E N D
Tomato Yellow Leaf Curl Begomovirusจัดทำโดย1. นางสาวซาฟียะห์ สะอะ รหัสนักศึกษา 4440055 2. นางสาวซารีปะ บูละ รหัสนักศึกษา 4440056 3. นางสาวญาดา หมาดหนุด รหัสนักศึกษา 4440060 4. นางสาวดูนียานา หะยีสะมะแอ รหัสนักศึกษา 4440066 5. นางสาวยุวดี ช้างแก้ว รหัสนักศึกษา 4440148 6. นางสาวรอกีเยาะ มะและเด็ง รหัสนักศึกษา 4440150 7. นายวุฒิศักดิ์ ห่อหุ้ม รหัสนักศึกษา 4440176 8. นางสาวฮานีซ๊ะ ซูรอ รหัสนักศึกษา 4440238
รายงานการพบเชื้อครั้งแรกจากประเทศอิสราแอล โดย Cohen และ Harpaz (1964) ซึ่งพบในLycopersicon esculentum( มะเขือเทศ) TYLCV เป็นไวรัสในวงศ์ Geminiviridae Tomato Yellow Leaf Curl Virus (TYLCV)
การจำแนกเชื้อในวงศ์Geminiviridaeแยกออกได้เป็น 4 จีนัส คือ 1. Mastrevirus 2. Curtovirus 3. Topocuvirus 4. Begomovirus
TYLC เป็นไวรัสในGenus Begomovirus และเป็นสาเหตุของโรค Tomato Yellow Leaf Curl
คุณสมบัติของ GeminiviridaeMorphology - เป็นอนุภาคทรงกลมหลายเหลี่ยมขนาดเล็ก - ไม่มีถุงหุ้ม - ขนาดประมาณ 18 x 36 นาโนเมตร - อนุภาคอยู่เป็นคู่ ๆ
Nucleic acid (Genome) - Genome ประกอบด้วย 1โมเลกุลหรือมาก กว่า - เป็น ssDNA - ความยาว Genome ทั้งหมดคือ 2500 -3000 nt หรือ 4800 - 5600 nt - Genome รวมอยู่ในอนุภาคเดียวเท่านั้น
โครงสร้างของ Geminiviridae www.uct.ac.za/microbiology/msvmastrevirus.htm
อนุภาคของเชื้อในกลุ่ม Geminiviridae www.ncbi.nlm.nih.gov/ICTVdb/WIntkey/Images/b3.gif
พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดเชื้อTYLCVไซปรัส อินเดีย อิรัก อิสราแอล เลบานอล ไนจิเรีย ซูดาน ตุรกี ตูนีเซีย และไทย
ความสำคัญทางเศรษฐกิจเชื้อGeminivirus สามารถเข้าทำลายพืชได้หลายกลุ่ม เช่น ถั่ว พริก ฝ้าย มันฝรั่ง และโดยเฉพาะมะเขือเทศ จะทำให้ใบเหลืองและหงิก ต้นแคระแกร็น ส่งผลให้ผลผลิตลดลง
โรคที่เกิดจากเชื้อ TYLCVTYLCV ทำให้เกิดโรคใบหงิกเหลืองกับมะเขือเทศ (Tomato Yellow Leaf Curl)
ลักษณะอาการโรค Tomato Yellow Leaf Curlใบอ่อนที่แตกใหม่มีขนาดเล็กและหงิกงอสั้นขอบใบจะม้วนงอเข้าหาเส้นกลางใบ ผิวใบไม่เรียบและเกิดอาการสีซีดเหลือง(Chlorosis) ยอดแตกเป็นพุ่ม ต้นชะงักการเจริญเติบโต
ลักษณะอาการโรค Tomato yellow leaf curl http://www.defra.gov.uk/planth/pestnote/yellow.htm
-ในขณะที่ต้นมะเขือเทศอายุต่ำกว่า 1 เดือน จะแสดงอาการโรคอย่างรุนแรง ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตต่อไป-ในระยะที่มะเขือเทศโตแล้ว เริ่มจะติดดอกออกผล อาจติดผลน้อย หรือติดดอกแล้วดอกร่วง ทำให้ผลผลิตลดลง-หลังจากติดผลแล้ว โดยทั่วไปอาการของโรคจะไม่รุนแรงนัก มะเขือเทศยังคงเจริญต่อไปได้จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต ระดับความรุนแรงของโรค Tomato Yellow Leaf Curl
การแพร่ระบาดโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้โดยมีแมลงหวี่ขาว (white fly : Bemisia tabasi) เป็นพาหะ แมลงหวี่ขาวสามรถถ่ายทอดโรคได้ 88 %
แมลงหวี่ขาวพาหะนำโรค Tomato yellow leaf curl ตัวเต็มวัยแมลงหวี่ขาว ตัวอ่อนแมลงหวี่ขาว http://plantpro.doae.go.th
การป้องกันโรค Tomato yellow leaf curl-รักษาความสะอาดแปลงปลูก ควรเก็บซากพืชที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ปลูกออกให้มากที่สุดโดยเฉพาะฟางข้าว- ถ้าปรากฏมะเขือเทศที่เป็นโรคนี้ ควรรีบถอนทำลายด้วยการเผา - แปลงที่มีโรคนี้ระบาดควรงดปลูกมะเขือเทศอย่างน้อย 4 ปี - เลือกเวลาปลูกมะเขือเทศในช่วงที่มีปริมาณแมลงหวี่ขาวพาหะของโรคน้อย - เพาะกล้ามะเขือเทศในโรงเรือนที่มีมุ้งกันแมลง - ก่อนย้ายปลูกมะเขือเทศในแปลงควรรองก้นหลุมด้วยสารเคมีควบคุมแมลงชนิดดูดซึม - สารป้องกันกำจัดโรคพืช ซีพีเอ็นบี เอทริไดอาโซล พีซีเอ็นบี+เอทริไดอาโซล สามารถลดอัตราการเป็นโรคลงได้แต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
อนาคตของพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรคTomato yellow leaf curlมะเขือเทศพันธุ์การค้า ส่วนใหญ่ยังมีระดับความต้านทานค่อนข้างต่ำ แนวทางในการควบคุมโรคนี้โดยการสร้างพันธุ์มะเขือเทศต้านทานโรค โดยวิธีการต่าง ๆ เช่นเทคนิคการตัดต่อยีน (genetic engineering) ด้วยการสอดแทรกยีนที่ควบคุมการสร้าง coat protein ของไวรัสชนิดเดียวกับที่เป็นสาเหตุโรคเข้าไปในยีนของมะเขือเทศพันธุ์การค้า เพื่อให้มะเขือเทศที่ได้รับการตัดต่อยีน ซึ่งเรียกว่ามะเขือจำลองพันธุ์ (transgenic plant)สามารถสร้าง coat protein แบบเดียวกับของไวรัสได้ เมื่อไวรัสสาเหตุโรคเข้าสู่พืช ในทันทีที่ coat proteinและ nucleic acid ของไวรัสแยกออกจากกันเพื่อเตรียมการเพิ่มปริมาณ nucleic acid ของไวรัสจะถูก coat protein ที่พืชสร้างขึ้นห่อหุ้มไว้ทำให้ไม่สามารถเพิ่มปริมาณและก่อให้เกิดโรคได้ การสร้างพืชจำลองพันธุ์ต้านทานโรคใบหงิกเหลืองของมะเขือเทศ กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาให้สามารถเจริญ เติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศของประเทศไทย