410 likes | 925 Views
ยาในประเทศไทย. สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับมหาสารคาม เอกสารประกอบการสอนวิชา ยาในชีวิตประจำวัน 9-10 เมษายน 2557. ยาในประเทศไทย. ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค แหล่งกระจายยา ประเภทของยา การขออนุญาต การโฆษณา การส่งเสริมการขาย คุณภาพยา. ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค.
E N D
ยาในประเทศไทย สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลับมหาสารคาม เอกสารประกอบการสอนวิชา ยาในชีวิตประจำวัน 9-10 เมษายน 2557
ยาในประเทศไทย • ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค • แหล่งกระจายยา • ประเภทของยา • การขออนุญาต • การโฆษณา • การส่งเสริมการขาย • คุณภาพยา
ยาเป็นมากกว่าการรักษาโรคยาเป็นมากกว่าการรักษาโรค • ยาคืออะไร • ดูรายละเอียดจากเรื่อง หลักการใช้ยา • มีคุณอนันต์ มีโทษมหันต์ • เป็นสินค้าพิเศษ ต่างจากสินค้าทั่วไป • การเข้าถึงยา • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • ยาอยู่ที่ไหน เภสัชกรไปถึงที่นั่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • มาตรา ๕๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ • บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อเหตุการณ์
การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2554 ร้อยละ## • ผู้ป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล# 29.3 • เจ็บป่วย/รู้สึกไม่สบาย 20.6 • โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว 16.0 • อุบัติเหตุ/ถูกทำร้าย 2.5 • เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2550 • เจ็บป่วย/รู้สึกไม่สบาย 20.3 • โรคเรื้อรัง/โรคประจำตัว 15.8 • อุบัติเหตุ/ถูกทำร้าย 2.5 • #ในรอบ 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ (สัมภาษณ์ 26,500 ครัวเรือนในทุกจังหวัด) • ##ร้อยละของประชากรทั้งหมด http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/healthy/healthyExec54.pdf
การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2554 ร้อยละ • สถานที่รับบริการสาธารณสุขครั้งสุดท้าย ผู้ป่วยที่มีการรักษา 68.5 • สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 39.7 • ซื้อ/หายากินเอง 18.8 • สถานพยาบาลเอกชน 9.8 • รักษาด้วยวิธีอื่น 0.2 เช่น หมอพื้นบ้าน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แหล่งกระจายยา • สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ เช่น ในสังกัด สธ. • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล-รพ.สต. /เดิมคือสถานีอนามัย-สอ. • โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ • สถานพยาบาลเอกชน เช่น • คลินิกแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน • ร้านยา • ร้านค้าทั่วไป ร้านชำ ฯลฯ → ยาสามัญประจำบ้าน • หมอพื้นบ้าน → ยาสมุนไพร ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
สถานพยาบาลเอกชน • พรบ.สถานพยาบาล • สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สสจ. • ร้านยา ร้านค้า ร้านชำ รถเร่ ฯลฯ • พรบ.ยา • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สสจ.
ยาชุด สุดอันตราย • คุยกับยายคนนึงที่ใช้ยาชุด/ยาลูกกลอนเล่าให้ฟังว่า • “ยายใช้มานานแล้ว ใช้แล้วดี หายเร็ว เวลาปวดก็กินอีก ไม่กิน ไม่ได้ จะไม่ได้ทำงานเพราะปวดมาก ซื้อครั้งนึงก็ประมาณ 1,000-2,000 บาท บางทีก็ไปคลินิกหมอ ได้ยาเป็นชุดๆมากิน อาการปวดหายเป็นปลิดทิ้งเลย” • วันนี้มานอนรพ. ด้วยอาการบวมทั่วตัว มีเลือดออกใน กระเพาะอาหาร ... • จึงถามถึงแหล่งที่มาที่ซื้อยามากิน พบว่า ร้านชำในหมู่บ้านนั่นเอง ... • ภญ.จันทร์จรีย์ ดอกบัว (รพ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ)
ยาชุด สุดอันตราย • คนในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของผม นิยมใช้ยาชุดกันมาก ใคร ๆ ก็ใช้ เขาบอกว่าได้ผลเร็วทันใจ บอกต่อ ๆ กัน หาซื้อก็ง่ายในชุมชน และที่ตลาด • และแล้วก็ได้มีผู้ป่วยคนหนึ่งเป็นหญิงวัยกลางคน มีอาการแพ้ยาชุดอย่างรุนแรงจนบวม ผิวหนังลอก ปากเปื่อย • ข่าวนี้ทำให้ชาวบ้านแตกตื่นและหวาดกลัวว่าเกิดจากอะไร เขาได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล หมอบอกว่าเขาแพ้ยา ที่ใช้อยู่ในยาชุดนั่นเอง • ชาวบ้านบอกเราว่ากลัวแล้ว ไม่เอาแล้วยาชุด ได้เห็นกับตา อันตรายจริง ๆ และหมู่บ้านนั้นก็ไม่นิยมใช้ยาชุดกันเท่าไรแล้ว • ภก.พีรศิลป์ นิลวรรณ (รพ.สต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ)
ยาชุด สุดอันตราย • ยาชุด หมายถึง ยาที่ผู้ขายจัดไว้เป็นชุด โดยทั่วไปจะมียาตั้งแต่ 3-5 เม็ดขึ้นไป มีรูปแบบและสีต่างๆ กัน ในยา 1 ชุด จะประกอบด้วยยาหลายๆ ชนิดรวมกัน ผู้ขายจะให้ผู้ซื้อ กินครั้งละ 1 ชุด โดยไม่มีการแบ่งว่าเป็นยาชนิดใด ควรกินเวลาใด • ยาชุด ผิดกฎหมาย อันตราย ตายผ่อนส่ง • http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=19683&id_L3=2568
ประเภทของยา • จำแนกตามการขออนุญาต • ยาแผนปัจจุบัน • ยาแผนโบราณ • ยาสมุนไพร • จำแนกตามระดับของอันตรายจากยา • ยาควบคุมพิเศษ • ยาอันตราย • ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ • ยาสามัญประจำบ้าน
การขออนุญาต • การนำหรือสั่งยาเข้าฯ การผลิตยา การขายยา • ต้องได้รับใบอนุญาตก่อน • ยกเว้น • การผลิตยาโดยกระทรวง ทบวง กรม ในหน้าที่ป้องกันหรือบำบัดโรค สภากาชาดไทย องค์การเภสัชกรรม (องค์การเภสัชกรรมเป็นโรงงานผลิตยาของรัฐ เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัด สธ.) • การขายยาสามัญประจำบ้าน • ร้านค้าทั่วไป ร้านชำ ... • การขายยาสมุนไพรที่ไม่ใช่ยาอันตราย • หมอพื้นบ้าน หมอสมุนไพร ... • สมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน • สมุนไพรใกล้ตัว สมุนไพรน่าใช้ ... • ฯลฯ
ยาสมุนไพร • ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ • ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ • ยาสมุนไพรที่เป็นยาอันตราย • ซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ในตำรับยาแผนโบราณ ตัวอย่างเช่น • เมล็ดมะกล่ำตาหนู • เมล็ดสลอด • น้ำมันสลอด
สมุนไพรดองดึง • โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชน ไม่ควรปลูกสมุนไพรดองดึง ร่วมกับพืชผักสวนครัวที่กินใบ-ผลหรือยอดอ่อน เพื่อป้องกันการเก็บผิดพลาด • เนื่องจากดองดึงมีสารหลายชนิดทั้งที่มีสรรพคุณเป็นยาและ มีความเป็นพิษสูง ถึงขั้นเสียชีวิต • พืชชนิดนี้ต้องใช้โดยผู้มีความรู้เท่านั้น • โดยล่าสุดพบเสียชีวิตแล้ว 1 รายที่จ.ศรีสะเกษ จากการกินผลดองดึงเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นผลของต้นสลิด
สมุนไพรดองดึง • หากพบผู้ป่วยจากการกินลูกดองดึง • ให้ช่วยชีวิตเบื้องต้นโดยให้กินไข่ขาวหรือดื่มนมทันที เพื่อทำให้อาเจียนออกมาให้มากที่สุด เพื่อลดการดูดซึมพิษเข้าร่างกาย และรีบส่งไปโรงพยาบาลทันที • http://www.thaigov.go.th/th/news-ministry/2012-08-15-09-44-34/item/81581
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน • ร้านขายยาแผนปัจจุบัน • ต้องมีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติการ ตลอดเวลาทำการ (=ตลอดเวลาที่เปิดร้าน)
ร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษร้านขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ • ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการไม่ใช่เภสัชกร • จำกัดจำนวน กำหนดโควตา ไม่อนุญาตร้านใหม่ • หลายร้าน เปลี่ยนเป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน • มีจำนวนลดลง
ร้านขายยาแผนโบราณ • ร้านขายยาแผนโบราณ • ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย สาขาเภสัชกรรม เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการตลอดเวลาทำการ (=ตลอดเวลาที่เปิดร้าน)
การโฆษณายา • ห้ามโฆษณา • แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง • ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวยาหรือเป็นส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีวัตถุหรือส่วนประกอบนั้นในยา หรือมี แต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจ • โฆษณาได้เฉพาะการโฆษณาโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพ • เช่น สรรพคุณยาอันตรายหรือยาควบคุม • การโฆษณายาต้องได้รับอนุญาตก่อน
ดังนั้น การโฆษณายาทางสื่อต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ นิตยสาร เป็นต้น • โฆษณาได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพืเศษ • ห้ามโฆษณาแสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง • ห้ามโฆษณาทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวยาหรือเป็นส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีวัตถุหรือส่วนประกอบนั้นในยา หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้าใจ • ต้องได้รับอนุญาตก่อน
คุณภาพยา • กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ • ตรวจวิเคราะห์คุณภาพ • ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต • เช่น ขอนแก่น อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี • ตรวจวิเคราะห์คุณภาพในเขตจังหวัด
http://www.dmsc.moph.go.th http://www.tumdee.org/alert/ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยและฐานข้อมูลคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2. เพื่อสร้างเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย 3. เพื่อสร้างระบบและรูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ ไม่ปลอดภัยของประเทศที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยผ่านการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ
เครื่องดื่ม น้ำหมักพืชแท้ หอม หวาน เย็นซ่า เต็มพลัง ตราผู้ใหญ่สุพรรณ (พบ ไดคลอโรมีเทน หรือ เมทิลีนคลอไรด์) #9 ก.ย. 2556 : 16.00 น.
แก๊สหัวเราะ ไนตรัสออกไซด์ ยาเสพติดตัวใหม่#10 ต.ค. 2556 : 14.00 น.
ยาผงจินดามณี (ยาผีบอก) (พบ เดกซาเมทาโซน) #12 ก.ย. 2556 : 16.00 น.
เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทยเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย 2.1 ผู้สั่งใช้ยาไม่พึงรับประโยชน์อันเป็นทรัพย์สินจากผู้แทนยาหรือบริษัทยา เช่น 2.1.1 ของขวัญ รวมถึงการจัดอาหารและเครื่องดื่ม 2.1.2 ตัวอย่างยา 2.1.3.เงิน สิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่บริษัทยาให้แก่ผู้สั่ง ใช้ยาเป็นส่วนตัว ทีไม่ใช่ค่าตอบแทนวิทยากร
3.1 ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจ ไม่พึงรับประโยชน์อืนใด ซึง เป็นทรัพย์สินและบริการจากบริษัทยาหรือ • ผู้แทนยา อันนำมาซึง ประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อืนเพือแลกเปลียนกับการตัดสินใจสังซือ6 ยานัน6 เช่น ของขวัญ • เงิน สิงของ ตัวอย่างยา การจัดอาหารและเครือ งดืม
4.2 ในการนำตัวอย่างยามาจ่ายให้กับผู้ป่วย เภสัชกรในสถานพยาบาล สถานบริการเภสัชกรรม หรือหน่วยงาน • พึงคำนึงถึงประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับเป็นสำคัญ ไม่มุ่งหวังเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายยาหรือประโยชน์ส่วนตน • และพึงจัดให้มีระบบกำกับดูแลการรับและการจ่ายตัวอย่างยาของสถานพยาบาลหรือหน่วยงาน ซึง ควรเป็นระบบที่ตรวจสอบได้
7.1 สถานศึกษา ไม่พึงอนุญาตให้ผู้แทนยาเข้าพบนักศึกษา เพื่อการโฆษณายาหรือการส่งเสริมการขายยา • 7.2 สถานศึกษา ไม่พึงอนุญาตให้มีการจัดกิจกรรมให้ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับยาแก่นักศึกษา ที่เชื่อมโยงถึงชื่อทางการค้าของยา หรือบริษัทยา เพื่อป้องกันการโฆษณาแอบแฝง • 7.3 สถานศึกษา ไม่พึงอนุญาตให้นักศึกษารับเงิน สิ่งของ หรือการสนับสนุนอื่นๆ จากบริษัทยาโดยตรง