700 likes | 911 Views
ความเป็นพลเมือง สัญชาติ Citizenship, Nationality. ควรให้การรักษาพยาบาลแก่คนพม่าที่เจ็บป่วยบริเวณชายแดน แล้วเข้ามาในโรงพยาบาลของไทยหรือไม่ ถ้าควร ด้วยเหตุผลอะไร ถ้าไม่ควร ด้วยเหตุผลอะไร. ถ้าจำนวนขนาดนี้ล่ะ ?. โรฮิงญา คือ ใคร ?.
E N D
ความเป็นพลเมือง สัญชาติCitizenship, Nationality
ควรให้การรักษาพยาบาลแก่คนพม่าที่เจ็บป่วยบริเวณชายแดน แล้วเข้ามาในโรงพยาบาลของไทยหรือไม่ • ถ้าควร ด้วยเหตุผลอะไร • ถ้าไม่ควร ด้วยเหตุผลอะไร
โรฮิงญา คือ ใคร? • โรฮิงญา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศพม่า อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศ • เดิมชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ในบังคลาเทศ แต่ถูกอังกฤษกวาดต้อนมาเพื่อใช้แรงงานและการสงคราม • บางส่วนเป็นชาวอาหรับที่เดินทางมาค้าขายในรัฐอาระกันเดิม
โรฮิงญาเข้ามาทำไม? • ต่อมามีความปั่นป่วนรุนแรงมากขึ้นในรัฐยะไข่ และปานปลายจนรัฐไม่สามารถควบคุมได้ (ในความรู้สึกของชาวโรฮิงญา) • ร่วมๆ กับความยากจนข้นแค้นในรัฐยะไข่ (เช่นเดียวกับ คนไทใหญ่ ฯลฯ) • โรฮิงญาเหล่านี้จึงพยายามทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้นด้วยการอพยพ • และกลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ในที่สุด
ควรจะปฏิบัติต่อชาวโรฮิงยาอย่างไรควรจะปฏิบัติต่อชาวโรฮิงยาอย่างไร • ควรรับเขาไว้และให้การเลี้ยงดู เปิดโอกาสให้ทำงานเสมือนพลเมืองไทย • หรือควรผลักดันเขาออกไปจากผืนแผ่นดินไทย เพราะไม่ได้เป็นพลเมืองไทย
เพราะเหตุใดเราจึงรู้สึกว่าควรปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้แตกต่างไปจาก “คนไทย” ด้วยกันเอง
มิติในทางสังคม การถือสัญชาติเดียวกันทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน คนกลุ่มเดียวกัน • เช่น นักกีฬาทีมชาติ แม้อาจมีความแตกต่างอย่างมาก แต่ก็รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน
Zinadine Zidane • ชาวฝรั่งเศส เกิดในครอบครัวชาวแอลจีเรียอพยพ
มิติในทางกฎหมาย การเป็นคนสัญชาติเดียวกันจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ และมีหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน • เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณสุข การศึกษา การเสียภาษี การได้รับความคุ้มกันจากกระบวนการยุติธรรม การมีสิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ
สิทธิทางการเมืองกับสัญชาติสิทธิทางการเมืองกับสัญชาติ
First Amendment • Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble,and to petition the Government for a redress of grievances.
สิทธิทางการเมือง-สิทธิพลเมือง-สัญชาติสิทธิทางการเมือง-สิทธิพลเมือง-สัญชาติ • English musician John Lennon's transformation to a rallying anti-war activist striving for world peace during the late 1960s and early 1970s. • The United States government under President Richard Nixon to silence him. • and the FBI put Lennon under surveillance. The Immigration and Naturalization Service tried to deport him
การเป็นพลเมืองของรัฐสมัยใหม่การเป็นพลเมืองของรัฐสมัยใหม่ • สัญชาติ (Nationality) และเชื้อชาติ (Race) • เชื้อชาติ คือ ลักษณะทางพันธุกรรมหรือทางวัฒนธรรมของผู้คน • สัญชาติ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐสมัยใหม่
ความเข้าใจที่คับแคบบางประการความเข้าใจที่คับแคบบางประการ • ในแต่ละรัฐ จะมีพลเมืองที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันทั่วทั้งรัฐ หรือมีความพยายามจะทำให้คนภายในรัฐมีลักษณะที่เหมือนกัน • แต่ในความเป็นจริงแต่ละรัฐ มีพลเมืองที่มีเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก
หลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการได้สัญชาติหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการได้สัญชาติ • การได้สัญชาติโดยการเกิด • การได้สัญชาติภายหลังการเกิด
การได้สัญชาติโดยการเกิดมีการได้สัญชาติโดยการเกิดมี • การได้สัญชาติโดยหลักดินแดน <jus soli> • การได้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิต <jus sanquinis>
การได้สัญชาติโดยหลักดินแดนการได้สัญชาติโดยหลักดินแดน • บุคคลที่กำเนิดขึ้นในดินแดนของรัฐใด ก็ควรมีสิทธิได้สัญชาติของรัฐนั้น • ถือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับดินแดน
แต่อาจมีข้อยกเว้นบางประการแต่อาจมีข้อยกเว้นบางประการ • การเข้าเมืองในลักษณะชั่วคราวหรือเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย • ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ • เรียนหนังสือ ท่องเที่ยว • หลบหนีเข้าเมือง
การได้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิตการได้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิต • บุคคลที่ถือกำเนิดขึ้นจากพ่อแม่ที่มีสัญชาติใดก็ควรจะต้องได้สัญชาตินั้น • เป็นการถ่ายทอดสัญชาติผ่านทางสายเลือด
การได้สัญชาติภายหลังการเกิดการได้สัญชาติภายหลังการเกิด • การได้สัญชาติโดยการสมรส ถือหลักความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของครอบครัว • การได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ ถือหลักความผสมกลมกลืนของบุคคลกับสังคมนั้นๆ • การได้สัญชาติเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจรัฐ เป็นความจำเป็นของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักกฎหมายว่าด้วยการเสียสัญชาติหลักกฎหมายว่าด้วยการเสียสัญชาติ • การเสียสัญชาติด้วยการแสดงเจตนาของเอกชน • เช่น การสละสัญชาติ • การเสียสัญชาติด้วยการแสดงเจตนาของรัฐ • เช่น การถูกถอนสัญชาติ
กฎหมายสัญชาติในสังคมไทย กฎหมายสัญชาติในสังคมไทย
ชาติไทย – คนไทย • “คนไทย” คืออะไร? • ชื่อชนชาติไทยมาจาก คำว่า “สยาม” • “สยาม” คืออะไร? เมืองยิ้ม? • สยามเป็นชื่อชนชาติ ตรงกับคำว่า “เสียม” ในภาษาขอม • ตรงกับคำว่า “ชาน” (ฉาน) • ตรงกับคำว่า “เสียน” ในภาษาจีน ฯลฯ • สยาม/ศยาม เป็นชื่อของชนชาติ “เสียม” ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภาคใน/นอกประเทศไทย
เสียมกุก (ชาวเสียมที่แม่น้ำกก)
“คนไทย” • “คนชาติไทนก็คือเกิดเปนไทย เกิดในหมู่ชนที่เรียกนามตัวเองว่าไทย” • น่าจะเกิดขึ้นช่วงรัชกาลที่ 4-5 แต่เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่ชนชั้นนำ • เพราะขาดกลไกอย่างการศึกษาและการพิมพ์ • เหตุที่น่าจะเป็นช่วงรัชกาลที่ 4 เพราะช่วงนั้นเกิดสนธิสัญญาเบาวริ่ง • ทำให้จำเป็นต้องคิดวิธีการจัดการปัญหาต่างๆ ใหม่ ตาม “คนชาติ” อื่นๆ • เช่น คนในบังคับอังกฤษ คนในบังคับฝรั่งเศส ฯลฯ • คนจีน คนแขก คนญี่ปุ่น ที่อยู่ในบังคับ ฯลฯ
สัญญาเบาริ่ง • สัญญาที่สยามทำกับอังกฤษ • สาระสำคัญเป็นเรื่องวิธีการค้าขายเป็นการค้าเสรี • คนในบังคับอังกฤษจะอยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของกงสุลอังกฤษ • คนในบังคับอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าขายอย่างเสรีในเมืองท่า • สามารถพำนักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นการถาวรได้ ภายในอาณาเขตสี่ไมล์ แต่ไม่เกินกำลังเรือแจวเดินทางในยี่สิบสี่ชั่วโมง • คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์
ผลหลังสนธิสัญญาเบาริ่งผลหลังสนธิสัญญาเบาริ่ง • “เมื่อทำหนังสือสัญญาแล้ว มีฝรั่งเข้ามาค้าขายมากขึ้นโดยลำดับ และมีกงสุลเข้ามาตั้งคอยหนุ่นฝรั่งพวกของตน...และความลำบากซึ่งมิได้เคยมีมาแต่ก่อนเกิดขึ้นต่างๆ” • “จะว่าราชการบ้านเมืองในสมัยนั้นก็ลำบากด้วยฝรั่งเข้ามามีอำนาจกว่าแต่ก่อน” • การตั้งชุมชนของคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษ พวกเขาได้รับสิทธิพิเศษทั้งทางกฎหมาย การค้า และการถือครองที่ดิน การได้รับประโยชน์ของคนเหล่านี้ทำให้เกิดการตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพฯต่อมา
การเปลี่ยนแปลงในเชิงกายภาพ อันเกี่ยวเนื่องจากการตั้งถิ่นฐานและการสร้างชุมชน โดยเฉพาะบริเวณตอนใต้ของกรุงเทพฯ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เกิดจากการสร้างถนนและตึกแถวจำนวนมาก • ชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษมีส่วนร่วมในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจภาครัฐและเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ • การตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษและคนในบังคับ ได้ก่อให้เกิดการบริหารจัดการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในกรุงเทพฯ • มาลินี คุ้มสุภา, “การเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ พ.ศ.2398-2452: ผลกระทบจากการตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษและคนในบังคับ” วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (ไทยศึกษา), 2554.
พลังของสัญญาเบาริ่ง • สัญญาเบาริ่ง ในมิติปัจจุบัน คือ “สนธิสัญญาระหว่างประเทศ” • อันเป็นที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ • ตามมาตรา 38 ของธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ “ศาลซึ่งมีหน้าที่พิจารณาพิพากษากรณีพิพาทที่มาสู่ศาลตามกฎหมายระหว่างประเทศจะต้องใช้” • สนธิสัญญา, จารีตประเพณีระหว่างประเทศ, หลักกฎหมายทั่วไป • เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นพลังของกฎหมายระหว่างประเทศที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย
รวมถึงการก่อให้เกิดสำนึกความเป็น “คนไทย” และ “คนชาติ” อื่นๆ ในหมู่ชนชั้นนำไทย
พระราชสาสน์ ร.4 ถึงนโปเลียนที่ 3 พ.ศ. 2408 • “สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยาเป็นมหาราชธานีใหญ่ในพระราชอาณาจักรฝ่ายสยาม คือแผ่นดินสยามเหนือใต้และดินแดนต่างๆ อยู่เคียงอยู่ใกล้ เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาวประเทศมีเพศภาษาต่างๆ คือ ลาวกาว ลาวเฉียง กัมพูชา มลายูและกะเหรี่ยง”
ก่อนหน้ารัชกาลที่ 5 • ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ 2416 ของหมอบรัดเลย์ ชาติ หมายถึงบังเกิด กำเนิดขึ้น หรือเป็นการเปรียบเปรยถึงบุคคลบางประเภท เช่น ชาติข้า ชาติหงส์ ชาติหมา • ตราบจนกระทั่งแนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่แผ่อิทธิพลเข้ามา โดยประชาชนใต้อำนาจปกครองต้องมีลักษณะบางอย่างร่วมกันซึ่งก็คือ สัญชาติ
การปฏิรูปการปกครองในสมัย ร.5 • จัดตั้งมณฑลลาวเฉียง (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เถิน) > มณฑลพายัพ • จัดตั้งมณฑลลาวพวน (อุดร ขอนแก่น นครพนม สกลนคร เลย หนองคาย > มณฑลอุดร • จัดตั้งมณฑลลาวกาว เขมร หัวเมืองแขกมลายู > มลฑลไทรบุรี
เจ้าแก้วนวรัฐ • เจ้าเมืองเชียงใหม่คนสุดท้าย • 2453 – 2482
จนกระทั่งแนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่แผ่อิทธิพลเข้ามา ตั้งแต่ ร. 5 โดยประชาชนใต้อำนาจปกครองต้องมีลักษณะบางอย่างร่วมกันซึ่งก็คือ สัญชาติ จึงทำให้เกิดกฎหมายว่าด้วยสัญชาติขึ้น แต่ในรัชกาลถัดมา • พระราชบัญญัติแปลงชาติ พ.ศ. 2454 • พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456
กฎหมายสัญชาติปัจจุบัน พ.ร.บ. สัญชาติ 2508 • การได้สัญชาติโดยการเกิด • หลักสืบสายโลหิต บุคคลย่อมได้สัญชาติไทยหากบิดาหรือมารดามีสัญชาติไทย แม้เกิดนอกราชอาณาจักรไทย
หลักดินแดน ผู้ใดถือกำเนิดในราชอาณาจักรไทยจะได้รับสัญชาติ ยกเว้นบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และบิดาหรือมารดาเข้าเมืองแบบไม่ถาวร • ได้รับผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะราย • เข้าเมืองแบบชั่วคราว • เข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต