1 / 19

สอนสุขศึกษาเรื่อง ตะคริว( Muscle cramps )

สอนสุขศึกษาเรื่อง ตะคริว( Muscle cramps ). วันที่ 21 กันยายน 2554 สำนักพัฒนาวิชาการและนิเทศงาน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวสด ข่าวเด่น บ่ายนี้. พี่ช่วยน้องลงเล่นน้ำกลับเป็นตะคริวจมดับ .

lori
Download Presentation

สอนสุขศึกษาเรื่อง ตะคริว( Muscle cramps )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สอนสุขศึกษาเรื่อง ตะคริว(Muscle cramps) วันที่ 21 กันยายน 2554 สำนักพัฒนาวิชาการและนิเทศงาน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

  2. ข่าวสด ข่าวเด่น บ่ายนี้

  3. พี่ช่วยน้องลงเล่นน้ำกลับเป็นตะคริวจมดับ • เกิดเหตุเศร้าสลดที่ จ.ชุมพร พี่สาวลงไปช่วยน้องสาวในบ่อน้ำขนาดใหญ่ กลับเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิต • ชุมพร 20 เม.ย. - ตำรวจ สภ.ปะทิว จ.ชุมพร ประสานนักประดาน้ำและหน่วยกู้ภัยงมหาร่าง น.ส.ลลิตา พิมพิสาร อายุ 18 ปี ภายในบ่อน้ำขนาดใหญ่ บริเวณบ้านพักคนงานสวนยางพารา ต.สะพลี อ.เมือง นานกว่า 30 นาที ในที่สุดพบร่างจมอยู่ก้นบ่อลึกกว่า 2 เมตร • สอบสวนทราบว่า ผู้ตายและน้องสาว รวมญาติอีก 4 คน กำลังเล่นน้ำในบ่อ โดย ด.ญ.บี พิมพิสาร อายุ 11 ปี น้องสาวของผู้ตาย ได้เกาะลูกบอลลอยอยู่กลางบ่อ และไม่สามารถว่ายเข้าฝั่งได้ ผู้ตายจึงว่ายน้ำไปช่วย แต่เกิดเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิต แม้ญาติได้เรียกคนช่วย แต่ไม่ทัน

  4. เฒ่าวัย 76 ตกปลาเป็นตะคริวจมน้ำดับ • ชายชรา 5 คน ชวนกันไปตกปลา บริเวณหาดน้ำหนาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี แต่น้ำทะเลขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงพากันว่ายน้ำกลับฝั่ง แต่ชายวัย 76 ปี เป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิตตำรวจภูธรสัตหีบ จ.ชลบุรี ตรวจสอบศพนายลม่อม สินมงคล อายุ 76 ปี หลังจมน้ำเสียชีวิตบริเวณหาดน้ำหนาว ต.ช่องแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ก่อนส่งศพให้แพทย์โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 ชันสูตรหาสาเหตุการเสียชีวิตที่แท้จริง • จากการสอบสวนทราบว่า นายลม่อม พร้อมเพื่อนวัยเดียวกัน รวม 5 คน ชวนกันไปตกปลาบริเวณชายหาด แต่น้ำทะเลลดลง จึงออกไปตกปลาบนโขดหิน ห่างจากชายฝั่งประมาณ 100 เมตร จนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง น้ำทะเลขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงชวนกันว่ายน้ำกลับเข้าฝั่ง แต่นายลม่อมเป็นตะคริวจมน้ำเสียชีวิตต่อหน้าเพื่อนอีก 4 คน

  5. เบ็ดติดลงไปกู้ หนุ่มเคราะห์ร้ายเป็นตะคริวจมดับ • หนุ่ม อายุ 17 ปี นั่งตกปลา อ่างเก็บน้ำห้วยลานบ้านออนใต้ อ. สันกำแพง เชียงใหม่ เบ็ดติดรากไม้ ดำลงไปเอาออก โชคร้าย ตะคริวกิน จมน้ำดับ ญาติไม่ติดใจสาเหตุการเสียชีวิต…

  6. ตะคริว หมายถึง • อาการเกร็งตัว ทำให้มีอาการปวดและเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันและเป็นอยู่เพียงชั่วขณะก็ทุกเลาไปได้เอง อาจเกิดที่กล้ามเนื้อ ส่วนใดๆของร่างกายก็ได้ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้อน่องและต้นขา • อาจมีอาการขณะออกกำลังกาย ขณะเดิน ขณะนั่งพักหรือนอนพักก็ได้ บางรายอาจมีอาการตะคริวที่ขา ขณะนอนหลับตอนกลางคืนจนสะดุ้งตื่น เรียกว่าตะคริวตอนกลางคืน

  7. บางรายอาจเป็นตะคริวขณะออกกำลังกายหรือทำงานในที่ที่อาการร้อน เรียกว่า ตะคริวจากความร้อน • ตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก พบได้ในคนทุกวัย • ส่วนตะคริวที่ขา ตอนกลางคืนพบได้บ่อยในคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ

  8. สาเหตุ • ส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ส่วนน้อยที่ทราบสาเหตุ มักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินหรือจนล้า การออกกำลังกายที่ใช้แรงหรือติดต่อกันนานๆ หรือการออกกำลังกายหรือทำงานในที่ที่อากาศร้อน ภาวะขาดน้ำ(จากท้องเดินหรืออาเจียน) การยืน การนั่ง หรือทำงานอยู่ในท่าเดิมติดต่อกันนานๆ

  9. สาเหตุอื่นๆได้แก่ • ภาวะเกลือแร่ ในเลือดต่ำ เช่นโซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม • ภาวการณ์ตั้งครรภ์เนื่องจากระดับแคลเซียมในเลือดต่ำหรือการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่สะดวก • ภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายแข็ง เช่นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัดเป็นต้น อาจเป็นตะคริวที่ขาได้บ่อยขณะออกกำลังหรือเดินไกลหรือเดินนาน หรือขณะที่อากาศเย็นตอนดึก หรือเช้ามืดเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี

  10. รากประสาทถูกกด เช่นโรคโพรงกระดูกสันหลังแคบ มักมีอาการตะคริวที่น่องขณะเดินไกลหรือเดินนาน • การใช้ยาเช่น ยาขับปัสสาวะ • พบร่วมกับโรคหรือภาวะอื่น เช่นเบาหวาน โรคพาร์กินสัน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โลหิตจาง ภาวะขาดไทรอยด์ ภาวะขาดพาราไทรอยด์ ตับแข็ง ไตวาย

  11. อาการ • ผู้ป่วยรู้สึกกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง มีการแข็งตัวหรือปวดมาก เอามือคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้น การนวดและยึดกล้ามเนื้อส่วนนั้น จะช่วยให้ตะคริวหายเร็ว

  12. ภาวะแทรกซ้อน • ส่วนใหญ่มักเป็นชั่วขณะแล้วทุเลาไปได้เอง ไม่มีอันตรายร้ายแรง • หากเป็นติดต่อกันนานๆ ขณะเล่นกีฬาหรือว่ายน้ำ อาจทำให้หกล้มหรือจมน้ำได้

  13. การรักษา • 1.ขณะเป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ หรือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้ตึง • 2.ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนกลางคืนบ่อยๆ ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้น และยกขาสูง ใช้หมอนรอง จากเตียงประมาณ 10 ซม.(4นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียมแลกเทต กินวันละ 1-3 เม็ด

  14. 3.ถ้าเป็นตะคริวจากระดับโซเดียมในเลือดต่ำ เช่นเกิดจากท้องเดิน อาเจียน ออกกำลังหรือทำงานในที่ที่อากาศร้อน เหงื่อออกมาก ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าดื่มไม่ได้ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลทางหลอดเลือดดำ • 4.ถ้าเป็นหายๆบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนานๆ หรือขณะนอนหลับ ควรแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ

  15. การป้องกัน • 1.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป • 2.ป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว และควรดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนออกกำลังกาย • 3.ป้องกันการขาดโพแทสเซียม โดยการกินผลไม่เช่น กล้วย ส้ม เป็นประจำ หรือรายที่ใช้ยาขับปัสสาวะติดต่อกันนานๆ ควรเสริมด้วยยาโพแทสเซียมคลอไรด์ • 4.ดื่มน้ำผลไม้หรือสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ก่อนและระหว่างออกกำลังกายหรือทำงานในที่ที่อากาศร้อนหรือมีเหงื่อออกมาก

  16. ทำการบริหารยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกายทำการบริหารยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย • ผู้ที่เป็นตะคริวตอนกลางคืน ควรหลีเลี่ยงการออกกำลังกายตอนกลางคืน และก่อนนอนควรทำการบริหารยึดกล้ามเนื้อหรือขี่จักรยานนาน 2-3 นาที หรือกินยาป้องกันตามคำแนะนำของแพทย์

  17. ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดตะคริวปัจจัยกระตุ้นให้เกิดตะคริว • ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีสาเหตุ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดจากยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดไขมันในเลือด ยาลดความดันโลหิตบางชนิด เป็นต้น นอกจากนั้นโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคไตวาย โรคเบาหวาน โรคของต่อมธัยรอยด์ ซีด น้ำตาลในเลือดต่ำ โรคพาร์กินสัน ร่างกายขาดสารน้ำ และความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย ได้แก่ แมกนีเซียม แคลเซียม โปแตสเซียม ยังทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้ง่าย

  18. การทำงานมากๆ จนเมื่อยล้าหรือนั่งขดแขนขาอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ก็อาจทำให้เกิดตะคริวขึ้นได้เช่นกัน เพราะเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงแขนขาได้สะดวก • เรื่องของเกลือ เราท่านมีความเข้าใจผิดๆ กันอยู่มากในเรื่องเกี่ยวกับเกลือ มักเข้าใจว่า ถ้าใครเป็นตะคริว ต้องเป็นจากขาดเกลือ จึงได้เห็น การรักษาตะคริวโดยให้กินเกลือกันอย่างแพร่หลาย ความจริงที่มีผู้พิสูจน์แล้วคือ คนทั่วไปมักไม่ขาดเกลือ ออกจะมีเหลือเฟือ เสียด้วยซ้ำไป

  19. โปแตสเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายความร้อนที่เกิดขึ้น ในระหว่างการทำงาน เวลาวิ่งมีความร้อนเกิดขึ้นมากมาย มหาศาล โปแตสเซียม จึงถูกใช้งานหมดไปได้อย่างมาก • แมกนีเซี่ยม ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยประสานงานกับแคลเซี่ยม แม้จะไม่เสียไปมากอย่างโปแตสเซี่ยม แต่ก็ขาดไม่ได้ ดังนั้น แร่ธาตุ ที่เราควรให้ความสนใจ คือ โปแตสเซี่ยม เนื่องจากมีการเสียไปในระหว่างออกกำลัง จึงต้องกินเข้า ไปชดเชยกันอาหารที่อุดมด้วยโปแตสเซียม คือ ผลไม้ ถั่ว และผัก

More Related