1 / 70

Mutation

Mutation. การกลาย ( Mutation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลำดับเบสและจำนวนเบส ใน DNA และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับโครโมโซมซึ่งอาจมีผลทำให้ลักษณะฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไป และสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังรุ่นต่อๆไปได้

Download Presentation

Mutation

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Mutation การกลาย (Mutation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลำดับเบสและจำนวนเบส ใน DNA และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับโครโมโซมซึ่งอาจมีผลทำให้ลักษณะฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไป และสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังรุ่นต่อๆไปได้ มิวเทชันเฉพาะจุด (Point mutation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงลำดับเบสในสาย DNA มีผลทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม โดยอาจทำให้ลำดับและชนิดของกรดอะมิโนเปลี่ยนไป ทำให้สมบัติของโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ที่สังเคราะห์ขั้นแตกต่างไปจากเดิม เช่น เบสเปลี่ยนจากชนิดเดิมเป็นเบสชนิดอื่น นิวคลีโอไทด์ขาดหาย นิวคลีโอไทด์มีจำนวนเพิ่มขึ้น หรือลำดับเบสของนิวคลีโอไทด์เปลี่ยนแปลงไป

  2. Mutation

  3. ประเภทของ Point mutation 1. การแทนที่คู่เบส (base-pair substitution) = เป็นการแทนที่คู่เบสในบางตำแหน่งของยีน รูปแบบของฟีโนไทป์ที่ได้จากการกลาย ด้วยการแทนที่คู่เบส จะแบ่งเป็น 3 กรณี คือ ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางพันธุกรรม ถ้าลำดับเบสหรือรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ยังเป็นรหัสของกรดอะมิโนชนิดเดิม (กรดอะมิโนบางชนิดมีกำหนดด้วยรหัสหลายรหัส) ตัวอย่างเช่น รหัสของกรดอะมิโนลิวซีน จะประกอบไปด้วย CUU CUC CUA และ CUG หากเกิดการกลายเฉพาะจุดที่มีการเปลี่ยนรหัส CUC ไปเป็น CUG การกลายที่เกิดขึ้นจะไม่มีผลต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิต เพราะยังมีการสร้างสาย polypeptide ที่มีลำดับกรด อะมิโนเหมือนเดิม

  4. มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางพันธุกรรม ถ้าลำดับเบสหรือรหัสพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นรหัสของกรดอะมิโนต่างชนิดกันกับลำดับของรหัสกรดอะมิโนตัวเดิม ตัวอย่างเช่น ลำดับเบส GAG (รหัสพันธุกรรมของกรดอะมิโนกลูตามิก) เปลี่ยนเป็น UGU (รหัสพันธุกรรมของกรดอะมิโนวาลีน) จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับกรดอะมิโนในสาย polypeptide แตกต่างไปจากเดิม (ภาพอธิบายสไลด์ถัดไป) มีผลทำให้สาย polypeptide สั้นลง ถ้าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการแทนที่คู่เบสแล้วได้เป็นรหัสหยุดของการแปลรหัส ซึ่งการเกิดมิวเทชันในกรณีนี้ส่วนใหญ่จะได้โปรตีนที่ไม่สามารถทำงานได้

  5. ประเภทของ Point mutation 2. การเพิ่มขึ้นของ ( insertion) หรือการขาดหายไปของนิวคลีโอไทด์ ( deletion) การเกิดมิวเทชันนี้เป็นการที่มีการเพิ่มขึ้นของคู่นิวคลีโอไทด์ หรือการขาดหายไปของคู่ นิวคลีโอไทด์ในบางตำแหน่งของยีน การเกิดมิวเทชันในลักษณะนี้ 1-2 นิวคลีโอไทด์มักมีการเปลี่ยนแปลงในการทำงานพอลิเพปไทด์อย่างชัดเจน เนื่องจากการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของนิวคลีโอไทด์ในบริเวณที่เป็นโคดอน 1-2 นิวคลีโอไทด์จะมีผลทำให้ลำดับกรดอะมิโนตั้งแต่ตำแหน่งที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของโคดอนเปลี่ยนไปทั้งหมด เรียกการเกิดมิวเทชัน นี้ว่า เฟรมชิฟท์มิวเทชัน (frameshiftmutation)

  6. เฟรมชิฟท์มิวเทชัน (frameshiftmutation )

  7. Point mutation Frameshift mutation

  8. เปรียบเทียบการเกิดมิวเทชันแบบการแทนที่คู่เบสและเฟรมชิฟท์มิวเทชันเปรียบเทียบการเกิดมิวเทชันแบบการแทนที่คู่เบสและเฟรมชิฟท์มิวเทชัน

  9. มิวเทชันที่ทำให้เกิดลักษณะ สามารถถ่ายทอดต่อไปได้หรือไม่ ?????? มิวเทชันเกิดขั้นได้ทั้งกับเซลล์ร่างกาย และเซลล์สืบพันธุ์ ถ้ามิวเทชันเกิดขึ้นที่เซลล์สืบพันธุ์จะสามารถส่งต่อไปยังลูกหลานโดยตรง แต่ถ้าเกิดขึ้นกับเซลล์ร่างกาย ก็ขึ้นอยู่กับว่าเซลล์ร่างกายนั้นจะมีพัฒนาให้เกิดการสืบพันธุ์หรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเกิดมิวเทชันที่บริเวณเซลล์เนื้อเยื่อตาข้าง ซึ่งเป็นเซลล์ร่างกาย จะทำให้กิ่งที่เจริญขึ้นมีลักษณะต่างไปจากเดิม เมื่อนำกิ่งนั้นไปปักชำขยายพันธุ์ก็จะได้พืชที่มีลักษณะพันธุกรรมต่างไปจากเดิม สาเหตุการเกิดมิวเทชัน • เกิดขั้นตามธรรมชาติ แต่อัตราการเกิดต่ำมาก • การชักนำโดยมนุษย์ โดยใช้สิ่งก่อการกลาย หรือ มิวทาเจน (mutagen) ได้แก่ • รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา รังสี UV สารเคมี สารเคมี เช่น ควันบุหรี่ อะฟลาทอกซินจากเชื้อราในอาหาร

  10. มิวเทชันในระดับโครโมโซมมิวเทชันในระดับโครโมโซม ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งความผิดปกติดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 1. ความผิดปกติของออโตโซม (โครโมโซมร่างกาย) 2. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ

  11. ความผิดปกติของออโตโซมความผิดปกติของออโตโซม 1. ความผิดปกติที่จำนวนออโตโซม เป็นความผิดปกติที่จำนวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม ตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการดาวน์ กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด และ กลุ่มอาการพาเทา

  12. 1. กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome) เกิดจากความผิดปกติของ ออโตโซมโดยคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม เป็น 47 โครโมโซม มีลักษณะที่ผิดปกติ คือ รูปร่างเตี้ย ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ลิ้นโตคับปาก คอสั้นกว้าง นิ้วมือนิ้วเท้าสั้น ลายนิ้วมือผิดปกติ ดั้งจมูกแบน อาจมีหัวใจพิการแต่กำเนิด และปัญญาอ่อน อายุสั้น พ่อแม่ที่มีอายุมากมีโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะเป็นกลุ่มอาการดาวน์

  13. 1. กลุ่มอาการดาวน์ (Down's syndrome)

  14. 2. กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's syndrome) เกิดจากความผิดปกติของออโตโซมโดยคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ลักษณะที่ปรากฏจะมีลักษณะหัวเล็ก หน้าผากแบน คางเว้า หูผิดปกติ ตาเล็ก นิ้วมือบิดงอ และกำเข้าหากันแน่น หัวใจพิการ ปอดและระบบย่อยอาหารผิดปกติ มีลักษณะปัญญาอ่อนร่วมอยู่ด้วย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะเสียชีวิตก่อนอายุ 1 ขวบ

  15. 2. กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's syndrome)

  16. 2. กลุ่มอาการพาเทา (Patau syndrome) เกิดจากความผิดปกติของ ออโตโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม ลักษณะที่ปรากฏจะพบว่ามีอาการปัญญาอ่อน ปากแหว่ง เพดานโหว่ หูหนวก นิ้วเกิน ตาอาจพิการ หรือตาบอด ส่วนใหญ่อายุสั้นมาก

  17. ความผิดปกติของออโทโซมความผิดปกติของออโทโซม 2. ความผิดปกติที่รูปร่างของออโตโซม เป็นความผิดที่ออโตโซมบางโครโมโซมขาดหายไป แต่จำนวนโครโมโซมเท่ากับคนปกติ คือ 46 แท่ง ตัวอย่างความผิดปกติที่รูปร่างของออโทโซมขาดหายไปบางส่วน ตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการคริดูชาต์

  18. กลุ่มอาการคริดูชาต์ กลุ่มอาการคริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome) เกิดจากแขนโครโมโซมคู่ที่ 5 หายไป 1 โครโมโซม ลักษณะที่พบ คือ มีศีรษะเล็กกว่าปกติ หน้ากลม ใบหูต่ำกว่าปกติ ตาห่าง มีอาการปัญญาอ่อน ลักษณะที่เด่นชัดในกลุ่มอาการนี้คือ มีเสียงร้องแหลมเล็กคล้ายเสียงแมวร้อง จึงเรียกกลุ่มอาการนี้อีกอย่างหนึ่งว่า Cat-cry-syndrome

  19. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ส่วนใหญ่เกิดจากจำนวนโครโมโซมเพศ คือ โครโมโซม X หรือ โครโมโซม Y ขาดหายหรือเกินมาจากปกติ และยังถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลานอีกด้วย ความผิดปกติเช่นนี้ แบ่งได้ 2 แบบ คือ 1. ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X 2. ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y

  20. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม X มี 2 กรณี คือ 1.1โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซม 1.2 โครโมโซม X เกินมาจากปกติ

  21. 1.1 โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซม การที่โครโมโซม X ขาดหายไป 1 โครโมโซม มีผลทำให้เหลือโครโมโซม X เพียงแท่งเดียว และเหลือโครโมโซมในเซลล์ร่างกาย 45 แท่ง พบได้ในเพศหญิงเป็นแบบ 44+XOเรียกผู้ป่วยลักษณะนี้ว่า กลุ่มอาการเทอร์เนอร์(Turner's syndrome) ลักษณะของผู้ป่วย คือ ตัวเตี้ย คอมีพังผืดกางเป็นปีก แนวผมท้ายทอยอยู่ต่ำ หน้าอกกว้าง หัวนมเล็กและอยู่ห่างกัน ใบหูใหญ่อยู่ต่ำมีรูปร่างผิดปกติ แขนคอก รังไข่ ไม่เจริญ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมันมีอายุ ยืนยาวเท่าๆ กับคนปกติทั่วๆ ไป

  22. ภาพแสดงลักษณะกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ภาพแสดงลักษณะกลุ่มอาการเทอร์เนอร์

  23. 1.1 โครโมโซม X เกินมาจากปกติ 1.1.1 ในเพศหญิง โครโมโซมเพศ เป็น XXX หรือ XXXX จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47 โครโมโซม หรือ 48 โครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึงเป็นแบบ 44+XXX หรือ 44+XXXX เรียกผู้ป่วยที่เป็นแบบนี้ว่า ซูเปอร์ฟีเมล (Super female) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศหญิงทั่วไปดูปกติ สติปัญญาต่ำกว่าระดับปกติลูกที่เกิดมาจากแม่ที่มีโครโมโซมแบบนี้อาจมีความผิดปกติเช่นเดียวกับแม่ 1.1.2 ในเพศชาย โครโมโซมเพศเป็น XXY หรือ XXXY จึงทำให้มีโครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47 โครโมโซม หรือ 48 โครโมโซม ดังนั้นโครโมโซมจึงเป็นแบบ 44+XXY หรือ 44+XXXY เรียกผู้ป่วยแบบนี้ว่า กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter's syndrome) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศชายมีลักษณะคล้ายเพศหญิง สะโพกพาย หน้าอกโต จะสูงมากกว่าชายปกติ ลูกอัณฑะเล็ก ไม่มีอสุจิ จึงทำให้เป็นหมัน

  24. ภาพแสดงลักษณะ กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์

  25. ความผิดปกติของโครโมโซมเพศความผิดปกติของโครโมโซมเพศ ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y ความผิดปกติที่เกิดกับโครโมโซม Y โดยมี โครโมโซม Y เกินมาจากปกติ โครโมโซมเพศ จึงเป็นแบบ XYY จึงทำให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายเป็น 47 โครโมโซมเป็นแบบ 44+XYY เรียกผู้ป่วยที่เป็นแบบนี้ว่า ซูเปอร์เมน (Super men) ลักษณะของผู้ป่วยในเพศชายจะมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าปกติ มีอารมณ์ร้าย โมโหง่าย บางรายมีจิตใจปกติ และไม่เป็นหมัน

  26. 2. ความผิดปกติของยีน

  27. มิวเตชั่น (การกลายพันธุ์) อาจเกิดจาก : สารเคมี เช่น โซเดียมไนไตรท์ ยากำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงบางชนิด สารเสพติดบางชนิด โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท รังสี X รังสี UV หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจเกิดจาก การกลายพันธุ์ ถ้าเกิดกับ : เซลล์สืบพันธุ์ จะถ่ายทอดไปยังลูกหลาน : เซลล์ร่างกาย จะไม่ถ่ายทอดไปยังลูกหลาน

  28. โรคท้าวแสนปม โรคแคระ

  29. ลักษณะผิวเผือก

  30. ธาลัสซีเมีย -พบมากที่สุด เกิดจากยีนในออโตโซมผิดปกติ โรคนี้มีปริมาณฮีโมโกลบินน้อย ผู้ป่วยจะมีตับม้ามโต เพราะต้องสร้างเม็ดเลือดทดแทน มากกว่าปกติ และมีความต้านทานเชื้อมาเลเรียได้ดี

  31. โรคธาลัสซีเมีย

  32. ซิกเกิลเซลล์อะมีเนีย - เกิดจากจีนในออโตโซมผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงเปลี่ยนรูปจากกลมเป็นรูปเคียว แตกง่าย และมีปริมาณฮีโมโกลบินไม่สมดุล พบว่า ผู้ป่วยโรคนี้ต้านทานโรคมาเลเรียได้ดี

  33. โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์โรคโลหิตจางชนิดซิกเคิลเซลล์

  34. ฮันทิงตัน โคเรีย - เกิดจากยีนในออโตโซม ผิดปกติ อาการจะเริ่มในวัย 35-45 ปี โดยมีอาการความจำเสื่อม เดินเซ ไม่สามารถพูดหรืออ่านหนังสือได้ สุขภาพอ่อนแอติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย

  35. โรคฮีโมฟีเลีย - เกิดจากยีนบนโครโมโซม X ผิดปกติ ทำให้แผลมีเลือดไหลออกง่าย และแข็งตัวช้า

  36. ฮีโมฟีเลีย

  37. โรคตาบอดสี - เกิดจากยีนบนโครโมโซม X ผิดปกติ ส่วนใหญ่คนจะตาบอด สีแดง และ สีเขียว

  38. กำหนดให้ C - การเห็นสีตามปกติ ( ยีนเด่น ) c- อาการตาบอดสี ( ยีนด้อย ) สมมติว่า แม่มีลักษณะตาบอดสีแฝงอยู่ ( XCXc ) ส่วนพ่อมีตาปกติ ( XCY ) ดังนั้นลูกอาจมีจีโนไทป์เป็น 4 แบบ คือ

  39. พ่อ แม่ P XCY XCXc x XC XC XC Xc XCY XcY F1

  40. XCXCลูกสาวตาปกติ XCXcลูกสาวตาปกติแต่เป็นพาหะของตาบอดสี XCYลูกชายตาปกติ XcYลูกชายตาบอดสี

  41. การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่มีการแบ่งเซลล์แบบ Meiosis โดยจะเกิดขึ้นในระยะ • Anaphase I โฮโมโลกัสโครโมโซมไม่แยกออกจากกัน หรือ • Anaphase II โครมาทิดไม่แยกออกจากกัน ทำให้โครโมโซมเคลื่อนย้ายไปยังขั้วเดียวกันของเซลล์ เรียกกระบวนการนี้ว่า นอนดิสจังชัน (nondisjunction) เซลล์สืบพันธุ์ที่ได้จึงมีจำนวนโครโมโซมขาดหรือเกินมาจากจำนวนปกติ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ที่ผิดปกติ ปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ที่ปกติจากพ่อหรือแม่ ก็จะได้ไซโกตมีจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติไปด้วย

  42. การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมเป็นชุดจากจำนวนดิพลอยด์ สิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมมากกว่า 2 ชุด เรียกว่า พอลิพลอยด์ (polyploid) พบได้ทั้งในพืชและสัตว์ ส่วนใหญ่พบในพืช ทำให้พืชมีขนาดของดอกหรือผลใหญ่กว่าพวกดิพลอยด์ มีผลผลิต หรือ มีสารบางอย่างเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวโพดพันธุ์ 4n มีวิตามินสูงว่าพันธุ์ 2n เป็นต้น พืชที่เป็นพอลิพลอยด์เลขคู่ ได้แก่ 4n 6n 8n สามารถสืบพันธุ์และถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมต่อไปได้ พืชที่เป็นพอลิพลอยด์เลขคี่ ได้แก่ 3n 5n 7nมักเป็นหมัน จึงนำมาพัฒนาสายพันธุ์เป็นพืชไร้เมล็ด (เพราะการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในระยะโพรเฟส I จะต้องมีการเข้าคู่กันของฮอโมโลกัสโครโมโซม แต่พืชพอลิพลอยด์เลขคี่ มีบางโครโมโซมที่ไม่เป็นฮอโมโลกัสโครโมโซม จึงเข้าคู่กันไม่ได้ทำให้สร้างเซลล์สืบพันธุ์ไม่ได้ ) พอลีพลอยด์ในสัตว์มักจะส่งผลให้สัตว์ไม่มีชีวิตรอด พิการ หรือ อายุสั้น

  43. ใบกิจกรรม คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถาม และเขียนแผนผัง แสดงการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

  44. 1. ถ้าคุณหรือคู่ของคุณเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย คนใดคนหนึ่งและอีกคนมียีนแฝง ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ลูกคุณมีโอกาสเป็นโรคอย่างไร 2. ถ้าผู้หญิงเป็นพาหะของโรคตาบอดสี แต่งงานกับผู้ชายตาบอดสี จะมีโอกาสได้ลูกสาวตาบอดสีร้อยละเท่าไร 3. ถ้าฝ่ายชายเป็นโรคฮีโมฟีเลียและพ่อของฝ่ายชายก็เป็นโรคฮีโมฟีเลีย ฝ่ายหญิงปกติ แต่พ่อของฝ่ายหญิงเป็นโรคฮีโมฟีเลีย เมื่อชายหญิงคู่นี้แต่งงานกัน ปรากฏว่ามีลูกชายเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ที่เป็นเช่นนี้เพราะลูกชายได้รับยีนนี้โดยตรงมาจากใคร

More Related