1 / 14

ASSIGNMENT

ASSIGNMENT. นั่งร้านส่วนประกอบสำคัญของอาคารข้างมอ. มารู้จักไม้ยูคาลิปตัส ยูคาลิปตัส ( อังกฤษ : Eucalyptus) เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดใน ทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน มีมากกว่า 700 ชนิด

graham
Download Presentation

ASSIGNMENT

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ASSIGNMENT นั่งร้านส่วนประกอบสำคัญของอาคารข้างมอ

  2. มารู้จักไม้ยูคาลิปตัสมารู้จักไม้ยูคาลิปตัส ยูคาลิปตัส (อังกฤษ: Eucalyptus) เป็นพรรณไม้มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลียเกาะแทสเมเนีย มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่หมู่เกาะมินดาเนา เซลีเบส ปาปัวนิวกินี ในพื้นที่ชุ่มที่มีน้ำขังในเขตร้อน มีมากกว่า 700 ชนิด ในประเทศไทยเริ่มมีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ พระที่นั่งวิมานเมฆ สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปีพ.ศ. 2444 โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัส โครงสร้างของต้นยูคาลิปตัสซึ่งประกอบด้วย เปลือกไม้ซึ่งอยู่ด้านนอกสุดและเนื้อไม้ที่ซ่อนอยู่ด้านใน โดยในส่วนของเนื้อไม้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ “กระพี้” หรือเนื้อไม้ด้านนอกซึ่งอยู่ติดกับเปลือกไม้และเป็นที่อยู่ของท่อลำเลียงน้ำ (xylem) จำนวนมาก ส่วนที่สอง คือ “แก่น” หรือเนื้อไม้ด้านในสุดซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยกระพี้ เมื่อต้นยูคาลิปตัสเติบโตเต็มที่พื้นที่ของกระพี้ก็จะเพิ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างท่อลำเลียงน้ำใหม่ ซึ่งท่อลำเลียงน้ำอันเก่าหลังจากใช้งานมานานก็จะมีการสะสมของสารต่างๆ ภายในเซลล์ จนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นแก่นที่ไม่สามารถลำเลียงน้ำได้อีก ซึ่งยูคาลิปตัสนั้นจะมีแก่นก็ต่อเมื่ออายุเกิน 15 ปีขึ้นไป ยูคาลิปตัสเป็นไม้ที่มีพื้นที่ของกระพี้มากจึงหมายถึงการมีพื้นที่ลำเลียงน้ำขึ้นสู่เรือนยอดมากตามไปด้วย เนื่องจากแนวโน้มการดูดน้ำของต้นไม้แต่ละต้นมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่ของกระพี้ในลำต้นเป็นสำคัญ เนื่องจากยูคาลิปตัสจะมีระบบรากที่แผ่ขยายเร็วและสามารถหยั่งลงไปในดินได้ในระดับลึก จึงมีประสิทธิภาพในการเสาะแสวงหาแหล่งน้ำใต้ดินได้มากกว่าพืชชนิดอื่น[2]

  3. แล้วทำไมต้องใช้ไม้ยูคาลิปตัสแล้วทำไมต้องใช้ไม้ยูคาลิปตัส เคยนึกสงสัยไหมว่า ทำไมไม่ใช้ไม้อื่นล่ะ ทำไมต้องต้นยูคา อะไรประมาณนี้ จะว่าไปไม้ยูคาไม่ใช้ไม้พื้นถิ่นในพิษณุโลกก็ว่าได้ มาจาเมืองนอกเมืองนา แต่ว่าพื้นที่พิษณุโลกก็ได้มีการปลูก และนำมาใช้กันแพร่หลาย และคิดว่าไม้ยูคาพวกนี้สงสัยมันจะโตเร็วกว่าพวกไม้ ทั่วไป และก็มีความตรงด้วย เป็นท่อนๆ อายุการใช้งาน น่าจะมีความนานใช้ได้และราคาถูกกว่าไม้ชนิดอย่างอื่น

  4. ประโยชน์ของไม้ยูคาลิปตัสประโยชน์ของไม้ยูคาลิปตัส ประโยชน์ของไม้ยูคาลิปตัส ไม่ได้มีไว้ทำนั่งร้านอย่างเดียวนะครับ ยังสามารถทำได้อีกหลายอย่าง ยูคาลิปตัสสามารถนำมาปลูกเป็นสวนป่าเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่น ในช่วง 1 – 2 ปีแรกสามารถปลูกพืชควบในพื้นที่สวนป่าแบบไร่นาป่าผสม หรือวนเกษตรได้ เช่น ปลูกละหุ่ง เผือก ถั่วลิสง สัปปะรด ข้าวโพด ข้าว หญ้ากินี ฯลฯ ในระหว่างแถวของยูคาลิปตัสซึ่งจากการวิจัยของนักวิชาการพบว่า พืชควบที่ปลูกให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดีและ ยูคาลิปตัสไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อพืชเกษตร ที่ปลูกแต่อย่างใด 1. ทำไม้ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ทำรั้ว ทำคอกปศุสัตว์ ทำเสา ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ไม้ยูคาลิปตัสสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือนได้ แต่ควรจะได้ทำการ อาบน้ำยารักษาเนื้อไม้ไว้ก่อน ก็จะยืดอายุ การใช้งานได้นาน 2. ทำฟืน เผาถ่าน ถ่านไม้ยูคาลิปตัสใช้เป็นเชื้อเพลิงติดไฟได้ดีและมีขี้เถ้าน้อย จากการทดลอง ไม้ฟืนยูคาลิปตัสให้พลังงานความร้อน 4,800 แคลอรี่ต่อกรัม ส่วนถ่านไม้ยูคาลิปตัส ให้พลังงานความร้อน 7,400 แคลอรี่ต่อกรัม ซึ่งให้ความร้อนใกล้เคียงกับถ่านไม้โกงกาง ซึ่งจัดว่าเป็นถ่านไม้ชั้นดีที่สุด 3. ทำชิ้นไม้สับ ไม้ยูคาลิปตัสเมื่อนำมาแปรรูปและสับทำชิ้นไม้สับ สามารถนำไปผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด แผ่นปาลีติเกิล และแผ่นไม้อัดซีเมนต์ นอกจากนี้ได้มีโรงงานผลิตชิ้นไม้สับ เพื่อนำส่งไปจำหน่ายให้กับโรงงานเยื่อกระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งมีความต้องการสูงมาก ไม้ท่อนยูคาลิปตัส 2.2 ตัน นำมาผลิตเป็นชิ้นไม้สับได้ 1 ตัน ราคาชิ้นไม้สับ ประมาณตันละ 3,000 บาทเศษ

  5. 3. ทำชิ้นไม้สับ ไม้ยูคาลิปตัสเมื่อนำมาแปรรูปและสับทำชิ้นไม้สับ สามารถนำไปผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด แผ่นปาร์ติเกิล และแผ่นไม้อัดซีเมนต์ นอกจากนี้ได้มีโรงงานผลิตชิ้นไม้สับ เพื่อนำส่งไปจำหน่ายให้กับโรงงานเยื่อกระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งมีความต้องการสูงมาก ไม้ท่อนยูคาลิปตัส 2.2 ตัน นำมาผลิตเป็นชิ้นไม้สับได้ 1 ตัน ราคาชิ้นไม้สับ ประมาณตันละ 3,000 บาทเศษ 4. ทำเยื่อไม้ ไม้ยูคาลิปตัสสามารถแปรรูปทำเยื่อไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งมูลค่าผลผลิตเยื่อไม้ราคาตัน 17,000 บาท โดยไม้ท่อนยูคาลิปตัส 4.5 ตัน ผลิตเยื่อไม้ได้ 1 ตัน เยื่อไม้ให้สารพวกเซลลูโลส ซึ่งนำไปใช้ทำเส้นใยเรยอนและทำผ้าแทนเส้นใยฝ้าย และปุยนุ่นได้อีกด้วย โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นตันละ 60,000 บาท และเมื่อนำเส้นใยเรยอนมาปั่นเป็นเส้นด้าย และทอเป็นผ้าจะมีมูลค่าสูงถึง ตันละ 75,000 บาท และ 300,000 บาท ตามลำดับ 5. ทำกระดาษ จากการประเมินเยื่อไม้ยูคาลิปตัส 1 ตัน ผลิตเยื่อกระดาษได้ประมาณ 1 ตัน เยื่อไม้ยูคาลิปตัสมีคุณสมบัติเด่น คือ มีความฟูสูง และมีความทึบแสง ประกอบกับ ไฟเบอร์มีความแข็งแรงเหมาะต่อการใช้ทำกระดาษพิมพ์เขียวประเภทต่างๆ ได้

  6. มาฟังความหมายของนั่งร้านกันมาฟังความหมายของนั่งร้านกัน ที่จริงผมก็อยากรู้น่ะทำไมต้องเรียกว่านั่งร้าน หาในnet มันก็ไม่ค่อยมี มีแต่ราคาแบบต่าง รากายคำนวณไรประมาณนี้ มีแต่เวปนี้ครับที่ดูจะให้ความหมาย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี นั่งร้าน เป็นโครงสร้างชั่วคราวใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมแซม ใช้สำหรับให้ช่างก่อสร้างปีนขึ้นไปที่สูงและยืนทำงาน รวมถึงใช้ในการวางสิ่งของที่จำเป็น วัสดุที่ใช้ทำนั่งร้านมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและงบประมาณ โดยนั่งร้านที่นิยมใช้จะสร้างจากเหล็กท่อ และมีแผ่นไม้วางพาดสำหรบวางยืน ในขณะที่บางท้องที่อาจมีการใช้ไม้ไผ่ได้ มาตรฐานบังคับกระทรวงมหาดไทย ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ ได้กำหนดสาระในเรื่อง การออกแบบนั่งร้าน การสร้างนั่งร้าน การใช้นั่งร้าน นั่งร้านมาตรฐาน การคุ้มครอง ความปลอดภัย มาตรฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย โดยมีสาระสำคัญดังนี้ การทำงานสูงเกิน 2 เมตรขึ้นไป ต้องสร้างนั่งร้าน กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดแบบ นั่งร้านมาตรฐาน ต้องจัดให้มีวิศวกรเป็น ผู้ออกแบบ และกำหนด รายละเอียดนั่งร้าน กรณีที่มีการใช้ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ห้ามยึดโยงหอลิฟท์กับนั่งร้าน และต้องป้องกัน การกระแทกนั่งร้านระหว่างขนวัสดุขึ้น-ลง พื้นนั่งร้านต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 35 เซนติเมตร ต้องทำราวกันตกสูงจากพื้นนั่งร้าน 0.40-1.10 เมตร โดยรอบๆ นอกนั่งร้าน ต้องจัดทำบันไดเพื่อใช้ขึ้น-ลงในนั่งร้าน ต้องจัดผ้าใบหรือวัสดุอื่นปิดคลุมโดยรอบๆ นอกนั่งร้าน ต้องมีแผงไม้หรือผ้าใบปิดคลุมส่วนที่กำหนดเป็นช่องทางเดินใต้นั่งร้าน กรณีมีการทำงานหลายๆ ชั้นพร้อมกัน ต้องจัดสิ่งป้องกันอันตรายต่อผู้ที่ทำงาน ในขั้นถัดลงไป กรณีพื้นนั่งร้านลื่นหรือมีพายุฝน ห้ามลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน กรณีติดตั้งนั่งร้านใกล้สายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้ม หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องให้ดำเนินการ จัดให้มีการหุ้มฉนวนที่เหมาะสม ต้องจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้างสวมใส่ตามประเภท ของงานตลอดเวลาการทำงาน การแบ่งโหลดน้ำหนักคำนวณ 1.ต้องออกแบบคานและแปรเหล็กเพื่อรองรับไม้แบบและLive load ต่างๆสำหรับการเทคอนกรีตครับ 2.ถ่ายLoad ลงขานั่งร้าน ใช้หลักการเดียวกับดีไซด์เสาเหล็กครับ 3.ให้ใช้แคทตาล็อค จากทางซัพพรายเออร์ของนั่งร้านเป็นหลักเพื่อเช็คดูว่า นั่งร้านสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไรต่อขา 4.ออกแบบ Cap Lock ระหว่างนั่งร้าน 5.อย่าลืมเผื่อ Live Load 6.อย่าลืมคำนวณความชะลูดของนั่งร้าน เช่นต่อนั่งร้านสูง 10 เมตรขึ้นไป 7.รวบรวมLoad ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้น เช่น น้ำหนักนั่งร้าน+น้ำหนักคอนกรีต+น้ำหนักคนงาน+น้ำหนักเครื่องจักร แล้วนำมาใช้ประกอบการออกแบบพื้นที่จะรองรับชุดนั่งร้าน เช่น จะเทพื้นยื่นที่ชั้น 3 แต่ต้องตั้งนั่งร้านจากชั้น1เพื่อขึ้นไปรองรับพื้นยื่น จึงต้องดีไซด์พื้นชั้น 1 เผื่อการก่อสร้างเพื่อให้สามารถรองรับการทำงานในส่วนนี้ได้

  7. ขนาดของนั่งร้าน ที่ไปสัมภาษณ์ ช่างที่เค้าก่อสร้างมา พี่เค้าบอกว่าส่วนมากจะสั่งไม้ขนาด 3 นิ้ว ส่วนรองลงมาก็จะใช้1 นิ้วครึ่ง ที่ผมไปวัดมาสองมาที่ เค้าก็จะใช้สองขนาดนี้ ส่วนต้นที่เป็น 3 นิ้วเค้าจะใช้เป็นเสาครับ ส่วน 1 นิ้วครึ่งจะใช้เหมือนเป็นค้ำยัน

  8. มาดูว่าช่างเอามาใช้ยังไงมาดูว่าช่างเอามาใช้ยังไง เท่าที่สังเกตน่ะครับ เขาจะวางเป็นแนวเดียวกับคานเพื่อที่จะรับกับไม้แบบ วางช่องล่ะประมาณ 50 เซนติเมตรจะพอได้ครับ แล้วเอาไม้แบบมาวางข้างบน เท่าที่ไปทดสอบรู้สึกมันแน่นมากครับทั้งๆที่มันยังไม่ได้เทปูนลงไปเลย อาจจะเป็นน้ำหนักของเหล็กที่กดลงไปเลยทำให้แน่น

  9. มาดูสะพาน ข้างมอเลยครับก็ใช้ไม้ยูคาลิปตัสเหมือนกัน แต่ขนาดนี่ใหญ่กว่า ไม้ที่เอาไปทำอาคารเลยครับ ไม่แน่ใจว่ากี่นิ้ว เขาตั้งไม้ถี่มากครับ (ที่นี่ไม่กล้าเข้าไปถามครับ)

  10. เปรียบเทียบ นั่งร้านเหล็ก แถว ม.น ส่วนมากแถวๆมอนี่ผมว่าจะใช้แต่นั่งร้านที่เป็น ไม้ยูคาลิปตัส มีน้อยรายที่จะใช้ เป็นเหล็ก เหล็กส่วนมากจะใช้อาคารขนาดใหญ่ (ที่สังเกตเห็นน่ะครับ หอหลายๆชั้น อาคารเรียน ตึกคณะ ) สามารถปรับระดับได้ถือเป็นขอดีเลยครับ เพราะว่าไม้นี่ทำไปแล้ว ปรับ อะไรไม่ได้อีกครับ ถ้าเอาไปใช้อีกก็ต้องใช้ระดับเดิมที่ทำไว้แล้ว ถ้าต้องการระดับพื้นชั้นสองสูงกว่าดับคงต้องซื้อใหม่เป็นแน่น

  11. สัมภาษณ์ นายช่าง พี่ซื้อไม้พวกนี้มากจาไหนเหรอครับ นายช่าง : พวกแถวร้านใกล้ๆมอ ข้างๆมอนี่ก็มี แร้วซื้อมาเป็นยังไงครับ นายช่าง: ซื้อมาทีเดียวเลย ส่วนมากจะซื้อ 3 นิ้ว ต้นล่ะ7บาท แล้วใช่กับอาคารเดียวเลยป่าวครับหรือว่าเอาไปใช่ต่อได้อีก นายช่าง : บอกว่าเอาไปใช้ต่อสิ งั้นก็เจ๊งหมดสิ หมายเหตุ ที่จริงจะถามเยอะเหละแต่พี่เค้ามีงานทำตลอด ต้องสั่งลูกน้อง ต้องไปถามวันล่ะนิดวันล่ะหน่อยครับ

  12. สรุป จากที่ได้ศึกษาถึงวัสดุที่นำมาใช้นั่งร้าน แถวมอนอส่วนมากใช้ไม้ยูคาลิปตัส เป็นที่นิยมมากโดยถ้าเกิดเป็นสมัยก่อน อาจจะใช้จำพวกไม้ไผ่ รวก มาเป็นนั่งร้านกันแต่สมัยนี้ผู้คนนำไม้ยูคามาปลูกอย่างแพร่หลาย โดยสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง และเป็นไม้ที่โตเร็วมาก และยังแข็งแรงกว่าไม้ และสามารถปลูกได้หลายพื้นที่และสภาพอากาศ และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับนั่งร้านเหล็ก ข้อดีของมันก็คือ ราคาที่ถูกกว่า ทำให้ผู้รับเหมารายหย่อยสามารถลดต้นทุนของการก่อสร้างได้ และยังสามารถนำไปใช้ต่อได้อีก

  13. อ้างอิง http://th.wikipedia.org http://www.charcoal.snmcenter.com ผู้ให้ข้อมูล พี่ช่าง

  14. นั่งร้านไม้ยูคา นาย พนมพร พรมแปง 51711028 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

More Related