1 / 84

( Communication )

การสื่อสาร ข้อมูล. ( Communication ). การสื่อสารข้อมูล. 1. การสื่อสารข้อมูลเบื้องต้น. 2. โพร โท คอล. 3. ชนิดของเครือข่าย. 4. รูปร่างเครือข่าย. 5. อุปกรณ์เครือข่าย. 6. สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล. 7. เกม. อ้างอิง.

Download Presentation

( Communication )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสื่อสารข้อมูล (Communication)

  2. การสื่อสารข้อมูล 1 การสื่อสารข้อมูลเบื้องต้น 2 โพรโทคอล 3 ชนิดของเครือข่าย 4 รูปร่างเครือข่าย 5 อุปกรณ์เครือข่าย 6 สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล 7 เกม อ้างอิง

  3. การสื่อสารข้อมูล (data communication)คือ การรับ ส่ง โอน ย้ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์สื่อสารต่างๆผ่านสื่อนำข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาใช้ในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลเบื้องต้น

  4. ผู้ส่งข้อมูล (sender) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ ผู้รับข้อมูล (receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้ ข้อมูล (data) คือ ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลส่งไปยังผู้รับข้อมูล ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และอื่นๆ สื่อนำข้อมูล (medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น สายเคเบิล สายใยแก้วนำแสง อากาศ โพรโทคอล(protocol) คือกฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

  5. 1. สัญญาณแอนาล็อก(Analog signal) เป็นสัญญาณต่อเนื่อง ลักษณะของคลื่นไซน์ sine wave ตัวอย่างการส่งข้อมูลที่เป็น analog คือการส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์ ชนิดของสัญญาณ

  6. 2. สัญญาณดิจิทอล(Digital signal) สัญญาณไม่ต่อเนื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเลขฐาน 2 จะถูกแทนด้วยสัญญาณ digital คือเป็น 0 และ 1 โดยการแทน 0 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นกลาง และ 1 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นบวก ชนิดของสัญญาณ

  7. 1. แบบอนุกรม ส่งข้อมูลครั้งละ 1bit ส่งข้อมูลได้ช้า ราคาถูก ใช้ในการสื่อสารระหว่างโทรศัพท์ วิธีการสื่อสารข้อมูล 0 1 1 0 0 0 1 0 0 1 1 0 0 0 1 0 ผู้ส่ง ผู้รับ 0 1 1 0 0 0 1 0

  8. 2. แบบขนาน ส่งข้อมูลครั้งละหลาย bit ขนานกันไป ทำให้เร็วกว่าแบบอนุกรม ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ วิธีการสื่อสารข้อมูล 0 1 1 0 0 0 1 0 ผู้ส่ง ผู้รับ

  9. 1. ทิศทางเดียว (Simple transmission) ส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว เช่น การฟังวิทยุจากสถานีวิทยุ การส่งสัญญาณของสถานีไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ 2. สองทิศทางสลับกัน (Half duplex transmission) แต่ละฝ่ายสามารถเป็นผู้รับและผู้ส่งได้ แต่ต้องสลับกัน เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร ที่ผู้ส่งกดปุ่มเพื่อส่งข้อมูล 3. สองทิศทางเต็มอัตรา (Full duplex transmission) แลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งผู้รับและผู้ส่ง โดยรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ทิศทางการส่งข้อมูล

  10. 2. แบบไร้สาย Infrared Radio wave Microwave Satellite communication สื่อกลางการสื่อสารข้อมูล 1. แบบมีสาย • Twisted pair • Coaxial cable • Optical fiber cable

  11. 1. Twisted pair cable สายบิดเกลียว แต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 Hz ถึง 5 MHz มี 2 ลักษณะ แบบไม่มีฉนวน (unshielded twisted-pair หรือ UTP) แบบมีฉนวน (shielded twisted-pair หรือ STP) แบบมีสาย

  12. 2. Coaxial cable มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง 500 MHz มีฉนวนหุ้มเป็นชั้นๆ หลายชั้นสลับกับตัวนำโลหะ ตัวนำโลหะชั้นในทำหน้าที่ส่งสัญญาณ ตัวโลหะชั้นนอกทำหน้าที่เป็นส่วนดินและเป็นเกราะป้องกัน แบบมีสาย

  13. 3. สายใยแก้วนำแสง (Optical fiber cable) สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงห่อหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งข้อมูลเท่ากับความเร็วแสง มีราคาค่อนข้างสูง แบบมีสาย

  14. 1. แสงอินฟาเรด(Infrared) ใช้แสงอินฟาเรด เป็นสื่อกลาง ทำการส่งข้อมูลโดยผ่านIrDa port ใช้กับการสื่อสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น จาก remote control ไปยังโทรทัศน์ การส่งข้อมูลระหว่างโทรศัพท์มือถือในระยะใกล้ แบบไม่มีสาย

  15. แบบไม่มีสาย 2.คลื่นสัญญาณวิทยุ (Radio Wave) • เป็นช่วงคลื่นที่สร้างได้ง่ายส่งได้ระยะทางไกลสามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้ดีเดินทางออกจากแหล่งได้ทุกทิศทาง • ข้อเสียในตัวเองที่ความถี่ต่ำสัญญาณคลื่นจะสามารถเดินทางผ่านวัตถุกีดขวางได้เป็นอย่างดีแต่กำลังสัญญาณจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเดินทางไกลออกไป • นอกจากนี้ คลื่นทุกความถี่ยังถูกรบกวนได้ง่ายจากการทำงานของมอเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้า

  16. แบบไม่มีสาย 3. สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) • ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุเป็นทอด ๆ จากสถานีหนึ่งไปสถานีหนึ่งบ่อยครั้งจะถูกเรียกว่าสัญญาณแบบเส้นสายตา (line of sight) เนื่องจากสัญญาณที่ส่งไปได้ไม่ไกลกว่าเส้นขอบฟ้าโลกเพราะเดินทางเป็นเส้นตรงดังนั้นสถานีจึงตั้งในที่สูงเพื่อช่วยให้ส่งได้ไกลขึ้น

  17. แบบไม่มีสาย 3. สัญญาณไมโครเวฟ (ต่อ) • ปกติสถานีหนึ่งจะครอบคลุมพื้นที่สัญญาณประมาณ 30- 50 กม. สามารถส่งสัญญาณหลายความถี่ในทิศทางเดียวกันได้โดยไม่รบกวนกันเอง • ราคาถูกติดตั้งง่ายมีอัตราการส่งข้อมูลสูง

  18. แบบไม่มีสาย 3. สัญญาณไมโครเวฟ (ต่อ) ข้อเสีย • สัญญาณอาจถูกรบกวนได้จากอุณหภูมิพายุและฝนและยังไม่สามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้และบางครั้งสัญญาณอาจมีการหักเหระหว่างทางได้ • ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในบริการโทรศัพท์ทางไกลและโทรศัพท์มือถือ

  19. 4. การสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียม (Satellite) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาคพื้นดิน ระยะทางจากโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ จึงทำให้ข้อมูลที่ส่งเกิดความล่าช้าประมาณ 2 วินาที เหมาะกับการสื่อสารระหว่างประเทศหรือการส่งข้อมูลที่มีระยะทางไกลมาก ๆ แบบไม่มีสาย

  20. แบบไม่มีสาย 4. การสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียม (ต่อ) ข้อดี • ค่าใช้จ่ายในการส่งสัญญาณคงที่ไม่ว่าจะเป็นที่แห่งไหน • การส่งสัญญาณดาวเทียมไม่ขึ้นอยู่กับระยะทาง • เหมาะที่จะใช้ในพื้นที่ที่ไม่สามารถวางสายได้ ข้อเสีย • ถูกรบกวนได้จากสภาพอากาศรวมทั้งตำแหน่งโคจรของดวงอาทิตย์ • ฝ่ายรับจะได้รับข้อมูลช้ากว่าที่เกิดขึ้นจริง (เกิดเวลาหน่วง= delay time)

  21. ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของสื่อนำข้อมูลตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของสื่อนำข้อมูล

  22. อ้างอิง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว, 2553. ประเทือง ใจแก้ว. (2556). การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย. [Online]. Available: http://www.school.obec.go.th/prathueang/network/ network.html [2556,กุมภาพันธ์ 23]. กัมพล อิ่นคํา. (2556). การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์. [Online]. Available:http://www.watthumpla.ac.th/krukumpon/ main4.html [2554,ตุลาคม 17].

  23. 1. แบบบัส bus topology การส่งข้อมูล จะส่งไปยังสายเคเบิลหลัก โดยมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิล ข้อดี คือ ใช้สื่อข้อมูลหรือสายน้อย ประหยัดค่าใช้จ่าย ข้อด้อย คือ การตรวจจุดที่มีปัญหาทำได้ยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องมากเกินไป ข้อมูลที่ส่งจะชนกัน รูปร่างเครือข่าย (Topology)

  24. 2. แบบวงแหวน ring topology เชื่อมต่อเป็นวงกลม และส่งข้อมูลเป็นวงกลมในทิศทางเดียวกัน ข้อดี คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และไม่มีการชนกันของข้อมูลที่จะส่ง ข้อด้อย คือ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเสียระหว่างการส่งข้อมูล ก็จะไม่สามารถส่งข้อมูลต่อไปได้ รูปร่างเครือข่าย (Topology)

  25. 3. แบบดาว star topology เชื่อมต่อผ่านจุดศูนย์กลางที่เรียกว่า hub ข้อดี คือ สามารถเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ได้ง่าย ไม่กระทบต่อเครื่องอื่น ข้อเสีย คือค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายค่อนข้างสูง และเมื่อ hub ไม่ทำงาน ระบบก็จะไม่สามารถทำงานได้ รูปร่างเครือข่าย (Topology)

  26. 4. เมชmesh topology มีการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน สามารถส่งข้อมูลได้อย่างอิสระ ไม่ต้องรอ ดังนั้นเครื่องแต่ละเครื่องต้องมีช่องส่งสัญญาณเป็นจำนวนมาก ข้อดี ส่งข้อมูลได้เร็ว เนื่องจากเป็นอิสระในการส่ง ข้อด้อย เสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของสายเคเบิลสูง นิยมเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบไร้สาย รูปร่างเครือข่าย (Topology)

  27. 5. แบบผสม hybrid topology ผสมผสานความสามารถของโครงสร้างเครือข่ายหลายๆแบบรวมกัน ซึ่งเครือข่ายย่อยๆ เชื่อมต่อแตกต่างกันตามความเหมาะสม ข้อดี คือ ได้เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงในการสื่อสารข้อมูล ข้อด้อย ค่าใช้จ่ายสูง รูปร่างเครือข่าย (Topology)

  28. 1. ประมวลผลข้อมูลที่ศูนย์กลาง (centralized processing) การประมวลผลจะอยู่ที่ server หรือ host โดยที่เครื่องลูกข่ายไม่ สามารถประมวลผลได้เอง ดังนั้น host หรือ server จะต้องเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง รูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่าย

  29. รูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายรูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่าย 2. ประมวลผลแบบไคลน์เอนท์เซิฟร์เวอร์( client/server processing) • ประมวลผลได้อย่างอิสระ ไคลน์เอนท์สามารถประมวลผลได้เอง • และในกรณีที่ต้องการให้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลให้ ก็จะทำการ • ติดต่อสื่อสารไปยัง server

  30. จำแนกตามระยะทาง Personal area network : PAN Local area network : LAN Metropolitan area network : MAN Wide Area network : WAN ชนิดของเครือข่าย

  31. เป็นเครื่องข่ายส่วนบุคคล สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล เทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น Bluetooth ตัวอย่าง เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง PDA กับ Desktop Personal area network : PAN

  32. เครือข่ายท้องถิ่น ระยะทางการเชื่อมต่อไม่เกิน 10 กิโลเมตร สายสัญญาณมีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลประมาณ 10-100 Mbps Wireless LAN เชื่อมต่ออุปกรณ์โดยไม่ใช้สาย แต่จะใช้อุปกรณ์ทีเรียกว่า access point ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคล้ายฮับ และมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า wireless adapter ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเพื่อการส่งสัญญาณไปยังแอกแซสพอยท์ Local area network : LAN

  33. เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลหรืออำเภอ ซึ่งเกิดจากเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่นหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน Metropolitan area network : MAN

  34. เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก ภายในเครือข่ายประกอบด้วย LAN และ MAN สามารถคลอบคลุมได้ทั่วโลก Wide Area network : WAN

  35. อุปกรณ์เครือข่าย

  36. อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card : NIC)==> Lan Card • เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย พอร์ต RJ45

  37. อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หัวต่อ RJ45 • มีลักษณะคล้ายหัวต่อสายโทรศัพท์ แต่มีจำนวน pin จำนวน 8 pin

  38. อุปกรณ์เครือข่าย ฮับ(Hub) สวิทซ์ (Switch) • ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการกระจายข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ผ่านระบบเครือข่าย • ฮับมีหลายขนาดและมีจุดเชื่อมต่อที่เรียกว่า พอร์ต (Port) หลายช่อง • ถ้ามีการรับส่งข้อมูลพร้อมกันมากๆ จะทำให้ความเร็วของเครือข่ายลดลง • ทำหน้าที่คล้ายฮับ แต่มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า

  39. อุปกรณ์เครือข่าย เราท์เตอร์(Router) • เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายแต่ละรูปร่างเข้าด้วยกัน • เราท์เตอร์เป็นอุปกรณ์จัดหาเส้นทางอัตโนมัติ อาศัยการรับรู้เลขที่อยู่ไอพี ทำให้ส่งข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุด

  40. อุปกรณ์เครือข่าย แอคเซสพอยต์(Access Point) • ทำหน้าที่คล้ายเราท์เตอร์ แต่เป็นตัวเชื่อมต่อ ที่ใช้กับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย

  41. ตารางเปรียบเทียบฮับ สวิทซ์และเราท์เตอร์

  42. โพรโทคอล (Protocol) โพรโทคอล (Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงใน การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสีย และใช้ในโอกาสหรือสถานการณ์แตกต่างกันไป คล้ายๆ กับภาษามนุษย์ที่มีทั้งภาษาไทย จีน ฝรั่ง หรือภาษาใบ้ ภาษามือ หรือจะใช้วิธียักคิ้วหลิ่วตาเพื่อส่งสัญญาณก็จัดเป็นภาษาได้เหมือนกัน ซึ่งจะสื่อสารกันรู้เรื่องได้จะต้องใช้ภาษาเดียวกัน

  43. โพรโทคอล (Protocol) • ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบเครือข่ายอาจจะใช้ Hardware และ Software ที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน • ดังนั้นการที่จะส่งผ่านข้อมูลถึงกันและตีความได้อย่างถูกต้องตรงกันจะต้องทำข้อกำหนดร่วมกันในการสื่อสารเสียก่อนจะต้องกำหนดระเบียบวิธีในการติดต่อให้ตรงกัน • เปรียบเสมือนกับการสื่อสารกันของมนุษย์ • ถ้าเราต้องการจะติดต่อกับผู้คนต่างเชื้อชาติต่างภาษาให้เข้าใจได้ถูกต้องตรงกัน ก็จะต้องตกลงกันเสียก่อนว่า จะติดต่อสื่อสารกันอย่างไร ด้วยภาษาใดถึงจะเข้าใจกันได้

  44. โพรโทคอล (Protocol) • ปัจจุบันภาษาอังกฤษถูกใช้เป็นภาษากลางในการติดต่อกันมาทำให้เราพูดได้ว่าภาษาอังกฤษเปรียบเสมือนเป็นภาษามาตรฐานในการสื่อสารของมนุษย์ • ในแง่การสื่อสารข้อมูลโพรโทคอลTCP/IPเป็นโพรโทคอลหลักที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  45. ชนิดของ Protocol • TCP/IP :ใช้เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันได้ • HTTP (Hypertext Transfer Protocol) :ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในรูปแบบของ World Wide Web เชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในรูปของ Hypertext • FTP(FileTransferProtocol):โพรโทคอลนี้จะใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น • POP3 (Post Office Protocol 3), SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) : ใช้ในการรับ-ส่ง e-mail

  46. ชนิดของโพรโทคอล (Protocol) บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol : FTP) • การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) • การอัพโหลดไฟล์ (Upload File)

  47. ชนิดของโพรโทคอล (Protocol) 1. Transmission Control Protocol (TCP) เป็นโพรโทคอลที่รับประกันการรับ - ส่งข้อมูลระหว่างโฮสต์กล่าวคือโพรโทคอลมีกลไกในการตรวจสอบและยืนยันว่ามีข้อมูลจากต้นทางจะไปถึงปลายทางเสมอหากข้อมูลถึงปลายทางก็จะมีสัญญาณตอบรับว่าข้อมูลถึงปลายทางแล้วหากไม่มีสัญญาณตอบรับก็แสดงว่าข้อมูลไม่ถึงปลายทางดั้งนี้แอพพลิเคชั่นที่มีความสำคัญจึงเลือกใช้โพรโทคอลนี้ในการรับส่งข้อมูลกระบวนการยืนยันการรับส่งข้อมูลนี้เองเป็นจุดขายของโพรโทคอลTCP

  48. ชนิดของโพรโทคอล (Protocol) 2. Internet Protocol (IP) IP เป็นโพรโทคอลที่ทำหน้าที่รับภาระในการนำข้อมูลไปส่งยังจุดหมายปลายทางไม่ว่าที่ใดๆในอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลIP นี้มีกลไกที่ค่อนข้างฉลาดในการหาเส้นทางขนส่งข้อมูลรู้จักที่จะแซกหาช่องทางไปยังจุดหมายทุกทางที่เป็นไปได้

  49. ชนิดของโพรโทคอล (Protocol) 3. FTP(FileTransferProtocol) FTP มาจากคำว่า “File Transfer protocol” เป็นมาตรฐานหรือโพรโทคอลที่ออกแบบสำหรับการรับส่งไฟล์โดยเฉพาะ โพรโทคอลFTP นั้นสนับสนุนการรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดีกว่าโพรโทคอลSMTP ที่ใช้ในการรับส่งอีเมล์ จึงมักใช้โพรโทคอลFTP ในการรับส่งไฟล์โดยเฉพาะ และ FTP server ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บไฟล์ต่างๆ ไว้ให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดนั่นเอง

  50. ชนิดของโพรโทคอล (Protocol) • FTP : FILE TRANSFER PROTOCOL เป็นการถ่ายโอนข้อมูลโดยการย้ายแฟ้มจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ftp://ftp.nectec.or.th

More Related