1 / 27

DESIGN STUDIO 2 นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค / 51711455

วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก. DESIGN STUDIO 2 นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค / 51711455. PR E S E NT Small-scale Public Building Design Studio.

jontae
Download Presentation

DESIGN STUDIO 2 นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค / 51711455

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก DESIGN STUDIO 2 นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค / 51711455 • PRESENT • Small-scale Public Building Design Studio

  2. เหตุผลที่เลือก เนื่องจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นจังหวัดที่มีอุณหภูมิสูงเกือบตลอดทั้งปี วัสดุที่นำมาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ของชาวบ้านในชุมชนพิษณุโลก จึงมีส่วนสำคัญ ในการช่วยระบายความร้อนให้กับตัวเรือน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่น่าสนใจ และสามารถนำมาปรับใช้กับงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก เรือนของไทยเรา มีบรรยากาศเย็นสบาย เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของไทยโดยแท้ วัสดุก่อสร้างเรือนไทย ที่ทำให้เรือนไทยเย็นก็คือ “ไม้” เพราะไม้เป็นฉนวน ซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาง่ายและมีมาก วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก

  3. - ศึกษาคุณสมบัติของ  “ ไ ม้ ไ ผ่   ” ช่วยสร้างความเย็นให้บ้านได้อย่างไร ?- ศึกษาฝาเรือนไม้ไผ่ในจังหวัดจังหวัดพิษณุโลก มีรูปแบบอย่างไร ?- ศึกษาข้อดี และข้อด้อยของไม้ไผ่กับไม้ทั่วไปในจังหวัดพิษณุโลก- ศึกษาว่าทำไม เรือนไม้ไผ่ถึงเริ่มลดลงกว่าที่เคยมีมาในอดีต ทั้งที่วัสดุไม้ไผ่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก จุดประสงค์การศึกษา: ต้องการศึกษาภูมิปัญญา การเลือกทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีความงามแบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกของความคิด  ตลอดจนความสามารถเข้าใจวัสดุไม้ไผ่ ที่ผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต ในท้องถิ่นพิษณุโลก

  4. กระบวนการศึกษาเริ่มหาข้อมูลบางส่วนในอินเตอร์เน็ต  และศึกษาจากเรือนข้าง ม. นเรศวรเน้นไปที่เรือนชาวบ้านชนบทที่อยู่กับธรรมชาติ เนื่องจากมีวิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ซึ่งบางส่วนยังคงความเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ขอบเขตในการศึกษา-   ตำบลท่าโพธิ์   (หมู่บ้านหลังม.) อ.เมือง จ.พิษณุโลกผลที่คาดว่าจะได้รับ- เข้าใจวัสดุไม้ไผ่ ที่ผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต ในท้องถิ่นพิษณุโลก- เข้าใจภูมิปัญญาของชาวบ้าน  การทำฝาเรือน “ ฝาเรือนไม้ไผ่ ” ช่วยให้บ้านเย็นอย่างไร?

  5. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือ ในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต ส่งผลให้มีการพัฒนารูปแบบเป็น องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่เน้นในเรื่องความโปร่งโล่ง ให้แสงและลมเข้าได้ ฝาผนังไม้เป็นวัสดุที่เป็นฉนวนอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรือนไทยเย็น...

  6. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • ไม้ไผ่ เป็นพืชตระกูลหญ้าที่สูงที่สุดในโลก • เป็นวัสดุเก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์นำมาใช้เพื่อความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน • เป็นพืชเมืองร้อน และไม้ไผ่ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ไม้ไผ่ที่ใช้ทำฝา จากการศึกษาพบว่าชนิดที่มีมากในแถบภาคเหนือตอนล่าง และที่นิยมคือคือ ไผ่เฮียะ ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาวขนาด50-70เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย เนื้อหนา 1-2เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-18เมตร ลำต้นใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงคลังคา คาน และการก่อสร้างชั่วคราวเช่น ฝา

  7. เพราะเหตุใด ไม้ไผ่ จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก ? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก

  8. เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก 1.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา 1-4 ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน จะสังเกตเห็นได้จากที่นา ในจังหวัดพิษณุโลกที่ชาวนา มักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น การปลูกต้นไผ่ ของชาวบ้านบริเวณรอบม. นเรศวร มักจะปลูกไว้ในบริเวณใกล้ๆ กับตัวบ้าน หรือ พื้นที่โล่งที่ไม่ได้ใช้งาน

  9. 2. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก ? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก

  10. เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก 3. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอด 4. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่น สามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี เมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่น

  11. เพราะเหตุใด " ไม่ไผ่ " จึงเป็นวัสดุภูมิปัญญาของชาวพิษณุโลก ? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก 5.เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กิน

  12. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก “ผลจากการสอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับภูมิปัญญาการสร้างบ้านจากวัสดุไม้ไผ่ ได้ข้อมูลดังนี้คะ”

  13. วิธีการ... การทำฝาเรือนจากวัสดุไม้ไผ่ วัดความยาวตามต้องการ- ใช้มีดเกลากิ่งตามข้อ และตาให้เรียบ แล้วผ่าครึ่งซีก วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก “ แต่ก่อนนี้บ้านที่สร้างทั่วๆไปแล้วจะมีเสาเป็นไม้จริง !ส่วนประกอบอื่นๆเป็นไม้ไผ่หมด โดยเฉพาะฝาบ้านใช้ไม้ไผ่ ชนิดพิเศษ ( ประมานว่าเป็นไม้ไผ่ทั้งลำ ) ” -แล้วก็สับไม้ไผ่ที่มีครึ่งซีก แผ่กางออก ก็จะได้แผ่นแบนๆ ของไม้ไผ่ คล้ายๆกระดาน หนึ่งแผ่น ทำเช่นนี้หลายๆชิ้น แล้วก็เอาไปสานขัดไปมาก็จะได้แผ่นไม้ไผ่สานขัดแผ่นใหญ่ นำไปใช้ในฝาบ้าน คุณลุง เกษตรกร อ.ท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จ. พิษณุโลก

  14. คุณลุงคิดบอกว่า อายุการใช้งานของฝาไม้ไผ่นานถึง20ปีขึ้นไปเลยทีเดียว !!แต่คุณลุงบอกว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ทนทานเพราะ พยายามให้หลังคาบ้านมีชายคาเพื่อป้องกันน้ำฝน และต้องคอยดูแลปลวกกัดกินด้วยที่สำคัญไม้ไผ่ที่จะเอามาทำต้องเป็นไผ่ชนิดเดียวเท่านั้น คือ ไม่ไผ่เฮี๊ยะ ค่ะ ซึ่งมีอยู่บนยอดเขาเท่านั้น แถบตีนภู มีแต่น้อยเลือกขนาดที่เหมาะสมไม่ได้ คุณลุงคิดเล่าว่า “ …การเอาไม้ไผ่ไปรมควันไฟ ที่เตาไฟทำกับข้าว เพื่อเป็นการป้องกันปลวก มอด ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่โบราณ และอีกอย่าง ชาวบ้านจะนิยมตัดไม้ไผ่ในฤดูฝนเพราะในช่วงนี้ต้นไม้จะผลัดยางเพื่อป้องกันไม่ให้ปลวก มอด มากิน แต่ถ้าตัดในฤดูแล้งหรือฤดูร้อนก็จะทำให้มอดหรือแมลงกัดกินไม้ที่ตัดได้ วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก เรือนไม้ไผ่ที่หาได้ใน จ. พิษณุโลก ! “ ถ่ายทอดประสบการณ์โดย ”: คุณลุงคิด...ค่ะ คุณลุงคิดอายุ 65 ปี อาชีพ เกษตรกร หมู่ - อ.ท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จ. พิษณุโลก

  15. *** คุณลุงบอกเคล็ดลับว่า การตัดไผ่จะเลือกไผ่ที่ยังไม่มีกิ่งแขนง เพราะแขนงจะทำให้ยากในการจักสาน และได้ ลวดลายไม่สวย วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ข้อดี*ของไม้ไผ่ในการนำมาทำฝาเรือน -ราคาถูก-ไม้ไผ่จะแข็งกว่าไม้ทั่วไป เหนียว ยืดหยุ่นได้ ดีทนทาน

  16. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • “ ไม้ ไผ่  ” ช่วยสร้างความเย็นให้บ้านได้อย่างไร ?

  17. เป็นฝาเรือนที่ใช้ไม้ไผ่ผ่าซึก”ทำเป็นโครงสร้างฝาตามแนวนอน เว้นห่างกันพอสมควร แล้วใช้ซึกไม้ไผ่ ทำเป็นลูกตั้ง กรุฝาด้วยวิธีสอดไม้ลูกตั้งขัดกับไม้ซึกที่ทำเป็นโครงสร้างตามแนวนอน ขัดขึ้นลงสลับกันไปจนเต็มขนาดกว้างของช่องฝา ฝาขัดแตะนี้เป็นฝาโปร่งอากาศถ่ายเทผ่านสะดวก แต่ถ้าจะหาใน ปัจจุบันก็หายาก!!จะมีก็น้อย อีกอย่างหนึ่ง วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป(ทำให้การซ่อมแซมบ้านบ่อย ๆเป็นเรื่องยุ่งยาก)!! วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ฝาผนังระบายอากาศของบ้านลุงเป็น ฝาไม้ขัดแตะ* แต่ก่อนเค้าก็ทำกันเยอะนะ!! ฝาขัดแตะ* คุณลุงไสว แสงงาม อายุ 60 ปี อาชีพ เกษตรกร หมู่ 7 อ.ท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จ. พิษณุโลก

  18. ผนังหายใจได้ !! วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ฝาอีกชนิดที่ชาวบ้านเรียกว่า "ฝาสำหรวด“ เป็นฝาเรือนที่ทำจากไม้ไผ่หรือไม้กระบอกสานกันบนโครงไม้ค่อนข้างถี่ เป็นฝาเรือนที่เหมาะจะใช้เป็นผนังครัว เพราะสามารถระบายอากาศได้ดี แต่ปัจจุบัน ก็ไม่ค่อยทำกันแล้ว มีแต่สร้างบ้านแบบสมัยใหม่ซะมากกว่า !! *** เรือนของไทยเป็นเรือนที่มีชีวิตเพราะเรือนไทยมีการออกแบบให้ฝาผนังระบายอากาศได้

  19. จากการศึกษา :จากภาพเป็นลายฝาบ้านที่พบทั่วไปเป็นลายธรรมดา คือ ลายขัดและลายสอง ลายขัดจะมีความคงทนกว่า สานลำบากกว่า แต่แน่นกว่า วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก รูปแบบฝาเรือนไม้ไผ่ใน จ. พิษณุโลก เคล็ดลับ * ความทนทานในการใช้ไม้ไผ่ทำฝา ประกอบด้วยโครงไม้ที่เอามาประกบถี่ๆทั้ง ด้านนอก ด้านในจึงจะแข็งแรง หากทำห่างๆหรือไม่ได้ทำ นานไปก็จะพังลงมาง่าย

  20. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • จุดอ่อนของวัสดุไม่ไผ่

  21. - เป็นเหยื่อของแมลงเจาะไช ทำให้ผุพังได้รวดเร็ว ไม่ทนทาน สามารถแก้ได้ด้วยวิธีการอบน้ำยากันแมลง ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่าย ( ถ้าทำจำนวนน้อย แต่ถ้าสามารถทำเป็นจำนวนมากได้ ก็จะลดต้นทุนลงไป )- การก่อสร้างด้วยรูปแบบเดิมๆ มีวิธีการก่อสร้างที่เรียกว่า เรือนเครื่องผูก ข้อต่อต่างๆก็จะมาทาบกันแล้วผูกด้วยวัสดุที่เหนียวเช่นหวายและ ก็ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่ทนทานจากวัสดุผูกนี่แหละ ที่พังก่อน เลยทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องรูปแบบและความคงทน วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก จุดอ่อนของไม่ไผ่ในการนำมาทำฝาเรือน

  22. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก • ที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไป...จากวิถีชีวิต สาเหตุ

  23. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก วันเวลาผ่านไป : จากชุมชนขนาดเล็กกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีระบบสาธารณูปโภคเข้าถึงทุกบ้าน มีการปลูกสร้างบ้านทรงรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาทดแทนบ้านเรือนแบบเก่าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น **ทั้งนี้เพราะบ้านหลังเก่าหมดอายุการใช้งาน ผุผังไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องรื้อถอนเพื่อก่อสร้างใหม่ตามสมัยนิยม สาเหตุที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต บ้านเรือนจากไม้ไผ่ บ้านเรือนครึ่งไม้ครึ่งปูน บ้านเรือนสมัยใหม่

  24. เพราะค่านิยมใหม่ๆดูเหมือนว่า อาคารบ้านเรือนคือเครื่องบ่งชี้ฐานะในสังคม... ??สภาพสังคมที่ให้คุณค่ากับบ้านคอนกรีตเนื่องจากไม้ไผ่มักจะใช้กับการก่อสร้างที่ค่อนข้างจะชั่วคราว และราคาถูก จึงเป็นภาพพจน์ที่ไม่ดีของไม้ไผ่ ว่าเป็นที่อยู่อาศัยของคนจนไป**วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป(ทำให้การซ่อมแซมบ้านบ่อย ๆเป็นเรื่องยุ่งยาก) วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก สาเหตุที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต สภาพสังคมที่ให้คุณค่ากับบ้านคอนกรีต การก่อสร้างที่ค่อนข้างจะชั่วคราว และราคาถูก

  25. กฎหมายอาคารที่เกิดขึ้น(มองว่าบ้านไม้ไผ่เป็นอาคารชั่วคราว ทำให้ไม่สามารถมีบ้านเลขที่ได้) **บ้านไม้ไผ่ที่เราพบเห็นมักจะมีรูปแบบที่เหมือนๆกัน ด้วยวิธีการและรูปแบบในการก่อสร้าง ซึ่งทำตามๆกันมา นี่เป็นจุดอ่อนของบ้านไม้ไผ่ ที่ไม่มีการพัฒนาในเรื่องตัววัสดุ รูปแบบ วิธีการก่อสร้าง และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ความนิยมอยู่ในวงจำกัด การใช้งานก็จำกัดไปด้วย วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก สาเหตุที่เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต : รูปแบบเรือนไม่ไผ่โดยทั่วไปที่สังเกตได้ มักจะเป็นเรือนชนบท ( เรือนเครื่องผูก )

  26. วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลกวัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก ในสังคมชนบทที่ได้ศึกษา ภูมิปัญญาการทำฝาไม้ไผ่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพื้นถิ่นซึ่งสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ และ ความสงบสุขในสังคม ซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดสืบกันมา แต่ปัจจุบันแม้เรือนไม้ไผ่เริ่มหายไปจากวิถีชีวิต เนื่องจากปัจจัยหลายประการที่ได้ศึกษามาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ภูมิปัญญาเกี่ยวกับข้อดีของไม้ไผ่ยังคงอยู่และถูกนำมาสานต่อประยุกต์เข้ากับสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว เช่น การประยุกต์ใช้กับบ้านพักต่างอากาศ รีสอร์ท เป็นต้น คุณค่าจากการศึกษาในครั้งนี้ !!

  27. ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณลุงคิด ( ผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลเกี่ยวกับเรือนไม้ไผ่ )ชาวบ้านหมู่บ้านหลังม. นเรศวรกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมhttp://www.openbase.in.th/node/9764 ตอกhttp://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=107.60http://www.hometophit.com/hometh/view_board.php? วัสดุ...ภูมิปัญญาชาวพิษณุโลก จัดทำโดย นางสาวเบ็ญจพร ทองศุภโชค/ 51711455 DESIGN STUDIO 2

More Related