570 likes | 781 Views
บทที่ 3 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การเลือกใช้และการเลือกซื้อ. Agenda. บทนำ องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ ข้อปฏิบัติหลังการเลือกซื้อซอฟต์แวร์. บทนำ. ซอฟต์แวร์ ( Software)
E N D
บทที่ 3ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การเลือกใช้และการเลือกซื้อ
Agenda • บทนำ • องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ • ระบบปฏิบัติการ • โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ • เกณฑ์ในการเลือกซอฟต์แวร์ • ข้อปฏิบัติหลังการเลือกซื้อซอฟต์แวร์
บทนำ ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งนี้ที่รวบรวมคำสั่งงานต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานแทน ซึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีรายละเอียดทุกขั้นตอนเพื่อให้เครื่องปฏิบัติตามจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์องค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการทำงานที่ใกล้ชิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยจะทำหน้าที่ติดต่อ ควบคุม และสั่งการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกันให้มากที่สุด รวมถึงการบำรุงรักษาตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีการใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วย ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ • ระบบปฏิบัติการ (operation systems) • โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility programs)
H/W OS Application S/W User
ระบบปฏิบัติการ (operation systems) เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงหน่วยนำเข้าและส่งออก (input/output device)
ประเภทของระบบปฏิบัติการประเภทของระบบปฏิบัติการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ • ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand - alone OS) • ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) • ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)
ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand - alone OS) • ระบบปฏิบัติการที่ให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว • นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไปรองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต • ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ข่ายได้ด้วย
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)
ระบบปฏิบัติการดอส (Disk Operating System :DOS) • ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล • ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า Command-Line • PC-DOS MS-DOS
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ (Microsoft Windows) • ระบบการใช้งานที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) • ระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป • ผลิตโดยบริษัทไมโครซอฟท์
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) • ระบบปฏิบัติการใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ • ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน • ยูนิกซ์เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการ Mac OS X(Macintosh Operating System) • ระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัท Apple • ผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X • มีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก
ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (LINUX) • ระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับ UNIX แต่มีขนาดเล็กกว่าและทำงานเร็วกว่า • พัฒนาขึ้นมาเพื่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล • LINUX พัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • ต่อมาผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่น ๆ ของ LINUX เพื่อเพิ่ม ความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่าย และผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่าย • Version Thai คือ LINUX TLE
ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) • ระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ • มีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล
ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
Windows Server • ใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ • รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT Windows 2000 Windows Server 2003 • รองรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (server)
OS/2 Warp Server • ระบบปฏิบัติการเครือข่าย • พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มเพื่อใช้เป็นระบบที่ควบคุมเครื่องแม่ข่าย หรือ Server เช่นเดียวกัน แต่ • เลิกพัฒนาต่อไปแล้ว
Solaris • ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (Unix Compatible) • พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย • สำหรับงานด้านโปรแกรม E–commerce และสามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกันกับระบบอื่นๆ
ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) • ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (อุปกรณ์ไร้สาย) • บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
Palm OS • ระบบปฏิบัติการยุคแรกๆ ที่ใช้กับเครื่อง Palm (ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์ม) • ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
Pocket PC OS(Windows CE เดิม) • ระบบปฏิบัติการที่ย่อขนาดการทำงานของ Windows ให้มีขนาดที่เล็ก กะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น • สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking
Symbian OS • ระบบปฏิบัติการที่รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะอย่าง Smart phone • สนับสนุนการทำงานแบบหลายๆ งานในเวลาเดียวกันอีกด้วย (multi-tasking)
โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือโปรแกรมยูทิลิตี้ เป็นโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ช่วยสนับสนุน/เพิ่ม/ขยายขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ • ยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ (OS Utility Programs) • ยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-alone utility Programs)
ตัวอย่างยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการตัวอย่างยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ
ประเภทการจัดการไฟล์ (File Manager) คัดลอกแฟ้มข้อมูล เปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล ลบแฟ้มข้อมูล หรือเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก • ยูทิลิตี้ที่มีหน้าที่หลักในการจัดการเกี่ยวกับไฟล์ต่างๆ • ระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ๆยังได้เพิ่มคุณสมบัติที่เรียกว่า image viewer
ประเภทการลบทิ้งโปรแกรม (Uninstaller) • โปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ใช้ในการยกเลิกโปรแกรมที่ทำการติดตั้งไว้ในระบบ
ประเภทสแกนดิสก์ (Disk Scanner) • เครื่องมือตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ • ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เครื่องมือตรวจสอบดิสก์นี้ทำการซ่อมส่วนที่เสียหายได้
ประเภทจัดเรียงพื้นที่เก็บข้อมูล (Disk Defragmenter) • ดิสก์เมื่อมีการเรียกใช้งานอยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของไฟล์ข้อมูลอย่างไม่เป็นระเบียบ ดึงข้อมูลนั้นๆช้าลง • ทำหน้าที่จัดเรียงไฟล์ต่างๆให้เป็นระเบียบมากขึ้น ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลให้ง่ายและเร็วกว่าเดิม
ประเภทรักษาหน้าจอ (Screen Saver) • โปรแกรมที่ช่วยป้องกันปัญหา อันเนื่องมาจากการที่เราเปิดจอภาพของคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ อายุการใช้งานของหน้าจอคอมพิวเตอร์สั้นลงตามไปด้วย
ตัวอย่างยูทิลิตี้อื่นๆตัวอย่างยูทิลิตี้อื่นๆ (Stand-alone utility Programs)
โปรแกรมป้องกันไวรัส (Anti virus Program) • โปรแกรมที่ใช้ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ • ผู้ใช้จึงต้องอัพเดทข้อมูลเพื่อให้โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ตลอดเวลา
โปรแกรมไฟร์วอลล์ (Firewall) • โปรแกรมที่จะช่วยป้องกันบุคคลภายนอกบุกรุกเข้ามาในระบบของเรา ทั้งจากอินเตอร์เน็ต หรือจาก network อื่นๆ • เรียกว่า personal firewall เนื่องจากใช้เฉพาะส่วนตัวบนเครื่องเดียว เช่น โปรแกรม Norton Internet Security ซึ่งเป็นชุดซอฟต์แวร์ เพื่อความปลอดภัย ที่รวมโปรแกรม firewall, cookie blocking, virus scanning และ Web control ไว้ด้วย
โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility) • โปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง/ซิปไฟล์ (zip file) • ยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดีเช่น Winzip, Winrar เป็นต้น • Windows XP เองก็มีความสามารถในการบีบอัดไฟล์ ระดับหนึ่งอยู่แล้ว เรียกว่าเป็น Compressed Folder นั่นเอง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เรา ต้องการ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ซึ่งเขียนโดยบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถจัดเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทคือ • ซอฟต์แวร์จัดระบบฐานข้อมูล (Database Management Software) • ซอฟต์แวร์การคำนวณ (Calculation Software) • ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์รายงาน (Word Processing Software) • ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) • ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications) • ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ (Business Software)
ซอฟต์แวร์จัดระบบฐานข้อมูล (Database Management Software) • การรวบรวมข้อมูลหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราเรียกว่า ฐานข้อมูล • ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำงาน การสรุปผลจากข้อมูล • ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Dbase , Paradox , Foxbase
คีย์หลัก (Primary Key) ฟิลด์ (Field) เรคคอร์ด(Record)
ฟอร์มควรออกแบบให้ง่ายต่อการอ่านและใช้ ตัวอย่างแบบฟอร์มนี้จะง่ายต่อการใส่ข้อมูลเข้า และเรียกดู
ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์รายงาน (Word Processing Software) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล • ซอฟต์แวร์ประมวลที่นิยมในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word , PageMaker,CorelDraw, Office Pradoaw เป็นต้น
ซอฟต์แวร์การคำนวณ (Calculation Software) • ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ • ทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียามไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด • ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel
Microsoft Excel การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแถวและคอลัมน์
ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสำหรับจัดการทำงานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดียให้เป็นไปได้ง่าย • แบ่งกลุ่มย่อยลงไปได้อีกดังตาราง
ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software)
ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกส์และมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software)
Autodesk AutoCAD Microsoft Visio Professional
ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications) การพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างในอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น • โปรแกรมสำหรับการตรวจเช็คอีเมล์ • การท่องเว็บไซต์ • การจัดการและดูแลเว็บ • การส่งข้อความติดต่อสื่อสาร • การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร (Web and Comunications)