430 likes | 725 Views
ยาในประเทศไทย. สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มมส . 21 สค . 2557. 1. 2. 3. 4. ประเภทของยา. แหล่งกระจายยา. ระบบเตือนภัย. ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เสี่ยงอันตราย. Contents. ประเภทของยา. จำแนกตามการขออนุญาต ยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ ยา สมุนไพร ไม่ต้องขออนุญาต
E N D
ยาในประเทศไทย สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มมส. 21สค. 2557
1 2 3 4 ประเภทของยา แหล่งกระจายยา ระบบเตือนภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เสี่ยงอันตราย Contents
ประเภทของยา • จำแนกตามการขออนุญาต • ยาแผนปัจจุบัน • ยาแผนโบราณ • ยาสมุนไพร ไม่ต้องขออนุญาต • ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ
จำนวนทะเบียนตำรับยาสำหรับมนุษย์ พ.ศ.2555 ผลิต นำเข้า รวม • ยาแผนปัจจุบัน 19,690 6,088 25,778 • ยาแผนโบราณ 13,181 843 14,024 • http://drug.fda.moph.go.th/zone_search/sea001.asp
มูลค่าการผลิต/การนำเข้ายาสำหรับมนุษย์ พ.ศ.2553 (ล้านบาท) ผลิต นำเข้า รวม • ยาแผนปัจจุบัน 56,701 98,221 154,922 • ยาแผนโบราณ 3,140 359 3,499 • http://drug.fda.moph.go.th/zone_search/sea001.asp
จำแนกตามระดับของอันตรายจากยาจำแนกตามระดับของอันตรายจากยา • ยาควบคุมพิเศษ โฆษณาได้เฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพฯ • ยาอันตราย โฆษณาได้เฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพฯ • ยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ขออนุญาตโฆษณาได้ • ยาสามัญประจำบ้าน ขออนุญาตโฆษณาได้
การสำรวจอนามัยและสวัสดิการการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ • สำนักงานสถิติแห่งชาติ • สำรวจข้อมูลด้านอนามัยและสวัสดิการครั้งแรกในปี 2517 • ในปี 2556 เป็นการสำรวจครั้งที่ 18 • เก็บข้อมูลจากประมาณ 27,960 ครัวเรือน ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 • โดยมีวัตถุประสงค์ • เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักประกันด้านสุขภาพ การเจ็บป่วย การไปรับบริการสาธารณสุข และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
การเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายการเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบาย ระหว่าง 1 เดือนก่อนการสัมภาษณ์ • การเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล • การเจ็บป่วยที่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล
การเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาลการเจ็บป่วยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาในสถานพยาบาล 2552 2554 2556 • ผู้มีอาการป่วย 20.3 20.6 23.0หรือรู้สึกไม่สบาย • ผู้มีโรคเรื้อรัง 15.8 16.0 19.9หรือโรคประจำตัว • ผู้ได้รับอุบัติเหตุ 2.5 2.5 2.1หรือถูกทำร้าย • รวม (ร้อยละ) 29.0 29.3 31.9
สถานที่ในการรับบริการสาธารณสุขครั้งสุดท้ายสถานที่ในการรับบริการสาธารณสุขครั้งสุดท้าย 2552 2554 2556 • ผู้ป่วยที่มีการรักษา 80.6 68.5 71.8 • สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ 47.0 39.7 41.4 • ซื้อ/หายากินเอง 20.5 18.8 17.6 • สถานพยาบาลเอกชน 12.5 9.8 12.3 • รักษาด้วยวิธีอื่น 0.6 0.2 0.5
แหล่งกระจายยา • สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล-รพ.สต. /เดิมคือสถานีอนามัย-สอ. • โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ อื่นๆ เช่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล • สถานพยาบาลเอกชน แผนปัจจุบัน/แผนโบราณ เช่น • คลินิกแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน • ร้านยา แผนปัจจุบัน/แผนโบราณ
สถานพยาบาลเอกชน • พรบ.สถานพยาบาล • กทม. สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ • ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สสจ. • ร้านยา ร้านค้า ร้านชำ รถเร่ ฯลฯ • พรบ.ยา • กทม. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. • ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สสจ.
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน • ต้องมีเภสัชกรประจำอยู่ตลอดเวลาทำการ • หมายความว่า • ต้องมีเภสัชกรปฏิบัติงานตลอดเวลาที่เปิดร้าน
ร้านค้าทั่วไป ร้านชำ ฯลฯ → ยาสามัญประจำบ้าน • หมอพื้นบ้าน → ยาสมุนไพร ภูมิปัญญาพื้นบ้าน • รถเร่ ??? • อินเตอร์เน็ต ???
อย่าหลงเชื่อโฆษณาทางเว็บไซต์อย่าหลงเชื่อโฆษณาทางเว็บไซต์ • อย. เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณาทางเว็บไซต์ • อ้าง ยาไซโตเท็คยาอาร์ยู 486 เป็นยาทำแท้ง • หากหลงเชื่อซื้อมาใช้ผิด อันตราย • ทำให้ตกเลือด ตัดมดลูก และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ • ยาไซโตเท็ค เป็นยาใช้รักษาแผลของลำไส้เล็กส่วนต้นของกระเพาะอาหาร มีผลข้างเคียงทำให้มดลูกเกิดการรัดตัวอย่างรุนแรง จัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ให้ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น • ยาอาร์ยู 486 ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาจาก อย. ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย
ยาชุด สุดอันตราย • คุยกับยายคนนึงที่ใช้ยาชุด/ยาลูกกลอนเล่าให้ฟังว่า • “ยายใช้มานานแล้ว ใช้แล้วดี หายเร็ว เวลาปวดก็กินอีก ไม่กิน ไม่ได้ จะไม่ได้ทำงานเพราะปวดมาก ซื้อครั้งนึงก็ประมาณ 1,000-2,000 บาท บางทีก็ไปคลินิกหมอ ได้ยาเป็นชุดๆมากิน อาการปวดหายเป็นปลิดทิ้งเลย” • วันนี้มานอนรพ. ด้วยอาการบวมทั่วตัว มีเลือดออกใน กระเพาะอาหาร ... • จึงถามถึงแหล่งที่มาที่ซื้อยามากิน คือ ร้านชำในหมู่บ้านนั่นเอง ... • ภญ.จันทร์จรีย์ ดอกบัว (รพ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ)
ยาชุด สุดอันตราย • คนในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบของผม นิยมใช้ยาชุดกันใครๆ ก็ใช้ เขาบอกว่าได้ผลเร็วทันใจ บอกต่อๆ กัน หาซื้อก็ง่ายในชุมชน และที่ตลาด • และแล้วก็ได้มีผู้ป่วยคนหนึ่งเป็นหญิงวัยกลางคน แพ้ยาชุดอย่างรุนแรงจนบวม ผิวหนังลอก ปากเปื่อย • ข่าวนี้ทำให้ชาวบ้านแตกตื่นและหวาดกลัวว่าเกิดจากอะไร เขาได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล หมอบอกว่าเขาแพ้ยา ที่ใช้อยู่ในยาชุดนั่นเอง • ชาวบ้านบอกเราว่ากลัวแล้ว ไม่เอาแล้วยาชุด เห็นกับตา อันตรายจริงๆ และหมู่บ้านนั้นก็ไม่นิยมใช้ยาชุดกันแล้ว • ภก.พีรศิลป์ นิลวรรณ (รพ.สต.หัวเสือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ)
ยาชุด สุดอันตราย • ยาชุด หมายถึง ยาที่ผู้ขายจัดไว้เป็นชุด • โดยทั่วไปจะมียาตั้งแต่ 3-5 เม็ดขึ้นไป มีรูปแบบและสีต่างๆ กัน • ในยา 1 ชุด จะประกอบด้วยยาหลายๆ ชนิดรวมกัน ผู้ขายจะให้ผู้ซื้อกินครั้งละ 1 ชุด โดยไม่มีการแบ่งว่า เป็นยาชนิดใด ควรกินเวลาใด • ยาชุด ผิดกฎหมาย อันตราย ตายผ่อนส่ง • http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=19683&id_L3=2568
เมื่อเดือนมกราคม ปี 2557 • ผู้ป่วยรายหนึ่งได้กิน “แคปซูลผงบุก” แล้วมีอาการแพ้ อย่างรุนแรง ชนิด Toxic epidermal necrosis (TEN) • มีอาการผิวหนังลอกเหมือนแผลพุพองทั่วทั้งร่างกาย • ซึ่งเป็นอาการแพ้ที่รุนแรงที่สุด พบได้ยากและมีโอกาสเสียชีวิตได้ • ผลการตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีการปนปลอมของยาไซบูทรามีน (Sibutramine)
Sibutramine-ไซบูทรามีน เดิมใช้เป็นยารักษาภาวะโรคอ้วน • แต่ภายหลังได้มีการศึกษาพบว่าการใช้ยาดังกล่าวมีผล เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วย มากกว่าผู้ที่ได้รับยาหลอก • โดยอาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าว ได้แก่ ภาวะหัวใจขาดเลือดภาวะหัวใจวายกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงประกาศยกเลิกทะเบียนยาและถอนทะเบียนยาดังกล่าวออกจากประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์หมอสมุนไพร ส้มป่อย • อวดอ้างสรรพคุณลดน้ำหนัก • แสดงเลข อย. 10-1-00449-1-0185 • ตรวจสอบแล้ว เป็นเลข อย.ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกชื่อหนึ่ง • ผู้ผลิตมีเจตนาไม่สุจริต แสดงเลข อย.ปลอม ไม่แสดงที่ตั้งสถานที่ผลิต และอวดอ้างสรรพคุณทางยา หลอกลวงว่าลดน้ำหนักได้ผลเร็ว • อาจมีการลักลอบใส่ยาอันตราย เช่น ไซบูทรามีน
จากการตรวจสอบ พบว่า • GlutaCollyและL-Car Colly • มี เลข อย.ครบถ้วน แต่เป็น อย.ปลอม • เพราะเลข อย. 70-1-04151-1-0090 และ 70-1-04151-1-0100 เป็นของบริษัทผู้ผลิตในจ.ราชบุรี • ไม่ตรงกับที่อยู่ที่แสดงในฉลากว่าเป็น จ.ขอนแก่น และ จ.ปทุมธานี
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เสี่ยงอันตราย อย่าซื้อ... อย่าใช้
อย.เตือนภัยผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง หลอกขาย ผ่านทาง Social mediaหรือ ทางอินเทอร์เน็ต
อย. เตือนอย่าเชื่อน้ำว่านหางจระเข้รักษาอีโบล่าได้ • กรณีการเผยแพร่ข้อมูลทางสื่อออนไลน์ มีการให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์น้ำว่านหางจระเข้ S VERAสามารถใช้รักษาอาการโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอีโบล่าได้ • น้ำว่านหางจระเข้ในเบื้องต้นเมื่อดูจากสูตรส่วนประกอบ และการจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ดังนั้น • น้ำว่านหางจระเข้เป็นอาหาร ไม่สามารถรักษาโรคได้
จับคลินิกรับฉีดกลูต้าไธโอนผิดกฎหมาย • อย. ร่วม สบส. และตำรวจ บก.ปคบ. • บุกจับคลินิกรับฉีดกลูต้าไธโอนผิดกฎหมาย ย่านสีลม เตือนคุณผู้หญิงระวัง • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลูตาไธโอน เป็นอาหาร • ไม่ช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นได้
อันตรายจากการรับประทานหรือฉีดกลูตาไธโอน • ส่งผลให้เม็ดสีเมลานินในผิวหนังและที่จอตาลดลง ทำให้จอตา รับแสงได้น้อยลง เสี่ยงต่อการมองเห็นในอนาคต • และหากเม็ดสีที่ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวเหี่ยวย่นเร็ว แก่เร็วขึ้น รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งในผิวหนัง • สารกลูตาไธโอนที่เป็นยาฉีด อย.ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนตำรับยา • หากแพทย์นำไปฉีดให้คนไข้ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย • แม้จะเป็นยานำเข้าหรือลักลอบซื้อจากต่างประเทศ ก็ผิดกฎหมาย
อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ“ยาสมุนไพรอายุวัฒนะ” • อย. เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อ • “ยาสมุนไพรอายุวัฒนะ ฉลากระบุทะเบียน G 463/46” • อันตรายพบสเตียรอยด์ปนเปื้อน แสดงฉลากปลอม • ยาสมุนไพรอายุวัฒนะที่ตรวจพบการปนเปื้อนยาสเตียรอยด์ • หรือยาสมุนไพรใดก็ตามที่ตรวจพบสเตียรอยด์ • เป็นยาผิดกฎหมาย และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ยากลุ่มสเตียรอยด์ต้องใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์ • เพราะเป็นยาที่มีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย แทบทุกระบบ มีผลข้างเคียงสูง เช่น • ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ได้ง่าย • เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง อาจถึงขั้นกระเพาะทะลุ • กล้ามเนื้อลีบ กระดูกผุ ภูมิคุ้มกันลดลง • บางรายอาจถึงขั้นไตวายเป็นอันตรายถึงชีวิต
หากผู้บริโภคจะเลือกซื้อยาแผนโบราณ • ขอให้ซื้อยาจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น • อย่าหลงเชื่อซื้อยาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ • เช่น ตลาดนัด ตามวัด รถเร่ขายยา แผงลอย หรือซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค เป็นต้น • เพราะอาจได้รับยาที่มีการลักลอบใส่สเตียรอยด์