1 / 66

3. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

3. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย. การที่จะถือว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายในความ ผิดฐานใดหรือไม่ มิได้พิจารณาเพียงแต่ว่าได้ มีการกระทำ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด และ บุคคลนั้นเป็นผู้ ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิด เท่านั้น. แต่ บุคคลนั้นจะต้องมีฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

kipp
Download Presentation

3. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 3. บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย การที่จะถือว่าบุคคลใดเป็นผู้เสียหายในความ ผิดฐานใดหรือไม่ มิได้พิจารณาเพียงแต่ว่าได้มีการกระทำ อันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด และบุคคลนั้นเป็นผู้ ได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิดเท่านั้น แต่บุคคลนั้นจะต้องมีฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ด้วย กล่าวคือจะต้องมิได้เป็นผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะหนึ่งลักษณะ ใดดังต่อไปนี้

  2. ก. ผู้เสียหายที่มีส่วนในการกระทำความผิด คำพิพากษาฎีกาที่ 1604/2508 โจทก์จำเลยต่างขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้รถชนกันและโจทก์ ได้รับบาดเจ็บนั้น เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการโดยประมาทโจทก์จึงมีส่วนในการ กระทำผิดทางอาญาด้วย โดยนิตินัยถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสีย หายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา2(4)

  3. ข. ผู้เสียหายที่ยินยอมสมัครใจกระทำความผิดนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2481,643/2486 กู้ทำสัญญา ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เกินอัตราในกฎหมายโดยสมัครใจผู้กู้ไม่ เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษผู้ให้กู้ตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ คำพิพากษาศาลฎีกาที่577/2496,1828-1829/2497ผู้สมัครใจ เข้าวิวาททำร้ายกันจะมาฟ้องคู่วิวาทฐานทำร้ายร่างกายไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

  4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2510ผู้ตายกับจำเลยสมัครใจ ชกมวยพนันเอาเงินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต จะถือว่าฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายไม่ได้ บิดาของผู้ตายย่อม ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตาย

  5. ค. ผู้เสียหายที่ร่วมกระทำผิด หรือใช้ให้กระทำผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่955/2502หญิงยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ถือว่าหญิงนั้นมีส่วนร่วมในการกระทำผิดด้วย จึงมิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) แม้หญิงนั้นจะถึงแก่ความตาย บิดาของหญิงนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องผู้ทำให้หญิงแท้ลูกได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2524ผู้เสียหายใช้ให้ จำเลยนำเงินไปซื้อสลากกินรวบอันเป็นความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสีย หายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงได้

  6. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638-1640/2523 จำเลยหลอกลวง ผู้เสียหายว่า จำเลยสามารถนำบุตรชายผู้เสียหายเข้าโรงเรียน นายสิบทหารบกได้โดยสอบคัดเลือกพอเป็นพิธีเท่านั้น และ เรียกเงินเพื่อนำไปให้คณะกรรมการเพื่อช่วยบุตรผู้เสียหาย ให้เข้าเรียนได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยไป ถือว่า ผู้เสียหายได้ร่วมกับ จำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน ผู้เสียหายจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย

  7. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ผู้มีอำนาจัดการแทนผู้เสียหายตามกฎหมายมี 3 กรณี 1. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 4 วรรค 2 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 5 3. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 6

  8. อำนาจของผู้มีอำนาจจัดการแทน ป.วิ.อ. ม. 3 ผู้มีอำนาจจัดการแทนมีอำนาจจัดการเรื่องต่อ ไปนี้ แทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ • ร้องทุกข์ • เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนัก • งานอัยการ • เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • ถอนฟ้องคดีอาญา หรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว

  9. หมายเหตุ แม้ว่า ผู้มีอำนาจจัดการแทนจะมีอำนาจจัดการในกิจการข้างต้น แทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ แต่จะจัดการในทางที่ขัดกับความ ประสงค์อันแท้จริงของผู้เสียหายไม่ได้

  10. 1. ผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา 4 วรรค 2 “สามีมีสิทธิฟ้องคดีแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา” 1. ในกรณีที่ผู้เสียหายที่แท้จริงเป็นหญิงมีสามี หญิงมีสิทธิ ที่จะดำเนินคดีอาญาได้เอง ไม่ว่าคดีนั้นจะเกี่ยวข้องกับสินสมรส หรือไม่

  11. 2. (หลัก) สามี มีอำนาจที่จะจัดการกิจการต่างๆตาม ม. 3 แทนภริยาได้ • ป.วิ.อ. ม. 3 “ผู้มีอำนาจจัดการแทนมีอำนาจจัดการเรื่องต่อ • ไปนี้ แทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ • ร้องทุกข์ • เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนัก • งานอัยการ • 3. เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • 4. ถอนฟ้องคดีอาญา หรือคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา • 5. ยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว”

  12. ยกเว้นแต่ ในเรื่องการฟ้องคดีซึ่งจะต้องได้รับอนุญาต โดยชัดแจ้งจากภริยาเสียก่อน จึงจะจัดการได้ 3. การอนุญาตให้ฟ้องคดี จะกระทำด้วยวิธีใดๆก็ได้โดย กฎหมายไม่ได้กล่าวว่าต้องอนุญาตเป็นหนังสือ เพราะฉะนั้นก็ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือจะอนุญาตด้วยวาจา ก็ได้

  13. 4. ภริยาสามารถอนุญาตให้สามีฟ้องคดีแทนตามมาตรา 4 วรรค 2 ได้ทุกลักษณะความผิด “สามีมีสิทธิฟ้องคดีแทนภริยาได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา” ป.วิ.อ. มาตรา 5(2) “ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัด การเองได้”

  14. 5. สามีที่จะมีสิทธิฟ้องคดีแทนภริยา หมายถึง สามีที่ได้จด ทะเบียนสมรสกับภริยา โดยไม่ต้องพิจารณาผลของการสมรสว่า จะมีผลประการใด ประเด็น :การกระทำความผิดต่อหญิงจะเกิดขึ้นระหว่างการเป็น สามีภริยาหรือไม่

  15. ผลของการสมรส

  16. 6. ในกรณีที่สถานะภาพการเป็นสามีภริยาได้สิ้นสุดลง อำนาจการจัดการของสามีแทนภริยาตามมาตรา 4 วรรค 2 และ มาตรา 3 เป็นอันสิ้นสุดลง เพราะ ฐานะของการเป็นสามีภริยา สิ้นสุดลงแล้ว ย่อมเป็นเหตุ ให้อำนาจจัดการแทน สิ้นสุดลงด้วย อาทิเช่น ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 หรือ มีการหย่า

  17. ดู ม.29 ว.2 ตัวอย่างเช่น นางแดง ถูกนายดำยักยอกทรัพย์ นางแดงอนุญาต ให้นายขาวสามีฟ้องคดีแทนระหว่างดำเนินคดีในชั้นศาล นางแดง ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย เช่นนี้ นายขาวสามารถที่จะดำเนิน คดีต่อไปได้จนเสร็จสิ้นได้ หรือไม่

  18. แต่ถ้านายขาวยังไม่ได้ฟ้องคดี นางแดงถึงแก่ความตายเสียก่อน เช่นนี้นายขาวจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อไปได้หรือไม่ ? -ไม่สามารถใช้มาตรา 29 ได้ เนื่องจากยังไม่ได้มีการฟ้องคดี ถ้าสามีไปร้องทุกข์ จะได้หรือไม่?

  19. 7. ภริยาไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จัดการแทนสามีเว้นแต่ สามีจะได้มอบอำนาจให้ภริยาจัดการแทน ซึ่งเป็นเรื่องการมอบอำนาจ ให้เป็นตัวแทนดำเนินคดี

  20. ผู้มีอำนาจจัดการแทน ตาม ม.5 • ป.วิ.อ. มาตรา 5 บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้ • (1)ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่ง • ได้กระทำต่อผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งอยู่ในความดูแล • (2)ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความ • ผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บไม่สามารถ • จัดการเองได้ • (3)ผู้จัดการ ผู้แทนอื่นๆของนิติบุคคล เฉพาะความผิดที่ • ได้กระทำลงแต่นิติบุคคลนั้น

  21. ผู้มีอำนาจัดการแทนตามมาตรา 5 (1) ในกรณีที่ผู้เสียหายที่แท้จริงมีฐานะเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความ สามารถ บุคคลดังกล่าวไม่สามารถที่จะดำเนินคดีอาญาตามที่ระบุ ไว้ในมาตรา 3 เองได้ ทั้งนี้เพราะมีความสามารถไม่บริบูรณ์ และ การดำเนินคดีอาญาอาจจะเกิดความเสียหายต่อ ผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถได้ 1. บุคคลใดจะมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม และผู้อนุบาล ต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าหมายถึงบุคคลใด

  22. 1.1 ผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดดังต่อนี้ 1.1.1 บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย สำหรับบิดา ได้แก่ บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหมายถึง -บิดาที่จดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก หรือ -จดทะเบียนรับเด็กว่าเป็นบุตร หรือ -ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร สำหรับมารดา ได้แก่ หญิงซึ่งเป็นมารดาของเด็ก

  23. คำพิพากษาฎีกาที่ 2882/2527 บิดาของผู้เยาว์ซึ่งมิได้ จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เยาว์ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ จดทะเบียนว่าผู้เยาว์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์เป็นบุตร ไม่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ และไม่มีอำนาจจัดการ ร้องทุกข์แทนผู้เยาว์ในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 276 วรรคแรก จึงถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจยื่นฟ้องคดีต่อศาล

  24. 1.1.2 ผู้ปกครอง ในกรณีที่ ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือมีแต่บิดามารดา ถูกถอนอำนาจปกครอง ผู้แทนโดยชอบธรรมได้แก่ ผู้ปกครอง (ถ้ามีการแต่ตั้ง โดยศาล) ตาม ป.พ.พ มาตรา 1585, 1586, 1598/3

  25. 1.1.3 ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมจะมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม ตามมาตรา 5(1) เฉพาะกรณีที่บุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น ส่วนบิดามารดาโดยกำเนิดนั้นหมดอำนาจปกครอง นับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/28 “...ให้บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับ แต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรม”

  26. 1.2 ผู้อนุบาล ได้แก่ ผู้มีหน้าที่จัดกิจการแทนผู้วิกลจริต ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตาม ป.พ.พ. มาตรา 28

  27. 2. ผู้แทนโดยชอบธรรม และผู้อนุบาลมีอำนาจจัดการแทน ได้ทุกลักษณะความผิด -ไม่ว่าความผิดนั้นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถนั้นจะถูกทำ ร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้หรือไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 5(2) “ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ความผิด อาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัด การเองได้”

  28. 3. ในกรณีที่ ผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย ก่อนที่ ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล จะจัดการเสร็จสิ้น อำนาจ การจัดการแทน ของผู้แทนโดยชอบธรรม และ ผู้อนุบาล เป็นอัน สิ้นสุดลง เพราะฐานะการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม และผู้อนุบาล ย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย ของผู้เยาว์ และผู้ไร้ความสามารถเช่น เดียวกัน มาตรา 1958/6 “ความปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้อยู่ในความ ปกครองตาย หรือบรรลุนิติภาวะ”

  29. เช่น ผู้เยาว์ถูกหน่วงเหนี่ยวกักขัง ระหว่างที่ผู้แทนโดยชอบธรรม ยังมิได้มีการฟ้องคดี ผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุเช่นนี้ผู้แทน โดยชอบธรรมไม่มีอำนาจที่จะร้องทุกข์ หรือฟ้องคดีแทนผู้เยาว์เพราะ ฐานะความเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยความตายของ ผู้เยาว์ แต่ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมได้ฟ้องคดีไว้ก่อนแล้ว เช่นนี้ ผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถดำเนินต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ.ม.29 ว.2 ป.วิ.อ. มาตรา 29 วรรค 2 “ถ้าผู้เสียหายที่ตายนั้นเป็นผู้เยาว์ .......ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมได้ยื่นฟ้องคดีแทนไว้แล้ว ผู้ฟ้องแทนนั้น จะว่าคดีต่อไปก็ได้”

  30. 4. ในกรณีที่ผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล นอกจากการดำเนินการร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาลแล้ว อาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีได้อีก ทางหนึ่งด้วย เพื่อให้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ.ม.6

  31. ผู้มีอำนาจจัดการแทน ตาม ม.5 (2) “ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้” • ซึ่งได้แก่ การที่ • -ผู้บุพการี จัดการแทน ผู้สืบสันดาน หรือ • -ผู้สืบสันดาน จัดการแทน ผู้บุพการี หรือ • -สามี จัดการแทน ภริยา หรือ • -ภริยา จัดการแทน สามี

  32. 1. ในกรณีที่ผู้เสียหายที่แท้จริง ถูกทำร้ายถึงตาย หรือบาดเจ็บ จนไม่สามารถที่จะจัดการคดีอาญาเองได้ ผู้เสียหายที่แท้จริงย่อมจะ จัดการคดีอาญาด้วยตนเองไม่ได้ กฎหมายจึงให้อำนาจบุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ของผู้เสียหายที่แท้จริงมีอำนาจที่จะจัดการคดีอาญาแทนได้ โดยไม่ต้อง คำนึงถึงอายุ หรือความสามารถของผู้เสียหายที่แท้จริง

  33. 2. บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ของผู้เสียหายที่แท้จริง จะมีอำนาจจัดการคดีอาญาแทนได้ เฉพาะความผิดที่กระทำลงเป็นเหตุให้ ผู้เสียหายที่แท้จริงถึงแก่ความตาย หรือบาดเจ็บจดไม่สามารถจัดการเองได้ เท่านั้น “ถูกทำร้ายถึงตาย” หมายถึง ความผิดทุกลักษณะอันเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้กระทำความผิดจะต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย หรือไม่

  34. “บาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้” หมายถึง ผู้เสียหาย ได้รับการบาดเจ็บ จนไม่สามารถที่จะจัดการได้ด้วยตนเอง การบาดเจ็บไม่จำเป็นต้องถึงเป็นอันตรายสาหัส ซึ่งจะต้อง พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป ว่าในขณะที่ผู้มีอำนาจจัดการแทน จะเข้าจัดการแทนนั้น ผู้เสียหายบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเอง ได้หรือไม่

  35. 3. บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทน ตาม ม. นี้ ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้ -ผู้บุพการี ได้แก่ ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป อันได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตา ยาย ทวด โดยไม่ต้องพิจารณาถึงความชอบด้วย กฎหมาย (พิจารณาตามความเป็นจริง) แต่ผู้บุพการีไม่มีความหมายรวมถึง ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมจะมีฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม เท่านั้น

  36. คำพิพากษาฎีกาที่ 1384/2516 (ประชุมใหญ่) ผู้บุพการีตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 5(2) นั้นหมายถึงผู้บุพการีตามความเป็นจริง แม้ผู้ตายจะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่โจทก์ ก็เป็นผู้บุพการีของผู้ตายตามความเป็นจริง เมื่อผู้ตายถูกจำเลยทำร้าย ถึงแก่ความตายโจทก์ซึ่งเป็นผู้บุพการีตามความเป็นจริงของผู้ตายย่อม มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้ตายได้

  37. -ผู้สืบสันดานได้แก่ ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา ซึ่งพิจารณา ตามความเป็นจริง แต่ผู้สืบสันดานที่จะมีอำนาจจัดการแทนบุพการี จะต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว -สามีภริยาต้องจดทะเบียนสมรสกัน ตาม ป.พ.พ มาตรา 1457 (ฎ1056/2504,1335/2494) โดยไม่พิจารณาผลของการสมรสว่าจะมีผล เป็นโมฆะ หรือโมฆียะ

  38. 4. ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามี ภริยา ของผู้เสียหายที่แท้จริงมี อำนาจจัดการคดีอาญาได้ทุกคน เพราะกฎหมายมิได้จัดลำดับก่อน หลังเอาไว้ เช่น นางแดง ถูกนายดำทำร้าย เป็นเหตุให้นางแดงต้องรักษา ตัวอยู่ในห้องฉุกเฉิน 10 วัน ถ้านางแดงมีสามีคือ นายขาว และมี บิดามารดา คือ นายทอง และนางเงิน ตามลำดับ เช่นนี้ นายขาว นายทอง และนางเงิน มีอำนาจจัดการแทนนางแดงได้ ทุกคน

  39. แต่หากบุคคลใดเข้าจัดการแล้ว บุคคลนั้นก็ควรจะจัดการได้ เพียงคนเดียว บุคคลอื่นไม่มีอำนาจจัดการอีกต่อไป จากตัวอย่าง ถ้านายขาวเข้าร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ แล้ว เช่นนี้ นายทอง และนางเงิน ไม่มีอำนาจจัดการแทนนางขาว อีกต่อไป จนกว่านายขาวไม่ประสงค์จะจัดการอีกต่อไป หรือ จัดการในทางที่ฝ่าฝืนความประสงค์ของนางแดง

  40. 5. ผู้บุพการี สืบสันดาน สามี ภริยา หมายถึงเฉพาะของผู้เสียหายที่แท้จริงเท่านั้นส่วนผู้บุพการี สืบสันดาน สามี ภริยา ของผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายอีกทอดหนึ่งไม่อยู่ในความหมายของมาตรานี้

  41. 6. บุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงกฎหมายได้ กำหนดตัวบุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้นบุคคลอื่นที่มิได้มีฐานะเช่นนั้น จึงไม่มีอำนาจจัดการแทน ผู้เสียหายที่แท้จริงได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 890/2495 พี่เขยของผู้ตายจะเข้าจัดการแทน ผู้ตามมาตรา 5(2) ไม่ได้

  42. คำพิพากษาฎีกาที่ 2331/2521 บิดาผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้เสียหายถึงแก่ความตายโดยเจตนา ในฐานะผู้จัดการแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ มาตรา 5(2) นั้น เมื่อบิดาผู้เสียหายตายลงระหว่างพิจารณา ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของบิดา ผู้เสียหาย(พี่ชายผู้เสียหาย) หามีสิทธิดำเนินคดีต่างบิดาผู้เสียหายต่อไปตามความหมายตาม ป.วิ.อ.ม.29ไม่ เพราะบิดาผู้เสียหายเป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ซึ่งถูกทำร้ายถึงตายเท่านั้น

  43. ตัวอย่าง นาย ก. อายุ 17 ปี ประสบอุบัติเหตุถูกนายดำ ขับรถชนถึงแก่ความตาย โดย นาย ก. เป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมาย ของนายขาว นางแดง ซึ่งนายทองพี่ชายนายขาว ได้ขอ นาย ก. เป็น บุตรบุญธรรม ตั้งแต่ขณะนาย ก. อายุได้ 10 ปี เช่นนี้ บุคคลใดจะมี อำนาจจัดการคดีอาญาแทนนาย ก. ได้ ? นายทอง จัดการตาม ม.5(1)ไม่ได้ เพราะ ฐานะของการเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรมสิ้นสุดลงเมื่อ นาย ก. ถึงแก่ความตาย นายขาว นางแดง จัดการได้ ตาม ป.วิ.อ.ม.5(2)

  44. ตัวอย่าง นาย ก. อายุ 17 ปี ประสบอุบัติเหตุถูกนายดำ ขับรถชนถึงแก่ความตาย โดย นาย ก. เป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมาย ของนายขาว นางแดง แต่ทั้งสองคนเสียชีวิตตั้งแต่ขณะที่นาย ก. อายุ ได้ 2 ขวบ ศาลจึงตั้ง นายทอง เป็นผู้ปกครอง นาย ก. เช่นนี้ นายทอง จะจัดการคดีอาญาแทนนาย ก. ได้หรือไม่ ? นายทอง จัดการ ตาม ม.5(1)ไม่ได้เพราะฐานะการเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรมสิ้นสุดลงเมื่อ นาย ก. ถึงแก่ความตาย นายทอง มิได้มีฐานะเป็นบุพการีจึงจัดการ ตาม ม.5(2) ไม่ได้

  45. ตัวอย่าง นาย ก. อายุ 17 ปี ถูกนายดำยักยอกทรัพย์ ในขณะที่ ยังไม่มีการร้องทุกข์ นาย ก. ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย โดย นาย ก. เป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมาย ของนายขาว นางแดง ซึ่ง นายทองพี่ชายนายขาว ได้ขอ นาย ก. เป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ขณะ นาย ก. อายุได้ 10 ปีเช่นนี้ บุคคลใดจะมีอำนาจจัดการคดีอาญาแทน นาย ก. ได้ ? นายทอง จัดการตาม ม.5(1)ไม่ได้ เพราะ ฐานะของการเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรมสิ้นสุดลงเมื่อ นาย ก. ถึงแก่ความตาย นายขาว นางแดง จัดการม.5(2)ไม่ได้ เพราะการยักยอกทรัพย์ ไม่ได้ทำให้นาย ก. ถึงแก่ความตาย

  46. ผู้มีอำนาจจัดการแทน ตาม ม.5(3) มาตรา 5 (3) “ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น” 1. ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ผู้มีอำนาจจัดการ แทนนิติบุคคลได้แก่ ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลเท่านั้น ดังนั้น ผู้ถือหุ้นมิได้มีฐานะเป็นผู้แทนของนิติบุคคล

  47. คำพิพากษาฎีกาที่ 610/2515 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้แทนห้างหุ้น ส่วนจำกัดมีอำนาจร้องทุกข์ได้ หุ้นส่วนที่ไม่ใช่หุ้นส่วนผู้จัดการไม่มี อำนาจร้องทุกข์

  48. 2. ในกรณีที่ผู้แทนของนิติบุคคล เป็นผู้กระทำความผิดต่อนิติบุคคล เอง อาทิเช่น ผู้จัดการยักยอกทรัพย์สินของห้างย่อมเล็งเห็นได้ว่าผู้แทน นิติบุคคลย่อมไม่ดำเนินคดีต่อตนเองอย่างแน่นอน เช่นนี้ถือว่าผู้ถือหุ้นมีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลได้

  49. คำพิพากษาฎีกาที่ 115/2535 กรณีผู้จัดการและกรรมการกระทำ ความผิดอาญาฐานยักยอก อันเป็นการกระทำต่อบริษัทโจทก์ เป็นที่เห็น ได้ชัดว่าผู้กระทำความผิดจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง กรรมการอื่น หรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติ บุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องคดีอาญา แจ้งความร้อง ทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์ อันมีผลทำให้คดีอาญาระงับได้ แม้บุคคลดัง กล่าวมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์

More Related