1.01k likes | 1.81k Views
บทที่ 3. ทฤษฎีการเงิน ดอกเบี้ย และดุลยภาพตลาดเงิน (Monetary Theories, Interest and Money Market Equilibrium). โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หัวข้อ. ทฤษฎีอุปสงค์ต่อเงิน ทฤษฎีอุปทานของเงิน ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ย ดุลยภาพของตลาดเงิน
E N D
บทที่ 3 ทฤษฎีการเงิน ดอกเบี้ย และดุลยภาพตลาดเงิน (Monetary Theories, Interest and Money Market Equilibrium) โดย อ.มานิตย์ ผิวขาว สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวข้อ • ทฤษฎีอุปสงค์ต่อเงิน • ทฤษฎีอุปทานของเงิน • ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ย • ดุลยภาพของตลาดเงิน • ความชันและความยืดหยุ่นของเส้น LM • ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงิน(การเคลื่อนของเส้น LM) • ดุลยภาพในตลาดผลผลิตและตลาดเงิน
1. ทฤษฎีปริมาณเงินอย่างหยาบ (The Crude Quantity Theory of Money) หรือทฤษฎีปริมาณเงินในรูปแบบอย่างง่าย (A Simple Version of the Quantity Theory of Money) - David Hume , Adam Smith , David Ricardo เป็นต้น - ข้อสมมติว่า คนมิได้มีความต้องการเงินเพื่อตัวของมันเองหรือเพื่อสะสมมูลค่า แต่ต้องการเงินเพราะเงินมีอำนาจซื้อ ดังนั้น การเพิ่มปริมาณเงินจะทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้น และมีอุปสงค์ต่อสินค้าเพิ่มขึ้น - เน้นบทบาทของเงินในฐานะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน - “ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและระดับราคาเป็นความสัมพันธ์กันโดยตรงและเป็นสัดส่วนกัน” >>> ถ้าปริมาณเงินเพิ่มขึ้นเท่าตัวย่อมทำให้ระดับราคาเพิ่มขึ้นเท่าตัว >>> ในทางตรงกันข้ามถ้าปริมาณเงินลดลงเท่าตัว ระดับราคาจะลดลงเท่าตัวด้วย
เมื่อ M = ปริมาณเงินที่หมุนเวียนทั้งหมด (Money Supply) P = ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป (General Price Level) k = ค่าคงที่
2. ทฤษฎีปริมาณเงิน : สมการแลกเปลี่ยน (The Quantity Theory : The Equation of Exchange) • MV = PT • M = ปริมาณเงิน (Money Supply) เน้นที่การแลกเปลี่ยนจึงเป็นเงินเงินในรูปตัวกลางในการแลกเปลี่ยน >>> Currency (ธนบัตร+เหรียญกษาปณ์) + Demand Deposit (เงินฝากกระแสรายวัน) • V = อัตราการหมุนเวียนของเงิน (Velocity of Circulation of Money) คือ การหมุนเวียนเปลี่ยนมือไปของเงินจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งในแต่ละปี ถ้าเศรษฐกิจรุ่งเรืองอัตราการหมุนเวียนจะมากกว่าในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ในระยะเวลาอันสั้นอัตราการหมุนเวียนของเงินถือได้ว่าคงที่ • T = ปริมาณการค้า (Volume of Transactions) หรือปริมาณสินค้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายตัว เช่น ทรัพยากรในทางเศรษฐกิจ ในระยะสั้นเชื่อว่าคงที่
P = ระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป (General Price Level) - ทั้ง 2 ด้านคือสิ่งเดียวกัน คือ มูลค่าของเงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้สินค้า (MV) เท่ากับ มูลค่าของสินค้าทั้งหมดที่ใช้แลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งเงิน (PT) - สมการแลกเปลี่ยนไม่ใช่ทฤษฎี แต่เป็นความจริง กล่าวคือ ปริมาณเงิน (M) คูณกับ อัตราการหมุนเวียน (V) จะเท่ากับ ปริมาณสินค้าและบริการ (T) คูณกับ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ย (P)
3. ทฤษฎีปริมาณเงิน : รูปแบบการซื้อขายแลกเปลี่ยน (The Quantity Theory : The Transaction Approach) - Irving Fisher - สมการ เมื่อ M = ปริมาณเงินที่หมุนเวียนทั้งหมด (Money Supply) คือ ธนบัตร+เหรียญกษาปณ์(Currency) M/ = ปริมาณเงินฝากที่จ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเงินฝากกระแสรายวัน (Demand Deposit ) V = อัตราการหมุนเวียนของเงินธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ V/ = อัตราการหมุนเวียนของเงินฝากกระแสรายวัน P = ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ย T = ปริมาณธุรกรรมทั้งสิ้นหรือปริมาณสินค้าและบริการทั้งสิ้น
M + M/= ปริมาณเงิน V + V/= อัตราการหมุนเวียนของเงิน - M และ M/ >> M มีอิทธิพลโดยตรงต่อ P และมีอิทธิพลเหนือ M/ >> ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจปกติในระยะสั้น M เปลี่ยนไปทำให้ M/ เปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกันและเป็นสัดส่วนกัน >> M และ M/ เป็นอิสระจาก V และ V/ - V ในระยะยาวถูกกำหนดโดยอุปนิสัย การใช้จ่ายเงินของบุคคล ระบบการจ่ายเงินของสังคม ความหนาแน่นของประชากร ความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารและการคมนาคม เป็นต้น ภายใต้ภาวะปกติค่า V และ V/ จะมีลักษณะคงที่ และเป็นอิสระจากปัจจัยอื่น
- P เป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยอื่นในสมการแลกเปลี่ยน กล่าวคือ P ถูกกำหนดโดย M , V และ T แต่ P จะไม่มีผลกระทบต่อตัวแปร M , V และ T - T ถูกกำหนดโดยจำนวนประชากร ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาการแห่งความรู้และวิทยาการ ซึ่งเปลี่ยนแปลงช้ามาก ในระยะสั้น T จึงคงที่ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment)
4. ทฤษฎีปริมาณเงิน : วิเคราะห์จากรายได้ (The Quantity Theory : Income Approach) - วิเคราะห์ปัจจัย T ให้แคบลง โดยพิจารณาเฉพาะการซื้อขายที่ก่อให้เกิดรายได้ และให้ T แทนด้วย y ซึ่งเป็นรายการซื้อขายสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย จึงเป็นการป้องกันการนับซ้ำ - สมการ MVy = Pyy ; แทน Ty ด้วย y เมื่อ M = ปริมาณเงิน Vy= จำนวนรอบของการหมุนเวียนของเงินแต่ละหน่วยที่ถูกใช้ไปในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในงวดเวลาที่พิจารณา Py= ดัชนีราคาสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในรอบระยะเวลาที่พิจารณา
y = ปริมาณสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในรอบระยะเวลาที่พิจารณา หรือผลิตภัณฑ์ประชาชาติแท้จริง (Real GNP) - Vyมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแต่เป็นไปอย่างเชื่องช้า ในระยะสั้นจึงถือว่าคงที่ Vyเป็นอิสระไม่ขึ้นกับ M - y อยู่ในระดับการจ้างงานเต็มที่ >> y จึงคงที่ - จาก MVy = Pyy ทำให้ Pyแปรผันโดยตรงกับ M ในสัดส่วนเดียวกัน
5. ทฤษฎีปริมาณเงิน : รูปแบบการถือเงินสด (The Quantity Theory : Cash-Balance Approach) - สำนักเคมบริดจ์ (The Cambridge School) - อาศัยการวิเคราะห์สมการแลกเปลี่ยน เช่นเดียวกับ Fisher แตกต่างจาก Fisher ตรงที่ Fisher เน้นเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ Cambridge เน้นเงินเป็นอำนาจซื้อชั่วคราวหรือเครื่องรักษามูลค่า - ให้ k = อัตราส่วนความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายในระหว่างปี - สมการ ให้
และถ้าให้ T แทนด้วย y จะได้ เมื่อ M , P , T , y มีคำจำกัดความเช่นก่อนหน้า -ที่ดุลยภาพของตลาดเงินอุปทานของเงิน (MS ) เท่ากับ อุปสงค์ต่อเงิน (Md) จะได้ ; = อุปสงค์ต่อเงินแท้จริง
ดังนั้น ;หรือ ระดับราคาขึ้นอยู่กับปริมาณเงิน หรือ ปริมาณเงินเป็นตัวกำหนดระดับราคา การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินทำให้ระดับราคาเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนเดียวกัน เช่น เมื่อปริมาณเพิ่มขึ้น 2 เท่า จะทำให้ ปริมาณมีมากกว่าความต้องการถือเงิน ประชาชนก็จะจับจ่ายใช้สอย ในขณะที่ปริมาณผลผลิตมีคงที่ที่ระดับการจ้างงานเต็มที่ ทำให้ระดับราคาสินค้าจะต้องเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มสูงขึ้น 2 เท่าจากระดับราคาสินค้าเดิมด้วย
- นอกจากนี้แล้ว สำนัก Cambridge ยังเห็นว่า ความต้องการถือเงิน(Md ) ขึ้นอยู่กับ ความมั่งคั่ง , รายได้ , ค่าเสียโอกาส ตลอดจนปัจจัยอื่น ๆ - function ความต้องการถือเงินของสำนัก Cambridge เมื่อ Md = ความต้องการถือเงิน W = ความมั่งคั่ง (Wealth) Py = รายได้ที่เป็นตัวเงิน (money income) i = อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน (nominal interest rate) rk = ผลตอบแทนจากเครื่องมือประเภททุนรวมทั้งสินค้าอุปโภคชนิดคงทนถาวร rc = ผลตอบแทนของสินค้า U = อรรถประโยชน์ของเงิน (utility of money) X = ปัจจัยอื่น ๆ เช่น อุปนิสัยใจคอของคน , ความสะดวกรวดเร็วของการสื่อสารคมนาคม , ความหนาแน่นของประชากร เป็นต้น
ทฤษฎีความต้องการถือเงินตามแนวคิดของทฤษฎีความต้องการถือเงินตามแนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Meynard Keynes)
ทฤษฎีความต้องการถือเงินตามแนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ (John Meynard Keynes) - ความต้องการถือเงิน มี 3 ประการ (1) ความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย (Transaction Demand for Money) - เนื่องจากรายรับกับรายจ่ายไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ รายได้เป็นครั้งคราว แต่รายจ่ายเกิดขึ้นทุกวัน - ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย ได้แก่ รายได้ โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ถ้ารายได้เพิ่มสูงขึ้น อุปสงค์ต่อเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยจะเพิ่มขึ้น - ปัจจัยรองลงมาได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสของการถือเงิน (Opportunity Cost) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางตรงกันข้าม
(2) ความต้องการถือเงินไว้ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน (Precautionary Demand for Money) - สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยกะทันหัน หรือการตกงาน เป็นต้น - ขึ้นอยู่กับรายได้ (ในทิศทางเดียวกัน) เป็นสำคัญ และขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย (ในทิศทางตรงกันข้าม) ให้ Mt= ความต้องการถือเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอย + ความต้องการถือเงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน
Y r Mt/( r ) Mt Mt/( y ) Mt Mt// ( y ) r0 Mt// (r ) Y0 0 Mt0 Mt1 Mt2 Mt 0 Mt0 Mt1 Mt2 Mt (ก) (ข)
(3) ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand for Money) - ที่มาแนวคิดจากสูตร เมื่อ = มูลค่าของหลักทรัพย์ หรือราคาหลักทรัพย์ = ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ (ซึ่งกำหนดให้คงที่) r = อัตราดอกเบี้ยตลาด (%) ถ้ามูลค่าหลักทรัพย์ 100 บาท ผลตอบแทน 10 บาทต่อปี (10%) อัตราดอกเบี้ยตลาด(%) ราคาหลักทรัพย์ 8 20
- อัตราดอกเบี้ยและราคาหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกัน >> ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไรมีไว้เพื่อความมั่งคั่ง (Wealth) หรือสะสมค่า (Store of Value) >> เก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ >> มีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงกันข้ามกัน เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำ ค่าเสียโอกาสจะต่ำ ราคาหลักทรัพย์จะสูง (และจะไม่สูงไปกว่านี้อีกแล้วหากอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดแล้ว ต่อไปราคาหลักทรัพย์ก็จะลดลง) คนก็จะถือเงินเพื่อเก็งกำไรเพิ่มขึ้น (ถือเงินไว้เฉยๆไม่ซื้อหลักทรัพย์) - ถ้าให้ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไรแทนด้วย Ms
r r0 r1 Ms 0 Ms0 Ms1 Ms
r r Mt r0 r0 b a a b A/ r1 a/ b/ r1 a/ b/ B/ Ms MD 0 0 Ms0 Mt Ms1 Mt,Ms MD0 MD1 MD - ความต้องการถือเงินรวม(Md) = ความต้องการถือเงินเพื่อใช้สอยและเหตุฉุกเฉิน(Mt) + ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร(Ms) Md= Mt+ Ms - รูปกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการถือเงิน กับ อัตราดอกเบี้ย
ทฤษฎีปริมาณเงินสมัยใหม่ของ มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman)
ฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินของฟรีดแมนฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินของฟรีดแมน เริ่มจากความต้องการถือเงินของบุคคลที่เหมือนกับที่จะถือสินค้าอื่นๆ >>> เงินคือสินทรัพย์ >>> หลักความต้องการเลือก - ฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินของฟรีดแมน เมื่อ = ความต้องการถือเงิน U = ความพอใจในการถือเงิน (+) P = ระดับราคา (+) y = ระดับรายได้แท้จริง (+) i = อัตราดอกเบี้ย >> เป็นค่าเสียโอกาสของการถือเงิน (-) = อัตราเงินเฟ้อ >> อำนาจซื้อของเงิน (-)
ฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินของฟรีดแมนฟังก์ชั่นความต้องการถือเงินของฟรีดแมน เมื่อ = ปริมาณเงินแท้จริงที่ต้องการถือ Y = รายได้ถาวร (Permanent Income) (+) W = สัดส่วนของเศรษฐทรัพย์หรือความมั่งคั่ง (Wealth) (+) = ผลตอบแทนของเงินที่คาดว่าจะได้รับ (Money = เงิน,เงินฝาก) (-) = ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับ (Bond = พันธบัตร) (-) = ผลตอบแทนของหุ้นที่คาดว่าจะได้รับ (Equity = หุ้น) (-) = อัตราเงินเฟ้อ >> การคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงระดับราคา (+) U = รสนิยม , ความพอใจ (Utility) (+)
ถ้าความพอใจในการถือเงิน (U) และ เงินเฟ้อ ( ) ต้องเพิ่มเป็นเวลานานคนจึงจะเปลี่ยนพฤติกรรมการถือเงิน ดังนั้น จึงให้คงที่ จะได้ ; r = i ความต้องการถือเงิน ขึ้นอยู่กับ ระดับราคา , รายได้ และ อัตราดอกเบี้ย
ความเหมือนของ เคนส์ และฟรีดแมน • (1) เน้นเงินในบทบาทรักษามูลค่า • (2) ความต้องการถือเงินขึ้นอยู่กับระดับราคา , รายได้ และอัตราดอกเบี้ย • (3) พฤติกรรมการถือเงินแน่นอนสม่ำเสมอคาดคะเนได้ • (4) เป้าหมายเศรษฐกิจเน้นการขยายตัวของรายได้ ความแตกต่างระหว่าง เคนส์ และฟรีดแมน • (1) ฟรีดแมน >> ทฤษฎีปริมาณเงิน , เคนส์ >> ทฤษฎีความต้องการถือเงิน • (2) ฟรีดแมน บอก ความต้องการถือเงินคงที่ แต่ เคนส์ บอก ไม่คงที่ • (3) ฟรีดแมน อัตราดอกเบี้ยกระทบความต้องการถือเงินน้อยกว่าของเคนส์ • (4) ฟรีดแมนเสนอนโยบายการเงิน , เคนส์เสนอนโยบายการคลัง
ทฤษฎีเกี่ยวกับอุปทานของเงินทฤษฎีเกี่ยวกับอุปทานของเงิน - นิยามปริมาณเงินที่แตกต่างกัน (1) แนวคิดสมัยดั้งเดิม - เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน - M1 = Currency + Demand Deposit (2) แนวคิดของสำนักชิคาโก - Milton Friedman - M2 = M1 + เงินฝากประจำในธนาคารพาณิชย์ (Time Deposit) (3) แนวความคิดของ John G. Gurley & Edword S. Shaw - M = Currency + Demand Deposit + Time Deposit + สิทธิเรียกร้องต่อสถาบันการเงินทุกชนิดทุกประเภท (เช่น หุ้นต่างๆ) (4) แนวคิดของธนาคารกลาง - M = สินเชื่อทั้งหมด (Total Liability)
r (อัตราดอกเบี้ย) MS 0 MS (ปริมาณเงิน) - MS = M1 = Currency + Demand Deposit - MS เป็น Exogeneous variable คือ ตัวแปรที่ถูกกำหนดมาจากข้างนอก เป็นตัวแปรค่านอกระบบ โดยเป็นตัวแปรที่ถูกกำหนดโดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินและการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ - MS ไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ และอัตราดอกเบี้ย
- ฟังก์ชั่นของ MS MS = f( C , BD , LRR , OMO , FP , BOP) เมื่อ C = Currency (ธนบัตร + เหรียญกษาปณ์) BD = Bank Deposit หรือ Demand Deposit (เงินฝากกระแสรายวัน) LRR = Legal Reserve Retio (อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย) OMO = Open Market Operation (การซื้อขายหลักทรัพย์ของรัฐบาล เช่น พันธบัตรรัฐบาล) FP = Fiscal Policy (นโยบายการคลังของรัฐบาล) BOP = Balance of Payment (ดุลการชำระเงิน)
ภาคต่างประเทศ BOP เกินดุล BOP ขาดดุล ธนาคารขยายเครดิต งบประมาณขาดดุล Money Supply ในระบบเศรษฐกิจ ภาคเอกชน ภาครัฐบาล ธนาคารลดเครดิต งบประมาณเกินดุล - ทฤษฎีลูกโป่ง 3 สูบ ของ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์
ทฤษฎีฐานของเงิน (Monetary Base Theory) M = ปริมาณเงินทั้งหมด C = Currency ในมือประชาชน D = Demand Deposit M = C + D (1) -เมื่อมีการฝากเงิน ธนาคารจะต้องดำรงเงินสดสำรอง (Cash Reserve) ซึ่งเป็นสัดส่วนหนึ่งต่อยอดเงินฝาก >> สัดส่วนเงินสดสำรองต่อยอดเงินฝาก หรือ Cash Reserve Ratio : r r D = R D = R (2) - เงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์เก็บไว้ที่ธนาคารกลาง (R) = ฐานเงิน (MB:Monetary Base) – เงินสดหมุนเวียนในมือประชาชน (C) R = MB – C (3)
-ความต้องการถือเงินสดในมือประชาชน (C) เป็นสัดส่วนที่คงที่กับ อุปทานของเงิน (M) C = c M (4) แทนค่า (4) ใน (3) ได้ R = MB – cM (5) แทนค่า (5) ใน (2) ได้ D = D = (6) แทนค่า (4) และ (6) ใน (1) ได้ M = cM + เอา r คูณตลอดได้ rM = rcM + MB – cM rM – rcM + cM = MB
M = . MB (7) ให้ m = = ตัวคูณทางการเงิน (Monetary multiplier) M = m . MB (8) จาก (7) เมื่อ c = = สัดส่วนของการถือ Currency ต่ออุปทานของเงินทั้งหมด r = = สัดส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ - ปัจจัยกำหนดปริมาณเงิน (M) ได้แก่ >>c (สัดส่วนของการถือ Currency ต่ออุปทานของเงินทั้งหมด) >> r (สัดส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์) >> MB(ฐานเงิน :Monetary Base) น่าจะออกทดสอบย่อย เมื่อกำหนดตัวแปรต่าง ๆ มาให้ ปริมาณเงินเท่ากับเท่าใด? หากตัวแปรเปลี่ยนปริมาณเงินจะเปลี่ยนอย่างไร?
c (สัดส่วนของการถือ Currency ต่ออุปทานของเงินทั้งหมด)
ฐานเงิน (Monetary Base) ประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน และในมือธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเงินฝากสถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ฐานเงินจะสามารถสร้างปริมาณเงินหมุนเวียนได้จำนวนกี่เท่าขึ้นกับขนาดของตัวทวีฐานเงิน ในปัจจุบันฐานเงินเพิ่มขึ้น 1 บาท >>สามารถสร้างปริมาณเงิน M1 ได้ประมาณ 0.9 เท่า >> สามารถสร้างปริมาณเงิน M2 ได้ประมาณ 10 เท่า >> สามารถสร้างปริมาณเงิน M2a ได้ 11 เท่า และ >> สามารถสร้างปริมาณเงิน M3 ได้ประมาณ 12 เท่า ที่มา http://www.bot.or.th/bothomepage/databank/EconData/Definitions/Monetary&PublicFinance/MonetaryBase.htm
ฐานเงิน (Monetary Base : MB) Cash=ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ที่หมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน Cash_Bank= ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในมือธนาคารพาณิชย์ D_BOT=เงินฝากสถาบันการเงินที่ฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
สัดส่วนของฐานเงิน (Monetary Base : MB)
การเปลี่ยนแปลงฐานเงิน (Monetary Base : MB)
ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยของคลาสสิก ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยของคลาสสิก
พื้นฐานแนวคิด • อัตราดอกเบี้ยเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ในดุลยภาพที่ระดับการจ้างงานเต็มที่ • เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อ ทฤษฎีเงินกู้ (Loanable Funds Theory) หรือทฤษฎีเงินกองทุน • อัตราดอกเบี้ยถูกกำหนดโดยอุปสงค์ต่อเงินกู้ และอุปทานของเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยดุลยภาพจะหมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ทำให้อุปสงค์ต่อเงินกู้เท่ากับอุปทานของเงินกู้พอดี
อุปสงค์ต่อเงินกู้ (Demand for Loanable Funds) • อุปสงค์ต่อเงินกู้ หมายถึง จำนวนเงินที่หน่วยธุรกิจหรือรัฐบาลต้องการกู้เพื่อนำไปลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งหน่วยธุรกิจกู้เงินโดยวิธีการออกพันธบัตร (bond) ออกมาจำหน่ายให้ประชาชน หรือรัฐบาลกู้เงินโดยการออกพันธบัตร (government bond) ออกมาจำหน่ายให้ประชาชน (สร้างอุปทานของหลักทรัพย์) • โดยหน่วยธุรกิจและรัฐบาลจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ในใบหุ้นแก่ประชาชนผู้ถือหุ้นหรือพันธบัตรเป็นการตอบแทน • อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นต้นทุนของเงินกู้
อุปสงค์ต่อเงินกู้จึงมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งเขียนเป็นรูปฟังก์ชันอุปสงค์ต่อเงินกู้ได้ดังนี้ lD = l(r) ; โดยที่ lDคือ อุปสงค์ต่อเงินกู้ r คือ อัตราดอกเบี้ย เนื่องจากหน่วยธุรกิจหรือรัฐบาลมีอุปสงค์ต่อเงินกู้เพื่อนำไปใช้ในการลงทุน ดังนั้น ฟังก์ชันอุปสงค์ต่อเงินกู้ อีกนัยหนึ่งก็คือ ฟังก์ชันการลงทุนซึ่งมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยในทิศทางตรงกันข้าม i = i(r) ; โดยที่ i คือ การลงทุน