MARR เป็นตัวแปรที่เราสนใจ • เปลี่ยนแปลงค่า MARR ครั้งละ 5% ระหว่าง10% - 25% • วิธีวัดคือ PW • สร้างความสัมพันธ์โดยวิธี PW ที่อายุโครงการเป็น 10 ปี MARR = 10% PW = -80,000 + 2,500 (P/A, 10%, 10) – 2,000 (P/G, 10%,10) = 27,830 เหรียญสหรัฐ • คำนวณหา PW 4 ค่าที่ MARR ต่างกัน 5% MARR PW 10% 27,830 15% 11,512 20% - 962 25% -10,711 • เขียนกราฟระหว่าง MARR กับค่า PW ซึ่งแสดงในรูป 15-1 ค่าความชันที่ลดลงอย่างรวดเร็วแสดงว่าค่า PW มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของค่า MARR โดยถ้าค่า MARR สูงโครงการดังกล่าวจะไม่สมควรลงทุนอย่างมาก

  8. ตัวอย่าง 15.1 b) 1. พารามิเตอร์ที่สนใจคืออายุโครงการ (n) 2. เพิ่มค่า n ครั้งละ 2 ปี โดยเริ่มจาก 8 ถึง 10 ปี 3. จัดค่า PW 4. สร้างความสัมพันธ์ PW เช่นเดียวกับข้อ a ที่ i = 15% ผลลัพธ์ของ PW เป็นดังนี้ n PW 8 7,221 10 11,511 12 13,145 5. จากรูปที่ 15-1 แสดงกราฟระหว่างค่า PW กับ n จะเห็นว่าค่า PW ที่วัดได้มีค่าเป็นบวกทั้งหมดทุกค่า n จาก

  9. กราฟแสดงระหว่าง PW กับ MARR และ n สำหรับการวิเคราะห์ความไว ดังตัวอย่างที่ 15.1

  10. กราฟแสดงการวิเคราะห์ความไวของการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์เป็นเปอร์เซ็นต์ตามค่าเฉลี่ยกราฟแสดงการวิเคราะห์ความไวของการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์เป็นเปอร์เซ็นต์ตามค่าเฉลี่ย

  11. การวิเคราะห์ความไวทางเลือกเดี่ยวจากพารามิเตอร์หลายค่าการวิเคราะห์ความไวทางเลือกเดี่ยวจากพารามิเตอร์หลายค่า • การวิเคราะห์ความไวทางเลือกเดี่ยวจากพารามิเตอร์หลายค่า ทำได้โดยการสร้างกราฟของค่าที่เราวัดกับการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ต่าง ๆ รูปที่ 15-1 แสดงว่า ROR กับการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ 6 ตัว สำหรับทางเลือกเดี่ยว การเปลี่ยนแปลงของแต่ละพารามิเตอร์บ่งบอกเป็นเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ย ถ้าค่า ROR มีลักษณะเรียบและขนานกับแนวนอนต่อช่วงการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์นั้น แสดงว่า ROR ไม่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ดังกล่าว จากกราฟที่ 15-3 จะสามารถสรุปได้ว่า ROR มีความไวน้อยต่อการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนทางอ้อม แต่มีความไวมากต่อการเปลี่ยนแปลงราคาขาย ถ้าราคาขายลดลง 30% จะมีผลทำให้ ROR ลดลงโดยประมาณ 20% ในขณะที่ราคาขายเพิ่มขึ้น 10% จะทำให้ ROR มีค่าเท่ากับ 30%

  12. ตัวอย่างการวิเคราะห์ความไวของ PW จากการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงการทำงานสำหรับ 2 ทางเลือก

  13. ตัวอย่างการวิเคราะห์ความไวของ PW จากการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงการทำงานสำหรับ 2 ทางเลือก • ถ้าการวิเคราะห์ความไวถูกใช้สำหรับการพิจารณาทางเลือก 2 ทางเลือก ผลลัพธ์ที่ได้อาจเป็นกราฟไม่เชิงเส้น ซึ่งแสดงดังรูปที่ 15-2 กราฟที่ได้จะเป็นเส้นตรงเป็นช่วง กราฟแสดงให้เห็นว่าค่า PW ของแต่ละทางเลือกจะมีความสัมพันธ์กับชั่วโมงทำงานเป็นฟังก์ชันไม่เชิงเส้น ทางเลือก A จะมีความไวสูงที่ชั่วโมงทำงานอยู่ระหว่าง 0 -2,000 ชั่วโมง แต่มีความไวน้อยที่ชั่วโมงสูงกว่า 2,000 ชั่วโมง ทางเลือก B มีความไวน้อยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงการทำงาน จุดคุ้มทุนคือ 1,750 ชั่วโมงทำงานต่อปี

  14. ตัวอย่างที่ 15.2 หน้า 287 ตัวอย่างที่ 15.2 เมืองโอไอโอต้องการทำผิวถนนใหม่ระยะทาง 3 กิโลเมตร บริษัท Knobel ได้เสนอแนวทางในการทำผิวถนนใหม่ 2 วิธี วิธีแรกเป็นพื้นคอนกรีตโดยต้นทุนคือ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ค่าบำรุงรักษารายปี คือ 10,000 เหรียญสหรัฐ โครงการที่ 2 เป็นผิว Asphalt ต้นทุน 1 ล้านเหรียญสหรัฐและค่าบำรุงรักษารายปีคือ 50,000 เหรียญสหรัฐ และทุก ๆ 3 ปี ผิว Asphalt จะต้องถมใหม่ด้วยต้นทุน 75,000 เหรียญสหรัฐ โดยเมืองนี้ใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 6% a) จงคำนวณหาปีคืนทุนของโครงการทั้งสอง โดยเมืองนี้มีโครงการจะใช้ถนนเส้นนี้อีก 10 ปี โครงการใดควรจะถูกเลือก b) ถ้าค่าถมถนนเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี 5,000 เหรียญต่อกิโลเมตร การตัดสินใจดังกล่าวจะมีความไวต่อต้นทุนถมถนนอย่างไร

More Related