1 / 72

Organi zational Health Dia gnosis

การวินิจฉัยสุขภาพขององค์กร. Organi zational Health Dia gnosis. ( Do it yourself ! ). ชนะ ผลิพัฒน์ กันยายน 2546. เอกสารอ้างอิง / List of References. Leading Change - Ciba Geigy Change Acceleration Process - General Electric How Risky is Your Company - Robert Simons

liesel
Download Presentation

Organi zational Health Dia gnosis

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวินิจฉัยสุขภาพขององค์กรการวินิจฉัยสุขภาพขององค์กร Organizational Health Diagnosis ( Do it yourself ! ) ชนะ ผลิพัฒน์ กันยายน 2546

  2. เอกสารอ้างอิง / List of References • Leading Change - Ciba Geigy • Change Acceleration Process - General Electric • How Risky is Your Company - Robert Simons • Execution : The Discipline of Getting Thing Done - Larry Bossidy & Ram Charan with Charles Burck

  3. Success brings profits , growth , and unbounded optimism . But it also has a way of blinding executives to the many organizational dangers that creep in at the same time . Prof. Robert Simons HARVARD BUSINESS REVIEW May - June 1999

  4. ORGANIZATIONALRISKS ในช่วงที่การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จ ทุกอย่างดูดีไปหมด รายได้ดี กำไรเพิ่ม : จ้างคนใหม่ , ขยายงาน , มีช่องทางเติบโตฯลฯ ปัจจุบัน สว่างไสว อนาคตโชติช่วง ! - สวมแว่นกันแดดกรองแสง เตรียมพร้อมสำหรับความผิดหวัง ซึ่งอาจไม่ได้มาจากภายนอก เช่น กฎหมาย หรือ การแข่งขัน แต่อาจเกิดขึ้นภายในองค์กรเองสิ่งที่ควรระวังคือ“ ความเสี่ยง ”ซึ่งอาจจะกำลังคืบคลานเข้ามา หรือ กำลังเพิ่มสูงขึ้น - ความเสี่ยงไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป องค์กรต้องมีความกล้าเสี่ยง เพื่อความเจริญก้าวหน้าและการเติบโต

  5. ความเสี่ยงต่อร่างกาย ( Physical )ความเสี่ยงต่อ โรคหัวใจ โรคทางเดินอาหาร โรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง ฯลฯ ความเสี่ยงต่อจิตใจ ( Mental )ความเสี่ยงต่อ โรคประสาท โรคจิต โรคเครียด ฯลฯ ความเสี่ยงจากภายนอก ( External Risk )การขยายตัวอย่างรวดเร็ว การลงทุนที่ไม่เหมาะสมกับความพร้อมขององค์กร ขาดความสามารถในการแข่งขัน ฯลฯ ความเสี่ยงจากภายใน ( Organizational Risk )การเลือกปฏิบัติ การแข่งขันกันเองภายใน การประเมินผล การสื่อสาร ฯลฯ สุขภาพ ( HEALTH ) คน และ องค์กร

  6. ความเสี่ยง การแข่งขัน คุณภาพสินค้า และ บริการ องค์กร ราคา องค์กร การขยายตัว การแข่งขัน การวัดผล ความรู้ความสามารถ

  7. Organizational Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นภายในองค์กรมีสาเหตุมากมาย หลากหลาย ในองค์กรทั่วๆไปโดยเฉพาะที่เป็น Business Unit Organization สามารถจัดกลุ่ม สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสี่ยงได้เป็น 3 กลุ่ม : 1. เนื่องจากการเจริญเติบโตขององค์กร ( Risk due to Growth ) 2. เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร ( Risk due to Organization Culture ) 3. เนื่องจากการบริหารจัดการด้านสารสนเทศ ( Risk due to Information Management )

  8. HUMAN & ORGANIZATION HEALTH HOSPITAL HUMAN HEALTH RISK HEALTH DIAGNOSIS HEALTH RISK HEALTH CARE HEALTHY ORGANIZATIONAL HEALTH RISK HOW CAN WE DIAGNOSE AND ELIMINATE OUR ORGANIZATIONAL RISK ?

  9. “ How much internal risk is hiding within our organization ? ” HOW CAN WE DIAGNOSE AND ELIMINATE OUR ORGANIZATIONAL RISK ? Consult a professional or Do it yourself !

  10. Risk Exposure Calculator Professor Robert Simons ได้คิดค้น และ จัดทำ Risk Exposure Calculator ( REC ) ขึ้นเป็นเครื่องมือ สำหรับใช้ตรวจสอบสถานการณ์ภายในองค์กรเพื่อค้นหา สาเหตุของความเสี่ยงโดยแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข เชิงเปรียบเทียบให้เห็นภาพความเสี่ยงด้านต่างๆในองค์กร “ How much internal risk is hiding within your company ? Use the risk exposure calculator to find out . ”

  11. THE RISK EXPOSURE CALCULATOR ( REC ) Growth = Pressure for performance Inexperience of key employees + + Rate of expansion 3 - 15 Score 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 Culture Rewards for entrepreneurial risk taking Executive resistance to bad news = Level of internal competition 3 - 15 + + Score 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 Information mgt Transaction complexity & velocity Gaps in diagnostic performance measures Degree of decentralized decision making = 3 - 15 + + Score 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 = 9 - 45 TOTAL SCORE

  12. THE RISK EXPOSURE CALCULATOR ( REC ) RECเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งใช้สำหรับวัดโอกาสความเป็นไปได้ขององค์กรที่จะเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา อุปสรรคอันอาจส่งผลให้เกิดความล้มเหลวภายในองค์กร : - REC ใช้งานได้อย่างง่ายๆไม่ซับซ้อน โดยผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้ที่เปิดใจยอมรับความเป็นจริงขององค์กร โดยเพียงให้คะแนนระดับของความกดดันที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านต่างๆที่กำหนด เช่น Pressure due to Growth , Culture and Information ตามลำดับ - เริ่มต้นจากการให้คะแนนความกดดันน้อย คะแนนเท่ากับ 1 ไปสู่ความกดดันที่มากขึ้นก็ให้คะแนนสูงขึ้นๆ จนสูงสุดเท่ากับ 5 - รวมคะแนนที่ให้ในแต่ละด้านจนครบถ้วน แล้วรวมยอดคะแนน เป็นคะแนนรวมขององค์กร - นำคะแนนรวมขององค์กรที่ได้มาไปประเมินสถานะความเสี่ยงขององค์กรตามช่วงตารางคะแนนที่กำหนด

  13. THE RISK EXPOSURE CALCULATOR ( REC )ช่วงตารางคะแนนเพื่อประเมินสถานะความเสี่ยงจากคะแนนรวมที่ประเมินได้ • ช่วงคะแนน 9 - 20 :The Safety Zoneองค์กรที่ได้รับคะแนนประเมินต่ำระดับนี้จัดว่าปลอดจากความผิดพลาดบกพร่องหรืออุบัติการณ์ที่อาจทำให้เกิดเสียหายจากภายใน อย่างไรก็ตามการที่คะแนนประเมินอยู่ในระดับต่ำเช่นนี้ ผู้บริหารจำเป็นต้องทบทวนอีกครั้ง • ช่วงคะแนน 21 - 34 :The Caution Zoneองค์กรส่วนมากจะได้รับคะแนนประเมินในระดับกลางนี้ ผู้บริหารควรจะเป็นห่วงและให้ความสนใจในด้านที่มีคะแนนประเมินสูงซึ่งอาจมีหนึ่งหรือสองด้าน โดยศึกษาวิเคราะห์เฉพาะด้านเพื่อป้องกัน / แก้ไข • ช่วงคะแนน 35 - 45 :The Danger Zoneองค์กรที่ได้รับคะแนนประเมินระดับสูงเช่นนี้จำต้องทำการแก้ไขความกดดันที่ทำให้เกิดความเสี่ยงอย่างรวดเร็วฉับพลัน เพื่อการป้องกันมิให้เกิดความหายนะต่อองค์กร

  14. ผู้บริหารสามารถใช้Risk Exposure Calculatorในการประเมินความเสี่ยงภายในองค์กรได้โดย : • 1. มอบหมายให้ผู้บริหารหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านต่างๆในองค์กรใช้ REC ทำการประเมินความเสี่ยงแล้วนำคะแนนที่ได้มาทำการเปรียบเทียบ ซึ่งมักจะพบว่าผู้บริหาร หรือ พนักงานระดับสูงจะตื่นตัวต่อความเสี่ยงน้อยกว่าระดับล่าง และ ยังพบว่าในบางหน่วยงานประเมินว่าองค์กรมีความเสี่ยงสูงมากกว่าหน่วยงานส่วนใหญ่ซึ่งผู้บริหารควรให้ความสนใจศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างนั้น • 2.ผู้บริหารทำการประเมินให้คะแนนและคำนวณด้วยตัวเอง แล้วทำการเปรียบเทียบกับผลการประเมินในช่วง 24 เดือน หรือ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ที่ผ่านมา ซึ่งผลที่ได้จะเห็นภาพรวมของแนวโน้มการเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ของความเสี่ยงองค์กร ( Risk Trajectory ) ในด้านต่างๆ

  15. 1. ความเสี่ยงเนื่องจากการเจริญเติบโตขององค์กร ระหว่างที่องค์กรมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วผู้บริหาร มักไฝ่ฝันถึงเป้าหมายและผลงานที่สวยงาม การเพิ่มยอดขาย การทำกำไร สูงๆ ผู้ที่สามารถบรรลุได้ หรือ หากทำได้ดีกว่า จะได้รับการยกย่อง ปูนบำเหน็จ ส่วนผู้มีผลงานตรงข้าม จะถูกละเลย หรือ แม้กระทั่งอาจถูกลงโทษ ความกดดันอันเนื่องจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วขององค์กร อันเป็นสาเหตุให้เกิดความเสี่ยงภายในองค์กรนั้น มี 3 ด้าน

  16. ความเสี่ยงอันเนื่องจากการเจริญเติบโตขององค์กร( ต่อ ) 1.1 ความกดดันที่เกิดจากผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการที่เหมาะสมจะทำให้เกิดผลในทางบวกต่อ นโยบาย กลยุทธ์ และ เป้าหมาย เช่น พนักงานถูกกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ๆ การสร้างสรร ในทางตรงข้ามพนักงานอาจเปลี่ยนไปทำในสิ่งซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อผลงานของตัวเอง แต่ส่งผลเสียหายต่อองค์กร เช่น ยอมรับลูกค้าที่มีเครดิตระดับต่ำ เพื่อยกระดับยอดขายของตน หากได้รับความกดดันสูงขึ้นอีกพนักงานอาจถึงขั้นยอมประพฤติผิดเพื่อยกระดับผลงานของตนเองก็ได้

  17. กรณีศึกษา 1.1 - ความกดดันที่เกิดจากผลดำเนินงาน • 1997 CUC International เป็นบริษัทรับลูกค้าเป็นสมาชิก • CUC บริการให้ส่วนลดแก่สมาชิกที่ ซื้อสินค้าประเภทเครื่องใช้ในบ้าน อะไหล่รถยนต์ หรือ ซื้อบริการ การเดินทาง การรับประทานอาหาร ฯลฯ • เป้าหมายหลักที่ CUC เน้น คือ ผลการดำเนินงาน ด้าน รายได้ การเติบโตของผลกำไร • ผลดำเนินงาน ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายตลอดมา มีชื่อเสียงในตลาดหลักทรัพย์ • ต่อมา CUC รวมกิจการกับ HFS ( ยักษ์ใหญ่เจ้าของ Franchise ; Ramada Hotels , Coldwell Banker Real Estate , Avis etc. ) เป็นบริษัท Cendant จึงถูกค้นพบว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ CUC นั้นไม่ได้ประสบความสำเร็จจริงดังรายงาน เนื่องจากถูกจัดทำตกแต่งและรายงานผลกำไรเกินจากความเป็นจริงไปถึง 500 ล้านเหรียญ โดยพนักงานในบริษัทย่อย และ สาขา ต่างๆ รวม 22 แห่ง • เมื่อถูกสอบสวนพนักงานเหล่านั้นเปิดเผยว่าจำเป็นต้องทำเนื่องจากได้รับการกดดันจากผู้บริหาร เพื่อ ให้บริษัทมีตัวเลขผลดำเนินงานที่ดีตามที่ได้รับคาดหวังใน Wall Street

  18. การวัดความเสี่ยงอันเกิดจากความกดดันจากผลดำเนินงาน :ผู้บริหารสามารถวัดและประเมินระดับความเสี่ยงนี้ได้โดยการ ตอบคำถาม เหล่านี้ • ค่าเป้าหมาย ( Goals and Targets ) ผู้บริหารเป็นผู้กำหนดโดยที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีส่วนร่วม ? • ผลตอบแทน ( Variable Pay ) อันเกิดจากผลงานเป็นสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับค่าตอบแทนโดยรวม ? • ผู้บริหารให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับผู้มีผลปฏิบัติงานดีเด่น ( Star Performers )สูงกว่าพนักงานอื่น ? • ผู้ลงทุนในตลาดทุน ( Investors ) / สถาบันการเงิน ให้เครดิตและความเชื่อมั่นต่อผลประกอบการขององค์กรสูง ? ถ้าคำตอบของทุกคำถามคือ “ ใช่ ” คะแนนของระดับความเสี่ยงอันเกิด จากความกดดันเนื่องจากการวัดผลงานของพนักงานก็อยู่ในระดับสูง !

  19. ความเสี่ยงอันเนื่องจากการเจริญเติบโตขององค์กร ( ต่อ ) 1.2 ความกดดันอันเกิดจากการขยายงาน การเจริญเติบโตทางธุรกิจย่อมส่งผลให้เกิดการขยายตัวขององค์กรในด้านต่างๆ เช่น โรงงาน สายการผลิต เครื่องจักร ช่องทางการจำหน่าย ใหม่ๆ ฯลฯ เหล่านี้ หากไม่ได้รับการวางแผน หรือการบริหารจัดการทรัพยากร และ โครงสร้าง ขององค์กร อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะทำให้เกิดการสะสมตัวของภาระกิจมากขึ้นๆจนเกินความสามารถรับได้ของพนักงาน ( Overloaded ) ซึ่งในที่สุดจะส่งผลให้คุณภาพของสินค้าหรือบริการ ตลอดจน คุณภาพงานภายในองค์กร ลดน้อยด้อยลง

  20. กรณีศึกษา 1.2- ความกดดันอันเกิดจากการขยายงาน • American Express ยึดถือนโยบายให้ลูกค้าชำระหนี้คงค้างทั้งหมดภายในงวดเดือนนั้นๆ • 1987 ผู้บริหารตัดสินใจขยายขอบเขตงานเชิงรุกโดยจัดตั้ง บริษัท franchise ออกบัตรเครดิตใหม่ “ Optima Card ” ซึ่งมีนโยบาย ให้ลูกค้าค้างชำระผูกพัน ( Roll Over ) ได้โดยคิดค้าใช้จ่ายทางการเงิน ( Financial Charges ) เท่านั้น • Optima Card ประสบความสำเร็จรวดเร็วไประยะหนึ่ง • ผู้บริหาร Optima Card ซึ่งขาดประสบการณ์ในด้านการตลาดสินเชื่อผู้บริโภค ตัดสินใจผิดพลาดในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายทางการเงิน ส่งผลให้ เกิดหนี้สูญ มากกว่า 150 ล้านเหรียญ และ เสียชื่อเสียงในวงการธุรกิจบริการเดินทางท่องเที่ยวไปเป็นเวลานาน

  21. การวัดความเสี่ยงอันเกิดจากความกดดันจากการขยายงาน : ผู้บริหารอาจสามารถวัดและประเมินความเสี่ยงโดย ตอบคำถาม นี้ “ การขยายงานเป็นไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าความสามารถของ องค์กรในการลงทุนใน ด้านบุคลากร และ ด้านเทคโนโลยี ? ” ถ้าคำตอบคือ “ ใช่ ” คะแนนประเมินความเสี่ยงก็อยู่ในระดับสูง !

  22. ความเสี่ยงเนื่องจากการเจริญเติบโตขององค์กร( ต่อ ) 1. 3 ความกดดันที่เกิดจาก ความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ของพนักงานไม่เหมาะสมในภาวะเจริญเติบโต จะเกิดการจ้างงานพนักงานใหม่ๆเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ผู้บริหารอาจ ยกเว้น หรือ ลด ความเข้มงวดกวดขัน ความ ความพิถีพิถัน ในการรับพนักงานเข้าทำงาน หรือ ขาดการให้การฝึกอบรมแก่พนักงานที่มีอยู่ ส่งผลให้พนักงานบางส่วนขาดความรู้ และ ทักษะ หรือ แม้กระทั่งความเข้าใจ ในงานของตนเองปฏิบัติอยู่

  23. กรณีศึกษา 1. 3- ความกดดันที่เกิดจากความรู้ความสามารถ และ ประสบการณ์ ของพนักงานไม่เหมาะสม • ช่วงปลายทศวรรษ 1980 ต้น 1990 Nordstrom ซึ่งเป็นบริษัทขายปลีกสินค้าแฟชั่นที่มีชื่อเสียง และ มีภาพพจน์ที่ดีในด้านความยุติธรรมในการบริหารจัดการบุคคล ได้ขยายกิจการโดยเพิ่มร้านค้าปลีกทั่วสหรัฐ และ จ้างผู้จัดการร้านใหม่จำนวนมากมาบริหาร • ผู้จัดการจำนวนหนึ่งได้บีบบังคับให้พนักงานรายงานเวลาปฏิบัติงานให้น้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อพยายามจะให้บรรลุเป้าหมายยอดขายต่อชั่วโมง ( Sales per hour quotas ) • Nordstrom ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และ ถูกรัฐบาลเพ่งเล็งการปฏิบัติที่ขัดต่อระเบียบและกฏหมายแรงงาน ส่งผลให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและภาพพจน์การยอมรับของสังคม

  24. การวัดความเสี่ยงอันเกิดจากความรู้ ความสามารถ และ ประสบการณ์ ของพนักงานไม่เหมาะสม :ผู้บริหารสามารถวัดและประเมินระดับความเสี่ยงนี้ได้โดยการ ตอบคำถาม เหล่านี้ • มีตำแหน่งงานจำนวนมากในองค์กรที่ใช้พนักงานใหม่ ( อายุงานในองค์กร น้อยกว่า 12 เดือน หรือ น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ) ? • ในช่วงเวลา ( 6 หรือ 12 เดือน ) ที่ผ่านมา Customer complaints ด้านสินค้า หรือ บริการ มากขึ้น เมื่อเทียบกับอดีต ? • อัตราการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดอย่างไม่น่าจะเป็นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสถิติที่ผ่านมา ? ถ้าคำตอบของทุกคำถามคือ “ ใช่ ” คะแนนของระดับความเสี่ยงอันเกิด เนื่องจากการความสามารถพนักงานไม่เหมาะสมก็อยู่ในระดับสูง !

  25. 2. ความเสี่ยงเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร องค์กรธุรกิจจะไม่สามารถอยู่รอดหรือเจริญเติบโตได้ หากวัฒนธรรมองค์กรไม่เอื้ออำนวย หรือ สนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ทำการขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงการดำเนินงาน ความก้าวหน้าใหม่ๆ และ ความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้แล้ว การประสบความสำเร็จอาจทำให้เกิดความกล้าต่อการเสี่ยงจากการที่มีความเชื่อมั่นสูง ทำให้ความหละหลวมในด้านต่างๆเกิดมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงต่อ ทรัพย์สิน และ ความน่าเชื่อถือ ขององค์กรสูงตามไปด้วยเช่นกัน ความกดดันอันเป็นสาเหตุของความเสี่ยงเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร มี 3 ด้าน

  26. วั ฒ น ธ ร ร ม อ ง ค์ ก ร ( Organizational Culture ) ความเชื่อ และ พฤติกรรม ( Soft Stuff ) บุ ค ล า ก ร ( S o f t w a r e ) องค์กร โครงสร้าง และ กลยุทธ์ ( Hard Stuff ) โ ค ร ง ส ร้ า ง ( H a r d w a r e ) “ ความเชื่อ ( Belief ) ว่าการปฏิบัติที่ทำอยู่นั้นเป็นความถูกต้องและยอมรับกันในองค์กร ย่อมทำให้บุคลากรมีการประพฤติ ( Behave ) เช่นนั้นอย่าง สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เป็นประจำ จนเป็นพฤติกรรม ( Behavior )ของบุคลากร และ เมื่อบุคลากรทั้งหมด หรือ ส่วนมากใน องค์กรมีพฤติกรรมไปในแนวทางเดียวกันแล้ว ก็ถือเป็นพฤติกรรมขององค์กร ( Organizational Behavior ) และเมื่อองค์กรมีพฤติกรรมเช่นนั้นอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง พฤติกรรมนั้นก็กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ( Organizational Culture )ในที่สุด ”

  27. Organization วั ฒ น ธ ร ร ม อ ง ค์ ก ร Hard Stuff ( Organizational Culture ) Soft Stuff ปฏิบัติ ผู้นำ ออกแบบ บรรจุ/แต่งตั้ง กำหนด ผู้บริหาร หน้าที่ , กฎ/ระเบียบนโยบาย ,กลยุทธ์ อำนาจดำเนินการ ฯลฯ โครงสร้างองค์กร , ผังบริหารองค์กร ปฏิบัติ วัฒนธรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร ปฏิบัติ พนักงาน/บุคลากร

  28. เมื่อค้นพบว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ผู้นำองค์กรต้องยอมรับและตระหนักว่า สิ่งที่เป็น นามธรรม ( Soft Stuff ) คือ ความเชื่อและพฤติกรรมขององค์กร มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า สิ่งที่เป็นรูปธรรม ( Hard Stuff ) คือ โครงสร้างองค์กร นั่นก็คือ แม้ว่า Hardware ( โครงสร้าง และกลยุทธ์ ) จะได้รับการคิดค้น จัดทำ และ พัฒนา ให้ดีอย่างไรก็ตามจะไร้ประโยชน์ ถ้าหากว่าองค์กร ยังขาด Software( ความเชื่อและพฤติกรรม ) ที่ถูกต้อง เหมาะสมกับองค์กร และ มีประสิทธิภาพ ” “ วัฒนธรรมองค์กร คือ พฤติกรรมผู้นำนั่นเอง ดังนั้น การจะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ก็โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้นำองค์กร ” Larry Bossidy & Ram Charan with Charles Burck ; Execution : The Discipline of Getting Things Done จากการประชุมคณะรัฐมนตรี 17 ธันวาคม 2545 : นายกรัฐมนตรีแนะนำให้ ครม.และ ผู้บริหาร อ่านหนังสือ Execution : The Discipline of Getting Done โดย LarryBossidy & Ram Charan with Charles Burck

  29. พฤติกรรมผู้นำและบุคลากร กับ คำพังเพยไทย ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น มะเกลือ - สุพรรณบุรี ลูกปูย่อมเดินตามแม่ปู ปูม้า - สมุทรสาคร ปลูกต้นอะไรก็ได้ผลอย่างนั้น จัน - จันทบุรี

  30. ความเสี่ยงอันเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร ( ต่อ ) 2.1 ความกดดันที่เกิดจากการปูนบำเหน็จความคิดและการทำสิ่งใหม่ในการดำเนินธุรกิจ อันที่จริงความคิดสร้างสรร และ การนำไปดำเนินการ นั้น เป็นสิ่งถูกต้องและมีค่าในการดำเนินธุรกิจ แต่ การปูนบำเหน็จ การให้รางวัล หรือ ผลตอบแทน ที่มี จำนวน ปริมาณ และ ความถี่ มากขึ้นๆ นั้น ย่อมทำให้เกิดความกดดันที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นด้วย

  31. กรณีศึกษา 2.1 - ความกดดันที่เกิดจากการปูนบำเหน็จความคิดและการทำสิ่งใหม่ในการดำเนินธุรกิจ • ในต้นทศวรรษ 1990 Bankers Trust Company ธนาคารพานิชย์ ( Commercial Bank )ที่มีประวัติการดำเนินธุรกิจตามแบบฉบับธนาคารพานิชย์มาตรฐานมาเป็นเวลายาวนาน ได้ปรับรูปแบบธุรกิจเป็น ธนาคารเพื่อการลงทุน ( Investment Bank ) ที่มีนโยบายส่งเสริมผลักดันให้เกิดการทำธุรกรรมแบบใหม่ๆ เพื่อ ดึงดูดลูกค้า เพิ่มการสร้างรายได้และกำไร • ผู้บริหารการค้าและผู้จัดการธนาคารไดัรับส่งเสริมผลักดันให้คิดค้นและนำเสนอแบบการทำธุรกรรมใหม่ๆต่อลูกค้าอย่างรวดเร็วและได้รับการปูนบำเหน็จ รางวัล ฯลฯ มากมาย • 1993 BTC สามารถทำกำไร กว่า 1,000 ล้านเหรียญ จากรายได้กว่า 4,700 ล้านเหรียญ • 1995 BTC ถูกฟ้องร้องโดยลูกค้าหลายราย รวมทั้ง Proctor & Gamble ในประเด็นไม่เปิดเผย หรือ ชี้แจง ความเสี่ยงของแผนธุรกรรมใหม่ๆของ BTC ต่อลูกค้า • ผล : BTC เสียค่าปรับกว่า 250 ล้านเหรียญ นอกจากนี้ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายอื่นๆอีกด้วย • CEO และ ผู้บริหารระดับสูงของ BTC หลายคนถูกไล่ออก

  32. การวัดความเสี่ยงจากความกดดันในการปูนบำเหน็จความคิดและการทำสิ่งใหม่ผู้บริหารสามารถวัดและประเมินระดับความเสี่ยงนี้ได้โดยการ ตอบคำถาม เหล่านี้ • จำนวนของผลิตภัณฑ์ และ บริการใหม่ๆที่เกิดขึ้นมีจำนวนหรือสัดส่วนเพิ่มขึ้นๆในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ? • มีการสนับสนุน การกระตุ้น การจูงใจ ให้พนักงานคิดและทำสิ่งใหม่โดยมีการให้รางวัล ปูนบำเหน็จ ในด้านต่างๆมากขึ้น ? • อัตราความล้มเหลวหรือการไม่ประสบความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ และ บริการใหม่ๆทวีสูงขึ้น ? ถ้าคำตอบของทุกคำถามคือ “ ใช่ ” คะแนนของระดับความเสี่ยงอันเกิด เนื่องจากการปูนบำเหน็จความคิดและการทำสิ่งใหม่ๆก็อยู่ในระดับสูง !

  33. ความเสี่ยงอันเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร ( ต่อ ) 2.2 ความกดดันที่เกิดจากผู้บริหารปฎิเสธการรับฟังปัญหาผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหารธุรกิจ มักจะมีความสุขและพึงพอใจกับการห้อมล้อมด้วยพนักงานที่แสดงความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จของตน โดยละเลยปฎิเสธพนักงานที่แสดงความคิดเห็นแตกต่าง หรือ นำเสนอ ปัญหา อุปสรรค ขององค์กร ซึ่งอาจถึงกับจัดให้เป็นพนักงานประเภทที่ไม่ร่วมมือ หรือ ไม่สามารถทำงานเป็นทีมอีกด้วย ทั้งๆที่พนักงานเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นพนักงานที่มีการติดต่อสัมผัสกับ พนักงานระดับล่าง ลูกค้า และ suppliers ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สามารถรับทราบ หรือ รู้สึก สัมผัส แนวโน้ม และ สัญญาณ เตือนความเสี่ยงที่อาจกำลังเกิดขึ้น เป็นกลุ่มแรกๆ

  34. กรณีศึกษา 2.2 - ความกดดันจากการที่ผู้บริหาร ปฏิเสธการรับฟังปัญหา • CEO ของ Kmart Joseph Antonini ซึ่งได้รับการกล่าวขานยอมรับว่าเป็นผู้ที่นิยมชมชอบการถูกห้อมล้อมด้วยบุคคลที่จะไม่แสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับความเห็นของเขา ทำให้ผู้จัดการสาขา และ แผนกต่างๆ ขาดความกล้า ความเชื่อมั่น และ ลังเล ที่จะรายงานปัญหา อุปสรรค ของธุรกิจ • ตรงกันข้าม Sam Walton CEO ของ Wal - mart ซึ่งกำลังเป็นคู่แข่งพุ่งแรงที่น่ากลัวของ Kmart เป็นคนอยากรู้อยากรับฟังปัญหา และ พร้อมที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจังและรวดเร็ว • 1995 ผู้ถือหุ้น และ คณะกรรมการ Kmart ได้ลงมติไล่ Antonini ออก • นอกจาก Kmart แล้ว เรื่องทำนองเดียวกันนี้ในอดีตเคยเกิดขึ้นในบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น IBM และ GE เป็นต้น

  35. การวัดความเสี่ยงจากความกดดันเนื่องจากผู้บริหารปฎิเสธการรับฟังปัญหาผู้บริหารสามารถวัดและประเมินระดับความเสี่ยงนี้ได้โดยการ ตอบคำถาม เหล่านี้ • ผู้บริหารได้รับทราบเรื่องที่แสดงว่าผลการดำเนินงานขององค์กร หรือ การบริหารงาน เป็นไปในทางลบ หรือ มีปัญหาอุปสรรค เกิดขึ้น บ้างหรือไม่ และ มีความถี่เพียงใด ? • พนักงานที่ใกล้ชิด ( Direct Subordinate ) เป็นพวกขานรับ ( Yes Men )กับ คำสั่ง และ ความคิดเห็น ของผู้บริหารเป็นส่วนใหญ่ ? ถ้าคำตอบของถามแรกคือ “ มี ” คะแนนของระดับความเสี่ยงนี้ก็อยู่ในระดับต่ำ ถ้าคำตอบคำถามที่สองคือ “ ใช่ ” คะแนนของระดับความเสี่ยงนี้ก็อยู่ในระดับสูง

  36. In cultures where the philosophy is “ the boss knows best ” , many learn not to speak out about such risk . Robert Simons ; “ How Risky is Your Company ” Havard Business Review 1999

  37. ความเสี่ยงอันเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กร ( ต่อ ) 2.3 ความกดดันที่เกิดจากการแข่งขันภายในองค์กร ในหลายองค์กร พนักงานเชื่อว่าตัวเองกำลังอยู่ในลู่วิ่งสนามแข่งม้าโดยมีเพื่อนร่วมงานแข่งกันสู่เส้นชัย รางวัลก็คือ การได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ฯลฯ ความเชื่อหรือความเข้าใจเช่นนี้เกิดจากผู้บริหารเป็นผู้กระตุ้นและจัดให้เกิดการแข่งขันโดยความตั้งใจหรือไม่ก็ตามเพื่อให้เกิดความพยายามในการบรรลุผลงานองค์กร เมื่อการแข่งขันเกิดขึ้นอาจจะส่งผลลบต่อองค์กร เช่น เหตุการณ์ที่เกิดได้ง่ายเป็นอันดับต้นๆ คือ การขาดความร่วมมือด้าน Information sharing ต่อมาก็อาจตามมาด้วยการบริหารงานเพื่อให้ส่งผลสำเร็จรวดเร็วในระยะสั้นๆ ( Short - term performance ) ต่อๆไปอาจถึงขั้นใช้ทรัพย์สิน ( Assets ) หรือ แม้แต่ชื่อเสียงองค์กร ( Reputation ) เป็นเดิมพันก็เป็นได้

  38. กรณีศึกษา 2. 3 - ความกดดันที่เกิดจากการแข่งขันภายในองค์กร • ในปี 1995 Nick Leeson ผู้บริหารคนหนึ่งของ Baring Bank ในสหรัฐอเมริกา ได้บริหารจัดการธุรกิจอย่างหนึ่งของ Baring Bank ซึ่งในระยะแรกดูจะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วและทำกำไรสูงเป็นพิเศษ • เพื่อให้ผลงานได้รับการยอมรับ และ ได้รับการปูนบำเหน็จ จากBaring Bank Nick Leeson ได้พยายาม กลบเกลื่อน ปกปิด และ บิดเบือน ตัวเลข และ ข้อมูล ทางบัญชีและการเงิน ของธุรกิจที่เขาดำเนินการที่อาจจะทำให้ผลงานของตัวเขาเองด้อยลง • เวลาผ่านไปเมื่อฝุ่นจางลงการกระทำของ Leeson ทำให้ Baring Bankซึ่งเป็นสถาบันการเงินอันมีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา มา กว่า 200 ปีต้องถึงกับเสื่อมเสียชื่อเสียงและการยอมรับในสังคมและแวดวงธุรกิจ • Nick Leeson ถูก Baring Bank ฟ้องร้องคดีฉ้อโกง และ ถูกลงโทษจำคุก

  39. การวัดความเสี่ยงจากความกดดันเนื่องจากการแข่งขันภายในองค์กรผู้บริหารสามารถวัดและประเมินระดับความเสี่ยงนี้ได้โดยการ ตอบคำถาม เหล่านี้ • มีการบริหารหรือการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการแข่งขันภายในหรือไม่ ? • มีการวัดและประเมินผล โดยการเปรียบเทียบและการจัดอันดับพนักงาน ( Ranking ) ? • มีบรรยากาศการจัดการบุคคลากรแบบ Up - or - Out หรือไม่ ? ถ้าคำตอบของทุกคำถามคือ “ ใช่ ” จัดได้ว่าความเสี่ยงในด้านนี้อยู่ในระดับสูง

  40. 3. ความเสี่ยงเนื่องจากการบริหารระบบข้อมูลและรายงาน การบริหารจัดการข้อมูลและรายงานในองค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ ทำให้ เกิดข้อมูล และ การรายงาน ที่เต็มไปด้วยความ ยุ่งยากซับซ้อน ( High Complexity ) มีจำนวนและปริมาณมาก ( High Volume ) แต่ ล่าช้า ( Low Velocity ) ผู้บริหาร และ พนักงาน ที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูล และ รายงาน เพื่อ การบริหารงาน และ การตัดสินใจ ต้องประสบกับการขาดความมั่นใจ และ ล่าช้าในการบริหารและการตัดสินใจ ความเสี่ยงในการดำเนินงานขององค์กรจึงเกิดขึ้นและเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

  41. ความเสี่ยงอันเนื่องจากการบริหารระบบข้อมูลและรายงาน ( ต่อ ) 3.1 ความกดดันอันเนื่องจากความยุ่งยากซับซ้อน ปริมาณ และ ความล่าช้า ของ ข้อมูลและรายงาน เพิ่มมากขึ้น ในช่วงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนั้นทุกอย่างสวยงามและดูดีไปหมด ผู้บริหารมักจะปล่อยให้ระบบหรือกระบวนการข้อมูลและรายงานเป็นไปเช่นที่มันเป็นอยู่โดยไม่ได้รับการพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอเหมาะสมทันกับความต้องการของธุรกิจนอกจากนี้ยังเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่ต้องการที่จะไปขุดค้นเสาะหาความผิดพลาดบกพร่อง หรือ แก้ไขปรับปรุงเรื่องเล็กๆน้อยๆในยามที่ทุกอย่างดูโชติช่วงชัชวาลย์อยู่แล้ว

  42. กรณีศึกษา 3.1 - ความกดดันเนื่องจาก ความยุ่งยากซับซ้อน ปริมาณ ความล่าช้า ของ ข้อมูลและรายงาน • ต้นทศวรรษ 1990 บริษัท Metallgesellschaft Refining & Marketing ( MGRM ) อันเป็นบริษัทอเมริกัน-เยอรมัน ได้ทำสัญญาขายน้ำมันราคาคงที่ระยะยาว และขณะเดียวกันได้ทำสัญญาซื้อน้ำมันระยะสั้นล่วงหน้าใน New York Mercantile Exchange เพื่อป้องกันการผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก • 1993 ราคาน้ำมันตกต่ำอย่างรวดเร็ว ทำให้ MGRM ต้องจ่ายส่วนต่างที่ขาดทุนจากการทำสัญญาดังกล่าว กว่าเดือนละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐ • ผู้จัดการในบริษัทแม่ในประเทศเยอรมันนี ได้รับรู้สัญญาณอันตรายและลงความเห็นว่าเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อ MGRM • คณะกรรมการในบริษัทแม่กล่าวหาว่าผู้จัดการบริษัทในสหรัฐหละหลวมต่อการควบคุมดูแล • ผู้จัดการบริษัทในสหรัฐกล่าวหาว่าผู้จัดการและคณะกรรมการไม่เข้าใจสถานการณ์ และ ประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นสูงเกินไป • เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่าเป็นความผิดของใคร แต่การขาดข้อมูลและรายงานที่เหมาะสมในการบริหารงาน ทำให้ MGRM มีหนี้ต้องชำระถึง 1,000 เหรียญ และในที่สุดก็ล้มละลาย

  43. การวัดความเสี่ยงจากความกดดันเนื่องจากการบริหารระบบข้อมูลและรายงานผู้บริหารสามารถวัดและประเมินระดับความเสี่ยงนี้ได้โดยการ ตอบคำถาม เหล่านี้ • มีความยากลำบากในการหาข้อมูลและรายงานเพื่อใช้บริหารงาน ? • ข้อมูลและรายงานที่ใช้ไม่ทันสมัยเหมาะสมกับเวลาหรือสถานการณ์ ? • ข้อมูลและรายงานที่ใช้งานไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนดไว้ ? • ข้อมูลและรายงานที่เหมาะสมและเพียงพอไม่ได้รับการกระจายไปสู่พนักงานที่รับผิดชอบหน่วยงานต่างๆ ? ถ้าคำตอบของทุกคำถามคือ “ ใช่ ” คะแนนความเสี่ยงในด้านนี้ก็อยู่ในระดับสูง !

  44. Most managers understand the relationship between risk and reward . But a second relationship is equally important : the relationship between risk and awareness. “ Taking risks is not itself a problem - but ignorance of the potential consequences is an entirely different matter . ” Robert Simons

  45. กรณีศึกษา: ความเสี่ยงอันเกิดจากความ กดดันด้านต่างๆภายในองค์กร • Kidder Peabody เป็นบริษัทซึ่ง GE เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ • ทำธุรกิจให้บริการทางการเงิน สินค้าหรือบริการ คือ รูปแบบ และวิธีการ ในการทำธุรกรรมด้านการเงินหลากหลาย • ก่อนที่ GE จะเข้ามาซื้อหุ้นและมีบทบาทในต้นทศวรรษ 1990 ผลการดำเนินกิจการของ KP ก็เริ่มมีปัญหาอยู่บ้างแล้ว

  46. กรณีศึกษา: ความเสี่ยงอันเกิดจากความ กดดันทุกด้านภายในองค์กร ความกดดันจากการเจริญเติบโตขององค์กร ( Growth ) • ความกดดันจากผลดำเนินงานของ KP เกิดจากความคาดหวังของนักเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆที่จดทะเบียนในตลาด และ ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเมื่อ GE ได้เข้าไปซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของ KP ในต้นทศวรรษ 1990 • หลังจาก GE เข้าไปถือหุ้นใหญ่ GE Capital ได้ทุ่มเงินทุนมหาศาลเพื่อเร่งรัดให้มีการขยายงานอย่างรวดเร็วอีกด้วย • GE ส่งผู้จัดการจำนวนมากซึ่งมีประสบการณ์บริหารอุตสาหกรรมใน GE แต่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจบริการด้านการเงินเข้าไปควบคุมดูแลเกือบทุกหน่วยงานใน KP รวมทั้ง Joseph Jett ผู้จัดการระดับล่างใน GE

  47. กรณีศึกษา: ความเสี่ยงอันเกิดจากความ กดดันทุกด้านภายในองค์กร ความกดดันจากวัฒนธรรมองค์กร ( Culture ) • ผู้บริหารระดับสูงทั้งของ GE และ KP ได้สร้างและผลักดันบรรยากาศการปูนบำเหน็จรางวัลแก่ผู้คิดทำเรื่องใหม่ๆ Jett ผู้ซึ่งต่อมาถูกพบว่าเป็นผู้ทำบัญชีหลอกลวงให้ตัวเลขกำไรทางบัญชีสูงกว่าความจริง ได้รับยกย่องเป็น Man of the year และ ได้รับ Bonus สูงถึง 9 ล้านเหรียญ ในปี 1994 • ผู้ที่ใกล้ชิดกับการทำงานของ Jett ต่างก็แปลกใจและสงสัยในผลงานของเขา แต่บรรยากาศที่ผู้บริหารไม่รับฟังปัญหาอุปสรรค ทุกคนจึงนิ่งเงียบ • มีการแข่งขันกันสูงมาก ระหว่าง ผู้จัดการ ผู้บริหาร และ ผู้ค้าธุรกรรม ภายใน KP เพื่อให้ได้รับการยอมรับ การเลื่อนตำแหน่ง และ Bonus

  48. กรณีศึกษา: ความเสี่ยงอันเกิดจากความ กดดันทุกด้านภายในองค์กร ความกดดันจากการบริหารข้อมูลและรายงาน ( Information Mgt. ) • รายงานทางบัญชี ธุรกรรม มีปริมาณมากขึ้น และ ล่าช้าลง เมื่อ Jett ได้ทำการออกคำสั่งซื้อขายพันธบัตร หลักทรัพย์ ฯลฯ นับพันล้านเหรียญ • ผู้จัดการ ผู้บริหาร ไม่ได้สอบสวนค้นหาความจริงและเหตุผลในรายงานบัญชี และ การทำธุรกรรมที่ผิดปกติ ต่อมาคนเหล่านี้ถูกกล่าวหาว่าละเลยบกพร่องต่อหน้าที่ • การตรวจสอบวิเคราะห์ผลงานของKP ผิดพลาดและไม่สมบูรณ์ • ขาดระบบรายงานเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ ส่วนที่มีอยู่ก็ถูกละเลย ไม่ได้ใช้งานให้มีประสิทธิผลอย่างจริงจัง • นอกจาก Jett แล้ว KP ยังได้กระจายอำนาจการตัดสินใจในเรื่องสำคัญไปสู่ระดับล่างหลายคนโดยขาดการควบคุมดูแลอย่างทั่วถึงและใกล้ชิด

  49. กรณีศึกษา: สรุปผลที่เกิดขึ้นต่อองค์กรจากความเสี่ยงอัน เกิดจากความกดดันด้านต่างๆภายในองค์กร • 1994 KP ประสบกับหายนะเมื่อถูกตรวจสอบและพบว่า มีการปรับแต่งบัญชีการเงินจนมีกำไร ( False Profit ) สะสมถึง 350 ล้านเหรียญ • GE ตัดสินใจสละ KP และ ทรัพย์สินทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

  50. How can we manage the risks ?

More Related