1 / 123

ทัศนศาสตร์

ทัศนศาสตร์. Optics. ทัศนศาสตร์ (Optics). ศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับแสง ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต (Geometric Optics) การสะท้อน การหักเห ทัศนศาสตร์เชิงกายภาพ (Physical Optics) การแทรกสอด การเลี้ยวเบน. ธรรมชาติของแสง.

kaida
Download Presentation

ทัศนศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทัศนศาสตร์ Optics

  2. ทัศนศาสตร์(Optics) • ศึกษาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับแสง • ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต(Geometric Optics) • การสะท้อน • การหักเห • ทัศนศาสตร์เชิงกายภาพ(Physical Optics) • การแทรกสอด • การเลี้ยวเบน

  3. ธรรมชาติของแสง • แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ในช่วงที่ตามองเห็นได้(ความยาวคลื่น 400 – 700 nm)

  4. ธรรมชาติของแสง • แสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ในช่วงที่ตามองเห็นได้(ความยาวคลื่น 400 – 700 nm) • แสงมีอัตราเร็วสูงมาก ประมาณ 3.00 × 108m/s • Fizeau’s Method

  5. ตัวอย่าง • Fizeau’s Method

  6. ธรรมชาติของแสง • ฮอยเกนส์ อธิบายการเดินทางของแสงในลักษณะที่เป็นคลื่น • หลักของฮอยเกนส์(Huygens ‘ principle) : ทุก ๆ จุดบนหน้าคลื่นจะทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดของคลื่นใหม่ซึ่งคลื่นทรงกลมที่เกิดขึ้นใหม่จะกระจายออกไปในทุกทิศทางด้วยอัตราเร็วที่เท่ากัน และหน้าคลื่นใหม่จะเป็นผิวที่อยู่ในแนวสัมผัสกับหน้าคลื่นทรงกลมที่เกิดขึ้น คลื่นที่เกิดขึ้นใหม่นี้เรียกว่า Secondary wave (Huygens’ wavelets)

  7. แบบจำลองของรังสี • ถ้าเราพิจารณาหน้าคลื่นที่อธิบายในแบบของฮอยเกนส์ จะไม่สะดวก และถ้าต้องการบอกถึงทิศทางของการไหลของพลังงาน • ใช้เส้นตรงแทนซึ่งก็คือรังสี(ray) • รังสีของแสงจะตั้งฉากกับหน้าคลื่น • รังสีของแสงที่ขนานกันบอกถึงหน้าคลื่นระนาบ • รังสีที่กระจายออกบอกถึงหน้าคลื่นที่กำลังแผ่ออก

  8. การสะท้อน • จากรูป แสดงแผนภาพรังสีอย่างง่ายของกฎการสะท้อน • รังสีที่พุ่งเข้ารกระจกเรียกว่า รังสีตกกระทบ • มีมุมตกกระทบ(angle of incidence) ซึ่งเป็นมุมที่รังสีตกระทบทำกับเส้นแนวฉาก(normal line) • กระจกทำให้เกิดรังสีสะท้อน • มีมุมสะท้อน(angle of reflection) พิสูจน์โดยใช้หลักของฮอยเกนส์(serway หน้า 1108) กฎการสะท้อน กล่าวว่า : มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ โดยที่รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากอยู่ในระนาบเดียวกัน

  9. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • ปรากฏการณ์ที่เมื่อแสงมีการเปลี่ยนตัวกลาง (เช่น เดินทางจากน้ำสู่อากาศ หรือจาก อากาศสู่แก้ว) แล้วมีการเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิม เรียกว่า การหักเห(refraction) • เราจะสนใจการหักเหเมื่อแสงมีการเคลื่อนที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง และนิยมใช้แบบจำลองรังสี(ray model) เพื่ออธิบายการหักเห • โดยการที่แสงจะหักเหมากหรือน้อยนั้นขึ้นกับสมบัติประการหนึ่งของแสงและตัวกลาง ซึ่งก็คือ ดรรชนีหักเหของแสง(Index of refraction) • พิจารณาว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้ • แต่เมื่อเดินทางในตัวกลางเช่น อากาศ น้ำ หรือ สสารอื่น ๆ • จะมีการดูดกลืนแสงและปล่อยแสงออกมาใหม่ • ทำให้ทำให้แสง(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)มีอัตราเร็วที่แตกต่างไปจากอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ(c) ได้

  10. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • อัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสุญญากาศต่ออัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง จะเรียกว่า ดรรชนีหัก(index of refraction) • C คือ อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในสุญญากาศ • V คือ อัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง

  11. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • ตัวอย่างดรรชนีหักในตัวกลางต่าง ๆ

  12. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • ข้อสังเกตจากตารางดรรชนีหักเห • ดรรชนีหักเหของแสงในอากาศมีค่าใกล้เคียงกับดรรชนีหักเหของแสงในสุญญากาศ เรามักจะประมาณดรรชนีหักเหของแสงในอากาศมีค่าเท่ากับ 1(เหมือนเป็นสุญญากาศ) • ดรรชนีหักเหของแสงในสารต่าง ๆ จะขึ้นกับอุณหภูมิ และโดยทั่วไปแล้ว ดรรชนีหักเหของแสงจะมีค่าน้อยลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น • ดรรชนีหักเหของแสงในตัวกลางที่เป็นก๊าซจะขึ้นกับความดันของก๊าซด้วย • ดรรชนีหักของแสงในตัวกลางต่าง ๆ มักจะขึ้นกับความหนาแน่นของตัวกลางนั้น โดยสสารที่มีความหนาแน่นสูงมักจะมีดรรชนีหักเหสูงด้วย

  13. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • ดรรชนีหักเหของแสงสำหรับตัวกลางหนึ่ง ๆ นั้นไม่ได้เป็นค่าคงตัว แต่จะขึ้นกับความยาวคลื่นด้วย • เช่น Crown glass ดรรชนีหักเหของแสงของแก้วที่ความยาวคลื่น 400 nm จะเป็น 1.53 ในขณะที่ดรรชนีหักเหของแก้วเดียวกันที่ความยาวคลื่นเป็น 650 nm จะเป็น 1.51

  14. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • พิจารณารังสีของแสงตกกระทบรอยต่อของตัวกลางโปร่งใสสองชนิด(จากอากาศไปสู่แก้ว)

  15. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • พิจารณาแผนภาพรังสี แสดงการหักเห และ การสะท้อนของแสงเมื่อมีการเปลี่ยนตัวกลาง • จะพบว่าเกิดรังสีของแสงขึ้นสองส่อน • รังสีส่วนที่สะท้อนกลับในตัวกลางเดิมเรียกว่า รังสีสะท้อน(Refracted ray) • รังสี่ส่วนที่เข้าไปในตัวกลางใหม่(แก้ว)ซึ่งเรียกว่า รังสีหักเห(Refracted ray) • จากการทดลองพบว่ารังสีหักเหในแก้วจะเบนเข้าหาเส้นแนวฉาก • มุมระหว่างรังสีหักเหกับเส้นแนวฉากเรียกว่า มุมหักเห(angle of refraction)

  16. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • จากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนระหว่างค่า sin ของมุมตกกระทบ กับค่า sin ของมุมหักเหมีค่าคงตัว • และสัมพันธ์กับดรรชนีหักเหของแสงในตัวกลาง ตามกฎของสเนลล์ (Snell’ s law) คลื่นเคลื่อนที่จากตัวกลาง 1 ไปตัวกลาง 2 ความยาวคลื่นเปลี่ยนแต่ความถี่ยังคงที่ Serway: หน้า 1109

  17. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • หมายเหตุ • การเขียน นั้นทำให้เราเรียก ว่า เป็นดรรชนีหักเหของแสงในตัวกลางที่ 2 เทียบกับตัวกลางที่ 1 • ถ้า และ มีค่าต่างกันมากทำให้ มีค่าต่างจากหนึ่งมาก ๆ ก็จะทำให้มุม และ มีค่าต่างกันมาก • นั่นคือถ้าตัวกลางทั้งสองมีค่าดรรชนีหักของแสงต่างกันมากจะทำให้แสงมีการเบนจากจากแนวเดิมมากด้วย

  18. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • พิจารณา เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหของแสงน้อยไปมาก(เช่น จากอากาศไปแก้ว) จะทำให้มุมหักเหมีค่าน้อยกว่ามุมตกกระทบ นั่นคือรังสีหักเหจะเบนเข้าหาเส้นแนวฉากดังภาพ

  19. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • พิจารณา ถ้าแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีค่าดรรชนีหักเหของสูงไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหของแสงต่ำ จะทำให้แสงเบนออกจากเส้นแนวฉาก

  20. การหักเหและดรรชนีหักเหการหักเหและดรรชนีหักเห • ข้อสังเกตเกี่ยวกับการตกกระทบเมื่อมุมตกกระทบเป็นศูนย์(ตกตั้งฉาก) • ไม่ถือว่าเป็นการหักเหแม้ว่ามีการเปลี่ยนตัวกลางเพราะคลื่นยังคงมีทิศทางเดิม • ตามกฎของสเนลล์ ซึ่งในกรณีที่แสงตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อ ( 0 ) จะได้ว่า 0 นั่นคือ แสงยังอยู่ในแนวเดิม พูดเป็นภาษาชาวบ้านว่าไม่มีการหักเหเกิดขึ้น แม้ว่าอัตราเร็วของคลื่นแสงเปลี่ยนไป

  21. ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเหปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเห • การสะท้อนกลับหมด • เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหมากไปยังตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อย จะทำให้รังสีเบนออกจากเส้นแนวฉาก • ถ้าเราเพิ่มมุมตกกระทบขึ้นเรื่อย ๆ มุมหักเหก็จะโตขึ้น

  22. ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเหปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเห • การสะท้อนกลับหมด • ถ้ามุมตกกระทบโตกว่ามุมวิกฤตทำให้ไม่มีรังสีหักเห มีแต่รังสีสะท้อนเท่านั้น ซึ่งเรียกว่าการสะท้อนกลับหมด การสะท้อนภายในกลับหมด (total internalreflection)หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สะท้อนกลับหมด คือการสะท้อนแสงทั้งหมดกลับไปในตัวกลางเดิม

  23. ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเหปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเห • Optical Fibers • การสะท้อนกลับหมด

  24. ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเหปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเห • การกระจายแสง(dispersion) และปริซึม • เมื่อแสงขาวผ่านปริซึม(แสงสีทุกสีตกกระทบปริซึมด้วยมุมตกกระทบเท่ากัน) แสงแต่ละสีจะมีดรรชนีหักเหไม่เท่ากัน ทำให้แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นหักเหมากกว่าแสงที่มีความยาวคลื่นยาว สีต่าง ๆ จึงแยกออกจากกัน

  25. ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเหปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเห • การกระจายแสง และปริซึม • เมื่อแสง สีแดง เดินทางเข้าสู่ปริซึม แสงสีแดงที่มีดรรชนีหักเหน้อยที่สุดจะมีการเบี่ยงเบนน้อยที่สุด • แสง สีม่วง จะเบี่ยงเบนมากที่สุด มุมเบี่ยงเบน

  26. ปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเหปรากฏการณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการหักเห • การกระจายแสง และปริซึม • รุ้งเป็นตัวอย่างที่สวยงามของการกระจายแสง • หยดน้ำในอากาศทำหน้าที่คล้ายปริซึมโดยจะแยกแสงอาทิตย์ออกเป็นสเปกตรัม • เมื่อแสงอาทิตย์เข้าสู่หยดน้ำแสงจะเดินทางช้าลงและหักเห สะท้อนจากผิวด้านในของหยดน้ำ แล้วจึงเกิดการหักเหอีกครั้งหนึ่งตอนออกจากหยดน้ำ • และเดินทางออกมาอีกด้านหนึ่งของหยดน้ำจนมาเข้าตาเราให้เห็นเป็นรุ้ง

  27. ภาพและการมองเห็น • การมองเห็น • วัตถุอยู่ที่ตำแหน่ง C และมีแสงส่องวัตถุทำให้แสงออกจากวัตถุมาเข้าตาเรา • โดยอาจจะแทนแสงที่ออกจากวัตถุด้วยรังสีสามเส้น(ความจริงมีกี่เส้นก็ได้) • รังสีทั้งสามบานออก ถ้าเราย้อนเส้นทางของรังสีทั้งสามเส้นก็จะพบกับวัตถุ C

  28. ภาพและการมองเห็น • ภาพจริงและภาพเสมือน • ภาพเสมือน • กระจกสะท้อนแบ่งได้ง่าย ๆ 3 ชนิดคือ กระจกเงาราบ กระจกเว้า และกระจกนูน • ใช้หลักการสะท้อนของแสง (มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน) • รังสีสะท้อนและเส้นแนวฉากจะอยู่ในระนาบเดียวกัน • พิจารณาการสะท้อนจากกระจกเงาราบ • แสงจากหลอดไฟ O สะท้อนที่กระจกทำให้แสงมาเข้าตาผู้สังเกต • แต่จะเป็นแสงที่สะท้อนออกมาจากกระจกไม่ใช่แสงที่มาจากหลอดไฟโดยตรง • คนคิดว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรง ทำให้คิดว่าหลอดไฟอยู่ที่ตำแหน่ง • ซึ่งภาพลักษณะนี้ เรียกว่า ภาพเสมือน(virtual image) • แสงไม่ได้ไปตัดกันจริง ๆ • คนจะบอกว่าภาพของวัตถุเกิดที่ตำแหน่ง

  29. ภาพและการมองเห็น • ภาพจริง • พิจารณาการมองเห็นวัตถุโดยการหักเหของเลนส์ • แสงออกจากวัตถุ D เมื่อผ่านเลนส์นูนจะมาตัดกันที่จุด E แล้วบานออกไปเข้าตา • การหาตำแหน่งของวัตถุทำได้โดยใช้หลักการย้อนเส้นทางเดินของแสงจนไปตัดกันที่จุด E • นั่นคือเราจะคิดว่าวัตถุอยู่ที่จุด Eไม่ใช่จุดD • คือเราจะบอกว่าภาพของวัตถุจะเกิดที่ตำแหน่ง E เรียกว่าภาพจริง(real image) E D

  30. ภาพและการมองเห็น • ภาพจริงและภาพเสมือน • ภาพจริงเอาฉากรับได้ • นำกระดาษไปวางที่จุด Eแล้วเห็นภาพปรากฏขึ้นบนกระดาษได้ • ภาพเสมือนไม่สามารถนำฉากไปรับได้ • เราไม่สามารถนำฉากไปไว้ที่จุด ได้ และถึงแม้ว่านำไปไว้ได้ก็จะไม่มีแสงไปถึง

  31. ภาพและการมองเห็น • การเกิดภาพจากกระจก • การเกิดภาพจากกระจกเงาราบ • ภาพที่เกิดจากกระจกเงาราบนั้นจะเป็นภาพเสมือนทุกครั้ง • มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน • ใช้รังสีเพียงสองเส้นในการหาตำแหน่งของภาพ • จากภาพจะได้ระยะวัตถุเท่ากับระยะภาพ • และความสูงของวัตถุเท่ากับความสูงของภาพ • มีกำลังขยายของกระจก(magnification)

  32. ภาพและการมองเห็น • จำนวนภาพที่เกิดในกระจกเงาระนาบสองบานวางทำมุม ต่อกัน • เมื่อนำกระจากเงาระนาบ 2 บาน วางหันหน้าเข้าหากัน โดยทำมุม ต่อกัน • นำวัตถุวางไว้ระหว่างกระจกทั้งสอง จะเกิดภาพขึ้นจากระจกทั้งสอง • จำนวนภาพที่เกิดหาได้จากสูตร

  33. ภาพและการมองเห็น • ภาพจากกระจกโค้ง • กระจกโค้งเว้า (Concave Mirrors) • จุด C เรียกว่าจุดศูนย์กลางของความโค้ง • R เรียกรัศมีความโค้งของกระจก • จุด V อยู่ที่ใจกลางผิวโค้งเรียกจุดยอดของกระจก • เส้นที่ลากผ่านCและ V เรียกว่าแกนมุขสำคัญ(Principal axis)

  34. ภาพและการมองเห็น • ภาพจากกระจกโค้ง • กระจกโค้งเว้า (Concave Mirrors) • รังสีที่ตกกระทบและสะท้อนอยู่ด้านเดียวกับจุดศูนย์กลางของความโค้ง • ถ้ารังสีจากจุด O บานออกไปตกกระทบกระจก(ตามกฎการสะท้อน)รังสีจะสะท้อนที่กระจกมาตัดกันที่จุด I

  35. ภาพและการมองเห็น • ภาพจากกระจกโค้ง • กำลังขยาย(magnification) • พิจารณาวัตถุหนึ่งสูง ส่งรังสีทำมุมตกกระทบและมุมสะท้อน เกิดภาพสูง • จากมุมตกกระทบได้ • จากมุมสะท้อนได้ • มุมตกระทบเท่ากับมุมสะท้อนดังนั้น

  36. ภาพและการมองเห็น • ภาพจากกระจกโค้ง • จากภาพพิจารณามุม • จะได้ และ • จับทั้งสองสมการหารกันจะได้ • เปรียบเทียบกับสมการของกำลังขยายจะได้

  37. ภาพและการมองเห็น • ภาพจากกระจกโค้ง • ถ้ารังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ • รังสีสะท้อนจะพบกันที่จุด ๆ หนึ่ง อยู่ระหว่างจุด C กับ V เรียกวาจุด F • จะพบว่าจุด F อยู่ตรงกลางระหว่าง C กับ V พอดี • เรียก F ว่าจุดโฟกัส • VF คือระยะโฟกัส(f)

  38. ภาพและการมองเห็น • ภาพจากกระจกโค้ง • ดังนั้นจากสมการของกระจกจะได้เป็น

  39. ภาพและการมองเห็น • ภาพจากกระจกโค้ง • กระจกนูน • ถ้ารังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ • รังสีสะท้อนจะพุ่งออกจากกันคล้ายออกมาจากจุดหนึ่ง • ดังนั้นจุด F เป็นจุดโฟกัสเสมือน • VF เป็นระยะโฟกัสเสมือน • สมการของกระจกนูนจะเหมือนของกระจกเว้า

  40. ภาพและการมองเห็น • การหาตำแหน่งภาพของวัตถุที่วางไว้หน้ากระจกเว้าสามารถทำได้โดยลากรังสีของแสงตามกฎการสะท้อนแสง หลักที่ใช้ในการเขียนรูปมีดังนี้ • ลากรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุถึงผิวกระจกที่ขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญ จะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกผ่านโฟกัส • ลากรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุผ่านโฟกัส ถึงผิวกระจกจะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกขนานกับกับเส้นแกนมุขสำคัญ • ลากเส้นรังสีตกกระทบจากปลายวัตถุผ่านศูนย์กลางความโค้งถึงผิวกระจก จะได้รังสีสะท้อนจากผิวกระจกย้อนกลับทางเดิม • ภาพที่เกิดขึ้นที่หน้ากระจกเว้าเป็นภาพที่รังสีสะท้อนมาตัดกันจริง เรียกว่า ภาพจริง • ภาพที่เกิดหลังกระจกเว้าเป็นภาพที่รังสีสะท้อนเสมือนมาตัดกัน เรียกว่า ภาพเสมือน

  41. ภาพและการมองเห็น • ลักษณะการเกิดภาพเนื่องจากกระจะโค้ง เมื่อวางวัตถุไว้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ • กระจกเว้า • วัตถุอยู่ที่ไกลมาก • จะเกิดภาพขนาดเล็กเป็นจุด ที่จุดโฟกัส

  42. ภาพและการมองเห็น • ลักษณะการเกิดภาพเนื่องจากกระจะโค้ง เมื่อวางวัตถุไว้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ • กระจกเว้า • วัตถุอยู่เลยC ออกไป • จะเกิดภาพจริงหัวกลับ ขยาดย่อระหว่างจุด C กับ F

  43. ภาพและการมองเห็น • ลักษณะการเกิดภาพเนื่องจากกระจะโค้ง เมื่อวางวัตถุไว้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ • กระจกเว้า • วัตถุอยู่ระหว่าง F กับกระจก • จะเกิดภาพหัวตั้งขนาดขยาย(ภาพเสมือน)

  44. ภาพและการมองเห็น • ลักษณะการเกิดภาพเนื่องจากกระจะโค้ง เมื่อวางวัตถุไว้ที่ตำแหน่งต่าง ๆ • กระจกนูน • วางวัตถุหน้ากระจกที่ใดก็ตามจะได้ภาพเสมือนขนาดเล็กกว่าวัตถุหัวตั้ง

  45. ภาพและการมองเห็น • เครื่องหมายของกระจก (กระจกเว้าและกระจกนูน)

  46. ภาพและการมองเห็น • ตัวอย่าง ภาพที่เกิดจากกระจกเว้า

  47. ภาพและการมองเห็น • ตัวอย่าง ภาพที่เกิดจากกระจกเว้า

  48. ภาพและการมองเห็น • ตัวอย่าง ภาพที่เกิดจากกระจกเว้า

  49. ภาพและการมองเห็น • ตัวอย่าง ภาพที่เกิดจากกระจกเว้า

  50. ภาพและการมองเห็น • ตัวอย่าง ภาพที่เกิดจากกระจกนูน

More Related