180 likes | 417 Views
NR. ศักยภาพของแมลงปอในการกำจัดแมลงศัตรูพืช. Efficiency of dragonflies in Insects Pests Management. NR. แมลงปอ … คืออะไร?. แมลงปอจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ ไฟลัม Arthropoda ชั้น Insecta
E N D
NR. ศักยภาพของแมลงปอในการกำจัดแมลงศัตรูพืช Efficiency of dragonflies in Insects Pests Management
NR. แมลงปอ…คืออะไร? แมลงปอจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ ไฟลัม Arthropoda ชั้น Insecta อันดับ Odonata วงศ์ Libellulidae แมลงปอเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่และสีสันสวยงามมีเกือบทุกสี เช่น เหลือง แดง ม่วง ฟ้า เทา สีตะกั่วและสีโลหะสะท้อนแสง แมลงปอพบเห็นได้บ่อย ๆ มีบทบาทที่สำคัญมากในการควบคุมแมลงศัตรูข้าว เช่นเดียวกับแมลงปอที่บินอยู่ในไร่ฝ้าย ถั่วและข้าวโพด สามารถบินโฉบจับแมลงศัตรูพืชกินได้มากมาย แมลงปอจึงจัดเป็นแมลงตัวห้ำ (predator) แมลงปอหาง่ายและมีอยู่เกือบทุกหนทุกแห่งสามารถสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้พบเห็น และมีคุณประโยชน์สำหรับการควบคุมทางชีวภาพ นอกจากนั้นตัวอ่อนแมลงปอสามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำในธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
NR. แมลงปอในประเทศไทย แมลงปอในประเทศไทยมีทั้งหมด 268 ชนิด แบ่งออกเป็น 9 วงศ์ คือ • Calopterygidae มีสมาชิกทั้งหมด 31 ชนิด • Lestidae 14 • Coenagrionidae 70 • Gomphidae 41 • Aeshnidae 21 • Cordulegastridae 3 • Corduliidae 9 • Macromiidae 10 • Libellulidae 69
NR. กลุ่มของแมลงปอ แมลงปอเข็ม (Damselflies) รูปร่าง: ผอมบาง เล็กเรียว ตา: ยื่นออกมาทางด้านข้างมาก เหมือนหัวสัตว์ประหลาดพวกเอเลี่ยน ดูไม่กลมกลืนกับส่วนหัว ขณะเกาะ: หุบปีกสองข้างแนบติดกันอยู่บนหลัง ที่มา: (เกรียง, 2550)
NR. กลุ่มของแมลงปอ แมลงปอ (Dragonflies) รูปร่าง:กำยำ อ้วนใหญ่ สีเข้ม หัวโต ตา:ไม่ยื่นออกด้านข้าง ทำให้หัวดูกลมๆ ขณะเกาะ:กางปีกแผ่ออก ปีกสองคู่แยกจากกันชัดเจน ปีกคู่หลังใหญ่กว่าปีกคู่หน้า มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง บินเร็ว ที่มา: (เกรียง, 2550)
Life cycle 1. ระยะไข่ แมลงปอมักวางไข่ในช่วงที่มีแสงแดด มีไข่มากถึง 500-600 ฟอง โดยฝังไข่ตามเนื้อเยื่อพืชที่อยู่ในน้ำ ตามดินเลนในน้ำ ตามก้านพืชไม้น้ำหรือตามเศษไม้ที่ลอยอยู่ในน้ำ ใช้เวลาฟักตัวราว 3-7 วัน แต่บางชนิดอาจใช้เวลาฟักนานนับเดือน 2. ระยะตัวอ่อน ตัวอ่อนของแมลงปออยู่ในน้ำ เรียกว่า ไนแอด(naiad) หรือ นิ้ม(nymph) แมลงปอใช้เวลาอยู่ในน้ำนาน 2-3 เดือนหรือบางชนิดนานเป็นปี ตัวอ่อนเจริญโดยลอกคราบ 9-15 ครั้ง บางชนิด 16 ครั้ง 3. ระยะตัวเต็มวัย ตัวอ่อนของแมลงปอมักลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน ลักษณะของแมลงปอที่เพิ่งลอกคราบจะมีปีกสั้นนิดเดียว ลำตัวและปีกสีขาวซีด ต่อมาจะค่อยๆยืดยาวออกพร้อมๆกับส่วนของท้องจนยาวเต็มที่ โดยทั่วไปแมลงปอตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 30-45 วัน ที่มา: (พิสุทธิ์,2541)
จุดสังเกตเพศของแมลงปอจุดสังเกตเพศของแมลงปอ NR. รยางค์ปลายส่วนท้องในเพศผู้ รยางค์นี้จะอยู่ใกล้กันจนดูเหมือนเป็นรูปสามเหลี่ยม รยางค์นี้มีไว้ล็อกคอแมลงปอตัวเมียไม่ให้หนีไปไหนเวลาผสมพันธุ์ รยางค์นี้จะอยู่ห่างกันในเพศเมีย ที่มา: (นิรนาม, 2550)
สีสันที่เปลี่ยนไปของแมลงปอสีสันที่เปลี่ยนไปของแมลงปอ ตัวที่มีอายุอ่อนนั้นมักจะมีสีสดใสส่วนในตัวที่อายุมากสีจะเข้มขึ้น (เช่น เหลือง --> ส้ม ---> แดง, เหลือง --> น้ำตาล)ตัวผู้มักจะมีสีสันที่สวยงาม เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงสีเราจะเห็นได้ชัดเจนในตัวผู้ แต่สำหรับตัวเมียนั้นมักจะมีสีเหลืองและเมื่ออายุมากมักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเช่นเดียวกับสีปีกและเมื่อแก่มากแล้วสีลำตัวและท้องรวมถึงสีปีกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ที่มา: (นิรนาม, 2550)
การผสมพันธุ์ของแมลงปอการผสมพันธุ์ของแมลงปอ NR. การผสมพันธุ์เริ่มจากที่ตัวผู้ใช้แพนหางที่อยู่ปลายสุดของท้องจับตัวเมียที่บริเวณส่วนบนของอกปล้องแรกหรือส่วนหัวมักเกิดขณะกำลังบิน จากนั้นทั้งคู่จะเกาะติดไปด้วยกันเมื่อทั้งคู่เกาะติดไประยะหนึ่งตัวเมียจะค่อยๆงอส่วนปลาย ท้องเข้ามาเพื่อสัมผัสกับรูเปิดของตัวผู้ที่บริเวณปล้องท้องที่ 2 การถ่ายน้ำเชื้อใช้เวลาไม่กี่นาที ที่มา: (พิสุทธิ์,2541)
NR. อุปนิสัยของแมลงปอ แมลงปอเข้าจู่โจมเหยื่อได้อย่างรวดเร็วและเงียบเชียบ จึงได้รับฉายาว่า " เพชฌฆาตปีกสีรุ้งนักล่าแห่งเวหา" แมลงปอกินสัตว์อื่นเป็นอาหารจึงทำให้แมลงปอมีคุณสมบัติของการเป็นนักล่า คือ มีตาที่มีประสิทธิภาพ มากในการมองเห็น สามารถมองได้รอบทิศทางเป็นมุม 360 องศา มีพลังปีกที่แข็งแกร่งและมีกล้ามเนื้อช่วยในการบินที่แข็งแรงมาก ลักษณะการบินของแมลงปอมีผู้เปรียบว่าเหมือนกับการบินของเครื่องบินรวมกับเฮลิคอปเตอร์
NR. ถิ่นที่อยู่อาศัยของแมลงปอ แมลงปอส่วนมากชอบอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งตามบ่อ หนองบึงที่มีพืชน้ำขึ้นอยู่ทั่วไปบางครั้งอาจพบในแหล่งน้ำที่มีการไหลถ่ายเทของน้ำบ้างแต่เป็นการไหลเอื่อยๆส่วนแมลงปออีกพวกชอบอยู่ตามธารน้ำไหลที่มีน้ำใสค่อนข้างเย็นจึงพบตามธารน้ำตก ลำธารในป่า
NR. ศัตรูพืชที่มีรายงานว่าเป็นอาหารของแมลงปอ ศัตรูพืชในนาข้าวเช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนกอข้าว แมลงหล่า หนอนปลอก แมลงสิง แมลงบั่ว ซึ่งมีความสำคัญมากในนาข้าว เช่นเดียวกับแมลงปอในไร่ฝ้าย ถั่ว และข้าวโพด เป็นต้น ศัตรูพืชที่สำคัญเช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว ผีเสื้อหนอนกอ ผีเสื้อหนอนกระทู้ต่างๆ ยุง ริ้น แมลงเม่า แมลงวัน ผึ้ง แมลงตัวเล็กๆอื่นๆรวมทั้งแมลงปอด้วยกันเอง
ศักยภาพของแมลงปอในการกำจัดแมลงศัตรูพืช/วันศักยภาพของแมลงปอในการกำจัดแมลงศัตรูพืช/วัน ที่มา: (พิสุทธิ์,2541)
ผลกระทบที่มีต่อแมลงปอผลกระทบที่มีต่อแมลงปอ NR. ผลกระทบต่อระบบการปลูกพืชตระกูลถั่วและสารฆ่าแมลงในตัวห้ำพวก arthropod ใน Uganda และสาธารณรัฐประชาธิปไตยของ Congo • การทดลอง • Munyuli และคณะได้ทำการศึกษา • ใน Uganda และ DRC • ใน Uganda ทำการทดลองในช่วงฤดูฝนยาวระหว่างเดือนเมษายน 2002 –สิงหาคม 2003 และใน DRC ช่วงฝนยาวเดือนพฤศจิกายน 2002 – มีนาคม 2003 และฝนสั้น มีนาคม – มิถุนายน 2003 • ปลูกถั่ว 3 ระบบ คือ cowpea sole, cowpea sorghum และcowpea greengrum • สารฆ่าแมลงที่ใช้เป็นสารผสมระหว่าง dimethoate และ cypermethrin • ใช้สารระดับในการฉีดพ่น คือ ไม่ฉีดพ่น ฉีดพ่นที่ความเข้มข้น 0.5 (5 มิลลิลิตรของ cypermethrin + 12.5 มิลลิลิตร ของ dimethoate) และที่ความเข้มข้นสูงสุด (10 มิลลิลิตรของ cypermethrin + 25 มิลลิลิตร ของ dimethoate)
ผลการทดลอง ตารางแสดง ผลกระทบของระบบการปลูกพืชตระกูลถั่วและการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงต่อความหนาแน่นของประชากรตัวห้ำพวก arthropod ใน Uganda และสาธารณรัฐประชาธิปไตยของ Congo ระหว่างช่วงฝนยาวในเดือนตุลาคม 2002- เดือนมีนาคม 2003 ที่มา: Munyuli M.B.T. และคณะ (2006) ใน DRCและUganda ประชากรความหนาแน่นของตัวห้ำคือแมลงปอมีนัยสำคัญสูงสุดในระบบการปลูก cowpea/greengram ระหว่างช่วงฝนยาว
ตารางแสดง ผลกระทบของระบบการปลูกพืชตระกูลถั่วและการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงต่อความหนาแน่นของประชากรตัวห้ำพวก arthropod ใน Mulungu Agricultural Research Center และKivu D R Congo ช่วงฝนสั้นเดือนมีนาคม-มิถุนายน ปี 2003 ที่มา: Munyuli M.B.T. และคณะ (2006) ใน Uganda การใช้สารฆ่าแมลงมีนัยสำคัญ (P<0.05) คือผลกระทบของความหนาแน่นประชากรของทั้งหมดในการศึกษาตัวห้ำในการปลูกพืชตระกูลถั่วชนิดเดียว cowpea/greengram หรือ cowpea/sorghum ความหนาแน่นสูงสุดของตัวห้ำพบในแผนการทดลองที่ไม่มีการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงและต่ำที่สุดในแผนการทดลองซึ่งมีการใช้ความเข้มข้นสูงสุดมีผล100% ของการลดลงของตัวห้ำพวก arthropod และการใช้ความเข้มข้นครึ่งหนึ่งของสารฆ่าแมลงส่งผลให้มีการลดลงมากกว่า 60%ของประชากรตัวห้ำ
NR. สรุป จากการศึกษาศักยภาพของแมลงปอในการกำจัดแมลงศัตรูพืช/วันแมลงปอแต่ละชนิดมีศักยภาพที่แตกต่างกัน คือ Neurothemistullia tulliaและCrocothemis servilia servilia ตัวเต็มวัยกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ 1,200ตัว/วัน Pantala flavescens, Diplacodes trivialisและAgriocnemis pygmaea ตัวอ่อนกำจัดลูกน้ำยุงวัยที่3 ได้ตลอดชีวิต 2,000 ตัว, 97 ตัว/วันและ 31 ตัว/วัน ตามลำดับและจากการศึกษาผลกระทบที่มีต่อแมลงปอพบว่าเกิดจากการใช้สารฆ่าแมลงและระบบการปลูกพืชซึ่งทำให้ปริมาณของแมลงปอลดลงอย่างมากในธรรมชาติ
NR. โดย... นางสาวเนตรนภา อะเส็ม รหัส 4740121 อาจารย์ที่ปรึกษาสัมมนา รศ.ดร. สุรไกร เพิ่มคำ ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112 โทร. 074-286101-2