631 likes | 1.83k Views
บทที่ 6. การเงินการธนาคาร และนโยบายการเงิน. คำจำกัดความของเงิน. เงิน (Money) คือ สิ่งใดๆที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่งและในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งใช้เพื่อการชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต.
E N D
บทที่ 6 การเงินการธนาคาร และนโยบายการเงิน
คำจำกัดความของเงิน เงิน (Money) คือ สิ่งใดๆที่สังคมยอมรับโดยทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่งและในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในฐานะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งใช้เพื่อการชำระหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
Commodity Money Metallic Money Credit Money Full Bodied Money Token Money วิวัฒนาการของระบบเงินตรา
หน้าที่ของเงิน • เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (medium of exchange) • เป็นมาตรฐานการวัดค่า (standard of value) • เป็นเครื่องรักษามูลค่า (store of value) • เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้า (standard of deferred payments)
ค่าของเงิน (Value of money) • ค่าภายนอก (External value)คือ ราคาของเงินตราสกุลหนึ่งเมื่อคิดเป็นราคาของเงินตราสกุลอื่น ค่าภายนอกจึงถูกกำหนดโดยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ บางทีเรียกค่าภายนอกว่า อัตราแลกเปลี่ยน หรือเงินปริวรรตต่างประเทศ (foreign exchange or exchange rate) • ค่าภายใน (Internal value) คือ อำนาจซื้อ (purchasing power) สินค้าและบริการของเงินแต่ละหน่วย
ตลาดการเงิน (Financial Market) ตลาดการเงิน หมายถึง ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการนำเงินออมไปลงทุน ตลาดเงินประกอบด้วย ตลาดเงินและตลาดทุน
ตลาดการเงิน (Financial Market) • ตลาดเงิน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี การโอนเงิน การซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น • ตลาดทุน คือ ตลาดที่มีการระดมเงินออมระยะยาวและการให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ เงินฝากประจำ หุ้นกู้ หุ้นสามัญ และพันธบัตรของรัฐบาลและเอกชน อาจแบ่งได้เป็นตลาดสินเชื่อทั่วไปและตลาดหลักทรัพย์
Paper Currency Coins Demand Deposit เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน
บทบาทของธนาคารพาณิชย์ต่อปริมาณเงินบทบาทของธนาคารพาณิชย์ต่อปริมาณเงิน • ธนาคารพาณิชย์ คือ สถาบันเอกชนที่ทำธุรกิจด้านการเงิน หน้าที่หลักของธนาคารพาณิชย์คือ รับฝากเงินจากผู้ออมมาเก็บไว้แล้วให้ผู้ลงทุนกู้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากธุรกิจเหล่านั้น นั่นคือ ธนาคารพาณิชย์จะหากำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ • ข้อแตกต่างที่สำคัญของธนาคารพาณิชย์จากสถาบันการเงินทั่วไปคือ ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างและทำลายเงินฝากได้ โดยผ่านการรับฝากเงินกระแสรายวันซึ่งจ่ายโอนโดยเช็ค ซึ่งธนาคารกลางจะควบคุมดูแลการสร้างเงินฝากผ่านการเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองตามกฎหมาย
การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ • นาย ก นำเงิน 1,000 บาท ไปฝากที่ ธนาคารพาณิชย์ A โดยฝากแบบฝากกระแสรายวัน (Demand deposit) Primary Deposit ธนาคารที่มีเงินฝากต้องสำรองตามกฎหมาย = Legal Reserve Ratio =20% ธนาคาร A มีเงินฝาก
การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 2. ธนาคารพาณิชย์ A นำเงิน 800 บาท นาย ข โดยกู้แบบเบิกเกินบัญชี ปริมาณเงิน = 1,000 + 800 =1,800 บาท Primary Deposit Derivative Deposit
การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ • นาย ข ออกเช็คสั่งจ่ายให้นาย ค และ นาย ค นำไปฝากที่ธนาคาร B จำนวน 800 • - มีการ Clear เช็คที่ Clearing House • - เพิ่มเงินในธนาคาร B ลดเงินในธนาคาร A = 800 บาท ปริมาณเงิน = 1,000 + 800 =1,800 บาท
การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 4. ธนาคาร B มีเงินฝาก 800 บาท ต้องสำรองตามกฎหมาย = Legal Reserve Ratio =20% ธนาคาร B มีเงินฝาก
การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ 5. ธนาคารพาณิชย์ B นำเงิน 640 บาท นาย ง โดยกู้แบบเบิกเกินบัญชี ปริมาณเงิน = 1,000 + 800 + 640 =2,440 บาท ระบบธนาคารจะสามารถสร้างปริมาณเงินได้เพิ่มขึ้นจนกระทั่ง Excess Reserve =0
นิยามศัพท์สำคัญ เงินฝากขั้นแรก (primary deposits)คือ เงินสดที่มีผู้นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ เงินฝากขั้นต่อไป (derivative deposits)คือ เงินฝากที่เกิดจากการให้ลูกค้าของธนาคารกู้ยืม เช่น ธนาคาร A ให้นาย กกู้เงิน 50,000 บาท นาย ก ไม่ได้เบิกเป็นเงินสด แต่เอาเข้าบัญชีเงินฝากของนาย ก
นิยามศัพท์สำคัญ อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย หรืออัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (legal reserve ratio) เป็นอัตราที่ธนาคารกลางกำหนดขึ้นเป็นร้อยละของเงินฝาก ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งที่มีเงินฝากจะต้องดำรงเงินสดสำรองโดยฝากไว้ที่ธนาคารกลางอย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่าอัตราที่กำหนดนี้
นิยามศัพท์สำคัญ เงินสดสำรองตามกฎหมาย หรือเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (legal reserve or reserve requirement) คือ จำนวนเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรง โดยคำนวณจากอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายคูณด้วยจำนวนเงินฝากกระแสรายวัน เช่น ธนาคาร A มีเงินฝากทั้งสิ้น 50,000 บาท หากอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายเท่ากับร้อยละ 10 ดังนั้น ธนาคาร A จะต้องดำรงเงินสดสำรองทั้งสิ้นตามกฎหมายอย่างน้อย 5,000 บาท และฝากเงินจำนวนนี้ไว้ที่ธนาคารกลาง
นิยามศัพท์สำคัญ เงินสดสำรองทั้งสิ้น (cash reserve) คือ จำนวนเงินสดทั้งสิ้นที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ ได้แก่ ผลรวมของเงินสดสำรองที่ต้องดำรองและเงินสดสำรองส่วนเกิน เงินสดสำรองส่วนเกิน (excess reserve) คือ เงินสดที่เหลือทั้งสิ้นหลังจากหักเงินสดสำรองตามกฎหมายแล้ว เช่น ธนาคาร A มีเงินสดสำรองทั้งสิ้น 50,000 บาท เป็นเงินสดสำรองที่ต้องดำรงตามกฎหมาย 5,000 บาท ดังนั้นเงินสดสำรองส่วนเกินคือ 45,000 บาท เงินจำนวนนี้ธนาคารสามารถนำออกให้กู้หรือลงทุนหาผลประโยชน์
การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ Demand Deposit Multiplier = 5
ตัวทวีเงินฝากเผื่อเรียก (Demand Deposit Multiplier) Legal Reserve Ratio
จากตัวทวีสามารถหาได้ว่าเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวเป็นเท่าใด โดยคำนวณจาก Primary Deposit เงินฝากที่สามารถสร้างได้ เท่ากับ 5,000 -1,000 = 4,000 บาท
เงื่อนไขที่ทำให้ระบบธนาคารสามารถสร้างเงินฝากต่อเนื่องได้ถึง 4,000 บาท • เมื่อธนาคารแต่ละแห่งได้รับเงินฝากต้องสำรองไว้เป็นสัดส่วนตามที่กำหนด (ร้อยละ 20 ) • ธนาคารแต่ละแห่งต้องนำเงิน Excess Reserve ปล่อยกู้ และต้องสามารถปล่อยกู้ได้ทั้งจำนวน • ผู้ที่รับชำระหนี้จากลูกค้าเงินกู้ของธนาคาร จะต้องนำเช็คหรือเงินที่ได้รับฝากเข้าธนาคารทั้งจำนวนโดยไม่ถอนเป็นเงินสด
บทบาทในการทำลายเงินฝากของธนาคารพาณิชย์บทบาทในการทำลายเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เมื่อมีผู้ถอนเงินจากธนาคาร ก็จะมีผลทำให้ปริมาณเงินของธนาคารลดลงเป็นหลายเท่าของเงินที่ถอนในงวดแรก มีลูกค้ามาถอนเงินที่ธนาคาร A จำนวน 1,000 บาท และธนาคารทั้งระบบสำรองเงินไว้ 20% ของเงินฝาก ปริมาณเงินทั้งระบบจะลดลงเท่ากับ ปริมาณเงินทั้งระบบจะลดลง 5,000 บาท
สมมติ Legal Reserve Ratio = 20% ลูกค้า ธนาคาร A ถอนเงินฝากจำนวน 1,000 บาท ธนาคาร A สูญเสียเงินฝาก 1,000 บาท ดึงมาจากเงินสำรอง ของเงินฝากจำนวนอื่น 800 บาท Bank สำรองไว้ 200 บาท
ธนาคาร B สูญเสียเงินฝาก 800 บาท ดึงมาจากเงินสำรอง ของเงินฝากจำนวนอื่น 640 บาท Bank สำรองไว้ 160 บาท กระบวนการจะดำเนินเช่นนี้ โดยเมื่อรวมเงินฝากของธนาคารทั้งระบบที่ลดลงเป็นจำนวน 5,000 บาท การถอนเงินครั้งแรก 1,000 บาท ทำให้เงินฝากทั้งระบบลดลงเป็นจำนวน 5,000 บาท
แหล่งที่มาของปริมาณเงินแหล่งที่มาของปริมาณเงิน
แหล่งที่มาของปริมาณเงินแหล่งที่มาของปริมาณเงิน
บทบาทของปริมาณเงินต่อระดับราคาบทบาทของปริมาณเงินต่อระดับราคา
บทบาทของปริมาณเงินต่ออัตราดอกเบี้ยบทบาทของปริมาณเงินต่ออัตราดอกเบี้ย • Keynes วิเคราะห์ความต้องการถือเงิน • Demand for Money คือ ปริมาณเงินเฉลี่ยที่ประชาชนต้องการถือไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง ความต้องการถือเงินนี้เกิดจากแรงกระตุ้น 3 ประการ 1. Transaction Demand for Money 2. Precautionary Demand for Money 3.Speculative Demand for Money
1. TransactionDemand for Money (MDt) ถือเงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน -รายได้ - งวดเวลาที่ได้รายได้ MDt=f(Y,i) โดยทั่วไปแล้วกำหนดให้ i คงที่ หรือพิจารณา ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยหนึ่งๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยมีบทบาทค่อนข้างน้อยต่อ MDt
2. Precautionary Demand for Money(MDP) ถือเงินเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน • - ระดับรายได้ • ความไม่มั่นคงของอาชีพ • อุปนิสัย MDP=f(Y,i) โดยทั่วไปแล้วกำหนดให้ i คงที่ หรือพิจารณา ณ ระดับอัตราดอกเบี้ยหนึ่งๆ เพราะอัตราดอกเบี้ยมีบทบาทค่อนข้างน้อยต่อ MDP
ความต้องการถือเงินทั้งสองประเภทต่างเป็นฟังก์ชั่นที่ขึ้นกับรายได้เป็นสาเหตุสำคัญ เมื่อกำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ (อัตราดอกเบี้ย) จะพบว่า อัตราดอกเบี้ย (i) Y1 Y2 i1 i0 0 Mt1 Mt2 ความต้องการถือเงิน
3. Speculative Demand for Money (MDS) ถือเงินเพื่อเก็งกำไร • -เก็งกำไรในการซื้อขายหลักทรัพย์ • ซื้อหลักทรัพย์ราคาต่ำ ขายแพง • ราคาหลักทรัพย์ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับอัตราดอกเบี้ยความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับอัตราดอกเบี้ย สมมติ มีพันธบัตรใบหนึ่งมีมูลค่าที่ตราไว้เท่ากับ 100 บาท อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร เท่ากับ 10% ต่อปี i สูง iต่ำ ถ้า i = 15 % ถ้า i = 8 % จะไม่มีผู้ใดซื้อพันธบัตรนี้ในราคา 100 บาท ผู้ถือจะไม่ขายพันธบัตรนี้ในราคา 100 บาท ราคาหลักทรัพย์ต่ำ ราคาหลักทรัพย์สูง จะต้องขายในราคาต่ำกว่า 100 บาท จะขายในราคาสูงกว่า 100 บาท
ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสูง ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสูง i สูง ราคาหลักทรัพย์ต่ำ ราคาหลักทรัพย์ต่ำ คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องสูงขึ้น คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องสูงขึ้น คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันมาก คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันมาก ปริมาณเงินที่ถือเพื่อเก็งกำไรลดลง Ms ลดลง ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร
ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยต่ำ ถ้าปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยสูง i ต่ำ ราคาหลักทรัพย์สูง ราคาหลักทรัพย์ต่ำ คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องลดลง คนคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตต้องสูงขึ้น คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันน้อย คนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ในปัจจุบันมาก ปริมาณเงินที่ถือเพื่อเก็งกำไรมาก Ms มาก ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไรความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ เส้นความต้องการถือเงินจะมีความยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์ (Perfectly Elastic) บุคคลจะไม่นำเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์เลย หลังจากที่ถือเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่ายประจำวันแล้ว เงินส่วนที่เหลือก็จะถือไว้เพื่อเก็งกำไรทั้งหมด อัตราดอกเบี้ย (i) i0 i1 กับดักสภาพคล่อง (Liquidity trap) i2 0 Mt1 Mt2 ความต้องการถือเงินไว้เก็งกำไร
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินรวมความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับความต้องการถือเงินรวม อัตราดอกเบี้ย (i) Md 0 ความต้องการถือเงิน
อุปทานของเงิน (Supply of Money) อุปทานของเงิน หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจในขณะใดขณะหนึ่ง ปริมาณเงินดังกล่าวจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการควบคุมของธนาคารกลาง ดังนั้น ปริมาณเงินจึงไม่ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ย จึงเป็นผลให้เส้นอุปทานของเงินเป็นเส้นตั้งฉาก อัตราดอกเบี้ย Ms1 Ms 0 ปริมาณเงิน
ดุลยภาพของตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ย (i) Excess Supply for Money Ms i2 i1 E i0 Md 0 Excess Demand for Money ปริมาณเงิน
นโยบายการเงิน นโยบายการเงิน คือ การดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลางเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของระดับราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ และการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
เครื่องมือของนโยบายการเงินเครื่องมือของนโยบายการเงิน
Quantitative control • เป็นการควบคุมปริมาณเครดิต ไม่ใช่ชนิดของเครดิต ดังนั้น จึงมีผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยทั่วไปในตลาดและปริมาณเครดิตทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ • การดำเนินการโดยผ่านเครื่องมือดังกล่าวจะมีผลโดยตรงทันทีต่อการเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการขยายเครดิตของธนาคารพาณิชย์และอัตราดอกเบี้ยในตลาด
1.การซื้อขายหลักทรัพย์ (open-market operation) • จุดประสงค์ของการซื้อขายหลักทรัพย์คือ ควบคุมเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ เงินสดสำรองจะเพิ่มขึ้นเมื่อธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์ ในทางตรงข้าม เงินสดสำรองจะลดลงเมื่อธนาคารกลางขายหลักทรัพย์ ในกรณีที่ธนาคารกลางซื้อขายหลักทรัพย์กับผู้ประกอบการการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ไม่เพียงแต่จะมีผลทันทีต่อการเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินทันทีอีกด้วย
1.การซื้อขายหลักทรัพย์ (open-market operation)
2. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount Rate) • อัตรารับช่วงซื้อลด หมายถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางเก็บล่วงหน้าจากธนาคารพาณิชย์ เมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อลด (Discounting) ไปขายต่อให้กับธนาคารกลาง
2. การเปลี่ยนแปลงอัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount Rate)
3. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน(Bank Rate) • อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์ โดยปกติเป็นการกู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกัน • หากธนาคารกลางต้องการเพิ่มปริมาณเงินก็จะลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ในทางตรงข้าม ถ้าธนาคารกลางต้องการลดปริมาณเงินก็จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน