510 likes | 1.09k Views
Unit 3. การควบคุมความเร็วและกลับ ทิศทาง มอเตอร์ กระแสสลับ.
E N D
Unit 3 การควบคุมความเร็วและกลับทิศทาง มอเตอร์กระแสสลับ
ปัจจุบันงานอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรมาใช้ในงานผลิต เช่น งานเจาะ, งานกลึง, งานสายพานลำเลียง, ลิฟท์เคลื่อนย้ายวัตถุ เป็นต้น งานต่าง ๆ เหล่านั้นมีจำเป็นต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีความจำเป็นต้องนำวิธีการควบคุมความเร็วและทิศทางมาใช้ เพราะงานบางประเภทต้องความเร็วรอบต่ำหรือการหมุนกลับทิศทาง
ซึ่งวิธีการควบคุมความเร็วและทิศทางมีวิธีการดังนี้ซึ่งวิธีการควบคุมความเร็วและทิศทางมีวิธีการดังนี้ • 1. การควบคุมความเร็วทางด้านสเตเตอร์ • 2. การควบคุมทางด้านทางด้านโรเตอร์
3.1 การควบคุมความเร็วทางด้านสเตเตอร์ 3.1.1 การปรับเปลี่ยนแรงดันที่ขั้วของมอเตอร์ แรงบิดถูกสร้างขึ้นเป็นสัดส่วนกับกำลังสองของแรงดันที่ขั้วมอเตอร์ เมื่อลดแรงดันที่ขั้วของมอเตอร์ทำให้แรงบิด-อัตราเร็ว ลดลงเป็นกำลังสองของแรงดัน ดังรูปที่ 1 วิธีนี้ควบคุมได้เฉพาะอัตราเร็วที่ต่ำกว่าพิกัดเท่านั้น นิยมใช้กับ โบลเวอร์(blower) และปั๊มแรงเหวี่ยง(centrifugal pump)
3.1.2 การปรับเปลี่ยนจำนวนขั้วแม่เหล็ก การเปลี่ยนการต่อสายของขดลวดทำให้ขั้วแม่เหล็กที่สเตเตอร์เปลี่ยนแปลง ความเร็วรอบของมอเตอร์จะเปลี่ยนแปลงในลักษณะเป็นขั้น ๆ วิธีนี้ใช้เฉพาะมอเตอร์แบบโรเตอร์กรงกระรอก รูปที่ 2 การควบคุมความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำ โดยปรับเปลี่ยนขั้วแม่เหล็ก
3.1.3 การปรับเปลี่ยนความถี่ จากสมการ NS = 120f/P พบว่าอัตราเร็วซิงโครนัสเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ f ของแหล่งจ่าย เมื่อความถี่ต่ำกว่าความถี่พิกัด ค่ารีแอกแตนซ์ของมอเตอร์ลดลง ทำให้กระแสสูงขึ้นส่งผลให้เส้นแรงแม่เหล็กใน Air gap เพิ่มขึ้น ทำให้แรงบิดสูงขึ้น ความเร็วรอบจะสูงขึ้น ในทำนองกลับกัน เมื่อความถี่สูงกว่าความถี่พิกัด ค่ารีแอกแตนซ์ของมอเตอร์สูงขึ้น ทำให้กระแสลดลงส่งผลให้เส้นแรงแม่เหล็กใน Air gap ลดลง ทำให้แรงบิดลงดลง ความเร็วรอบจะต่ำลงเรียกวิธีนี้ว่า โวลต์ต่อเฮิร์ทซ์(V/Hz)
รูปที่ 3 การควบคุมความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำ โดยปรับเปลี่ยนความถี่
3.2 การควบคุมทางด้านทางด้านโรเตอร์ 3.2.1 การปรับเปลี่ยนความต้านทานโรเตอร์ วิธีนี้ใช้เฉพาะมอเตอร์ชนิดโรเตอร์พันขดลวดเท่านั้น โดยการต่อ ความต้านทานอนุกรมกับวงแหวนสลิป ทำให้แรงบิดของมอเตอร์เพิ่มขึ้น ดังรูป 4 รูปที่ 4 การควบคุมความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำ โดยปรับเปลี่ยนความต้านทานโรเตอร์
3.2.2 การฉีดแรงดันในวงจรโรเตอร์ วิธีการนี้การป้อนหรือฉีดแรงดันไฟฟ้าเข้าโรเตอร์ของมอเตอร์ โดยโหมดการทำงานมีอยู่ 4 แบบดังรูปที่ 5 รูปที่ 5 โหมดการขับเคลื่อนของมอเตอร์เหนี่ยวนำกับการฉีดแรงดันที่โรเตอร์
รูปที่ 6 กราฟแสดงความสัมพันธ์ความเร็วกับแรงดันดันที่ฉีดเข้าไปในโรเตอร์
จากหลักการควบคุมทั้งหมดที่กล่าว ได้ประยุกต์โดยนำวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาควบคุมความเร็วและทิศทางของมอเตอร์เหนี่ยวนำ ซึ่งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กัน คือ วงจรไซโคลนคอนเวอร์เตอร์ และวงจรอินเวอร์เตอร์ ในส่วนของหลักการทำงานของวงจรทั้งสองมีดังนี้
3.3 วงจรไซโคลคอนเวอร์เตอร์(Cycroconverter) อาศัยหลักการเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับระดับหนึ่ง ไปเป็นอีกระดับหนึ่งซึ่งความถี่ที่ใช้งานเหมือนเดิม หรือเรียกว่า AC-Chopper ดังรูปที่ 7 รูปที่ 7 หลักการทั่วไปของ AC-AC Converter
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมนำมาทำเป็นวงจรดังกล่าวคือ เอสซีอาร์ และไตรแอคซึ่งคุณสมบัติมีการทำงานได้ในไฟฟ้ากระแสสลับโดยควบคุมเฟสและควบคุมความถี่ได้ การทำงานของวงจรไซโคลคอนเวอร์เตอร์ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส ดังรูปที่ 8 การวางอุปกรณ์แบ่งเป็นกลุ่มทางด้านบวกและทางด้านลบ โดยอาศัยการจุดทริกที่เวลาจาก 00 ถึง 1800 วงจรทั้งสองด้านจะทำงานสลับกันดังรูปที่ 9
รูปที่ 8 วงจรไซโคลคอนเวอร์เตอร์เฟสเดียว
รูปที่ 8 การทำงานของไซโคลคอนเวอร์เตอร์เฟสเดียว
รูปที่ 9 การทำงานของคอนเวอร์เตอร์ทั้ง 2 วงจรที่ มุมทริก 0 องศา ถึง 180 องศา
สำหรับหลักการควบคุมแรงดันไฟสลับ ด้วยไซโคลคอนเวอร์เตอร์แบบสามเฟส ทำได้โดยนำไซโคลคอนเวอร์เตอร์แบบเฟสเดียว 3 วงจรนำมาต่อโดยให้มุมห่างกัน 120 องศา ทางไฟฟ้าดังรูปที่ 10 รูปที่ 10 ไซโคลคอนเวอร์เตอร์แบบ 3 เฟส
จากรูปที่ 10 วงจรแต่ละเฟสมี เอสซีอาร์ทั้งหมด 6 ตัว ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชุดด้านบวกและด้านลบ ทั้งสองจะทำงานพร้อมกัน เนื่องคอนเวอร์เตอร์ด้านบวกและด้านลบทำงานอิสระกัน จึงทำให้เกิดความต่างศักย์ระหว่างแรงดันเอาท์พุตแต่ละชุดที่เวลาเดียวกัน ทำให้เกิดการลัดวงจรได้ ดังนั้นจึงนำค่าความเหนี่ยวนำมาต่อไวระหว่างกลุ่มดังรูปที่ 11
รูปที่ 11 การนำค่าความเหนี่ยวนำมาต่อระหว่างคอนเวอร์เตอร์ด้านบวกและด้านลบ
จากวงจรคอนเวอร์เตอร์แบบ 3 เฟส แรงดันเอาท์พุทที่ได้จะเป็นดังรูปที่ 12 รูปที่ 12 แรงดันเอาท์พุทที่ได้จากวงจรไซโคลคอนเวอร์เตอร์ 3 เฟส
3.3.1 คุณสมบัติของไซโคลคอนเวอร์เตอร์ ข้อดี • ทำงานอาศัยการสับเปลี่ยนการนำกระแสด้วยแรงดันสาย • (line commutation) จึงไม่ต้องสร้างวงจรบังคับการเปลี่ยน • การนำกระแส(force commutation) • - กำลังสูญเสียต่ำไม่ต้องคำนึงถึงค่า P.F. มากนัก • - เมื่อฟิวส์ที่เอสซีอาร์ขาด ไม่จำเป็นต้องปิดระบบไฟฟ้า • - แรงดันเอาท์พุตรูปคลื่นซายน์ความถี่ต่ำมีคุณภาพสูง
ข้อเสีย • - ความถี่สูงสุดต่ำกว่า 1/3 ของความถี่อินพุต • เมื่อมีเอสซีอาร์หลายตัว ทำให้การทริกมุม ทำได้ยาก • และซับซ้อน • - ค่า P.F.ทางด้านอินพุตต่ำ
3.4 วงจรอินเวอร์เตอร์(Inverter) โดยอาศัยหลักการเบื้องต้น ในการเปลี่ยนไฟกระแสสลับเป็นกระแสตรง แล้วเปลี่ยนไฟกระแสตรงให้เป็นไฟกระแสสลับ ดังรูปที่ 13 รูปที่ 13 หลักการเบื้องต้นของอินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ 2 ประเภทคือ 1.อินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายแรงดัน (Voltage source inverter) 2.อินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายกระแส (Current source inverter)
3.4.1. อินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายแรงดัน (Voltage source inverter) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. แบบรูปคลื่นสี่เหลี่ยม (Square wave inverter) 2. แบบมอดูเลตความกว้างพัลส์ (Pulse-width modulation inverter)
รูปที่ 14.1 วงจรแบบรูปคลื่นสี่เหลี่ยม(Square wave inverter)
รูปที่ 14.2แบบรูปคลื่นสี่เหลี่ยม(Square wave inverter) การทำงานอาศัยคุณสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการสวิตซ์ จากรูปที่ 14 มุมทริกเริ่มที่ 00 ถึง 1800 สัญญาณแรงดันเอาท์พุตเป็นดังรูปที่ 14 โดยในการทริกต้องให้แต่ละเฟสต่างกัน1200 ทางไฟฟ้า
รูปที่ 15 แบบมอดูเลตความกว้างพัลส์(Pulse-width modulation inverter)
จากรูปที่ 15 เป็นอินเวอร์เตอร์แบบ PWM โดยการเปรียบเทียบกับสัญญาณอ้างอิงซึ่งเป็นคลื่นซายน์กับสัญญาณสามเหลี่ยม ซึ่งผลที่ได้เป็นดังรูปที่ 16 รูปที่ 16 หลักการ PWM เบื้องต้น
ซึ่งสัญญาณที่เปรียบเทียบจะนำไปควบคุมสวิตซ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นทรานซิสเตอร์,เอสซีอาร์, มอสเฟต, ไอจีบีที เป็นต้น เป็นส่วนของวงจรขับโหลด(Drive) เมื่อมีการเปลี่ยนความถี่ของสัญญาณอ้างอิงและสัญญาณเปรียบเทียบ สัญญาณที่ได้จะมีความถี่เปลี่ยนไปดังรูปที่ 17
รูปที่ 17 สัญญาณที่เปรียบเทียบได้
3.4.2.อินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายกระแส (Current source inverter) หลักการพื้นฐานอินเตอร์แบบแหล่งจ่ายกระแส โดยการป้อนแหล่งจ่ายกระแสเข้าไป สวิตซ์จะนำกระแสตามลำดับเฟสซึ่งต่างกัน 60 องศา และต่างเฟสทางไฟฟ้า 120 องศา ซึ่งสวิตซ์ที่ใช้เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทรานซิสแตอร์,มอสเฟต,ไอจีบีที เป็นต้น ดังรูปที่ 18
รูปที่ 17.1 วงจรอินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายกระแส
รูปที่ 17 อินเวอร์เตอร์แบบแหล่งจ่ายกระแส