1 / 39

บทที่ 2 อินเทอร์เน็ต ( Internet)

บทที่ 2 อินเทอร์เน็ต ( Internet). ความหมายของอินเทอร์เน็ต. อินเทอร์เน็ต ( Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันและอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและบริการในรูปแบบของสาธารณะ. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต.

karik
Download Presentation

บทที่ 2 อินเทอร์เน็ต ( Internet)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2อินเทอร์เน็ต (Internet)

  2. ความหมายของอินเทอร์เน็ตความหมายของอินเทอร์เน็ต • อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันและอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและบริการในรูปแบบของสาธารณะ

  3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต • คอมพิวเตอร์แต่ละระบบส่วนใหญ่จะแยกทำงานกันโดยอิสระ มีเพียงระบบคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันด้วยความเร็วต่ำ จากปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน จึงทำให้เกิดโครงการอาร์พาเน็ต (ARPANet) • ในปีพ.ศ.2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา(National Science Foundation หรือ NSF) ได้ให้เงินทุนสร้างซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่งและให้ชื่อว่า NSFnet • ในปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ตไม่สามารถรองรับภาระที่เป็นโครงข่ายหลัก(backbone) ของระบบได้อาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลงและเปลี่ยนไปใช้ NSFnet และเครือข่ายอื่นๆ แทนมาจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งในปัจจุบันโดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต

  4. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต(ต่อ)ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ปัจจุบันหน่วยงานและบริษัทธุรกิจจำนวนมากที่ให้บริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัทเครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายสื่อสารดาวเทียม และหน่วยงานรัฐบาลต่างให้ความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ต • อินเทอร์เน็ตก็เป็นเครือข่ายสาธารณะและเครือข่ายของความร่วมมือ ไม่มีบุคคล นิติบุคคล หรือองค์การหน่วยงานของรัฐบาลใดเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว แต่อย่างไรก็ตามได้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานและดูแลการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตร่วมกันคือ World Wide Web Consortium (W3C) • นอกจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่รู้จักกันทั่วไปแล้ว ยังมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Internet2 หรือ I2 เป็นเครือข่ายที่ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร มีวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีและการเรียนการสอน

  5. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย • พ.ศ.2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)ได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น • พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย ยูยูเน็ต (UUNET) ประเทศสหรัฐอเมริกา • ในปีเดียวกันนี้สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้ขอต่อเชื่อมเข้ากับเครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยเน็ต (THAINET) • ในปีเดียวกันศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้จัดตั้งเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN) ซึ่งต่อมาได้ต่อกับเครือข่ายของยูยูเน็ต และปัจจุบันไทยสารได้เชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ ดังรูป 2.1

  6. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ) ที่มา :http//www.thaisarn.net.th รูปที่ 2.1 เครือข่ายไทยสาร

  7. อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ)อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย(ต่อ) • ในปี พ.ศ.2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้นการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้กับบุคคลและผู้ที่สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก • ตั้งขึ้นในรูปแบบบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ไอเอสพี (Internet Service Provider :ISP)

  8. การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต ในแต่ละวันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมากจากทุกมุมโลก และจะใช้อินเทอร์เน็ตในการทำกิจกรรมต่างๆ พอจะสรุปกิจกรรมหลักๆ ได้ดังนี้ • การติดต่อสื่อสาร • การทำธุรกิจออนไลน์ • การศึกษาและวิจัย • ข้อมูลข่าวสาร • การหางานและสมัครงาน • ความบันเทิง

  9. การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตการแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตจะติดต่อโดยใช้มาตรฐานการสื่อสาร หรือโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol :TCP/IP) เช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์เมื่อจะส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีหมายเลขประจำตัว เรียกว่าหมายเลขไอพี (IP address)

  10. การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • IP Address • เป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิตแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (ไบต์) ส่วนละ 8 บิตโดยเขียนเป็นตัวเลขฐาน 10 มีค่าอยู่ระหว่าง 0-255 คั่นแต่ละส่วนด้วย .ตัวอย่างเช่น 203.155.98.33 • กำหนดและดูแลโดย InterNIC (WWW.internic.org)

  11. 172 . 16 . 1 . 1 bc.siamu.ac.th หมายเลข IP รหัสประเทศ ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อโดเมนย่อย ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ระบบชื่อโดเมน(DNS) • เนื่องจากหมายเลข IP นั้นจดจำยาก ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลข IP ซึ่งเรียกว่า ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System : DNS) เช่น การแทนที่หมายเลข IP 172.16.1.1 ด้วย bc.siamu.ac.th ชื่อโดเมนนี้ประกอบด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น ชื่อโดเมนย่อย และชื่อโดเมน

  12. การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ระบบชื่อโดเมนเนม(DNS) • ระบบโดเมนเนมนั้นจะกำหนดมาตรฐานโดยหน่วยงาน Internet Corporation for Assigned Name and Number : ICANN ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานโครงสร้างชื่อโดเมนระดับบนสุด(ส่วนขวาสุดของชื่อ) ซึ่งระบุประเภทขององค์กร และ ชื่อประเทศของเครือข่าย • Domain Name แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ชื่อองค์การ 2. ชื่อโดเมน โดยชื่อโดเมนแบ่งออกเป็น • โดเมนระดับบนสุด • โดเมนระดับย่อย

  13. การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ชื่อโดเมนระดับบนสุด (top-level domain :TLD) ที่เป็นชื่อย่อของประเภทองค์การในสหรัฐอเมริกา

  14. การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) ตารางที่  2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม • เนื่องจากการเติบโตของอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างรวดเร็ว ICANN จึงได้กำหนดชื่อโดเมนขึ้นใหม่ โดยมีตัวย่อดังนี้

  15. การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) ตารางที่  2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม • โดเมนระดับบนสุดที่เป็นชื่อย่อของประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่ประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น

  16. การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การแทนชื่อที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) ตารางที่  2 ชื่อโดเมนระดับบนสุดใหม่ที่ไอแคนประกาศเพิ่ม • สำหรับชื่อโดเมนระดับบนสุดของประเทศไทยคือ th และมีโดเมนย่อยแทนประเภทองค์กรอยู่ 6 ประเภทดังนี้

  17. การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตการเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต • การเชื่อมต่อเพื่อใช้ระบบอินเทอร์เน็ต โดยทั่วไปแล้วหน่วยงานของรัฐและสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจะให้บริการผู้ใช้เฉพาะบุคคลากรของหน่วยงานนั้นๆ • นอกจากหน่วยงานดังกล่าวแล้วยังสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการขององค์การที่เรียกว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวน 17 ราย • วิธีเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต มี 2 วิธีการหลักคือ • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง (Direct Internet Access) • การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dialup Access)

  18. การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง (Direct Internet Access) • การเชื่อมต่อแบบนี้ผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักโดยต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นเกตเวย์ (gateway) ในการเชื่อมต่อซึ่งได้แก่ เราเตอร์ (router) • การเชื่อมต่อแบบนี้มักเป็นองค์การของรัฐ สถาบันการศึกษาที่อนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้เครือข่ายร่วมกัน หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยตรง เป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งค่อนข้างสูง แต่การรับ-ส่งข้อมูลสามารถทำได้โดยตรง ซึ่งจะมีความเร็วสูงและมีความน่าเชื่อถือ

  19. การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ)การเชื่อต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม (Dialup Access) • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภทนี้จะใช้สายโทรศัพท์ ที่ใช้กันตามบ้านหรือที่ทำงานทั่วไป โดยจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่าโมเด็ม • เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่ให้บริการ แล้วคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตเสมือนกับการเชื่อมต่อโดยตรง • ข้อดีของการเชื่อมต่อประเภทนี้คือ ค่าใช้จ่ายถูกว่า

  20. World Wide Web : WWW • ในช่วงแรกๆ การบริการข้อมูลข่าวสารจะส่งถึงกันด้วย Telnet และจะใช้ FTP เพื่อการแลกเปลี่ยนส่งไฟล์ • ต่อมาในปี ค.ศ. 1991 Tim Berners -Lee นักเขียนโปรแกรมที่ทำงานในสถาบัน CERN ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อให้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เว็บเพจ (Web page) ที่สามารถเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารที่เกี่ยวข้องกันได้ • การเชื่อมต่อเอกสารนี้เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlinks)ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงเอกสารหนึ่งไปยังเอกสารหนึ่งที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เดียวกันหรือต่างเครื่องกันที่อยู่คนละประเทศได้อย่างรวดเร็ว • กลุ่มของเอกสารที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์นี้รู้จักกันทั่วไปว่า World Wide Web (WWW) หรือ W3 หรือ Web • ตำแหน่งของอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยเอกสารที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์เรียกว่า เว็บไซต์ (Web site)

  21. World Wide Web : WWW(ต่อ) • เว็บเพจ คือเอกสารที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) หรือไฮเปอร์มีเดีย (hypermedia) URL Hypermedia Hypertext

  22. World Wide Web : WWW(ต่อ) • การสร้างเว็บเพจสามารถใช้ภาษา Hypertext Markup Language หรือ HTML ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งที่เรียกว่า แท็ก (tage) หรือ มาร์กอัป (markup)

  23. โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(Web Browser) • เบราว์เซอร์ก็คือโปรแกรมที่ใช้แสดงข้อมูลของเว็บเพจ • โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์โปรแกรมแรกเป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ และแสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น • ในปี ค.ศ.1993 Marc Andreesen นักศึกษามหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ได้สร้างโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ในรูปแบบของกราฟิก การติดต่อกับผู้ใช้อยู่ในลักษณะของ GUI ทำให้การใช้งานและแสดงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสะดวก ง่าย และดึงดูดใจผู้ใช้ • Andreessen ได้เป็นผู้หนึ่งในการก่อตั้งบริษัทที่ผลิตโปรแกรมเบราว์เซอร์ Netscape Navigator

  24. เริ่มต้นใหม่ กลับไปโฮมเพจ หยุดการทำงาน เว็บไซต์ที่ชื่นชอบ ค้นหา ไปข้างหน้า ประวัติการทำงาน ย้อนกลับ พิมพ์ รับส่ง e-mail โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (ต่อ)

  25. โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ)โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ) • สำหรับคอมพิวเตอร์พีดีเอและโทรศัพท์มือถือจะมีเบราว์เซอร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เรียกว่า ไมโครเบราว์เซอร์ (Microbrowser) หรือเรียกว่า มินิเบราว์เซอร์ (Minibrowser)

  26. โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ)โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์(ต่อ) • URL โดยทั่วไปมีรูปแบบและส่วนประกอบดังต่อไปนี้ Protocol://domain/path/ • ตัวอย่างเช่น • http://www.siam.edu โปรโตคอล คือ HTTP ซึ่งย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol, ชื่อโดเมนคือ www.siam.edu • http://tpt.nectec.or.th/Project/Nsc/Nsc.or.htm โปรโตคอล คือ HTTP, ชื่อโดเมนคือ tpt.nectec.or.th, ชื่อโฟลเดอร์คือ Project/Nsc และชื่อแฟ้มคือ Nsc.or.htm • ftp://bc.siamu.ac.th โปรโตคอล คือ FTP ซึ่งย่อมาจาก File Transfer Protocol, ชื่อโดเมนคือ bc.siamu.ac.th • ในการพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ ผู้ใช้สามารถละ http:// ได้ เช่น เว็บไซต์ http://www.google.co.th พิมพ์เพียง www.google.co.th

  27. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้ • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) • การส่งและรับจดหมายหรือข้อความถึงกันทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย • ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(domain name) • โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @ (อ่านว่า แอ็ท) เช่น sriprai@siamu.ac.th จะมีชื่อผู้ใช้อีเมล์ชื่อ sriprai และชื่อโดเมนคือ siamu.ac.th

  28. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) • ในการส่งและรับจดหมายโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น Microsoft Outlook, Netscape Mail นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับอีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์ฟรี ได้แก่ www.hotmail.com, www.yahoo.com, www.thailmail.com เป็นต้น

  29. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การสนทนาออนไลน์ (Online Chat) • เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน การสนทนา หรือ การ chat • การสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่นๆ

  30. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • เทลเน็ต (Telnet) • เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น • การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล

  31. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต(ต่อ) • การขนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol) • การ FTP เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์เรียกว่า FTP server • การขนถ่ายไฟล์จาก FTP server ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการเรียกว่า download ในทางตรงกันข้ามการขนถ่ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการไปยังเครื่อง server เรียกว่า upload

  32. การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ • ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่องที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องมือค้นหา(search engine) ช่วยในการค้นหาทั้งในรูปของข้อความ และกราฟิก • เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ google.com, yahoo.com, altavista.com, ifoseek.com

  33. การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์(ต่อ)การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์(ต่อ) • เทคนิคค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต • วางแผนการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ • ใช้เครื่องมือในการค้นหาแบบสารบบสำหรับการค้นหาหัวข้อ • ถ้าเครื่องมือแบบเดียวให้ผลไม่สมบูรณ์ให้ใช้เครื่องมือค้นหาอื่นๆ ช่วย • ระบุคำนามเพื่อการค้นหาให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด • ให้แก้ไขคำหลัก ด้วยเครื่องหมาย + (รวม)และ – (ไม่รวม) • การค้นหาวลีให้ใส่เครื่องหมาย “.......” • ใช้เครื่องหมาย * ช่วยในการค้นหา เช่น retriev* แทนการค้นหาคำ retrieve, retriever • พิมพ์คำค้นหาเป็นภาษาอังกฤษพิมพ์เล็ก • ให้ใส่หัวเรื่องหลักไว้ในส่วนต้นของการค้นหา • ให้ป้อนคำค้นหาข้อมูลส่วนที่สนใจให้ได้คำตอบเพียงไม่กี่ข้อ จากนั้นใช้คำถามเดียวกันกับเครื่องมือค้นหาอื่น

  34. เว็บเพจศูนย์รวม • เป็นเว็บไซต์ที่รวมการให้บริการต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต เช่น search engine, free e-mail, chat room, news, free personal web และการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นๆ • เว็บศูนย์รวมที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น yahoo.com, msn.com และ google.com

  35. อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต • การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ขององค์กรสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ • Intranetเป็นระบบเครือจ่ายที่ใช้ภายในองค์การมีบริการต่างๆ คล้ายอินเทอร์เน็ต แตกต่างกันคือเป็นการเชื่อมต่อและสื่อสารภายในองค์การเท่านั้น • Extranet เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอกองค์การ

  36. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล • การนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการดำเนินงานขององค์การ สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ควรจะต้องระมัดระวัง คือ ระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล • ทั้งนี้เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้อย่างอิสระ • ในทางตรงกันข้ามเครือข่ายอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายที่อนุญาตเฉพาะบุคคลให้เข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้เท่านั้น • ดังนั้นบริษัทจึงได้ติดตั้งไฟร์วอลล์ ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ใช้เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้ไม่หวังดีที่ต้องการเข้าระบบเครือข่ายขององค์การ • โดยระบบไฟร์วอลล์จะช่วยตรวจสอบและกลั่นกรองผู้ใช้ที่ติดต่อเข้ามาในระบบเครือข่าย

  37. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(ต่อ)การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(ต่อ)

  38. สรุป • อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก • มีบริการต่างๆ มากมายในการติดต่อสื่อสาร และบริการด้านข้อมูล • ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลสาธารณะต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย • ควรใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธี และรู้ภัยอันตรายที่อาจมากับอินเทอร์เน็ต

  39. Q&A

More Related