1 / 42

การคาดประมาณทางระบาดวิทยา - หลักทั่วไป Epidemiological Estimate – General Approach

การคาดประมาณทางระบาดวิทยา - หลักทั่วไป Epidemiological Estimate – General Approach. นพ.เฉวตสรร นามวาท สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. น.พ.เฉวตสรร นามวาท พบ., สม., วว. เวชศาสตร์ป้องกัน(ระบาดวิทยา) chawetsan@yahoo.com 02-965 9571 ext. 115 Fax 02-965 9571 ext. 114 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.

jodie
Download Presentation

การคาดประมาณทางระบาดวิทยา - หลักทั่วไป Epidemiological Estimate – General Approach

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การคาดประมาณทางระบาดวิทยา - หลักทั่วไปEpidemiological Estimate – General Approach นพ.เฉวตสรร นามวาท สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  2. น.พ.เฉวตสรร นามวาท พบ., สม., วว. เวชศาสตร์ป้องกัน(ระบาดวิทยา) chawetsan@yahoo.com 02-965 9571 ext. 115 Fax 02-965 9571 ext. 114 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

  3. ขอบเขตเนื้อหา • การวัดทางระบาดวิทยา • การคาดประมาณค่าทางระบาดวิทยาในการศึกษาภาระโรค • ขั้นตอน • กิจกรรมที่ต้องทำ ผลผลิต และคำถามสำคัญ

  4. ระบาดวิทยา • การศึกษาการกระจายและปัจจัยของการเกิดโรคในประชากร เพื่อนำไปสู่การควบคุมป้องกันโรค • ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์

  5. การวัดทางระบาดวิทยา • Measure of magnitude – จำนวน/อัตรา ป่วย ตาย พิการ การสูญเสียปีชีวิต.. • Measure of association – Oods ratio, Risk ratio • Measure of impact – Attributable fraction, etc.

  6. ป่วยรายใหม่ incidence Prevalence หาย ตาย นิยามที่ควรรู้ 1 • อุบัติการณ์ incidence – ผู้ป่วยรายใหม่ • ความชุก prevalence – ผู้ที่กำลังป่วย(รวมรายใหม่ และ รายเก่าที่ยังไม่หาย)

  7. นิยามที่ควรรู้ 2 • RR = Risk Ratio =...= Relative Risk • แปลผล RR = การมีปัจจัยมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นกี่เท่าเมื่อเทียบกับไม่มีปัจจัย • RR=1 ไม่มีความสัมพันธ์ • RR>1 เป็นปัจจัยเสี่ยง • RR<1 เป็นปัจจัยป้องกัน • OR = Odds Ratio ~ estimation of RR แปลผลเหมือนกัน

  8. วิธีการป้องกันและควบคุมโรควิธีการป้องกันและควบคุมโรค เกิดโรค ไม่มีอาการ มีโอกาสเกิดโรค มีอาการ ธรรมชาติของการเกิดโรค ... ระดับการคุมโรค ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ลดอุบัติการณ์ ลดความชุกและผลของโรค ลดความพิการ ผลกระทบ

  9. ขั้นตอนการคาดประมาณค่าทางระบาดฯขั้นตอนการคาดประมาณค่าทางระบาดฯ 1. ศึกษาสืบค้นความรู้เกี่ยวกับโรค 2. สร้างแผนผังธรรมชาติของโรค 3. หาตัวชี้วัดทางระบาดฯที่ต้องใช้ 4. ทบทวนวรรณกรรมทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ 5. ตรวจความสอดคล้องและคุณภาพข้อมูล (ใช้DisMod) 6. นำตัวเลขไปใช้คำนวณ YLD

  10. เป้าหมาย • อยากได้ค่าความชุก อุบัติการณ์ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน อัตราตาย ฯ ไปคำนวณภาระโรค DALYs

  11. Input(i) Age group Prevalence Remission Mortality 0-14 15-59 60+ เป้าหมาย

  12. ศึกษาสืบค้นความรู้เกี่ยวกับโรค สิ่งที่ต้องทำ • ประเด็นที่ต้องสนใจได้แก่ นิยามโรคธรรมชาติของโรคการจำแนกกลุ่มย่อยหรือประเภทในโรคนั้นความรุนแรงระบาดวิทยา และภาวะแทรกซ้อนหรือผลกระทบที่เกิดภายหลังโรคนั้น • ศึกษาองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบันจากตำราเฉพาะโรคนั้น หรือการทบทวนความรู้จากแหล่งอื่น เช่น ในการศึกษาภาระโรคของโลก หรือของประเทศอื่นที่ทำมาก่อน

  13. ศึกษาสืบค้นความรู้เกี่ยวกับโรค(ต่อ) ผลผลิตที่ได้ • องค์ความรู้เกี่ยวกับโรค โดยเฉพาะเรื่องลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค และ แหล่งข้อมูลที่อาจนำมาใช้ได้ • ข้อมูลที่เพียงพอต่อการนำมาเขียนแผนผังธรรมชาติของโรค ถ้าหากข้อมูลยังไม่เพียงพอ ก็ยังเป็นประโยชน์ในการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ(ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับแถวหน้าในเรื่องนั้น)เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาด

  14. ศึกษาสืบค้นความรู้เกี่ยวกับโรค(ต่อ) คำถามสำคัญ • อะไรคือความรู้ใหม่ ๆ ของโรค และมีข้อจำกัด/ข้อโต้แย้งหรือไม่ • อะไรคือข้อมูลที่พอจะหาได้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของโรคและความพิการที่ตามมา (ความชุก, อุบัติการณ์, ระยะเวลาที่ป่วย, อายุเมื่อเริ่มป่วย, อัตราการหายป่วย, ความเสี่ยงสัมพัทธ์, ระดับความรุนแรงของโรค และระยะเวลาจากเริ่มป่วยจนถึงมีความพิการ) • หากไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน การอภิปรายกลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นมีความจำเป็นหรือไม่

  15. 2. สร้างแผนผังธรรมชาติของโรค • กำหนดขอบเขตที่ศึกษา • ศึกษาความสัมพันธ์ของโรคกับโรคอื่น ๆ • โรคซ้อนทับกันหรือไม่ • โรคสัมพันธ์กันอย่างไร • การนิยามหรือแบ่งขอบเขต • วาดแผนผังธรรมชาติของโรค

  16. กำหนดขอบเขตที่ศึกษา Sub-Saharan Africa South Africa Cape Town ศึกษาความสัมพันธ์ของโรคกับโรคอื่น ๆ Asthma? South Africa Bronchitis? Hepatitis

  17. รูปที่ 7.2 แผนผัง dynamic disease model Dead Risk factor 1 7 1 Susceptible and Exposed 7 Risk factor 2 1 9 Immune Risk factor 3 1 5 2 7 8 3 6 7 Affected 10 4 Sequelae

  18. รูปที่ 7.3 แผนผัง dynamic disease model for hepatitis B Dead Risk factor 1 7 1 Susceptible and Exposed 7 Risk factor 2 1 9 Immune Risk factor 3 1 5 2 7 8 3 6 7 Acute or Asymtomatic Infection 10 4 Carrier Cirrhosis Liver cancer

  19. รูปที่ 7.4 Disease diagram for breast cancer with tumor larger than 5 cm at diagnosis Clinically disease-free Cured 5 years – 8 months p Initial diagnosis & Treatment 1-p inremission Disseminated disease Terminal Death Remainder of time 1 year 1 month

  20. Dead from other causes Healthy All other mortality Incidence Remission Dead from disease Diseased Case fatality Simple disease model

  21. 2. สร้างแผนผังธรรมชาติของโรค(ต่อ) ผลผลิต • นิยามที่จำแนกชัดเจน รวมถึง ความสัมพันธ์ทางระบาดวิทยา ระหว่างโรคและปัจจัยกำหนด(determinants) ผลลัพธ์ และ ภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา • ตัวชี้วัด(หรือค่าสำคัญ)ทางระบาดวิทยาที่จำเป็นต้องทราบเพื่อบอกการเปลี่ยนแปลงของโรค • รูปแบบโรคที่เข้าใจง่าย แต่มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วนในแง่ของเส้นทาง ผลแทรกซ้อน ระยะของโรค

  22. 2. สร้างแผนผังธรรมชาติของโรค(ต่อ) คำถามสำคัญ • แผนผังที่ได้สามารถอธิบายโรคที่สนใจศึกษาได้แล้วหรือไม่ มีหลักฐานใดบ้างที่สนับสนุนหรือคัดค้านข้อสรุปข้างต้น • มีปัจจัยอื่นใดบ้างหรือไม่ที่ไม่แสดงในแผนผังนี้แต่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความถูกต้องขององค์ประกอบโรค และการนำปัจจัยดังกล่าวมาแสดงในแผนผังจะทำให้ภาพรวมของโรคเปลี่ยนแปลงหรือไม่

  23. Epidemiological Data Incidence Prevalence* Remission Case fatality or RR of mortality Duration Mortality -จำแนกตามกลุ่มอายุ-เพศ -ค่าอื่น ๆ ได้แก่ ค่าถ่วงน้ำหนักความพิการ(Disability Weight) 3. หาตัวชี้วัดทางระบาดฯที่ต้องใช้

  24. ข้อมูลทางระบาดวิทยา Epidemiological data • มักจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ • มีความชุก แต่ไม่มีอุบัติการณ์ • มักไม่สอดคล้องกัน • อัตราตาย มากกว่า อุบัติการณ์Mortality and incidence • ความสัมพันธ์ระหว่าง Incidence and prevalence

  25. Epidemiological data • Complete data desirable • Allows to calculate BoD in a comparable way between diseases • Consistent data desirable • Inconsistent data means something is wrong

  26. 3. หาตัวชี้วัดทางระบาดฯที่ต้องใช้(ต่อ) ผลผลิต – list ค่าทางระบาดวิทยาที่ต้องการ • Incidence อุบัติการณ์ • Prevalence ความชุก • Remission การหายจากโรค • Duration ระยะเวลาป่วย/พิการ • Case fatality อัตราการป่วยตาย • Mortality อัตราตาย • RR on total mortality ความเสี่ยงต่อการตาย

  27. 4. ทบทวนวรรณกรรมทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ • ข้อมูลที่พบนั้นคุณภาพเป็นอย่างไร • จะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง • ข้อมูลจากระบบทะเบียนหรือระบบรายงาน มีข้อจำกัดบางประการ ควรเสาะหาแหล่งข้อมูลอื่นมาพิจารณาร่วมด้วย

  28. 4. ทบทวนวรรณกรรมทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์(ต่อ) แหล่งข้อมูล • ระบบรายงาน/ทะเบียน • การสำรวจจากประชากร • การศึกษาทางระบาดวิทยา การค้นหาข้อมูลนานาชาติ

  29. 4. ทบทวนวรรณกรรมทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์(ต่อ) กิจกรรมที่ต้องทำ • เรียบเรียงผลการศึกษาดังในตารางที่ 7.2 เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบผลการศึกษา • เลือกการศึกษาที่มีคุณภาพมากที่สุด และประชากรในการศึกษาตรงกับประชากรเป้าหมายที่ต้องการ หรือถ้าหากคิดว่าไม่มีการศึกษาใดที่เชื่อถือได้ดีที่สุดก็ให้เลือกค่าที่เป็นไปได้และสมเหตุสมผล

  30. 4. ทบทวนวรรณกรรมทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์(ต่อ) ผลผลิต • ชุดค่าคาดประมาณทางระบาดวิทยาจากการศึกษาที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดที่หาได้ และเป็นตัวแทนประชากรที่ต้องการด้วย คำถามสำคัญ • มั่นใจหรือไม่ว่าค่าที่ได้นี้เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด และเป็นตัวแทนประชากรที่ต้องการ • เหตุผลที่ไม่เลือกค่าจากการศึกษาอื่น ๆ ชัดเจนเพียงพอหรือไม่ • มีค่าใดบ้างที่ยังไม่มี เหตุใดจึงไม่สามารถหาได้ในขั้นตอนที่ 1 และ4

  31. 5. ตรวจความสอดคล้องและคุณภาพข้อมูล (ใช้DisMod) • ตรวจสอบความสอดคล้องภายใน ของค่าต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรม DisMod • ปรับแก้ความไม่เป็นตัวแทน • ประมาณค่าที่เป็นไปได้ • ปรึกษาคณะผู้เชี่ยวชาญ - วิธีการ ***เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าใด ๆ แล้ว ต้องตรวจความสอดคล้องเสมอ

  32. Relationship between DisMod input and output data Output Prevalence Mortality Duration Input Ý ÝÝÝ Ý Incidence Ý ßß ß ßß Remission rate Ý ß ÝÝÝ ß Case-fatality rate

  33. 0.04 Incidence 0.035 0.03 Mortality 0.025 Rate 0.02 0.015 0.01 0.005 0 25-29 30-34 35-39 40-44 45-49 50-54 55-59 60-64 65-69 70-74 75-79 80-84 85-89 90-94 95+ Age group

  34. 0.03 0.025 Incidence 0.02 Rate 0.015 0.01 0.005 0 25-29 30-34 35-39 40-44 45-49 50-54 55-59 60-64 65-69 70-74 75-79 80-84 85-89 90-94 95+ Age group

  35. 5. ตรวจความสอดคล้องและคุณภาพข้อมูล(ต่อ) ผลผลิต • ชุดตัวเลขค่าทางระบาดวิทยาที่มีความสอดคล้องกันอย่างดี • ข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวณภาระโรค คำถามสำคัญ • ถ้าข้อมูลจากแหล่งเดียวกันขัดแย้งกันเอง ต้องถามว่า แหล่งข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือเพียงใด

  36. 5. ตรวจความสอดคล้องและคุณภาพข้อมูล(ต่อ) คำถามสำคัญ(ต่อ) • ถ้า DisMod ให้ค่าคาดประมาณที่สอดคล้องกันข้อมูลที่มีหลายแหล่ง คำถามก็คือว่าโรคนี้กระจายได้เหมือน ๆ กันในทุกกลุ่มประชากร คงที่(stable)อย่างแท้จริงหรือว่าเป็นไปด้วยความบังเอิญ • ตัวเลขเหล่านี้สมเหตุสมผลดีหรือไม่ สอดคล้องกับงานที่ตีพิมพ์หรือไม่ คณะผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยหรือไม่

  37. 6. นำตัวเลขไปใช้คำนวณ YLD ผลผลิต • ภาระโรคในหน่วยนับ DALY คำถามสำคัญ • การประเมินทางระบาดวิทยาเป็นไปอย่างดีหรือไม่ • เงื่อนไขข้อตกลงที่อาจมีความไม่แน่นอนส่งผลต่อพิสัยของผลภาระโรคที่เป็นไปได้มากหรือไม่ • คณะผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับผลการคำนวณหรือไม่ • ผลการศึกษาสมเหตุสมผล(make sense)เพียงใด โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับอื่น ๆ เช่น การศึกษาภาระโรคระดับโลกหรือภูมิภาค ผลงานตีพิมพ์ระดับชาติ เป็นต้น

  38. สรุป

  39. ขั้นตอนการคาดประมาณค่าทางระบาดฯขั้นตอนการคาดประมาณค่าทางระบาดฯ 1. ศึกษาสืบค้นความรู้เกี่ยวกับโรค 2. สร้างแผนผังธรรมชาติของโรค 3. หาตัวชี้วัดทางระบาดฯที่ต้องใช้ 4. ทบทวนวรรณกรรมทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ 5. ตรวจความสอดคล้องและคุณภาพข้อมูล (ใช้DisMod) 6. นำตัวเลขไปใช้คำนวณ YLD

  40. เป้าหมาย • อยากได้ค่าความชุก อุบัติการณ์ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน อัตราตาย ฯ ไปคำนวณภาระโรค DALYs

  41. ทำอย่างไรจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และสอดคล้องกันHow to get complete & consistent data? • More and better measurement • Expert knowledge • Disease modelling

  42. ขอบคุณ

More Related