1 / 253

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research). เนื้อหาการบรรยาย. ความหมายของการวิจัย การวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ ความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัย ลักษณะของการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ วิธีศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ขอบเขตการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ตัวอย่างงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.

israel
Download Presentation

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction of Research)

  2. เนื้อหาการบรรยาย ความหมายของการวิจัย การวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์ ความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัย ลักษณะของการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ วิธีศึกษาทางเศรษฐศาสตร์ ขอบเขตการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ตัวอย่างงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

  3. ความหมายของการวิจัย การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชาการ หรือตรงกับ คำในภาษาอังกฤษ คือ “Research” (พจนานุกรมฯ ๒๕๔๒) การค้นคว้าหาความรู้ในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ ชัดเจน และการศึกษาค้นคว้าจะต้องทำอย่างมีระบบแบบแผนทาง วิทยาศาสตร์

  4. Research is an Organized and Systematicway to Finding answers to Questions.

  5. สรุปความหมายของ “วิจัย” - การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ (Finding answer to questions) - มีวัตถุประสงค์การค้นคว้าที่แน่ชัด (Focused and limited to a specific scope) - ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ (Systematic procedures)

  6. การแบ่งประเภทของการวิจัยการแบ่งประเภทของการวิจัย  หลักในการจำแนกประเภท - มีกลุ่มครบถ้วน (Mutually exhaustive) - แยกออกจากกันโดยชัดเจน (Mutually exclusive) - มีความหมายที่ชัดเจนและมีจำนวนมากพอ  ประเภทของการวิจัย : จำแนกตามวิธีการวิจัย 1.) การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) 2.) การวิจัยประยุกต์ (Applied research)

  7. ลักษณะของการของการวิจัยพื้นฐานลักษณะของการของการวิจัยพื้นฐาน 1.) จุดมุ่งหมายหลัก - เป็นการค้นหาคำตอบว่า “อะไร” หรือ “ทำไม” - เพื่อค้นหาและเพิ่มพูนความรู้ทางทฤษฎี หรือค้นหาความรู้ ทางทฤษฎี(Theoretical research) - ผลการวิจัยอาจนำไปใช้หรือไม่ได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหา อาจเรียกการวิจัยชนิดนี้ว่า การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure research) - เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ทางเศรษฐกิจ

  8. ลักษณะของการของการวิจัยพื้นฐาน (ต่อ) 2.) วิธีการศึกษาวิเคราะห์ - อาศัยความรู้จากหลักวิชาหรือทฤษฎีของศาสตร์นั้น ๆ - มีการทดสอบหรือพิสูจน์โดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ก่อนที่จะยอมรับ จึงมีชื่อเรียกว่า การวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) - เครื่องมือวิเคราะห์ที่นิยมใช้ในทางเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือ ทางสถิติ เช่น ค่า mean , correlation, econometric 3.) ผลการวิจัย - เกิดเป็นทฤษฎีใหม่ หรือการเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎี - เศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักความจริง (Positive economics)

  9. ลักษณะของการของการวิจัยประยุกต์ลักษณะของการของการวิจัยประยุกต์ 1.) จุดมุ่งหมายหลัก - ค้นหาคำตอบ “อย่างไร, เมื่อไร, ที่ไหน, เพื่อใคร , โดยใคร” - เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้แก้ปัญหา/ตัดสินใจ - อาจเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยมีการเรียนรู้และทำวิจัยควบคู่กันไปด้วย หรือที่เรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)

  10. ลักษณะของการของการวิจัยประยุกต์ (ต่อ) 2.) วิธีการศึกษาวิเคราะห์ - มุ่งหาหลักการหรือวิธีการที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขหรือ ข้อจำกัดที่มีอยู่ - อาศัยทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ ผสมผสานกับค่านิยมของสังคม เพื่อใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์ 3.) ผลการวิจัย - ได้แนวทางการแก้ปัญหา/แนวนโยบายที่เหมาะสม - เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการกำหนดนโยบาย(Normative economics)

  11. ความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัยความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัย ต้องการปรับปรุงความเป็นอยู่ของตนเอง/สังคมให้ดีขึ้น - ความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งและไม่สมดุลกับทรัพยากรที่มีอยู่ - ความรู้ใหม่แก้ปัญหาให้กับคนหนึ่งแต่กระทบคนกลุ่มอื่น ประโยชน์ของการวิจัย - เกิดวิชาความรู้ใหม่ - เข้าใจปัญหาและช่วยแก้ปัญหา - ช่วยในการกำหนดนโยบาย และวางแผน - ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร - ทราบถึงข้อบกพร่องของการดำเนินการ

  12. ลักษณะของการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ลักษณะของการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เป็นสังคมศาสตร์ - มีความซับซ้อนและข้อจำกัดในการควบคุมสิ่งแวดล้อม - อาศัยวิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ (เท่านั้น) ลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ 1.) มีการกำหนดเงื่อนไขหรือข้อสมมติ (Ceteris paribus) 2.) ศึกษาจากตัวแทนของประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง

  13. วิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์วิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ 1.) วิธีการอนุมาน (Deductive method) - การหาความรู้โดยวิธีการนำเอาความจริงหรือทฤษฎีที่มีอยู่ มาอธิบายหรือวิเคราะห์ เพื่อหาความรู้เฉพาะเรื่อง ตั้งสมมติฐาน การทดสอบสมมติฐาน 2.) วิธีการอุปมาน (Inductive method) - ความจริงเฉพาะเรื่องไปอธิบายส่วนใหญ่ เป็นการหาความรู้ โดยมุ่งสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพื่อนำมาสร้างเป็นข้อสรุปทั่วไป รวบรวมข้อเท็จจริง การทดสอบความถูกต้อง

  14. ขอบเขตของของการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ขอบเขตของของการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์  เป็นศาสตร์ว่าด้วยการจัดสรร - การศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เป็นศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรม - การศึกษาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์หรือองค์กรทางเศรษฐกิจ  เป็นศาสตร์ว่าด้วยกำหนดนโยบาย - การศึกษาแนวทางในการกำหนดนโยบายและวางแผน

  15. จรรยาบรรณของนักวิจัย • มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ • ต้องตระหนักถึงพันธะกรณีในการทำวิจัยตามข้อตกลง • มีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย • ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย • เคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย • อิสระทางความคิด ปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย • พึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ • เคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น • ความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

  16. กระบวนการและขั้นตอนการวิจัยกระบวนการและขั้นตอนการวิจัย

  17. เนื้อหาการบรรยาย ขั้นตอนการวิจัย กระบวนการวิจัย การดำเนินการวิจัย การเลือกหัวเรื่องวิจัย การตั้งสมมติฐาน การสำรวจเอกสารงานวิจัย การกำหนดนิยามตัวแปร การกำหนดประเด็นปัญหา การเก็บข้อมูล การกำหนดขอบข่ายทฤษฎี การวิเคราะห์และตีความ การกำหนดแบบจำลอง การนำเสนอรายงานการวิจัย

  18. ขั้นตอนในการวิจัย แบ่งออกได้เป็น ๔ ขั้นตอนสำคัญ (เทียนฉาย กีระนันท์,๒๕๔๔:๒๔) ขั้นที่ ๔. ขั้นที่ ๓. การเสนอผลการวิจัย ขั้นที่ ๒. การลงมือดำเนินการวิจัย ขั้นที่ ๑. การออกแบบ วิจัย การเตรียม การวิจัย

  19. ขั้นตอนในการวิจัย ขั้นที่ ๑. การเตรียมการวิจัย • การพิจารณาเลือกและกำหนดปัญหาที่จะทำวิจัย • การเลือกหัวเรื่องและการตั้งชื่อเรื่อง

  20. ขั้นที่ ๒. การออกแบบวิจัย • ศึกษาค้นคว้าจากทฤษฎี แนวคิด งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • กำหนดรูปแบบหรือแนวทางการวิจัยให้เหมาะสมกับปัญหาที่จะศึกษา • การกำหนดกรอบแนวคิด (Conceptual Framework)หรือแบบจำลองของเรื่องที่จะศึกษา • การกำหนดสมมติฐานการวิจัย • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเลือกใช้เครื่องมือทางสถิติ

  21. ขั้นที่ ๓. การลงมือดำเนินการวิจัย • ดำเนินการตามแผน(แบบการวิจัย)ที่วางไว้ ขั้นที่ ๔. การเสนอผลการวิจัย • การรวบรวมข้อค้นพบสำคัญที่ได้จากการลงมือดำเนินการวิจัย ตลอดจนการเตรียมการและการออกแบบการวิจัย • พิจารณารูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม • ต้องสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการไปและสิ่งที่ค้นพบ

  22. กระบวนการการวิจัย “ กระบวนการการวิจัย หมายถึง กิจกรรมและวิธีการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือความรู้ใหม่ ๆ อย่างมีขั้นตอนซึ่งมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน”

  23. กำหนดหัวข้อ ทบทวน วรรณกรรม ตีพิมพ์ รายงาน กำหนดประเด็น สร้างกรอบ แนวคิด เผยแพร่ การวิจัย ปรับปรุง รายงาน ออกแบบ การวิจัย ร่างรายงาน สมมติฐาน วิเคราะห์ ข้อมูล สุ่มตัวอย่าง สร้าง+ทดสอบวิธีการเก็บรวบ รวมข้อมูล จัดระเบียบหัวข้อ กำหนประชากรเป้าหมาย กำหนดแนวทาง และวิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนต่าง ๆ ของการวิจัย, (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546)

  24. ขั้นตอนการค้นหา(Search) - การทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ - การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่สังเกต - การสำรวจระบบของปรากฏการณ์

  25.  การดำเนินการวิจัย (Research) การเลือกหัว ข้อวิจัย การสำรวจเอกสาร การกำหนดประเด็นปัญหา การตั้ง สมมติฐาน การกำหนดแบบจำลอง กำหนดขอบข่ายของทฤษฎี เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และตีความ นำเสนอรายงานการวิจัย กำหนดนิยามตัวแปร

  26. การเลือกหัวข้อวิจัย (Topic Selection) - จุดเริ่มต้นของการวิจัย : กำหนดหัวข้อไว้กว้าง ๆ - กำหนดชื่อเรื่อง : ลักษณะแคบกว่าหัวข้อ/สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ - ชื่อเรื่องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (เมื่อได้ประเด็นที่ชัดเจน)

  27. การสำรวจเอกสาร (Literature Survey) - ช่วยให้ทำงานไม่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น - เข้าใจสภาวะเบื้องต้นของเรื่องที่ศึกษา - กำหนดขอบข่ายของแบบจำลอง และตัวแปรที่จะศึกษา

  28. การกำหนดประเด็นปัญหา (Formulating Researchable Problem) - กำหนดคำถามให้ชัดเจน : อาจมีได้มากกว่า 1 ประเด็น - ประเด็นปัญหาจะบอกถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะศึกษา - สามารถทำไปพร้อมกับขั้นตอนที่ 1.) และ 2.)

  29. การกำหนดขอบข่ายของทฤษฎี (Theoretical Framework) - หาขอบข่ายของแนวคิด/ทฤษฎี ที่ประกอบด้วยเหตุและผล - กรอบในการค้นหาแนวคำตอบ - เข้าใจในระบบโครงสร้างและพฤติกรรมของเรื่องที่ศึกษา

  30. การกำหนดแบบจำลอง (Economic Model) - เข้าใจปรากฏการณ์จริงดีขึ้น : มีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย - เป็นการเลียนแบบและสะท้อนให้เห็นภาพของปรากฏการณ์ - อาศัยแนวคิด/ทฤษฎีอย่างมีเหตุผล

  31. การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis) - สมมติฐาน : กำหนดแนวคำตอบไว้ล่วงหน้า - กำหนดทิศทางของการวิจัย

  32. การกำหนดนิยามตัวแปร - กำหนดคำจำกัดความตัวแปรที่ศึกษาให้ชัดเจน - ตัวแปรที่ต้องการวัด มาตรการวัด วิธีการวัด - สอดคล้องกับแบบจำลอง

  33. การเก็บข้อมูล (Data Collection) - เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่กำหนดไว้ - แหล่งของข้อมูลที่ใช้ ตลอดจนวิธีการเก็บข้อมูล

  34. การวิเคราะห์และตีความ - กำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ชัดเจน - เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับข้อมูลและวัตถุประสงค์การวิจัย - มีการตรวจสอบข้อมูล แจกแจงข้อมูล การคำนวณ

  35. การนำเสนอรายงานการวิจัยการนำเสนอรายงานการวิจัย - ขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย - นำเสนอสิ่งที่ค้นพบ (Finding)

  36. การสังเกตปรากฏการณ์ และการเลือกหัวข้อ กรอบทฤษฎี ข้อสมมติฐาน การวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหา+วัตถุประสงค์ การทบทวนเอกสารและ การรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น แบบจำลองแนวคิด การวัดการทดสอบ ตัวแปร แบบจำลองแนวคิด ที่มีเหตุผลและตัวแปร • การวิเคราะห์ • การประมวลผลข้อมูล • การทดสอบ • - การตีความ การเสนอผลการวิจัย การเก็บข้อมูล หลักฐาน กระบวนการวิจัย(ประดิษฐ์ ชาสมบัติ, 2540)

  37. การกำหนดหัวข้อและ ประเด็นปัญหาการวิจัย

  38. เนื้อหาการบรรยาย การกำหนดหัวเรื่องและประเด็นปัญหา ที่มาของหัวเรื่องการวิจัย ที่มาของหัวเรื่องการวิจัย หลักในการกำหนดหัวเรื่อง การพิจารณาเลือกหัวข้อวิจัย การกำหนดประเด็นปัญหา หลักเกณฑ์ในการกำหนดประเด็นปัญหา แนวทางการกำหนดประเด็นปัญหา การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย

  39. การกำหนดหัวข้อเรื่องและประเด็นปัญหาการวิจัยการกำหนดหัวข้อเรื่องและประเด็นปัญหาการวิจัย จุดเริ่มต้นของการวิจัย : เป็นการกำหนดทิศทางและขอบเขตของเรื่อง ที่จะทำการศึกษาวิจัย สัมพันธ์กับกิจกรรมอื่น ๆ ของการวิจัย สมมติฐาน วัตถุประสงค์ ค้นคว้าหาหลักฐาน การทดสอบ สรุปผล ประเด็นปัญหา ข้อสงสัย/คำถาม คำตอบ

  40. ที่มาของหัวข้อเรื่องการวิจัยที่มาของหัวข้อเรื่องการวิจัย ๑. ผู้ที่จะทำวิจัย - ความสนใจของผู้วิจัยเอง ๒.วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง- เช่น วารสารเศรษฐศาสตร์, วารสารธนาคาร ๓. ผู้นำทางวิชาการ- นักวิชาการในสาขาต่าง ๆ ๔. แหล่งทุนอุดหนุนการวิจัย- เช่น สภาวิจัยแห่งชาติ ๕. ข่าวในสื่อมวลชน- เรื่องที่อยู่ในความสนใจ/ ความทันเหตุการณ์ ๖. หน่วยงานที่ทำงาน- หน่วยงานที่ผู้วิจัยทำงานอยู่

  41. หลักในการกำหนดหัวข้อเรื่องหลักในการกำหนดหัวข้อเรื่อง ๑. เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ๒. เป็นเรื่องที่ไม่กว้าง หรือแคบเกินไป ๓. เป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานของความจริง ๔. เป็นเรื่องที่บ่งถึงสภาวะที่เป็นปัญหา

  42. การพิจารณาเลือกหัวข้อวิจัยการพิจารณาเลือกหัวข้อวิจัย • ด้านตัวผู้วิจัย • ผู้วิจัยมีความสนใจ ใคร่รู้อย่างแท้จริง • เป็นเรื่องคุ้มค่าการลงทุน • เป็นเรื่องที่ผู้วิจัยสามารถทำได้

  43. ด้านปัญหาที่จะทำวิจัยด้านปัญหาที่จะทำวิจัย • เป็นเรื่องใหม่ไม่ซ้ำกับเรื่องเดิมที่มีผู้ทำวิจัยมาก่อน • เป็นเรื่องที่มีความเหมาะสมกับงานวิจัย • สามารถหาคำตอบได้และมีข้อยุติ • เป็นเรื่องที่มีคุณค่าสามารถนำผลการวิจัยใช้ให้เกิดประโยชน์ แก่องค์กร

  44. ด้านปัจจัยสนับสนุนการวิจัยด้านปัจจัยสนับสนุนการวิจัย • เป็นเรื่องที่มีแหล่งสำหรับค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างพียงพอ • เป็นเรื่องที่มีผู้สนับสนุนด้านวิชาการ • เป็นเรื่องที่มีวัสดุอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ

  45. ข้อบกพร่องในการเลือกหัวข้อวิจัยข้อบกพร่องในการเลือกหัวข้อวิจัย • เลือกปัญหาการวิจัยตามผู้อื่น • เลือกปัญหาใหญ่กว้างเกินกำลัง • เลือกปัญหาอย่างรีบร้อน

  46. การกำหนดประเด็นปัญหา: ทำไมต้องกำหนดประเด็นปัญหา? ๑. เป็นแนวทางในการวิจัย ๒. ช่วยในการวางแผนการวิจัย ๓. ช่วยในการออกแบบสอบถามและเก็บข้อมูล ๔. ช่วยในการกำหนดสมมติฐาน ๕. ช่วยให้ผู้วิจัยพบว่าจะทำการวิจัยได้หรือไม่

  47. หลักเกณฑ์ในการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัยหลักเกณฑ์ในการกำหนดประเด็นปัญหาการวิจัย ๑. เป็นปัญหาที่ชัดเจน ๒. เป็นปัญหาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร ๓. เป็นปัญหาที่จะให้คำตอบที่มีความหมาย ๔. เป็นปัญหาที่จะให้คำตอบซึ่งทดสอบได้

  48. แนวทางกำหนดประเด็นปัญหาแนวทางกำหนดประเด็นปัญหา ๑. อาศัยปรากฏการณ์หรือประสบการณ์ ๒. อาศัยทฤษฎีและหลักเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ๓. อาศัยความอยากรู้อยากเห็น ๔. อาศัยทัศนคติและอุดมการณ์

  49. การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย ๑. สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ๒. ลักษณะของการเก็บข้อมูล ๓. ประชากรเป้าหมาย/สถานที่ ๔. ประเด็นสาระสำคัญของการวิจัย

  50. ตัวอย่างการตั้งชื่อการวิจัย:ตัวอย่างการตั้งชื่อการวิจัย: “ความสัมพันธ์ของรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลที่มีต่อผลกระทบความยั่งยืนทางการคลังของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๔๕” ประเด็นสำคัญฯ การศึกษาความยั่งยืนทางการคลังของประเทศ ตัวแปรที่ศึกษา รายได้และรายจ่ายของรัฐบาล ประชากรเป้าหมาย รายได้และรายจ่ายระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๔๕

More Related