510 likes | 905 Views
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา. กฎหมายครอบครัว. ผลของการสมรสที่สมบูรณ์.
E N D
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา กฎหมายครอบครัว
ผลของการสมรสที่สมบูรณ์ผลของการสมรสที่สมบูรณ์ • การสมรสที่กระทำผ่านเงื่อนไขการสมรส และชายหญิงจดทะเบียนสมรสกัน จะเป็นการสมรสที่มีผลสมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่(ความสัมพันธ์)ระหว่างสามีภริยาด้านส่วนตัว ด้านทรัพย์สิน และด้านการเป็นทายาทต่อกัน นอกจากนี้ยังมีผลทำให้บุตรที่เกิดมานั้น มีฐานะเป็นบุตรที่เกิดระหว่างสมรสซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายประเภทหนึ่งด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านส่วนตัวความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านส่วนตัว ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๖๑ “สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน” • มาตรานี้กำหนดมาตราฐานความประพฤติและและการกระทำให้แก่สามีภริยาว่าจะต้องมีหน้าที่ระหว่างกันอย่างไร • อยู่กันด้วยกันฉันสามีภริยา • ช่วยเหลือ • อุปการะเลี้ยงดู
ถ้าไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ก็ขอแยกกันอยู่ได้ถ้าไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ก็ขอแยกกันอยู่ได้ • เหตุที่จะร้องขอให้ศาลสั่งให้แยกกันอยู่ มาตรา ๑๔๖๒ • สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้ หรือ • การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กาย หรือ • การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายต่อจิตใจ หรือ • การอยู่ร่วมกันจะทำลายความผาสุกอย่างมาก • สามีหรือภริยาอาจร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากในระหว่างที่เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ได้ • ศาลจะกำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ฝ่ายหนึ่งจ่ายให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามควรแก่พฤติการณ์ก็ได้
มาตรา ๑๔๖๒ “ในกรณีที่สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้ หรือถ้าการอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือทำลายความผาสุกอย่างมาก สามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้หรือฝ่ายที่จะต้องรับอันตรายหรือถูกทำลายความผาสุก อาจร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากในระหว่างที่เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ศาลจะกำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ฝ่ายหนึ่งจ่ายให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามควรแก่พฤติการณ์ก็ได้”
คู่สมรสมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายเมื่อตกเป็นคนวิกลจริตคู่สมรสมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายเมื่อตกเป็นคนวิกลจริต • คู่สมรสมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู เมื่ออีกฝ่ายตกเป็นคนวิกลจริต • หน้าที่การเป็นผู้อนุบาล หรอืผู้พิทักษ์ม.1463 • กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งตกเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เป็นคนวิกลจริต ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ยกเว้นแต่มีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นก็ได้ • คู่สมรสมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ฝ่ายที่วิกลจริตนั้น
การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูกรณีไม่อุปการะคู่สมรสซึ่งวิกลจริตการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูกรณีไม่อุปการะคู่สมรสซึ่งวิกลจริต • ไม่ว่าศาลจะได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง • ไม่อุปการะเลี้ยงดูหรือ • กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด อันเป็นเหตุให้ฝ่ายที่วิกลจริตอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่กาย • กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด อันเป็นเหตุให้ฝ่ายที่วิกลจริตอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่จิตใจ หรือ • ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดความเสียหายทางทรัพย์สินถึงขนาด • บุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 หรือผู้อนุบาลอาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง • เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริต หรือ • ขอให้ศาลมีคำสั่งใด ๆ เพื่อคุ้มครองฝ่ายที่วิกลจริต
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สินความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สิน
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สินความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สิน • ลำดับหัวข้อในความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สิน • สินส่วนตัว สินส่วนตัว • หนี้ส่วนตัว หนี้ร่วม • สัญญาก่อนสมรส สัญญาระหว่างสมรส • การแยกการจัดสารสินสมรส • ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ • สินส่วนตัว • สินสมรส
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สินความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาด้านทรัพย์สิน • ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ • สินส่วนตัว • สินสมรส
สินส่วนตัว มาตร1471 • ได้แก่ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ • ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส • ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ • เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง • ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา • ที่เป็นของหมั้น
การจัดการสินส่วนตัว • สินส่วนตัวของฝ่ายใด ฝ่ายนั้นมีอำนาจจัดการโดยลำพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๓ “สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ”
สินสมรส ได้แก่ • ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส • ฝ่ายใดเป็นผู้ได้มาก็ได้ • ไม่จำกัดวิธีการได้มา เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เงินรางวัล เงินบำนาญ • ยกเว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่เปลี่ยนมาจากสินส่วนตัว • มาตรา ๑๔๗๒ สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว • สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างการสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้ และมีข้อความในพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุอย่างแจ้งชัดว่าให้ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส • ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว • ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล • ดอกเบี้ย จากเงินฝากที่เป็นสินส่วนตัว • ค่าเช่า จากทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัว • เงินปันผล จากหุ้นที่เป็นสินส่วนตัว
การจัดการสินสมรส • การจัดการสินสมรสโดยปกติคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถจัดการได้โดยลำพัง อีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องร่วมจัดการ หรือให้ความยินยอม ตาม ม.1476 ว. 2 • การจัดการสินสมรส เช่น การจำหน่ายจ่ายโอน ซ่อมแซม บำรุงรักษา เป็นต้น • ยกเว้นแต่ การจัดการสินสมรสในเรื่องที่บัญญัติตาม ม. 1476 ว. 1สามีภริยาต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนจัดการ • การจัดการร่วมกัน หมายถึง ตัดสินใจร่วมกัน • เช่น ถ้าทำนิติกรรมที่เกี่ยวข้องสินสมรส ก็ต้องมีการลงลายมือชื่อร่วมกัน หรือให้ความยินยอม
การจัดการตาม ม.1476 • การให้ความยินยอม ได้แก่ การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งให้อำนาจแก่คู่สมรสอีกฝ่ายไปจัดการโดยลำพัง • การให้ความยินยอมจะกระทำโดยวาจาก็ได้ • เว้นแต่นิติกรรมที่จะให้ความยินยอมนั้นมีกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นนี้ความยินยอมก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย
มาตรา ๑๔๗๖ “สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (๒) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ (๓) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี (๔) ให้กู้ยืมเงิน (๕) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา (๖) ประนีประนอมยอมความ (๗) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย (๘) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง”
การจัดการสินสมรสตาม ม.1467 • ขายแลกเปลี่ยนขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ • การซื้อ เช่าซื้อ การเช่า สามารถจัดการได้โดยลำพัง • ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ • เช่น สามีอนุญาตให้เพื่อนบ้านใช้ที่ดินสินสมรสเป็นภาระจำยอม • เช่น ภริยาก่อสิทธิเก็บกินให้แก่น้องสาวบนที่ดินอันเป็นสินสมรส
ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปีให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี • เฉพาะการนำสินสมรสไปให้เช่าเท่านั้น ส่วนการไปเช่าทรัพย์สินผู้อื่น จัดการได้โดยลำพัง • เฉพาะการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ที่มีระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปี เท่านั้น ถ้านำสังหาริมทรัพย์ไปให้เช่า หรือระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 1 ปี จัดการได้โดยลำพัง • เช่น ภริยานำที่นาอันเป็นสินสมรสไปให้บุคคลอื่นเช่าทำนา
ให้กู้ยืมเงิน • เฉพาะการนำเงินอันเป็นสินสมรสไปให้บุคคลอื่นกู้ยืมเท่านั้น(เป็นเจ้าหนี้) • ส่วนการไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่น (เป็นลูกหนี้) สามารถจัดการได้โดยลำพัง
ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา • การนำสินสมรสให้บุคคลอื่นสามีภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย • ยกเว้น ให้เพื่อการกุศล เช่น บริจาคเงินช่วยเฮติ • ยกเว้น ให้เพื่อการสังคม เช่น ให้เงินวันแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ • ยกเว้น ให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยา เช่น ให้เงิน บุตร พ่อแม่ ญาติที่กำลังลำบาก • ทั้ง3 ประการต้องเหมาะสมแก่ฐานะของครอบครัว
ประนีประนอมยอมความ • ได้แก่ การทำสัญญาระงับข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสินสมรสกับบุคคลภายนอก • เช่น สามีตกลงกับผู้ขายรถยนต์ที่มีปัญหา ว่าให้ฝ่ายสามีคืนรถให้แก่ผู้ขาย และผู้ขายก็จะคืนเงินค่ารถให้บางส่วน( 80 %) • มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย • เช่น สามีกับเจ้าของบ้านจัดสรร มีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้างบ้าน จึงตกลงกันให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชี้ขาดว่าบ้านซึ่งเป็นสินสมรสก่อสร้างเป็นไปตามข้อสัญญาหรือไม่
นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล • เช่น การประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อตำรวจ หรือศาล การวางหลักทรัพย์เพื่อขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีแพ่ง • การนำไปเป็นประกัน หรือหลักประกันต่อบุคคลอื่น สามีภริยาจัดการได้โดยลำพัง
ผลของการจัดการโดยลำพังผลของการจัดการโดยลำพัง • ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ โดยมีอายุความในการขอให้ศาลเพิกถอนนั้นมีอายุความ 1 ปี นับตั้งแต่รู้หรือภายใน 10 ปีนับจากวันทำนิติกรรมนั้น • แต่ในกรณีต่อไปนี้จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนไม่ได้เลย • คู่สมรสอีกฝ่ายได้ให้สัตยาบัน หรือ • บุคคลภายนอกซึ่งเป็นคู่สัญญา ได้ทำการนั้นโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน
สามีนำที่ดินซึ่งเป็นสินสมรส แต่มีชื่อสามีเพียงผู้เดียวไปจำนองค้ำประกันสัญญากู้เงินให้น้องชายต่อธนาคาร หรือขายที่ดินนั้นแก่ผู้อื่น โดยที่ภริยาไม่รู้ เช่นนี้ • ภริยาจะฟ้องเพิกถอนการจำนองหรือการขายไม่ได้ เพราะถ้าธนาคารกระทำการโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทน • แต่ถ้าสามียกที่ดินให้น้องชาย หรือผู้หญิงอื่น • ภริยาสามารถฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการให้ได้ แม้ว่าน้องชาย หรือผู้หญิงอื่นจะไม่ทราบว่าเป็นสินสมรสก็ตาม เพราะน้องชายหรือหญิงอื่นไม่ได้เสียค่าตอบแทน
ข้อสังเกต • ทรัพย์สินใดเป็นสินส่วนตัว หรือสินสมรส ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้อธิบายไป ส่วนชื่อในเอกสารทะเบียนทรัพย์สินไม่ใช่สิ่งที่จะบ่งบอกว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสได้อย่างถูกต้อง แต่การมีชื่อคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงลำพัง อาจนำมาสู่ผลเสียได้ในภายหลัง คือ บุคคลภายนอกไม่ทราบ และเข้าใจว่าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถจัดการได้โดยลำพัง กฎหมายจะถือว่าบุคคลภายนอกสุจริต
จากการที่ทรัพย์สินมีชื่อคู่สมรสแต่เพียงฝ่ายเดียวอาจทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าทรัพย์สินนั้นเป็นสินส่วนตัว มีผลทำให้บุคคลภายนอกอ้างได้ว่าตนสุจริต ซึ่งอาจทำให้คู่สมรสที่มิได้มีชื่อไม่สามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้ ดังนั้น กฎหมายจึงให้คู่สมรสฝ่ายที่ยังไม่มีชื่อในเอกสาร ป้องกันความเสียหายของตนได้โดยให้คู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อสามารถร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารนั้นได้ ถ้าสินสมรสนั้นเป็น ทรัพย์สินจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา 456 คือ • อสังหาริมทรัพย์ • สัตว์พาหนะ • เรื่อที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป ทรัพย์สินที่มีเอกสารเป็นสำคัญ • เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น
มาตรา ๑๔๗๕ ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ในมาตรา ๔๕๖ แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้
ตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตัวอย่างปัญหาเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส • Q1: สามีทำสัญญาค้ำประกันน้องชายเข้าทำงาน ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา หรือไม่ • เป็นการจัดการสินสมรส หรือไม่ • A: ไม่ต้องได้รับความยินยอม เพราะมิใช่การจัดการสินสมรส • Q 2: ถ้าต่อมาสามีถูกบริษัทฟ้องให้รับผิดแทนน้องชาย ตามสัญญาค้ำประกัน ภริยาต้องร่วมรับผิดหรือไม่ • ดูต่อเรื่องหนี้ร่วม
ความรับผิดระหว่างสามีภริยาด้านหนี้สินความรับผิดระหว่างสามีภริยาด้านหนี้สิน • กฎหมายแบ่งหนี้สินที่สามีภริยาจะต้องรับผิดชอบเป็น 2 ประเภท • หนี้ส่วนตัว • หนี้ส่วนเป็นหนี้ที่สามี ภริยาแต่ละฝ่ายต้องรับผิดชอบในหนี้ของตนเอง อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องร่วมรับผิดด้วย • หนี้ส่วนตัว ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อนเป็นลำดับแรก เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยกึ่งหนึ่งของสินสมรสที่เป็นของฝ่ายนั้น • หนี้ร่วม • หนี้ร่วมเป็นหนี้ที่สามีภริยาต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อเจ้าหนี้
หนี้ส่วนตัว • ได้แก่หนี้ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ • หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก่อขึ้นก่อนสมรส • หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก่อขึ้นก่อนสมรส ย่อมไม่ใช่หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา เพราะขณะนั้นการสมรสยังไม่เกิดขึ้น • ในกรณีที่คู่สมรส ไปก่อหนี้ร่วมกันก่อนสมรส ถือว่าเป็นหนี้ร่วมเพราะเป็นการก่อหนี้ขึ้นร่วมกัน • หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนตัวระหว่างสมรส และไม่ต้องด้วยกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นหนี้ร่วม • ในกรณีที่เป็นหนี้ที่ก่อขึ้นประโยชน์ส่วนตัว แต่อีกต้องด้วยกรณีที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหนี้ร่วม หนี้นั้นก็ไม่ใช่หนี้ร่วม(ดูต่อในเรื่องหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา)
ผลของหนี้ส่วนตัว มาตรา ๑๔๘๘ “ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น” • หนี้ส่วนตัวกฎหมายให้เจ้าหนี้บังคับจากสิ้นส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน ถ้าไม่พอจึงจะให้ชำระหนี้ด้วนสินสมรสของฝ่ายนั้น(กึ่งหนึ่งของสินสมรส)
ผลของการเป็นหนี้ส่วนตัวผลของการเป็นหนี้ส่วนตัว เจ้าหนี้ 1 2 สินส่วนตัว สินสมรส สินส่วนตัว สามี ภริยา
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา • ได้แก่หนี้ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ • หนี้ที่สามี ภริยาได้ร่วมกันก่อขึ้น • หนี้ที่สามีภรยาไปร่วมกันก่อขึ้น อาจก่อขึ้นก่อนหรือระหว่างการเป็นสามีภริยาก็ได้ ความสำคัญคือเป็นหนี้ที่ร่วมกันก่อขึ้น • หนี้ที่ร่วมกันก่อขึ้น • ไปทำสัญญาร่วมกัน • สามี หรือภริยาไปก่อขึ้นโดยลำพัง โดยที่อีกฝ่ายให้ความยินยอม
หนี้ที่สามี หรือภริยาได้ก่อขึ้นแต่ฝ่ายเดียว แต่เป็นหนี้สินในเรื่องดังต่อไปนี้ • หนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว • หนี้เกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดู และการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว • หนี้เกี่ยวกับการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ • หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกันหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน • หนี้ที่สามี หรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน • หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส คำพิพากษาฎีกาที่ 397-398/2523 สามีกู้เงินไปสร้างตึกแถวขาย เป็นการประกอบกิจการงานหาเลี้ยงครอบครัวจึงเป็นหนี้ร่วม
มาตรา ๑๔๘๙ “ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย มาตรา ๑๔๙๐ หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้ (๑)หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ (๒) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส (๓) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน (๔) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน”
ผลของการเป็นหนี้ร่วม • กฎหมายให้ชำระหนี้สินนั้นจากสินสมรส และสินส่วนตัว ของทั้งสองฝ่าย เจ้าหนี้ สินส่วนตัว สินสมรส สินส่วนตัว สามี ภริยา