1 / 29

กฎหมายครอบครัว

กฎหมายครอบครัว. การหมั้น. - ความหมาย - เงื่อนไขการหมั้น - ของหมั้น / สินสอด - การเรียกคืนของหมั้น สินสอด และการเรียกค่าทดแทน - ความระงับของการหมั้น. การหมั้น. “ การหมั้น ” หรือ “ สัญญาหมั้น ”. หมายถึง สัญญารับประกันว่าจะสมรสกัน ในอนาคต. เงื่อนไขการหมั้น.

leena
Download Presentation

กฎหมายครอบครัว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายครอบครัว

  2. การหมั้น - ความหมาย - เงื่อนไขการหมั้น - ของหมั้น / สินสอด - การเรียกคืนของหมั้น สินสอด และการเรียกค่าทดแทน - ความระงับของการหมั้น

  3. การหมั้น “การหมั้น” หรือ “สัญญาหมั้น” หมายถึง สัญญารับประกันว่าจะสมรสกัน ในอนาคต

  4. เงื่อนไขการหมั้น 1. เงื่อนไขในเรื่องอายุ (ม. 1435) การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิง มีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอายุไม่ถึงการหมั้นมีผล เป็นโมฆะ ม.1453 “การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ สิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ”

  5. การหมั้นที่ตกเป็นโมฆะ เท่ากับไม่มีการหมั้นเกิดขึ้น ดังนั้นจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆจากกันไม่ได้ นอกจากนั้นฝ่ายหญิงยังจะต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชายด้วย

  6. 2. เงื่อนไขเรื่องความยินยอม(ม. 1436) การหมั้นซึ่งได้กระทำในขณะที่ชายหญิงยังไม่ บรรลุนิติภาวะจะต้องได้รับความยินยอมจะบุคคลดังต่อไปนี้ 1) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา (2) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือ ถูกถอนอำนาจ ปกครอง หรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความ ยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา หรือบิดาได้ (3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม (4) ผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอม ตาม (1)(2) และ (3) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง

  7. ถ้าไม่ได้รับความยินยอม การหมั้นมีผลเป็นโมฆียะ • ซึ่งอาจถูกบอกล้างหรือให้สัตยาบันได้ในภายหลัง (เหมือนนิติ • กรรมที่เป็นโมฆียะ)

  8. 3. เงื่อนไขในเรื่องของหมั้น 1. การหมั้นต้องมีการให้ของหมั้นแก่หญิงคู่หมั้น ม.1437 ว.1 “การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรมกับหญิงนั้น” ถ้าไม่มีการส่งมอบของหมั้น การหมั้นไม่สมบูรณ์ ฟ้องร้องเรียกของหมั้นไม่ได้ เรียกค่าทดแทนไม่ได้ (ฎีกาที่ 1034/2535)

  9. 2. ของหมั้น เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่หญิง(คู่หมั้น) เพื่อเป็นหลักฐานการว่าจะสมรสกับหญิงนั้น - เป็นหลักฐานว่าชายจะสมรสกับหญิง ฝ่ายชาย หญิง(คู่หมั้น) ส่งมอบของหมั้น

  10. บิดา มารดา ฝ่ายชาย บิดา มารดา ฝ่ายหญิง ชายคู่หมั้น หญิงคู่หมั้น

  11. บิดา มารดา ฝ่ายชาย บิดา มารดา ฝ่ายหญิง ชายคู่หมั้น หญิงคู่หมั้น บิดา มารดา ฝ่ายชาย หญิงคู่หมั้น ชายคู่หมั้น บิดา มารดา ฝ่ายหญิง

  12. หมายเหตุ เมื่อมีการให้ของหมั้น ของหมั้นย่อมตกเป็นสิทธิ แก่หญิงทันที และของหมั้นก็ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย (ม. 1437) - ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จะต้องส่งมอบ ให้หญิงทันที - ถ้าเป็นอสังหริมทรัพย์ จะต้องจดทะเบียนโอนด้วย - ของหมั้นถ้ายังไม่ได้ส่งมอบ จะเรียกเอาในภายหลังไม่ได้

  13. สินสอด หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ฯลฯ เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส (ม.1437) ทรัพย์สิน ฝ่ายชาย บิดามารดา

  14. การผิดสัญญาหมั้น ถ้าชาย หรือหญิงคู่หมั้นไม่ทำการสมรสกัน โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ถือว่าคู่หมั้นนั้นผิดสัญญาหมั้นฝ่ายคู่หมั้นที่ผิดสัญญาต้องรับผิดจ่ายค่าทดแทน (ม.1439) (คู่สัญญาหมั้น ไม่ใช่แค่ชายและหญิงคู่หมั้น)

  15. หญิงคู่หมั้นไม่ย่อมสมรสโดยไม่มีเหตุอันสมควรหญิงคู่หมั้นไม่ย่อมสมรสโดยไม่มีเหตุอันสมควร ชายคู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะมีเหตุสำคัญอันเกิดจากหญิง กรณีที่ต้องคืนของหมั้น

  16. ชายคู่หมั้นผิดสัญญาหมั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรชายคู่หมั้นผิดสัญญาหมั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ชายหรือหญิงคู่หมั้นตายก่อนสมรส หญิงคู่หมั้นบอกเลิกการหมั้นกรณีมีเหตุสำคัญเกิดจากชายคู่หมั้น ต่างฝ่ายต่างละเลยไม่นำพาต่อการจดทะเบียน จะถือว่าหญิงคู่หมั้นผิดสัญญาไม่ได้ กรณีที่ไม่ต้องคืนของหมั้น

  17. ผลของการผิดสัญญาหมั้นผลของการผิดสัญญาหมั้น เมื่อมีการหมั้น(มีผลสมบูรณ์ ไม่ถูกบอกล้าง มีการส่งมอบของหมั้น) ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทนได้ (ม.1439) ถ้าฝ่ายหญิงเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย(ม.1439 ว.2)

  18. โดยค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้นได้แก่ (ม.1440) 1. ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายของอีกฝ่ายหนึ่ง 2. ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงของอีกฝ่ายหนึ่ง 3. ค่าทดแทนความเสียหายในการที่ได้ใช้จ่าย หรือ ต้อง ตกเป็นลูกหนี้เนื่องจากการเตรียมการสมรสโดยสุจริต และตามสมควร

  19. 4. ค่าทดแทนความเสียหายในกรณีที่ได้จัดการทรัพย์สิน ด้วยความคาดหมายว่าจะได้สมรส 5. ค่าทดแทนความเสียหายในการที่ได้จัดการด้านต่างๆ เกี่ยวกับ อาชีพ หรือทางทำมาหาได้ ด้วยคาดหมายว่าจะได้สมรส

  20. ในกรณีดังต่อไปนี้ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ในกรณีดังต่อไปนี้ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ • ถ้าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง • เหตุที่ว่าทำให้ชายไม่สมควร หรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น • หรือ 2. ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ

  21. การระงับสิ้นแห่งสัญญาหมั้นการระงับสิ้นแห่งสัญญาหมั้น 1. บอกเลิกสัญญาหมั้นโดยสมัครใจ 2. บอกเลิกสัญญาหมั้นโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย 3. การตายของคู่หมั้น

  22. 1. การเลิกสัญญาหมั้นด้วยใจสมัคร • คู่สัญญาต้องตกลงเลิกสัญญาโดยความยินยอม • ซึ่งเป็นไปตามหลักการเลิกสัญญาทั่วๆ ไป ที่ต้องมีการแสดงเจตนาสองฝ่ายเพื่อเลิกสัญญา • เมื่อเลิกกันแล้วให้กลับคือสู่ฐานะเดิมเหมือนไม่เคยได้ทำสัญญากัน • ต้องคืนของหมั้นและสินสอด

  23. 2. บอกเลิกสัญญาหมั้นโดยอ้างเหตุตามกฎหมาย • 2.1 เหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น ???? • 2.2 คู่หมั้นกระทำชั่วอย่างร้ายแรงซึ่งได้กระทำภายหลังจากการหมั้น • 2.3 กรณีเหตุอื่นใดในทางประเวณีกับคู่หมั้น

  24. 2.1 เหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น • เหตุสำคัญต้องถึงขนาดที่ชายหรือหญิงไม่สมควรสมรส • ไม่คำนึงว่าจะเกิดจากการกระทำของฝ่ายใดหรือจากใคร • ไม่คำนึงว่าเหตุสำคัญจะเกิดก่อนหรือหลังการหมั้น

  25. 2.2 เหตุเพราะคู่หมั้นกระทำชั่วอย่างร้ายแรง -เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนการหมั้น บอกเลิกได้ แต่เรียกค่าทดแทนไม่ได้ -เป็นเหตุที่เกิดขึ้นหลังการหมั้น บอกเลิกได้ และกฎหมายถือว่ามีผลเสมือนว่าเป็นการผิดสัญญาหมั้น เรียกค่าทดแทนได้

  26. 2.3 กรณีเหตุอื่นใดในทางประเวณีกับหญิงคู่หมั้น • กรณีที่ผู้อื่นร่วมประเวณีกับคู่หมั้นโดยรู้ หรือ • ควรรู้ว่าคู่หมั้นนั้นได้หมั้น - คู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากผู้อื่นได้ต่อเมื่อบอกเลิกสัญญาหมั้น 2. กรณีคู่หมั้นถูกข่มขืน หรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรา -คู่หมั้นจะเรียกค่าทดแทนจากผู้อื่นได้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น

  27. 3. กรณีคู่หมั้นตาย • ถ้าคู่หมั้นใดตายก่อนสมรสไม่ว่ากรณีใด • คู่สัญญาหมั้นอีกฝ่ายไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทน • คู่สัญญาหมั้นฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกของหมั้น • คู่สัญญาหมั้นฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกสินสอด

  28. สรุป :การหมั้น • เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ที่จะทำการสมรส • สัญญาหมั้นก่อให้เกิดสถานะแก่คู่สัญญาหมั้นในด้านส่วนตัว • สัญญาหมั้น ไม่อาจบังคับแก่คู่สัญญาหมั้นเพื่อให้สมรส • การหมั้นที่ตกเป็นโมฆะ โมฆียะ ไม่สมบูรณ์ กฎหมายไม่ห้ามมิให้สมรส

More Related