1 / 38

บทที่ 1

บทที่ 1. โลกของคอมพิวเตอร์. คอมพิวเตอร์ (Computer) คืออะไร ???.

Download Presentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 โลกของคอมพิวเตอร์

  2. คอมพิวเตอร์ (Computer) คืออะไร ??? เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย

  3. เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์ • เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด มีการใช้ลูกคิดในหมู่ชาวจีนมากกว่า 7000 ปี และใช้ในอียิปต์โบราณมากกว่า 2500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข

  4. เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์ • เครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกันเบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2185

  5. เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์ • ต่อมาในปี พ.ศ. 2337 กอดฟริด ฟอนไลบ์นิช (Gottfried von Leibniz) ชาวเยอรมันได้ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีขีดความสามารถสูงสามารถคูณและหารได้

  6. เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์ • บุคคลผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตเครื่องจักรคำนวณคือ ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2343 เขาประสบความสำเร็จสร้างเครื่องคำนวณ ที่เรียกว่า Difference engine

  7. ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ฮอลเลอริชได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อผลิตจำหน่ายเครื่องจักรช่วยในการคำนวณ ชื่อ บริษัท คอมพิวติง เทบบูลาติง เรดคอสดิง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2467 ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machine : IBM)

  8. คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ (พ.ศ. 2488-2501) ในปี พ.ศ. 2486 วิศวกรสองคน คือ จอห์น มอชลี (John Mouchly) และ เจ เพรสเปอร์ เอ็ดเคิร์ท (J.Presper Eckert) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ และจัดได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไปเครื่องแรกของโลก ชื่อว่า อินิแอค (Electronic Numerical Intergrator And Calculator : ENIAC)

  9. คอมพิวเตอร์ยุคหลอดสุญญากาศ (พ.ศ. 2488-2501) ในปี พ.ศ. 2488 จอห์น วอน นอยแมน (John Von Neumann) ได้เสนอแนวคิดในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำ เพื่อใช้เก็บข้อมูลและโปรแกรมการทำงานหรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานโดยเรียกชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาทำงาน หลักการนี้เป็นหลักการที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

  10. คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (พ.ศ.2500-2507) • นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบลแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์สำเร็จ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างคอมพิวเตอร์ เพราะทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความคงทนและเชื่อถือได้สูง และราคาถูก ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ • สำหรับประเทศไทยมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในยุคนี้ พ.ศ. 2507โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติก็นำมาเพื่อใช้ในการคำนวณสำมะโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย

  11. คอมพิวเตอร์ยุควงจรรวม (พ.ศ.2508-2512) IC (integrated circuit ) ประมาณปี พ.ศ. 2508 ได้มีการพัฒนาสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนมากลงบนแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และเกิดวงจรรวมบนแผ่นซิลิกอนที่เรียกว่า ไอซี การใช้ไอซีเป็นส่วนประกอบทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง จึงมีบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลง เรียกว่า "มินิคอมพิวเตอร์“

  12. คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ.2513-2532) เทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิคส์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างวงจรรวมที่มีขนาดใหญ่มารวมในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า วีแอลเอสไอ (Very Large Scale Intergrated circuit : VLSI) เป็นวงจรรวมที่รวมเอาทรานซิสเตอร์จำนวนล้านตัวมารวมอยู่ในแผ่นซิลิกอนขนาดเล็ก และผลิตเป็นหน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อน เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) การใช้ VLSI เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงขึ้น เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่แพร่หลายและมีผู้ใช้งานกันทั่วโลก

  13. คอมพิวเตอร์ยุควีแอลเอสไอ (พ.ศ.2513-2532) การที่คอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูง เพราะ VLSI เพียงชิพเดียวสามารถสร้างเป็นหน่วยประมวลผลของเครื่องทั้งระบบหรือเป็นหน่วยความจำที่มีความจุสูงหรือเป็นอุปกรณ์ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ขณะเดียวกันพัฒนาของฮาร์ดดิสก์ก็มีขนาดเล็กลงแต่ราคาถูกลง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลงปาล์มทอป (palm top) โน็ตบุ๊ค (Notebook)

  14. คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน) เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูล สามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า Local Area Network : LAN เมื่อเชื่อมหลายๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet)

  15. คอมพิวเตอร์ยุคเครือข่าย (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน) คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวิดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่าสื่อประสม

  16. Hardware (ฮาร์ดแวร์) คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย หรือที่เราเรียกว่า อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น หน่วยรับข้อมูล (input), หน่วยแสดงข้อมูล (output), หน่วยประมวลผล (processing unit), หน่วยความจำ (memory unit/storage unit) และอุปกรณ์อื่นๆ 1. อุปกรณ์รับเข้า (input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้ประมวลผลต่อไป

  17. Hardware (ฮาร์ดแวร์)

  18. Hardware (ฮาร์ดแวร์) 2.อุปกรณ์ส่งออก (output devices)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เช่น การแสดงผลบนหน้าจอ (monitor) ซึ่งมีลักษณะคล้ายหน้าจอโทรทัศน์ หรือ การพิมพ์ผลการทำงานออกทางเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น ส่วนข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์, โปรแกรมและความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งสามารแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้อความ, รูปภาพ, เสียง, วิดีโอ ประเภทของอุปกรณ์ส่งออกได้แก่

  19. Hardware (ฮาร์ดแวร์)

  20. Hardware (ฮาร์ดแวร์) 3. หน่วยความจำ (memory unit) หน่วยความจำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งเพื่อรอเรียกไปใช้งานโดยหน่วยประมวลผล ภายในหน่วยความจำจะต้องมีไบต์ที่บอกตำแหน่งของการเก็บข้อมูล เรียกว่า ที่อยู่ หรือ address ซึ่งจะซ้ำกันไม่ได้ หน่วยความจำของระบบคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1.volatileคือ หน่วยความจำที่ต้องมีกระแสไฟฟ้าฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อรักษาข้อมูลไว้ได้ ดังนั้นถ้าเราปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำประเภทนี้จะหายไป 2. nonvolatileคือหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน

  21. Hardware (ฮาร์ดแวร์) แรม หรือ RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็นชุดของชิบหน่วยความจำ ที่เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์หรือ เป็นที่ที่เก็บข้อมูลชั่วคราวในระหว่างที่คอมพิวเตอร์กำลังปะมวลผลอยู่ ถ้าเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลหรือความจุมีมากก็มีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลที่ใช้ประมวลผลมากทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วมาก ขึ้นเนื่องจากมีเนื้อที่พอสำหรับเก็บข้อมูลที่ใช้ในระหว่างการประมวลผลไม่จำเป็นต้องเอาไปเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรองซึ่งการดึงข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองมาใช้นั้นช้ากว่า ในการจัดสรรเนื้อที่ที่ใช้ในการประมวลผลมีหลายวิธี การจัดสรรเนื้อที่หน่วยความจำเป็นเรื่องหนึ่งในศาสตร์ที่น่าสนใจคือศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก

  22. Hardware (ฮาร์ดแวร์)

  23. Hardware (ฮาร์ดแวร์) รอม หรือ ROM ย่อมาจาก Read Only Memory จะมีอยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก เพื่อเก็บข้อมูลคำสั่งในการเริ่มต้นการทำงานของคอมพิวเตอร์ รอมมี 2 ประเภท คือ PROM (programmable read-only memory) เป็นชิบหน่วยความจำที่นักโปรแกรมสามารถเขียนคำสั่งลงไปได้ แต่ไม่สามารถแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลง คำสั่งได้อีก และ EEPROM (electrically erasable programmable read-only memory) เป็นชิบหน่วยความจำที่นักโปรแกรมสามารถลบและแก้ไขคำสั่งได้

  24. CPU :Central Processing Unit • CPU หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือวงจรประมวลผลหลักที่เป็นตัวประมวลผลตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรม

  25. I/O Interface Memory Control Unit Registers ALU CPU CPU :Central Processing Unit คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ถูกออกแบบตามหลักการของ John Von Neumann ซึ่งจะมี 3 องค์ประกอบหลักได้แก่ • CPU • Memory • I/O Control bus Data bus Address bus

  26. การทำงานภายใน CPU CPU ประกอบด้วยหน่วยการทำงานหลัก 2 หน่วย คือ • หน่วยควบคุม(Control Unit)ทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาไว้ใน register และทำการแปลงระหัส (Decoding) เรียกว่าจังหวะคำสั่ง (Instructional Cycle) แล้วจึงส่งเข้าสู่จังหวะปฏิบัติการคือ( Execution Cycle)ในหน่วยคำนวณตรรกะ • หน่วยตรรกะ (ALU :Arithmetic and Logical Unit) ทำการคำนวณผลหรือเปรียบเทียบแล้วจึงส่งผลลัพธ์เก็บไว้ใน Register ซึ่งทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลคำสั่งที่ถูกนำมา

  27. CPU จากค่ายต่าง ๆ ปัจจุบัน ผู้นำตลาด CPU สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้แก่ Intel Corp. ซึ่งผลิต CPU ในตระกูล X86 ซึ่งนอกจาก Intel แล้ว ยังมีผู้ผลิตอีกหลายราย ที่ผลิต CPU ที่ compatible กับ CPU Intel ได้แก่ • AMD Advance Micro Device • VIA/Cyrix • IBM • Transmeta

  28. CPU รุ่นต่าง ๆ ของ Intel Intel 80486 • 32-bit microprocessor, 32-bit data bus ,32-bit address bus. • 4GB main memory. • 20,50 ,66 , 100MHz • 80387 Math Coprocessor Build in ,Cache Memory 8 KB • About half of the instructions executed in 1 clock instead of 2 on the 386. • Variations: SX, DX2, DX4. • DX2: Double clocked version: • 66MHz clock cycle time with memory transfers at 33MHz.

  29. CPU รุ่นต่าง ๆ ของ Intel Pentium: (1993) • 32-bit microprocessor, 64-bit data bus and 32-bit address bus. • 4GB main memory. • 60, 66, 90MHz. • Double clocked 120 and 133MHz versions. • Fastest version is the 233MHz (3-and-1/2 clocked version). • 16KB L1 cache (split instruction/data: 8KB each). • Memory transfers at 66MHz (instead of 33MHz). • Dual integer processors.

  30. CPU รุ่นต่าง ๆ ของ Intel Pentium Pro: (1995) • 32-bit microprocessor, 64-bit data bus and 36-bit address bus. • 64GB main memory. • Starts at 150MHz. • 16KB L1 cache (split instruction/data: 8KB each). • 256KB L2 cache. • Memory transfers at 66MHz. • 3 integer processors.

  31. CPU รุ่นต่าง ๆ ของ Intel Pentium II: (1997) • 32-bit microprocessor, 64-bit data bus and 36-bit address bus. • 64GB main memory. • Starts at 266MHz. • 32KBsplit instruction/data L1 caches (16KB each). • Module integrated 512KB L2 cache (133MHz). • Memory transfers at 66MHz to 100MHz (1998).

  32. CPU รุ่นต่าง ๆ ของ Intel Pentium III: (1999) • 32-bit microprocessor, 64-bit data bus and 36-bit address bus. • 64GB main memory. • Up to 1 GHz. • 32KB split instruction/data L1 caches (16KB each). • On-chip 256KB L2 cache (at-speed). • Memory transfers 100MHz to 133MHz. • Dual Independent Bus (simultaneous L2 and system memory access).

  33. CPU รุ่นต่าง ๆ ของ Intel Pentium IV: (2001) • 32-bit microprocessor, 64-bit data bus and 36-bit address bus. • 64GB main memory. • Up to 4 GHz. • Hyper Pipeline Technology 20 pipeline stages • 16KB Level 1 Execution Trace Cache. An execution Trace Cache that stores up to 12K decoded micro-ops in the order of program execution. • On-chip 256KB L2 cache (at-speed). • SSE2 Technology • Memory transfers 400MHz to 533MHz with RDRAM. • http://www.rjross.com/intp4.html

  34. ซอฟต์แวร์ (software) ชนิดของซอฟต์แวร์ (software) มีอะไรบ้างซอฟต์แวร์มี 2 ชนิด ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)1. ซอฟต์แวร์ระบบ ประกอบด้วย โปรแกรมที่ควบคุมและรักษาการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ซอฟต์แวร์ระบบมี 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่คอยประสานการทำงานทำงานระหว่างอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ และ โปรแกรมอัตถะประโยชน์ (utility) ที่เป็นคำสั่งเกี่ยวกับการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ และโปรแกรมต่างๆ

  35. ซอฟต์แวร์ (software) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ประกอบด้วยโปรแกรมที่ทำงานเฉพาะอย่างให้กับผู้ใช้ โปรแกรมประยุกต์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ โปรแกรมท่องอินเตอร์เน็ต โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางทำงาน โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และโปรแกรมเกี่ยวกับภาพกราฟิกต่างๆ เป็นต้น

  36. ลักษณะสำคัญของโปรแกรมทางด้านธุรกิจทั่วๆ ไปเป็นอย่างไร โปรแกรมทางด้านธุรกิจเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราสามารถทำงานเกี่ยวกับการคำนวณ หรืองานทางด้านธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โปรแกรมดังกล่าวได้แก่Word processingเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารข้อมูลทั้งที่เป็นข้อความ ตาราง และรูปภาพ ได้ และสามารถแก้ไขข้อมูลในเอกสารที่สร้างขึ้นมาได้ และสามารถจัดรูปแบบข้อมูลต่างๆ ได้Spreadsheetเป็นโปรแกรมผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลเป็นแบบแถวและคอลัมน์ได้ สามารถคำนวณได้อย่างง่ายดาย ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงให้อัตโนมัติ

  37. ลักษณะสำคัญของโปรแกรมทางด้านธุรกิจทั่วๆ ไปเป็นอย่างไร Database เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้ใช้สามารถสร้างฐานข้อมูลที่มีข้อมูลต่างๆ เก็บอย่างเป็นระบบ และสามารถจัดการกับข้อมูลดังกล่าวได้Presentation graphicsเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถสร้างสไลด์เพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ที่เป็นข้อความ รูปภาพ และเสียงได้ Note taking เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถจดบันทึกอะไรก็ได้ รวมทั้งการจดบันทึกที่เป็นลายมือของผู้ใช้ หรือ ภาพวาด โปรแกรมชนิดนี้ทำงานเปรียบเสมือนเป็นสมุดจดบันทึกทั่วไปPersonal information manager (PIM)เป็นโปรแกรมที่รวมทั้งปฏิทิน (Calendar) สมุดบันทึกที่อยู่ (address book) หน้ากระดาษเปล่าไว้จดบันทึก (notepad) และ คุณสมบัติอื่นๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลส่วนตัวได้ง่ายขึ้น

  38. Data VS Information Data หมายถึง ข้อ มูลดิบและรูปภาพที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล เช่น ชื่อพนักงาน จำนวนชั่วโมงที่ทำงานในแต่ละสัปดาห์ หรือใบสั่งซื้อ Information หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเรียบร้อยแล้ว อยู่ใน รูปของรายงานสรุป หรือ กราฟเพื่อเป็นประโยชน์ของผู้บริหารใช้ในการตัดสินใจ

More Related