1 / 48

อาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia หรือ Metazoa

อาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia หรือ Metazoa. ลักษณะของ Kingdom Animalia. มีเซลล์ชนิดยูคาริโอต ( Eukaryotic cell) เป็นผู้บริโภคตลอดชีวิต (Consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ( multicellular organism) บางพวกไม่มีเนื้อเยื่อ

idra
Download Presentation

อาณาจักรสัตว์ Kingdom Animalia หรือ Metazoa

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาณาจักรสัตว์Kingdom Animaliaหรือ Metazoa

  2. ลักษณะของ Kingdom Animalia มีเซลล์ชนิดยูคาริโอต (Eukaryotic cell) เป็นผู้บริโภคตลอดชีวิต (Consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) บางพวกไม่มีเนื้อเยื่อ มีการเคลื่อนไหวหรือการเคลื่อนที่ตอบสนองสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีระบบประสาท บางชนิดมีการเคลื่อนที่เฉพาะในบางช่วงของชีวิต

  3. เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกหมวดหมู่ของอาณาจักรสัตว์เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกหมวดหมู่ของอาณาจักรสัตว์ • ระดับการทำงานของเนื้อเยื่อ 1.1 เนื้อเยื่อที่ไม่แท้จริง (No true tissue) • เรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า พาราซัว (Parazoa) • เซลล์ในสัตว์กลุ่มนี้ไม่มีการประสานงานกันระหว่างเซลล์ โดยเซลล์ทุกเซลล์จะมีหน้าที่ในการดำรงชีวิตของตนเอง • หน้าที่ทั่วไปคือด้านโภชนาการ และสืบพันธุ์ ได้แก่ พวกฟองนํ้า

  4. 1.2 เนื้อเยื่อที่แท้จริง (True tissue) เรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า ยูเมตาซัว (Eumetazoa) ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกสร้างขึ้นเป็นชั้น หรือเรียกว่า ชั้นของเนื้อเยื่อ (Germ layer) มี 2 ประเภทคือ 1.2.1 เนื้อเยื่อ 2 ชั้น (Diploblastica) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก (Ectoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน (Endoderm) ได้แก่ พวกไฮดรา แมงกะพรุน 1.2.2 เนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก ชั้นกลาง (Mesoderm) และชั้นใน ได้แก่พวกหนอนตัวแบนขึ้นไป จนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

  5. 2. สมมาตร (Symmetry) คือลักษณะการแบ่งร่างกายออกเป็นซีก ๆ ตามความยาวของซีกเท่า ๆ กัน มีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่ 2.1 ไม่มีสมมาตร (Asymmetry) มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่สามารถแบ่งซีกซ้ายและซีกขวาได้ เท่า ๆ กัน ได้แก่ พวกฟองน้ำ 2.2 สมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) ได้แก่ สัตว์พวกไฮดรา แมงกะพรุน ดาวทะเล เม่นทะเล 2.3 สมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral symmetry) หรือมีสมมาตรที่ผ่าซีกได้เท่า ๆ กัน เพียง 1 ครั้ง ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม แมลง สัตว์มีกระดูกสันหลัง

  6. 3. ลักษณะช่องว่างภายในลำตัว (Body Cavity) ลักษณะช่องว่างในลำตัวหรือช่องตัว (Body cavity หรือ Coelom) ภายใน Coelomมักจะมีของเหลวอยู่เต็ม ทำหน้าที่เสมือนระบบไหลเวียนโลหิตง่าย ๆ ช่วยลำเลียงสารอาหาร ออกซิเจน และของเสีย ลดแรงกระแทกจากภายนอกที่อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะ เป็นบริเวณที่ทำให้อวัยวะภายในเคลื่อนที่ได้อิสระจากผนังลำตัว ยอมให้อวัยวะขยายใหญ่ได้

  7. 3.1 พวกที่ไม่มีช่องว่างในลำตัว (Acoelomate animals) เนื้อเยื่อ 3 ชั้นอยู่ชิดกัน โดยไม่มีช่องว่างในแต่ละชั้น ได้แก่พวกหนอนตัวแบน

  8. 2. พวกที่มีช่องว่างเทียมในลำตัว (Pseudocoelomate animals) ช่องว่างเทียม หมายถึง ช่องว่างที่ไม่ได้อยู่ในเนื้อเยื่อชั้นกลาง (mesoderm) ช่องว่างอาจอยู่ในระหว่างเนื่อเยื่อชั้นนอก (ectoderm) กับเนื้อเยื่อชั้นกลางหรือ อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางกับเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) ได้แก่ หนอนตัวกลม

  9. 3. พวกที่มีช่องว่างที่แท้จริง (Coelomate animals) Coelomate animal หมายถึง สัตว์ที่มีช่องว่างในเนื้อเยื่อชั้นกลาง สัตว์กลุ่มนี้ ได้แก่ กุ้ง ปู แมลง ไส้เดือนดิน และสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดต่าง ๆ

  10. 4. การเกิดช่องปาก 4.1 โปรโตสโตเมีย (Protostomia) เป็นสัตว์พวกที่ช่องปากเกิดก่อนช่องทวารในขณะที่เป็นเอมบริโอ ซึ่งช่องปากเกิดจากบลาสโตพอร์ หรือบริเวณใกล้ ๆ บลาสโตพอร์ (Blastopore) ได้แก่ พวกหนอนตัวแบนหนอนตัวกลม หนอนมีปล้อง หอย สัตว์ ขาข้อ

  11. 4.2 ดิวเทอโรสโตเมีย (Deuterostomia) เป็นสัตว์พวกที่ช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร เกิดจากช่องใหม่ที่จะเจริญพัฒนาไปเป็นทางเดินอาหารซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ บลาสโตพอร์ ได้แก่ พวกดาวทะเล และสัตว์มีกระดูกสันหลัง

  12. 5. ทางเดินอาหาร (Digestive tract) โดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ • 5.1 ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete digestive tract) • มีช่องทางเดินอาหารเข้าออกทางเดียวกัน หรือทางเดินอาหารแบบปากถุง (One-hole-sac) • ได้แก่พวกไฮดรา แมงกะพรุน หนอนตัวแบน

  13. 5.2 ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract)เป็นทางเดินอาหารของสัตว์ที่มีทั้งปากและทวารหนัก หรือมีช่องทางเข้าออกของอาหารคนละทางกัน • ทางเดินอาหารแบบท่อกลวง (Two-hole-tube) ได้แก่ พวกหนอนตัวกลม จนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลัง

  14. 6. การแบ่งเป็นปล้อง (Segmentation) • 6.1 การแบ่งเป็นปล้องเฉพาะภายนอก (Superficial segmentation) เป็นการเกิดปล้องขึ้นเฉพาะที่ส่วนผิวลำตัวเท่านั้นไม่ได้เกิดตลอดตัว เช่น พยาธิตัวตืด • 6.2 การแบ่งเป็นปล้องที่แท้จริง (Metameric segmentation) เป็นการเกิดปล้องขึ้นตลอดลำตัวทั้งภายนอกและภายใน • ข้อปล้องเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อชั้นกลาง ทำให้เนื้อเยื่อชั้นอื่น ๆ เกิดเป็นปล้องไปด้วย ได้แก่ไส้เดือน กุ้ง ปู แมลง ตลอดไปจนสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

  15. 1. ไฟลัมฟอริเฟอรา (Porifera)

  16. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมพอริเฟอราลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมพอริเฟอรา 1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (asymmetry) 2. มีเนื้อเยื่อ 2-3 ชั้น - ชั้นนอก ผิวลำตัวหรือเอพิเดอร์มิส - ชั้นใน มีเซลล์พิเศษเรียกว่า โคแอโนไซต์ (Choanocyteหรือ Collar cell) เซลล์มีแฟเจลลา 1 เส้นและมีปลอกคอ (Collar) บุอยู่โดยรอบ เรียกเซลล์ในชั้นนี้ว่า ชั้นแกสทรัล(Gastral layer)

  17. ฟอริเฟอรา (Porifera) 3. ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องร่างแห (Channel network) มีรูเปิดเล็ก ๆ ออสเทีย (Ostia) บริเวณผิวลำตัวรอบตัวทำหน้าที่เป็น ทางน้ำไหลเข้าภายในตัวและมีรูเปิดขนาดใหญ่ออสคิวลัม(Osculum) ทำหน้าที่เป็นทางน้ำไหลออกจากตัว

  18. 4. ฟองน้ำมีระบบโครงร่างค้ำจุนให้คงรูปอยู่ได้ - บางชนิดแข็งเรียกว่า ขวาก (spicule) อาจเป็น หินปูนและซิลิกา (silica) เช่น ฟองน้ำหินปูน ฟองน้ำแก้ว

  19. - บางชนิดเป็นเส้นใยโปรตีน เรียกว่า สพองจิน (spongin) ได้แก่ ฟองน้ำถูตัว  5. ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบประสาท จะอาศัยการไหลเวียนน้ำ ฟองน้ำกินอาหารโดยกรองอาหารที่อยู่ในน้ำผ่านเข้ารูพรุนรอบตัว หายใจโดยการดูดซึมออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำผ่านผนังลำตัว 

  20. 5. มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกัน ตัวอ่อนที่มีซิเลียว่ายน้ำได้ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (budding) ตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่กับที่ (sessile animal)

  21. 2. ไฟลัมไนดาเรีย(Phylum Cnidaria)

  22. 2. ไนดาเรีย(Cnidaria) ไนดาเรีย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเล เช่น ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน ส่วนน้อยอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา แมงกระพรุนน้ำจืด 

  23. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไนดาเรียลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไนดาเรีย • มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry)  • มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ • เนื้อเยื่อชั้นนอก หรือ เอพิเดอร์มิส (Epidermis) • เนื้อเยื่อชั้นในเป็นเยื่อบุทางเดินอาหารเรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) • ระหว่างเนื้อเยื่อมีสารคล้ายวุ้น แทรกอยู่เรียกว่าชั้นมีโซเกลีย (Mesoglea) 

  24. 4. ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์มีปากแต่ไม่มีทวารหนักช่อง ทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัวทำหน้าที่เป็นทั้งทางเดินอาหารและระบบหมุนเวียน เรียกว่าแกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascularcarvity) 5. มีเข็มพิษหรือเนมาโทซีสต์ (Nematocyst)ใช้ในการป้องกันและฆ่าเหยื่อ เนมาโทซีสต์มักจะอยู่กันหนาแน่นที่บริเวณหนวด (Tentacle)

  25. 5. ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย อาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆระหว่างน้ำที่ อยู่รอบๆตัวกับผิวลำตัวโดยตรง 6. ระบบประสาทเป็นแบบข่ายใยประสาท (Nerve net) แผ่กระจายทั่วตัว และหนาแน่นบริเวณหนวดการนำกระแสประสาทจึงทุกทิศทุกทาง ช้าและมีทิศทางไม่แน่นอน 

  26. 7. รูปร่างเป็น 2 แบบ • โพลิป (Polyp) คือ รูปร่างแบบต้นไม้เรียกว่า เช่น ไฮดรา ปะการังดอกไม้ทะเล • เมดูซา (Medusa) คือรูปร่างคล้ายร่มหรือกระดิ่งคว่ำ เรียกว่า ได้แก่แมงกะพรุน  8. การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมักจะเป็นแบบการแตกหน่อ (Budding)

  27. 3. ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส(phylum Platyhelminthes)

  28. 3. แพลทีเฮลมินเทส(Platyhelminthes) มีสมมาตรเป็นแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry)  มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นครบถ้วน (triloblastics) ไม่มีช่องตัว(acoelomate) บางชนิดมีซิเลีย เช่น พลานาเลีย บางชนิดมีคิวทิเคิล (cuticle) หุ้มและมีปุ่มดูด หรือขอเกี่ยว (hooks) สำหรับยึดเกาะกับโฮสต์ (host) เช่นพยาธิใบไม้ (flukes) พยาธิตัวตืด (tapeworms) 

  29. 5. ร่างกายแบนทางด้านหลังและด้านท้อง (dorsoventrally) 6. พวกที่มีการดำรงชีวิตอย่างอิสระจะมีเมือกลื่น ๆ หุ้มตัวเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ 7. พวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (parasitic type) จะมีคิวทิเคิล (cuticle) หุ้มตัวซึ่งสร้างจากเซลล์ที่ผิวของลำตัว ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายซึ่งเกิดจากน้ำย่อยของผู้ถูกอาศัย (host) 

  30. 8. ระบบขับถ่าย โพรโตเนฟริเดีย (protonephridia) • เป็นท่อที่ปลายด้านในปิดและมีท่อไปเปิดออกด้านนอก มีท่อตามยาวหลายท่อ (protonephridial canal) จากท่อเล็ก ๆ นี้จะมีท่อแยกไปเป็นท่อย่อย (capillary) ที่ปลายท่อย่อยมีเซลล์โพรโตเนฟริเดียลักษณะเป็นรูปถ้วย (flame bulb) มีแฟลกเจลลัมเป็นกระจุกอยู่ด้านในของถ้วย ซึ่งจะโบกพัดไปมาคล้ายเปลวเทียน จึงเรียกว่า เฟลมเซลล์ ทำให้เกิดแรงดึงน้ำผ่านเข้าสู่ท่อของเสียที่โพรโตเนฟริเดีย กำจัดออกในรูปของแอมโมเนียที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งจะไหลออกมาตามท่อและออกสู่ภายนอกทางช่องเปิดที่เรียกว่า เนฟริดิโอพอร์ (nephridiopore) 

  31. protonephridia

  32. 8.ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจโดยเฉพาะ ในพวกปรสิตจะหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration) เช่น พยาธิใบไม้ ส่วนพวกที่ดำรงชีวิตอย่างอิสระจะหายใจแบบใช้ออกซิเจน (aerobic respiration) โดยใช้ผิวตัวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส 

  33. 9. ระบบประสาท • ประกอบด้วยปมประสาทด้านหน้า (anterior ganglia) • หรือปมประสาท รูปวงแหวน (nerve ring) ทำหน้าเป็นสมองเชื่อมระหว่างเส้นประสาทใหญ่ตามยาว (longitudinal nerve cord) ทอดไปตามยาวของร่างกายจำนวน 2 เส้น และมีเส้นประสาทตามขวาง (transverse nerve) เชื่อมระหว่างเส้นประสาทใหญ่ทั้งสองด้วย มีอวัยวะรับสัมผัสแบบง่าย ๆ • บางชนิดมีตา (eye spot) 

  34. 10. ระบบสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยมีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน จัดเป็นกะเทย (hermaphrodite) มีการปฏิสนธิภายในตัวเอง (self fertilization) และปฏิสนธิแบบข้ามตัว (cross fertilization) และมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการงอกใหม่ (regeneration)

More Related