1 / 112

การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน รหัส 3562404 Efficiency Development

การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน รหัส 3562404 Efficiency Development. รองศาสตราจารย์จิตติมา อัครธิติพงศ์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ พระนครศรีอยุธยา. ประสิทธิผล มี 2 ระดับ คือ 1. ประสิทธิผลของบุคคล 2. ประสิทธิผลขององค์การ.

kovit
Download Presentation

การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน รหัส 3562404 Efficiency Development

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานรหัส 3562404Efficiency Development รองศาสตราจารย์จิตติมา อัครธิติพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

  2. ประสิทธิผล • มี 2 ระดับ คือ • 1. ประสิทธิผลของบุคคล • 2. ประสิทธิผลขององค์การ

  3. ประสิทธิผลของบุคคล คือ ลักษณะของบุคคลที่มีความสามารถปฏิบัติงานใดๆ หรือปฏิบัติกิจกรรมใดๆ แล้วประสบผลสำเร็จ ทำให้บังเกิดผลตรงและครบถ้วนตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะที่มีคุณภาพ เช่น ความถูกต้อง ความมีคุณค่า ความเหมาะสมดีงาม ตรงกับความคาดหวังและความต้องการของหมู่คณะ สังคม และผู้นำผลนั้นไปใช้เป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล คือ เป็นการปฏิบัติด้วยความพอใจ ปฏิบัติเต็มความสามารถ ปฏิบัติด้วยการเลือกสรรกลวิธีและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำให้บรรลุผลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพอย่างสูงสุดแต่ใช้ทุน ทรัพยากร และระยะเวลาน้อยที่สุด

  4. ประสิทธิผลขององค์การ • 1. การผลิต (Production) • 2. ประสิทธิภาพ (Efficiency) • 3. ความพึงพอใจ (Satisfaction) • 4. การปรับเปลี่ยน (Adaptiveness) • 5. การพัฒนา (Development) • องค์การมีประสิทธิผลถ้าองค์การสามารถเพิ่มพูนศักยภาพ (Potential) และวิสัยสามารถ (Capacity) ขององค์การให้เจริญก้าวหน้าตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

  5. ประสิทธิภาพ • มี 2 ระดับ • 1. ประสิทธิภาพของบุคคล • 2. ประสิทธิภาพขององค์การ

  6. ประสิทธิภาพของบุคคล คือ บุคคลที่ตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถใช้กลวิธีหรือเทคนิคการทำงานที่จะสร้างผลงานได้มากเป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจโดยสิ้นเปลืองทุนค่าใช้จ่าย พลังงาน และเวลาน้อย เป็นบุคคลที่มีความสุขและพอใจในการทำงาน เป็นบุคคลที่มีความพอใจเพิ่มพูนคุณภาพและปริมาณของผลงาน คิดค้น ดัดแปลงวิธีการทำงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

  7. ประสิทธิภาพขององค์การ คือ การที่องค์การสามารถดำเนินงานต่างๆ ตามภารกิจหน้าที่ขององค์การโดยใช้ทรัพยากร ปัจจัยต่างๆ รวมถึงกำลังคน อย่างคุ้มค่า มีการสูญเปล่าน้อยที่สุดมีลักษณะของการดำเนินงานไปสู่ผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างดีโดยประหยัดทั้งเวลาทรัพยากร และกำลังคน องค์การมีระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการผลิตและการบริการได้ตามเป้าหมาย องค์การมีความสามารถใช้ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีอย่างฉลาด ทำให้เกิดวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีความราบรื่นในการดำเนินงาน มีปัญหาอุปสรรคและความขัดแย้งน้อยที่สุด บุคลากรมีขวัญกำลังใจดี มีความสุขความพอใจในการทำงาน

  8. องค์ประกอบที่นำไปสู่ประสิทธิภาพขององค์การองค์ประกอบที่นำไปสู่ประสิทธิภาพขององค์การ

  9. องค์ประกอบด้านปัจจัย (Input) • 1.ปัจจัยมนุษย์ (Human) ได้แก่ • ความสามารถ (Abilities) • กำลังคน(Manpower) • ความคาดหวัง (Expectations) • พลัง (Energies) • ความต้องการ (Needs)

  10. 2. ปัจจัยนอกจากมนุษย์ (Nonhuman) ได้แก่ • เงินทุน (Money) • เครื่องมือเครื่องจักร (Machines) • วัสดุ (Materials) • เทคนิควิธีการ (Methods) • ที่ดิน (Land)

  11. องค์ประกอบด้านกระบวนการ (Process) • 1. การจัดองค์การ ได้แก่ • จัดโครงสร้าง (Organization) • จัดศักยภาพการปรับเปลี่ยน (Dynamics) • การวิเคราะห์ (Analysis) • การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) • การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategies) • การกำหนดกลยุทธ์ (Tacties)

  12. 2. การจัดระบบตัดสินใจและระบบข้อมูล ได้แก่ • กระบวนการการตัดสินใจ (Decision) • การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System) • การจัดระบบสนับสนุน(Support System)

  13. 3. การวางแผนและควบคุม ได้แก่ • การวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic planning systems) • รูปแบบการวางแผนและวิธีการที่ใช้ (Planning methods and models) • การวางแผนงานโครงการ (Project and program planning) • การจัดระบบควบคุมและคอมพิวเตอร์ช่วยควบคุม (Control systems and Cybernetics) • การวิเคราะห์ทุนและกำไรเพิ่มประสิทธิภาพ (Cost-benefit analysis and effectiveness) • การบริหารบุคลากรและการประเมิน (Human systems management evaluation)

  14. 4 องค์ประกอบด้านผลผลิต (Outputs) • 1. สินค้าและการบริการ(Goods & Service) • 2. ความสามารถปฏิบัติขององค์การ (Performance) • 4. นวัตกรรม (Innovation) • 3. ระดับการเพิ่มผลผลิต (Productivity)

  15. 5. การเติบโตและพัฒนาการขององค์การ ได้แก่ .การขยายสถานที่ (Plant) • การขยายทุน (Capital) • การขยายบุคลากร (Personnel) • การใช้เทคโนโลยี (Technology) • การขยายตลาด (Markets)

  16. 6. ภาพพจน์ขององค์การ (Image) • 7. ความมุ่งมั่นขององค์การ (Commitment) • 9. ความพึงพอใจของบุคลากรและลูกค้า (Satisfaction) • 8. แรงจูงใจขององค์การ (Motivation)

  17. องค์ประกอบการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานองค์ประกอบการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน • ก. สิ่งแวดล้อมนอกองค์การ • ข.สิ่งแวดล้อมในองค์การ • ค.ปัจจัยขององค์การ • ง.กระบวนการขององค์การ

  18. บุคลิกภาพคือ • บุคลิกภาพเป็นลักษณะประจำตัวหรือเฉพาะตัวของบุคคลที่ปรากฏเป็นนิสัย ซึ่งประกอบด้วย • ลักษณะทางร่างกาย เช่น รูปร่าง หน้าตา กริยา ท่าทาง • ลักษณะทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก เช่น เป็นคนใจกว้าง-ใจแคบ ก้าวร้าว-ใจเย็น ขยัน-ขี้เกียจ • ลักษณะทางสติปัญญา เช่น ฉลาด-โง่ ริเริ่มสร้างสรรค์ เก่ง-ไม่เก่ง • ลักษณะทางสังคม เช่น เก็บตัว-เปิดเผย พึ่งตนเอง-พึ่งผู้อื่น ร่วมมือ-ไม่ร่วมมือ

  19. องค์ประกอบที่สร้างบุคลิกภาพองค์ประกอบที่สร้างบุคลิกภาพ

  20. องค์ประกอบด้านพันธุกรรมองค์ประกอบด้านพันธุกรรม • เป็นลักษณะบุคลิกภาพที่เป็นผลของการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในเรื่องของลักษณะทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และอุปนิสัยที่รับมาจากสภาพแวดล้อมของครอบครัว

  21. องค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวองค์ประกอบด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว • โดยแสดงถึงการอบรมเลี้ยงดู เช่น โภชนาการในครอบครัว ความรักความอบอุ่นของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว

  22. องค์ประกอบด้านกลุ่มคนที่เป็นสมาชิกองค์ประกอบด้านกลุ่มคนที่เป็นสมาชิก • กลุ่มคน หรือสังคมที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน เช่น เพื่อนในชุมชน หรือสถานศึกษา

  23. องค์ประกอบด้านวัฒนธรรมองค์ประกอบด้านวัฒนธรรม • กระแสวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคม ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ที่มีอิทธิพลต่อการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว เช่น วัฒนธรรมสังคมตะวันตก หรือวัฒนธรรมไทย

  24. ทฤษฎีลักษณะนิสัย (Trait Theories) • Gordon Allport : เชื่อว่าบุคลิกภาพของบุคคล คือ ลักษณะนิสัยหรืออุปนิสัยที่ชี้นำ ควบคุม ให้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับอุปนิสัยของบุคคลนั้นๆ เช่น เก็บกด-ปล่อยวาง ยอมรับความจริง-เพ้อฝัน แจ่มใสร่าเริง-เครียด หรือ ถ่อมตน-โอ้อวด

  25. ทฤษฎีแรงขับในจิตใจ (Psychodynamic Theories) • Sigmund Freud : เชื่อว่าบุคลิกภาพของคนมีพื้นฐานมาจากแรงขับภายในจิตใจของตนแล้วส่งผลให้แสดงพฤติกรรมออกตามแรงขับนั้นๆ เช่น เชื่อและยึดถือในสิ่งที่ดีงาม หรือเชื่อในการแสวงหาผลประโยชน์ทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มา

  26. ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic Theories) • Carl Rogers : เชื่อว่าบุคลิกภาพของคนเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับการที่บุคคลมองตนเอง และมองสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป้าหมายของตนไว้แล้วจึงแสดงพฤติกรรมตามแรงผลักดันนั้นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น มองว่าตนเองไม่มีคุณค่า จึงขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และแสดงออกถึงความก้าวร้าว เพื่อเรียกร้องความสนใจหรือเพื่อประชดสังคม

  27. การใช้ประโยชน์เรื่องบุคลิกภาพการใช้ประโยชน์เรื่องบุคลิกภาพ • ใช้ประโยชน์ในการมอบหมายงานที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพ เช่น บุคลิกภาพที่มุ่งความจริง มุ่งคิดค้น มุ่งสังคม มุ่งอนุรักษ์ มุ่งจัดการ มุ่งศิลปะ

  28. ใช้ประโยชน์ในการทำความเข้าใจของพฤติกรรมของบุคคล ว่ามีบุคลิกภาพ หรือ อุปนิสัยที่พึงปรารถนาหรือไม่ เพื่อจะได้ควบคุม หรือจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับบุคคลนั้น

  29. ใช้ประโยชน์ในการวัด และประเมินคุณภาพ โดยนำผลที่ได้มาประมวล คาดคะเนว่าเขามีบุคลิกภาพแบบใด และสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลส่งเสริมผู้มีบุคลิกภาพที่ดี หรือชี้แนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงพัฒนาบุคคลที่มีบุคลิกบกพร่อง

  30. ลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญของผู้บริหารลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญของผู้บริหาร • 1. คุณลักษณะบุคลิกภาพที่เกี่ยวกับการครองตน

  31. 2. คุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้บริหารเกี่ยวกับการครองคน2. คุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้บริหารเกี่ยวกับการครองคน

  32. 3. คุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้บริหารที่เกี่ยวกับการครองงาน3. คุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้บริหารที่เกี่ยวกับการครองงาน

  33. การพูดกับตัวเองด้านบวก (Positive self-talk) • 1. ฉันทำได้ • 2. ฉันไปถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้ • 3. ฉันแข็งแรงขึ้นทุกวัน • 4. ฉันมั่งมีเงินทอง • 5. ฉันเรียนเก่ง • 6. ฉันมีความจำดี • 7. ฉันมีเจตคติด้านบวก • 8. ฉันเข้าใกล้จุดหมายของฉัน • 9. น้ำหนักตัวของฉันลดลง • 10. ฉันเป็นคนกระตือรือร้น • 11. ฉันอ่านหนังสือได้รวดเร็ว • 12. ฉันจับใจความหนังสือที่อ่านได้มาก • 13. ฉันได้อยู่กับลูกๆ • 14. ฉันสุขสบายดี • 15. ฉันมีคนรักฉัน

  34. ทำไมต้องสร้างแรงจูงใจทำไมต้องสร้างแรงจูงใจ • เพื่อช่วยกระตุ้น ผลักดัน ชักจูงให้บุคคล ทำ หรือ ไม่ทำ พฤติกรรมไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง • ช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดลักษณะแรงจูงใจของบุคคลในการทำงาน (ว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ) • ช่วยให้สามารถจัดสภาพแวดล้อม และเงื่อนไขในการทำงาน ให้เป็นที่พึงปรารถนาต่อบุคคล

  35. แรงจูงใจเกิดขึ้นจากอะไรแรงจูงใจเกิดขึ้นจากอะไร • เกิดจากความต้องการ (Needs) ของมนุษย์ จึงเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้เกิดการใช้สิ่งจูงใจ (Motivation) เพื่อให้บุคคลมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง (ในการทำงาน)

  36. ทฤษฎีการจูงใจ (Theory of Motivation) • ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์(Abraham H. Maslow) : เชื่อว่า...พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการสนองความต้องการตามลำดับขั้น ดังนี้...

  37. ทฤษฎีแรงจูงใจของแมคเคลแลนด์ (McClelland) : เน้นความต้องการของมนุษย์ 3 ประการด้วยกัน คือ • ความต้องการความสำเร็จ (Need for achievement) มีความสามารถในการปฏิบัติงานและดำเนินงานจนบรรลุเป้าหมาย • ความต้องการความสัมพันธ์ที่ดี (Need for affiliation) ต้องการความรักใคร่ ชอบพอ ความเป็นมิตรจากบุคคลรอบข้าง • ความต้องการอำนาจ (Need for power) ต้องการมีตำแหน่ง หน้าที่ มีอำนาจในการบังคับบัญชาและมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น

  38. ทฤษฎีการจูงใจของเฮิร์ซเบิร์ก(Herzberg) : เน้นการกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความพึงพอใจ

  39. การใช้แรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานการใช้แรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน • 1. การใช้แรงจูงใจด้วยรางวัลตอบแทน • ค่าตอบแทน • การเลื่อนขั้น / ตำแหน่ง • สวัสดิการและบริการต่างๆ • การให้เครื่องอำนวยความสะดวก • ให้โอกาสไปศึกษาอบรมสัมมนา • การยกย่องเชิดชูเกียรติ เกียรติบัตร ประกาศเกียรติคุณ

  40. 2. การจูงใจด้วยงาน • การหมุนเวียนงาน • การขยายขอบเขตเนื้อหางาน • การมอบหมายงานที่ท้าทาย • การมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้เพิ่มขึ้น • 3. การจูงใจด้วยวัฒนธรรมองค์การ • ใช้วิสัยทัศน์สร้างเป้าหมายอนาคตขององค์การ • ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ • ให้ความสำคัญต่อความต้องการของบุคลากร • ติดตามประเมินผลด้วยวิธีธรรมชาติ

  41. การสร้างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันในองค์การการสร้างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันในองค์การ • 1. สื่อสารอย่างชัดเจนถึงความเชื่อมโยงระหว่างผลการปฏิบัติงานและผลตอบแทนของพนักงาน • 2. สร้างความมั่นใจในการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สามารถแยกแยะผู้มีการปฏิบัติงานดีได้ • 3. ขจัดอุปสรรคในการทำงานที่สามารถส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการสนับสนุนพนักงาน เช่น งานที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน • 4. เลือกคนให้เหมาะสมกับงาน โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของตำแหน่งงานและความสามารถของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งงานนั้น • 5. ติดตามและพัฒนาบรรยากาศในการทำงานโดยผู้นำ ต้องมีความสามารถและมีรูปแบบการบริหารงานที่เหมาะสมเพื่อจูงใจพนักงาน • 6. มุ่งเน้นถึงผลตอบแทนที่ไม่ได้อยู่ในรูปของเงินเท่านั้น เช่น โอกาสการเติบโตในหน้าที่การงาน การพัฒนาในด้านต่างๆ และการยกย่องชมเชยพนักงาน

  42. ค่านิยม คือ • ความเชื่อที่บุคคลยึดถือว่าอะไรคือเป้าหมายที่ต้องการ และอะไรคือเป้าหมายที่ไม่ต้องการ ซึ่งจะเป็นวิถีทางให้บุคคลนั้นเชื่อว่า ถ้าปฏิบัติแล้ว จะไปถึงเป้าหมายที่เขาต้องการ

  43. ส่วนประกอบของค่านิยมของบุคคลส่วนประกอบของค่านิยมของบุคคล • 1. ส่วนประกอบด้านความรู้ความคิด เช่น เชื่อว่าความขยันคือที่มาของความสำเร็จ หรือเชื่อว่า ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร • 2. ส่วนประสมด้านอารมณ์และความรู้สึก เช่น มีความสุข และพึงพอใจที่จะช่วยกันประหยัดการใช้พลังงาน หรือรู้สึกว่าไม่พอใจที่จะต้องทำงานเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ได้รับผลตอบแทน • 3. ส่วนประกอบของการแสดงออกทางพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมค่านิยมทางบวก หรือ พฤติกรรมค่านิยมทางลบ

  44. ลักษณะค่านิยมใช้ชีวิตประจำวันลักษณะค่านิยมใช้ชีวิตประจำวัน • 1. ค่านิยมต่อวัตถุ สิ่งของ เครื่องใช้ เช่น พออยู่พอกิน หรือ หรูหรา ฟู่ฟ่า • 2. ค่านิยมต่อลักษณะบุคคล โดย ชื่นชมยกย่อง ในบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น มีเกียรติ ร่ำรวย หรือทุจริตทำผิดกฎหมาย • 3. ค่านิยมที่มีต่อการกระทำ หรือ กิจกรรมที่ปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติตามประเพณี รักษาศีล 5 หรือ 8 การทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน หรือการเที่ยวสถานอบายมุข

  45. คุณสมบัติของคนญี่ปุ่นที่ปลูกฝังให้กับพนักงานคุณสมบัติของคนญี่ปุ่นที่ปลูกฝังให้กับพนักงาน • 1. ตรงต่อเวลา • 2. รับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย • 3. ทำงานด้วยความกระตือรือร้น • 4. สะอาดเป็นระเบียบ • 5. อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่พูดโอ้อวด • 6. ประหยัด รู้คุณค่าของเงิน สิ่งของ และเครื่องใช้ต่างๆ • 7. พิถีพิถัน ใส่ใจในรายละเอียด • 8. ซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง ระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ • 9. แยกแยะเรื่องส่วนตัว และความรับผิดชอบในหน้าที่ • 10. ทำงานเป็นทีม

  46. ค่านิยมที่พึงปรารถนา • 1. ค่านิยมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยึดถือหลักธรรมคำสอนทางศาสนา หรือความขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์ มีวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ • 2. ค่านิยมประชาธิปไตย เช่น การเคารพสิทธิเสรีภาพของกันและกันให้โอกาสการมีส่วนร่วม หรือ ใช้หลักการแห่งเหตุผลในการตัดสินใจ • 3. ค่านิยมวิทยาศาสตร์ เช่น แก้ปัญหาด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ เชื่อถือสิ่งที่มีหลักฐานความจริง ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ รู้จักการสังเกต และหาความรู้ความจริงด้วยตนเอง • 4. ค่านิยมการทำงาน เช่น มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ขยัน ไม่ท้อถอย รักและพอใจในงาน เพื่อให้งานสำเร็จ

  47. เจตคติ (Attitude) • คือการประเมินหรือตัดสินเกี่ยวกับความชอบหรือไม่ชอบในวัตถุ คนหรือเหตุการณ์ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของคนคนหนึ่ง เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง หรือเป็นท่าที หรือแนวโน้มของบุคคลที่แสดงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มคน ความคิด หรือสิ่งของก็ได้ โดยมีความรู้สึกหรือความเชื่อเป็นพื้นฐาน

  48. องค์ประกอบและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติองค์ประกอบและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติ • 1. องค์ประกอบ • 1.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ • 1.2 ด้านอารมณ์และความรู้สึก • 1.3 ด้านพฤติกรรม • 2. ที่มาของเจตคติ • 2.1 จากประสบการณ์ • 2.2 จากการเรียนรู้ • 2.3 จากการเลียนแบบผู้อื่น

  49. 3. หน้าที่ของเจตคติ • 3.1หน้าที่เป็นเครื่องมือ • 3.2 ทำหน้าที่ปกป้องอัตตาของตน • 3.3 หน้าที่แสดงออกซึ่งค่านิยม • 3.4 หน้าที่ด้านความรู้ • 4. ประโยชน์เจตคติ • 4.1กระตุ้นความกระตือรือร้น • 4.2 เพิ่มพูนความคิดริเริ่ม • 4.3 เป็นเหตุให้สิ่งที่ดีเกิดขึ้น • 5. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติ • 5.1 คลื่นสภาพแวดล้อม • 5.2 ปัญหาภาพลักษณ์ของตนเอง • 5.3 ลอยไปตามกระแสลม

More Related