190 likes | 579 Views
Induction & deduction. การเรียนรู้วิธีการ อ้างเหตุผล อุปนัย / นิร นัย . เสนอ. อาจารย์ สุวิ สาข์ เหล่าเกิด. จัดทำ โดย. นางสาว พรทิพา สีหา คุณ นางสาว จินตนา สีสา นางสาวช ลิ นทร อิ่มใจ นางสาว วราภรณ์ อิ่ม ใจ สาขาภาษาอังกฤษ ห้อง 2 ชั้นปีที่ 1. วิธีการ อ้างเหตุผล.
E N D
Induction & deduction การเรียนรู้วิธีการอ้างเหตุผล อุปนัย / นิรนัย
เสนอ • อาจารย์ สุวิสาข์ เหล่าเกิด
จัดทำโดย นางสาวพรทิพา สีหาคุณ นางสาวจินตนา สีสา นางสาวชลินทร อิ่มใจ นางสาววราภรณ์ อิ่มใจ สาขาภาษาอังกฤษ ห้อง 2ชั้นปีที่ 1
วิธีการอ้างเหตุผล • เหตุผลหรือหลักฐานที่นำมาใช้ยืนยันความเชื่อ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ความรู้เดิมซึ่งเป็นหลักฐานจากสิ่งที่ยอมรับกันอยู่แล้วว่าจริง กับประสบการณ์ซึ่งเป็นหลักฐานจากสิ่งที่เรารับรู้และตรวจสอบโดยประสาทสัมผัส จากหลักฐานที่แตกต่างกัน 2 ประเภทนี้เมื่อนำมาใช้จึงเกิดเป็นการอ้างเหตุผลที่แตกต่างกัน 2 วิธี คือ
วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) • ความหมายแนวคิด วิธีสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากฎ หรือ หลักการต่าง ๆ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน
ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบนิรนัยให้นักเรียนรู้จักใช้กฎ สูตร และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา ไม่ตัดสินใจในการทำงานอย่างง่าย ๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน
ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัยขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย • ขั้นอธิบายปัญหา • ขั้นอธิบายข้อสรุป • ขั้นตกลงใจ • ขั้นพิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบ
ประโยชน์ • 1. เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก3. ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎีหลักการ กฎ ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ4. ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษาและคณิตศาสตร์5. ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
ข้อดี • 1. วิธีสอนแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่าย ๆ หรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆ จะสามารถอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความหมายได้ดี และเป็นวิธีสอนที่ง่ายกว่าสอนแบบอุปนัย 2. ฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
ข้อจำกัด • 1. วิธีสอนแบบนิรนัยที่จะใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้และคุณค่าทางอารมณ์ 2. เป็นการสอนที่นักเรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง เพราะครูกำหนดความคิดรวบยอด
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัยตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัย เหตุ 1. จำนวนคู่หมายถึงจำนวนที่หารด้วย2ลงตัว 2. 6 หาร 2 ลงตัว ผล 6 เป็นจำนวนคู่ เหตุ 1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นสัตว์เลือดอุ่น 2. สุนัขเลี้ยงลูกด้วยนม ผลสุนัขเป็นสัตว์เลือดอุ่น
วิธีสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method ) • ความหมาย วิธีสอนแบบอุปนัยเป็นการสอนจากรายละเอียดปลีกย่อยไปหากฎเกณฑ์ กล่าวคือ เป็นการสอนแบบย่อยไปหาส่วนรวมหรือสอนจากตัวอย่างไปหากฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริง หรือข้อสรุป โดยการให้นักเรียนทำการศึกษา สังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ แล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป
ความมุ่งหมายและวิธีสอนแบบอุปนัยเพื่อช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเองกับให้เข้าใจความหมายและความสัมพันธ์ของความคิด ต่าง ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักการทำการสอบสวนค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัยขั้นตอนในการสอนแบบอุปนัย • ขั้นเตรียม คือ การเตรียมตัวนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิม • ขั้นสอนหรือขั้นแสดง คือ การเสนอตัวอย่างหรือกรณีต่าง ๆ • ขั้นเปรียบเทียบและรวบรวม เป็นขั้นหาองค์ประกอบรวม • ขั้นสรุป คือ การนำข้อสังเกตต่าง ๆ • ขั้นนำไปใช้ คือ ขั้นทดลองความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์
ข้อดี • 1.จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้งและจำได้นาน2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตามหลักตรรกศาสตร์ และหลักวิทยาศาสตร์3. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการในการแก้ปัญหา และรู้จักวิธีทำงานที่ถูกต้องตามหลักจิตวิทยา
ข้อจำกัด • 1. ไม่เหมาะสมที่จะใช้สอนวิชาที่มีคุณค่าทางสุนทรียะ2. ใช้เวลามาก อาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย3. ทำให้บรรยากาศการเรียนเป็นทางการเกินไป4. ครูต้องเข้าใจในเทคนิควิธีสอนแบบนี้อย่างดี จึงจะได้ผลสัมฤทธิ์ในการสอน
สรุป • การให้เหตุผลแบบนิรนัย(Deduction)คือการนำข้อสรุปที่ได้แล้วไปใช้ในการหาข้อมูลย่อยๆ การให้เหตุผลแบบอุปนัย(Induction)คือการหาข้อมูลจากข้อมูลย่อยๆ แล้วนำไปสรุปเป็นกฎเพื่อนำไปใช้ต่อไป นิรนัย คือ ใหญ่ไปย่อยอุปนัย คือ ย่อยไปใหญ่
แบบทดสอบ • 1.ความหมายและแนวคิดวิธีสอนแบบ (Deduction)เป็นอย่างไร • 2.ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัยมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง • 3.ยกตัวอย่างการใช้เหตุผลแบบนิรนัยมาพอสังเขป • 4. ความหมายและแนวคิดวิธีสอนแบบ (Induction)เป็นอย่างไร • 5.สรุปเนื้อหาการให้เหตุผลแบบนิรนัยและอุปนัยตามความเข้ามาพอสังเขป
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ