1 / 16

Predation

Predation.

makya
Download Presentation

Predation

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Predation • เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประชากรที่เป็นผู้ล่า (predator) กับเหยื่อ (prey) โดยที่ผู้ล่าเองมีการพัฒนาการหรือปรับตัวหลายๆด้าน เพื่อให้การล่านั้นประสบความสำเร็จ เช่น มีกรงเล็บ เขี้ยว สารพิษ หรือเทคนิคที่ดีในการล่า ในขณะที่เหยื่อมีการปรับตัวเช่นกัน เพื่อให้สามารถหนีรอดจากการถูกล่า เช่น การวิ่งหรือกระโดดได้เร็วและไกล การมีเขาหรือขาที่แข็งแรง สำหรับต่อสู้ป้องกันตัว หรืออาจเป็นการร่วมมือกันต่อสู้กับผู้ล่า เช่นในรูป อีกา 2 ตัว กำลังร่วมมือกันโจมตีและขับไล่ นกแสก (barn owl) ซึ่งเป็นผู้ล่าไข่ และลูกนก ที่สำคัญ

  2. Predation งูกำลังล่ากวางเป็นอาหาร (Campbell.,1977)

  3. Parasitism • เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประชากรที่คล้ายกับ predation เนื่องจากมีฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ คือ host และอีกฝ่ายหนึ่งที่ได้รับประโยชน์ คือ paresite สำหรับตัว parasite อาจอยู่ในร่างกาย host (ectoparasites) เช่น เห็บ เหา เพลี้ย ยุง ความสัมพันธ์แบบนี้ก็เช่นกัน ต่างฝ่ายต่างพยายามปรับตัวโดย host พัฒนาสิ่งที่นำมาป้องกันตัว เช่น สร้างสารพิษ ซึ่งจะมีพิษต่อสัตว์กินพืช รวมทั้ง แบคทีเรียและรา ส่วน parasite มีการปรับตัวเช่นกันเพื่อให้สามารถอาศัยอยู่กับ host ได้ เช่น ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก กรณีที่อาศัยในร่างกาย host จะพัฒนาให้มีการเกาะยึด และทนต่อขบวนการขับออกของ host

  4. Parasitism ต้นฝอยทองเป็นปรสิตของพืชชนิดอื่นๆ

  5. กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคม • เป็นกระบวนการที่สังคมเดิม ค่อยๆถูกแทนที่ด้วยสังคมใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งสังคมนั้นพัฒนาไปเป็นสังคมสุดยอด หรือ climax community และแม้จะเป็นสังคมสุดยอดแล้วแต่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ถ้ามีอุปสรรค์หรือสิ่งรบกวนบางอย่างขึ้น เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม

  6. กระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ • 1. Primary successionเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกืดขึ้นในพื้นที่ที่ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ ยังไม่มีการสร้างและสะสมดินในสังคม ตัวอย่างเช่น เกาะที่เกิดภูเขาไฟระเบิด หรือเป็นแหล่งน้ำที่ว่างเปล่า • 2. Secondary successionเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เกิดขึ้นในสังคมที่กำลังมีการพัฒนา หรืออาจเป็นสังคมสุดยอดก็ได้ แต่เกิดมีสิ่งรบกวนหรือปัจจัยบางอย่าง เช่น ไฟไหม้ การตัดไม้ในป่า ทำให้สังคมเกิดการหยุดชะงักและโดยส่วนมากมีความอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลงจากเดิม จากนั้นสังคมจะเริ่มกระบวนการอีกครั้ง และครั้งนี้จะเรียกว่า seccondary succression

  7. ในการเริ่มทดแทนไม่ว่าจะเป็น primary หรือ secondary succression จะเริ่มมีสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่เรียกว่า ชนิดหรือกลุ่มบุกเบิก เข้ามาในสังคม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นกลุ่มที่สามารถเจริญได้ในสภาพแห้งแล้ง ขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ยังมีความสามารถสูงในการมีลูกหลาน ตัวอย่างเช่น แพลงค์ตอนพืช (phytoplanktion) ไลเคนส์ (lichens) หญ้า (grasses)

  8. สังคมแหล่งน้ำ แบ่งย่อยๆได้เป็น น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็มหรือน้ำทะเล โดยมีปัจจัยหลัก คือ ค่าความเค็ม หรือ salinity ในน้ำ ซึ่งจะผันแปรตั้งแต่ 0 จนถึง 35-36 ส่วนต่อพันส่วน (ppt หรือแทนด้วยสัญลักษณ์ %) สังคมน้ำจืด (freshwater biome) สังคมน้ำจืดแบ่งออกเป็น น้ำนิ่ง (lotic) และน้ำไหล (letic) โดยแบ่งกันที่สังคมน้ำไหล มีความเร็วของกระแสน้ำ 50 ซ.ม./วินาที ขึ้นไป ชนิดของสังคม Biome

  9. สังคมน้ำไหล (lotic biome) สังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมที่มีความลึกไม่มากนัก ฉะนั้นจึงมีแนวโน้มว่าในสังคมจะมีค่าปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ปริมาณแสง และอุณหภูมิ เท่าๆกันทั่วทั้งสังคม ความเร็วของกระแสน้ำ เป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อค่าอัตราการผลิต (productivity) ของสังคม กระแสน้ำยิ่งเร็วค่าอัตราการผลิตจะยิ่งต่ำ แหล่งสารอาหารแหล่งสารอาหารได้แก่ ต้นน้ำ และซากพืชที่ร่วงลงมาจากด้านข้างของสังคม

  10. พืชที่สำคัญ เป็นพวก สาหร่าย และแพลงก์ตอน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสังคมน้ำไหล ต้องมีการปรับตัวหลายด้านเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม เช่น ปลา ปู กุ้ง สามารถว่ายน้ำและทนกระแสน้ำได้ดี ผู้บริโภคที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งคือ ตัวอ่อนแมลงหลายชนิด ที่ปรับตัวมีลำตัวแบน มีอวัยวะเกาะยึด หรืออาศัยอยู่ใต้ก้อนหิน ในแหล่งน้ำ เช่น แมลงเกาะหิน ชีปะขาว และแมลงหนอนปลอกน้ำ

  11. สังคมน้ำนิ่ง (lentic biome) เป็นสังคมแหล่งน้ำที่รองรับน้ำ สารอาหาร และอื่นๆ จากน้ำไหล มีความลึกแตกต่างกันไป และจากความลึกของแหล่งน้ำนี่เอง ทำให้ปริมาณแสง ออกซิเจนละลาย และอุณหภูมิมีความแตกต่างกันตามระดับความลึก โดยมีแนวโน้มที่เหมือนกันคือ บริเวณผิวน้ำ และน้ำส่วนบน ค่าต่างๆมีค่าสูง และลดลงตามลำดับเมื่อน้ำลึกมากขึ้น น้ำส่วนบนเป็นบริเวณที่สำคัญของสังคมในการสร้างอัตราการผลิตจากกลุ่มผู้ผลิต เรียกว่า autothophic หรือ limnetic zone แตกต่างจากน้ำส่วนล่างซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภค เรียกว่า profunolal zone

  12. สังคมน้ำทะเล (narine biome) เป็นสังคมที่มีพื้นที่มากประมาณ 70 % ของผิวโลก ค่าความเค็ม (salinity) ประมาณ 35% ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ห่างจากผิว หรือ มีระดับน้ำลึกมากน้อยเพียงใด ค่าปริมาณแสง อุณหภูมิ และออกซิเจนละลายในน้ำ มีความแตกต่างกันตามระดับความลึก คล้ายในสังคมน้ำนิ่ง ในสังคมแบ่งเป็น บริเวณน้ำขึ้นน้ำลง (littoral zone) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพกายภาพ และชนิดสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ระหว่างน้ำขึ้นและน้ำลง ถัดไปเป็น บริเวณชายฝั่ง (neritc zone) ซึ่งมีความลึกไม่เกิน 200 เมตร

  13. สิ่งมีชีวิตที่พบในบริเวณนี้ ได้แก่ แพลงก์ตอนพืช และ สัตว์ ปลากินพืช ปลากินสัตว์ รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น หอย และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ บริเวณที่มีพื้นที่มากที่สุดในสังคมนี้คือ ทะเลเปิด (oceanic zone หรือ open sea) ซึ่งมีเนื้อที่ถึง 90% มีสายโซ่อาหารยาว โดยเริ่มตั้งแต่ แพลงก์ตอนพืชไปจนถึงสัตว์ที่พัฒนาสูงขึ้นไป คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บริเวณหนึ่งที่สำคัญมากของสังคมน้ำทะเล ก็คือ บริเวณแนวปะการัง (coral-reefs) ตามแนวชายฝั่ง หรือ รอบๆ เกาะ มีระดับน้ำไม่ลึกมากนัก แสงส่องถึงพื้นน้ำ อุณหภูมิน้ำประมาณ 20 องศาเซลเซียส บริเวณนี้จึงพบสิ่งมีชีวิตหลากชนิด ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

  14. ภาพสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง (Brewer . ,1994)

  15. สังคมน้ำกร่อย (estuary biome) น้ำกร่อยเป็นบริเวณเชื่อมต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำทะเล ค่าความเค็มผันแปร จาก 0- 35% จากปากแม่น้ำจนถึงทะเล เป็นแหล่งที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์จากการชะมาตามแม่น้ำผสมกับอาหารที่คลื่นซัดมาจากทะเล บริเวณนี้จึงเป็นสังคมที่มีค่าอัตราการผลิตสูง มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะจัดเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์วัยอ่อนหลายชนิด พวก กุ้ง หอย ปู ปลา

  16. ทุนดรา (tundra) เป็นสังคมที่พบในบริเวณที่หนาวเย็น ใกล้ขั้วโลก หรือ บนภูเขาสูง (alpinetundra) สังคมนี้ไม่มีต้นไม่ใหญ่ พื้นดินปกคลุมด้วยน้ำแข็งเกือบตลอดทั้งปี (permafrost) ยกเว้นในช่วง summer ที่น้ำแข็งที่ปกคลุมดินละลายลึกลงไปน้อยกว่า 1 เมตร ซึ่งเป็นช่วงสั่นๆ ประมาณ 100 วัน ที่สิ่งมีชีวิตจะมีการเจริญ อุณหภูมิในสังคม ช่วงที่อบอุ่นที่สุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สิ่งมีชีวิตที่พบได้แก่ lichens, mosses และไม้พุ่มขนาดเล็ก สำหรับสัตว์เช่น กระต่ายหิมะ แมวป่า สุนัขจิ้งจอก กวางเรนเดียร์ และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น แมลง สังคมบนบกแบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ ทุนดรา ทะเลทราย ทุ่งหญ้า และป่าไม้

More Related