1 / 50

อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต. Internet - อินเทอร์เน็ต . วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ตและทราบวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตได้ 2. อธิบายการทำงานพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 3. อธิบายบริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

greta
Download Presentation

อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บ ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อินเทอร์เน็ต และเวิลด์ไวด์เว็บทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

  2. Internet - อินเทอร์เน็ต วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ตและทราบวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ตได้ 2. อธิบายการทำงานพื้นฐานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 3. อธิบายบริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 4. สามารถใช้บริการ Search engine ในการค้นหาข้อมูลได้ total of 38

  3. Internet - อินเทอร์เน็ต ความหมาย - เป็นเครือข่ายแห่งบรรดาเครือข่าย (an international network of networks) - เป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก, ใช้มาตรฐานหรือเกณฑ์วิธี ที่ชื่อว่า TCP/IP ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่ายต่างๆ ที่เชื่อมโยงถึงกัน ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ต่างๆ ได้ทั้งโดยตรง โดยผ่านบริการสืบค้นสารสนเทศออนไลน์ หรือโดยผ่านบริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) total of 38

  4. Internet - อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย - พ.ศ.2530 - อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเชื่อมต่อครั้งแรกโดย ม.สงขลานครินทร์ และ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เพื่อรับส่งข้อมูล - พ.ศ. 2535- เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์ จุดแรกของการเชื่อมต่อได้แก่เครื่อง chulkn.chula.ac.th ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย total of 38

  5. Internet - อินเทอร์เน็ต ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้อินเทอร์เน็ต 1. ประโยชน์สำหรับใช้งานส่วนตัว 1.1 ค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการทำงานหรือเพื่อการศึกษา 1.2 การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) 1.3 แลกเปลี่ยนแฟ้มหรือโอนย้ายข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ 1.4 สนทนาและแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Chat & News) 1.5 ซื้อ-ขาย หรือแลกเปลี่ยนสิ่งของผ่านทางคอมพิวเตอร์ 1.6 การติดต่อสื่อสารทั้งภาพและเสียงผ่านทางคอมพิวเตอร์ 1.7 เป็นการพัฒนาตนเองให้ก้าวทันกับเทคโนโลยี total of 38

  6. Internet - อินเทอร์เน็ต ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้อินเทอร์เน็ต 2. ประโยชน์สำหรับใช้งานด้านธุรกิจ 1.1 ในงานด้านสื่อโฆษณา 1.2 ในด้านประชาสัมพันธ์ 1.3 ในงานด้านการสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการ ใช้บริการ 1.4 ในงานด้านการซื้อ-ขายสินค้า ผ่านเครือข่ายได้ 1.5 ใช้ในการประชุมหรือการติดต่อสื่อสารทั้งภาพและเสียงพร้อมกัน หลายๆ คน จากสถานที่ต่างๆ กันได้ทั่วโลก total of 38

  7. Internet - อินเทอร์เน็ต การเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต อาจใช้ดาวเทียมช่วยรับ-ส่งข้อมูลก็ได้ ติดตั้งโปรแกรมสื่อสาร คู่สายโทรศัพท์ ISP คอมพิวเตอร์ MODEM MODEM total of 38

  8. Internet - อินเทอร์เน็ต Domain Name ในอินเทอร์เน็ต การตั้งชื่อ Domain Name ตามหลักการของอินเทอร์เน็ต มีหลักในการแบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตัวอย่างเช่น www.yahoo.com ส่วนที่อยู่หลังจุด ตำแหน่งเดียวกับ com จะมีความหมายดังนี้ คือ .edu : แทนสถานศึกษา .mil : แทนสถาบันทางการทหาร .com : แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน .gov : แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล total of 38

  9. Internet - อินเทอร์เน็ต Domain Name ในอินเทอร์เน็ต .net : แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย .org : แทนองค์กรหรือสมาคมต่างๆ .xx : ตัวอักษร 2 ตัว แทนชื่อประเทศ เช่น .th สำหรับประเทศไทย .ca สำหรับประเทศแคนาดา .uk สำหรับประเทศ อังกฤษ .us สำหรับประเทศ สหรัฐอเมริกา .sg สำหรับประเทศ สิงคโปร์ total of 38

  10. Internet - อินเทอร์เน็ต Domain Name ในอินเทอร์เน็ต ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมกลุ่มของ Domain Name ในลำดับที่สองอีกมากมายหลายกลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย .info : แทนองค์กรที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล .firm : แทนองค์กรหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป .store: แทนบริษัทที่มีธุรกรรมทางการค้า .museum: แทนพิพิธภัณฑสถาน .web : แทนเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลต่างๆ .arts : แทนกลุ่มที่มีกิจกรรมทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม .name : สำหรับบุคคลทั่วไป .pro : สำหรับนักบัญชี, ทนายความ, แพทย์, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้าน total of 38

  11. Internet - อินเทอร์เน็ต ตัวอย่าง หน้าตาโปรแกรม Web Browser: Internet Explorer total of 38

  12. Internet - อินเทอร์เน็ต ตัวอย่าง หน้าตาโปรแกรม Web Browser: Mozilla Firefox total of 38

  13. Internet - อินเทอร์เน็ต บริการบนอินเทอร์เน็ต (Internet Features) 1. บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) 2. บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol : FTP) 3. บริการการสนทนาแบบออนไลน์(Internet Relay Chat : IRC) 4. บริการกระดานข่าว (User Network : USENET) 5. บริการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล (Remote Login) หรือเทลเน็ต (Telnet) 6. บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) 7. บริการค้นหาข้อมูลบนเว็บ โดยการใช้เครื่องมือ Search Engine total of 38

  14. Internet - อินเทอร์เน็ต บริการบนอินเทอร์เน็ต (Internet Features) (ต่อ) 8. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) 9. การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-learning หรือ Electronic learning) 10. นาคารอิเล็กทรอนิกส์(E-banking หรือ Electronic banking) 11. โทรศัพท์อินเทอร์เน็ต (Internet Phone) 12. เกมออนไลน์ (Game online) 13. ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย (Software updating) 14. Wap, Palm หรือ PocketPC total of 38

  15. จรรยาบรรณการใช้สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตจรรยาบรรณการใช้สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต total of 38

  16. จรรยาบรรณเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์เมล์และไฟล์ • ตรวจสอบจดหมายทุกวัน และจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมาย • ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการ • ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย (inbox) มีจำนวนน้อยที่สุด • ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซี หรือฮาร์ดดิสต์ของตนเอง • พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ • กำหนดให้ไฟล์ในโฮมไดเรกทรอรีของตนมีจำนวนต่ำที่สุด ไฟล์ต่างควรได้รับการดาวน์ โหลดมายังพีซีของตน • ในการคัดลอกไฟล์จากของตนไปให้ผู้อื่นหรือนำไฟล์จากอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องของตน ควรจะได้ทำการสแกนตรวจสอบไวรัส total of 38

  17. จรรยาบรรณเกี่ยวกับการใช้ Telnet • ใช้กับเครื่องที่เปิดเป็นสาธารณะที่ให้ใช้ได้ หรือเครื่องที่มีสิทธิ์หรือได้รับอนุญาตให้ ใช้ได้ จะต้องไม่ละเมิดโดยการแอบขโมยสิทธิผู้อื่นนำไปใช้โดยเด็ดขาด เช่นใช้บัญชีและ รหัสผ่านของผู้อื่น • เครื่องที่ต่อรับ telnet ส่วนใหญ่จะมีระเบียบและกฎเกณฑ์เฉพาะเครื่อง ควรทำความ เข้าใจโดยการศึกษาข้อกำหนด • ในการเข้าไปยังเครื่องด้วย telnet จะต้องรีบปฏิบัติงาน และใช้ด้วยเวลาจำกัด เมื่อเสร็จ ธุระแล้วให้รีบ logout ออกจากระบบ เพราะการทำงานแต่ละครั้งย่อมต้องใช้กำลังของ เครื่องเสมอ total of 38

  18. จรรยาบรรณการใช้ระบบสนทนาแบบออนไลน์จรรยาบรรณการใช้ระบบสนทนาแบบออนไลน์ • ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย • ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียก • หลังจากเรียกไปชั่วขณะ คู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ ขอ ให้หยุดการเรียก เพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว • ควรใช้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่ รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น total of 38

  19. จรรยาบรรณการใช้ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์จรรยาบรรณการใช้ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ • ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็น • ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิด หรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า • ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอย หรือข่าวลือ หรือ เขียนข่าวเพื่อความสนุกโดยขาดความรับผิดชอบ • จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่นๆ เพราะหลายเครื่องที่ อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล • ไม่ควรใช้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้า หรืองานเฉพาะของตน เพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า • การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซ็นตอนล่างของข้อความ total of 38

  20. จรรยาบรรณการใช้ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) • ในการทดสอบการส่ง ไม่ควรทำพร่ำเพรื่อ • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรใหญ่มีความหมายถึงการตะโกน หรือการแสดง ความไม่พอใจ ในการเน้นคำให้ใช้เครื่องหมาย * แทนข้อความ • ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขัน หรือคำเฉพาะ คำกำกวม หรือคำหยาบ คายในการเขียนข่าว • ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น • ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่น เช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มี การสรุปย่อ และเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา • ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น total of 38

  21. บัญญัติ 10 ประการ ของจรรยาบรรณผู้ใช้ 1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร 5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ 6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์ 7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ 8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ 10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกามารยาท total of 38

  22. ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต • สารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ในระบบอินทราเน็ตและระบบอินเทอร์เน็ต มีการเก็บสารสนเทศ จำนวนมหาศาล กระจัดกระจายกัน อยู่ในคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการจากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก ทำให้เกิดห้องสมุดเสมือน (Virtual Library) ซึ่งเป็นห้องสมุดของโลก ที่มีขนาดใหญ่มหาศาล ที่จัดเก็บสรรพวิชาการ งานวิจัย เทคโนโลยีใหม่ๆ และ ข่าวสารต่างๆ ไว้ total of 38

  23. ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต • ผู้ใช้ที่ต้องการใช้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ต้องใช้การสืบค้นที่เหมาะสม และต้องทราบว่า สารสนเทศที่ต้องการนั้น อยู่แห่งใดในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การสืบค้นข้อมูลในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถใช้บริการต่างๆ ได้หลายบริการ เพื่อสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการนั้น มีการเผยแพร่โดยวิธีใด total of 38

  24. ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต สามารถแบ่งเป็นหมวดได้ดังนี้ 1.วารสาร- ซึ่งตีพิมพ์ในรูปแบบวารสารออนไลน์ 2.เอกสาร รายงาน – บทความ เอกสารซึ่งจัดทำโดยองค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต 3. ฐานข้อมูล– ข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลของหน่วยงาน ข้อมูลบรรณานุกรม และฐานข้อมูลของห้องสมุด 4.องค์กร หน่วยงาน –องค์กร ต่างๆ มักจะจัดทำเว็บไซต์ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับ กิจกรรมขององค์กร จุดมุ่งหมาย และโครงการวิจัยต่างๆ total of 38

  25. ทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (ต่อ) 5.รายชื่ออีเมล์กลุ่มสนทนา 6. สื่อเพื่อการศึกษา – เช่น เอกสารประกอบการสอน แบบทดสอบออนไลน์ 7. เครื่องมือช่วยค้น – Search engines ประเภทต่างๆ เช่น Google Yahoo และฐานข้อมูล OPAC ในการช่วยค้นบรรณานุกรมออนไลน์ total of 38

  26. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต • เอกสาร(document) เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานประจำปี • ภาพ (picture) • ภาพเคลื่อนไหว (animation) ภาพยนตร์ • โปรแกรม (software) • เสียง (sound) เช่น เพลง total of 38

  27. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล • สามารถจำแนกองค์ความรู้เฉพาะสาขาทางกายภาพที่เป็นปัจจุบันของข้อมูลได้ คือ 1.1 ขั้นเตรียมการ 1.1.1 การตั้งหรือกำหนดคำถามและขอบเขตของคำถามนั้น ๆ ด้วยหัวข้อที่ต้องการ 1.1.2 สำรวจว่าเป็นหัวเรื่องที่จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อหาที่ต้องการ 1.1.3 วิเคราะห์ขอบข่ายของเรื่อง และใช้ศัพท์เฉพาะในการสืบค้น 1.1.4 รู้วิธีการใช้ หรือการได้ข้อมูลจากสื่อประเภทอื่นๆ เช่น สิ่งพิมพ์ออนไลน์ total of 38

  28. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล (ต่อ) 1.2ขั้นจำแนกทรัพยากร 1.2.1 เข้าใจลักษณะของทรัพยากร ประเภทของข้อมูลองค์กรและ ความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่ได้ เช่น ข้อมูลสาธารณะ กับ ข้อมูลส่วนบุคคล, 10k กับ รายงานประจำปีขององค์กร 1.2.2 เข้าใจลักษณะของข้อมูลด้านจำนวนตัวเลข หรือ การเงิน ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1.2.3 ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย เช่น จากหน่วยงานรัฐบาล 1.2.4 สามารถจำแนกข้อมูลที่ปรากฏในวารสาร ที่ ปรากฏในลักษณะบทความ, เรื่องทั่วไปที่อยู่ในกระแส หรือ เรื่องที่น่าเชื่อถือ และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เขียน total of 38

  29. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล (ต่อ) 1.2ขั้นจำแนกทรัพยากร (ต่อ) 1.2.5 เปรียบเทียบข้อมูลที่เผยแพร่โดยองค์กรต่างๆ เช่น กลุ่มการค้า กลุ่มผู้บริโภค ที่ให้ข้อมูลในหัวข้อเรื่องนั้นๆ 1.2.6 ข้อมูลจากหน่วยงานต่างประเทศ เช่น IMF, World bank, APEC 1.2.7 พิจารณานำข้อมูลสถิติมาใช้ให้สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ 1.2.8 พิจารณาและเลือกแหล่งความรู้ที่เป็นมาตรฐาน 1.2.9 ทราบถึงการใช้ข้อมูลด้านกฎหมาย ว่าจะต้องใช้เมื่อใดและ อย่างไร total of 38

  30. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล (ต่อ) 1.2ขั้นจำแนกทรัพยากร (ต่อ) 1.2.10 ทราบแหล่งที่สามารถให้ฟรีข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เช่น ข้อมูลออนไลน์ 1.2.11 ทราบประเภทข้อมูลที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใน การเข้าถึงข้อมูล 1.2.12 ทราบหัวเรื่องๆ อื่น ๆที่สามารถเกี่ยวข้องกับสาขาที่ต้องการ ได้ เช่น จิตวิทยา การศึกษา ฯลฯ total of 38

  31. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล (ต่อ) 2. การเข้าถึงข้อมูลให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ 2.1 เลือกเครื่องมือช่วยค้นที่ดี เช่น ฐานข้อมูล OPAC, Google 2.2 ทราบแหล่งและวิธีเข้าถึงฐานข้อมูล เช่น ฐานข้อมูล DAO, ERIC ABI/INFORM 2.3 เลือกใช้แหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลทางบรรณานุกรมครบถ้วน 2.4 เลือกใช้คำค้น และกำหนดขอบเขตของเรื่องเพื่อให้สามารถ เลือกคำได้มาก 2.5 ศึกษาเทคนิคการสืบค้นลักษณะพิเศษของฐานข้อมูลที่เลือกใช้ เช่น การใช้คำเชื่อม ตรรกบูลลีน total of 38

  32. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล (ต่อ) 2. การเข้าถึงข้อมูลให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ (ต่อ) 2.6 ควรรู้จักเลือกใช้และทราบว่าเมื่อใดที่จะต้องใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด 2.7 ทราบวิธีการจัดเก็บข้อมูล การดาวน์โหลด print และการส่งผลการสืบค้นทางอีเมล์ 2.8 หากผลการสืบค้นไม่ตรงตามความต้องการให้พยายามเปลี่ยนคำ และ เปลี่ยนประเภทการสืบค้น เช่น คำสั่ง and or not 2.9 คัดลอกแหล่งข้อมูล (URL) และรายการบรรณานุกรม เพื่อการใช้อ้างอิงในครั้งต่อไป total of 38

  33. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล (ต่อ) 3. การพิจารณาข้อมูลที่ได้มา 3.1 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล 3.2 ข้อมูลส่วนใหญ่มีการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีข้อจำกัดในด้าน เวลา และความน่าเชื่อถือของผู้เผยแพร่ 3.3 บทวิเคราะห์วิจารณ์ต่างๆ จะแตกต่างกัน หากมาจากกลุ่มนักวิจารณ์ต่างสาขากัน ต่างมุมมอง 3.4 หากไม่แน่ใจข้อมูลที่ได้มา ควรปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ หรือ บรรณารักษ์ total of 38

  34. ทักษะการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อค้นข้อมูล (ต่อ) 4. การนำข้อมูลไปใช้ 4.1 ข้อมูลเฉพาะด้าน เช่น เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคม มักจะมีลิขสิทธ์ในเนื้อหา 4.2 ควรมีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างครบถ้วน 4.3 ข้อมูลรูปภาพ หรือ กราฟ ตาราง จะต้องเขียนแหล่งอ้างอิง total of 38

  35. เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเทคนิคการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต 1. การตั้งหรือกำหนดคำถามและขอบเขตของคำถามนั้น (Formulate the Question) 2. การจำแนกแนวคิดในคำถามนั้น ๆ (Identify the Important Concepts) 3. การกำหนดคำค้น (Identify Search Terms) 4. การเชื่อมคำ (Combining Search Terms) 5. การเลือกใช้ Search Engines 6. ทำการสืบค้น และประเมินผลข้อมูลที่ได้รับ total of 38

  36. ตัวอย่างขั้นตอนการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพตัวอย่างขั้นตอนการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โจทย์ อะไรคือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการว่างงาน? total of 38

  37. กลยุทธ์การสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตกลยุทธ์การสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ต จะค้นหาข้อมูลเมื่อใดและจัดการอย่างไร? 1. เวลา – ควรค้นในช่วงเช้า หรือ กลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงที่มีคนใช้เป็นจำนวนมาก 2. บันทึก – ควรทำการบันทึกแหล่งข้อมูลที่ใช้บ่อย ๆ (Bookmark) เพื่อประหยัดเวลาในการค้นครั้งต่อไป และจด URL ไว้ 3. เจ้าของผลงาน - ควรตรวจสอบข้อมูลทางบรรณานุกรมของบทความหรือเอกสารที่ดาวน์โหลดมา 4. ความถูกต้อง– ตรวจสอบชื่อ URL ว่าพิมพ์ถูกต้องหรือไม่ total of 38

  38. กลวิธีการสืบค้น 1. พิมพ์คำหลัก หรือ วลี (keyword) ใน กล่องค้นหา Search box การค้นแบบนี้จะเรียกว่าการค้นหาแบบง่าย (simple search) 2. หากผลการค้นหามีมากเกินไป ควรจำกัดการค้นด้วยการใช้ ตรรกบูลีน(Boolean logic) การค้นหาด้วยวิธีนี้จะเป็นการใช้ตัวเชื่อม (operator) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคำค้นในลักษณะที่ผู้ใช้ต้องการ ตัวเชื่อมตรรกบูลีนได้แก่ AND, OR, NOT ซึ่งเป็นคำที่ใช้ตัวอักษรใหญ่ ทั้งหมด total of 38

  39. Boolean login ผลลัพธ์ แมว สัตว์เลี้ยง การค้นหาโดยใช้ตัวเชื่อม AND รูปแบบการใช้งาน: สัตว์เลี้ยง AND แมว โดยคำสองคำนี้ต้องเป็นคำหลัก คำถาม: ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นแมว อธิบาย :ผลลัพธ์จากการค้นหาจะแสดงเว็บเพจที่มีคำทั้ง 2 คำ (สัตว์เลี้ยง แมว) อยู่ภายในเว็บเพจเดียวกัน total of 38

  40. total of 38

  41. การค้นหาโดยใช้ตัวเชื่อม NOT รูปแบบการใช้งาน:cats NOT dogs คำค้น ผลการค้น cats 86,747 dogs 130,424 cats NOT dogs 65,223 คำถาม ต้องการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ cat แต่ไม่เอา dog total of 38

  42. total of 38

  43. การค้นหาโดยใช้ตัวเชื่อม OR รูปแบบการใช้งาน : college OR university เว็บเพจที่มีคำ 2 คำนี้ปรากฏอยู่ หรือ คำใดคำหนึ่งก็ได้ คำค้น ผลการค้น college 396,482 university 590,791 college OR university 819,214 college OR university OR campus 929,677 total of 38

  44. total of 38

  45. การใช้เครื่องมือสืบค้นให้มีประสิทธิภาพการใช้เครื่องมือสืบค้นให้มีประสิทธิภาพ 1. ใช้เครื่องหมาย +,- นั่นคือ + สำหรับสืบค้นคำทั้งหมดที่ระบุ เช่น Science +Teacher- สำหรับยกเว้นคำที่สืบค้น เช่น Science –University เช่น คีย์เวิร์ดเจาะแหล่งเก็บไฟล์มัลติมีเดีย +mp3 + “index of” + “last modified” 2. เลือกใช้ Boolean เพื่อช่วยค้นหา เช่น AND OR NOT 3. กำหนดคำที่เฉพาะเจาะจงมากกว่าใช้คำทั่ว ๆ ไป total of 38

  46. 4. ใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) สำหรับสืบค้น คำที่ขึ้นต้นเหมือนกัน เช่น Educat* จะให้ผลลัพธ์ทั้ง Education, Educator Educated เป็นต้น 5. ใช้เครื่องหมายคำพูด (“.....”) สำหรับการค้นหาที่เป็นวลีหรือกลุ่มคำหรือการค้นชื่อคน เช่น “George W. Bush” 6. พยายามเลือกใช้การสืบค้นแบบ Advanced Search 7. อ่านคำแนะนำในการใช้เครื่องมือสืบค้นแต่ละชนิด 8. เลือกใช้บริการเครื่องมือสืบค้นหลาย ๆ แห่ง ไม่ควรอ้างอิงเพียงเว็บไซต์เดียว total of 38

  47. การบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสืบค้น 1. ถ้าต้องการข้อความเหมือนที่ปรากฏในหน้าจอ ให้ save as [file.html] 2. ถ้าต้องการเฉพาะข้อความ ให้ save as [file.txt] 3. ถ้าต้องการเฉพาะรูปบางรูป ให้เลือกรูปนั้นๆ แล้วคลิกเมาส์ปุ่มขวา ให้ save picture as ระบุที่เก็บ [file.gif] ,[file.bmp], [file.jpg] 4. ถ้าต้องการคัดลอกข้อความบางส่วน หรือทั้งหมด ให้เลือกข้อความที่ต้องการ แล้วสั่งcopy ไปวางไว้ใน notepad หรือ MS-Word (ควรเปิดโปรแกรมไว้ก่อน) 5. คัดลอก sources code เก็บไว้ พร้อมกับรูป (อาจต้องแก้ไข page sources) total of 38

  48. ประเภทแฟ้มข้อมูลของทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต ประเภททรัพยากรฯ นามสกุลแฟ้ม ประเภทของแฟ้ม โปรแกรมที่ใช้เปิด เว็บเพจ (Web pages) html,htm Hypertext Markup Web browser Language เอกสาร (documents)pdf Rich Text Format Acrobat reader doc Document File Ms Word ภาพเคลื่อนไหว Mov, qt Moving image Quicktime (Film clips) Mpg Motion Picture Group Media player total of 38

  49. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (ต่อ) ประเภททรัพยากรฯ นามสกุลแฟ้ม ประเภทของแฟ้ม โปรแกรมที่ใช้เปิด เสียง (sound) ra,ram Real Audio Real player Wav Wav File Real player ไฟล์ (File) Zip Zipped Winzip total of 38

  50. “เมื่อ สามารถวิเคราะห์หาหัวข้อเรื่องและคำค้นได้ ก็มาเลือกเครื่องมือที่จะช่วยค้นต่อไปได้เลย” total of 38

More Related