1 / 13

ASSIGNMENT

ASSIGNMENT. ความสัมพันธ์ระหว่างเรือนเครื่องผูกกับวิถีชีวิตคนบ้านท่าโพธิ์. กระบวนการศึกษา. วิถีชีวิต+การอยู่อาศัย. อาชีพหลัก/อาชีพรอง. เรือนเครื่องผูก. สภาพแวดล้อม. ไม้ไผ่. ไม้ขัดแตะ. ไม้ยูคา. วัสดุ. หญ้าคา. ไม้สะเดา. ผ่าสอด. การก่อสร้าง. มัดตอก/หวาย. ใช้ไม้ไผ่ทำตอก. ภูมิปัญญา.

cardea
Download Presentation

ASSIGNMENT

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ASSIGNMENT ความสัมพันธ์ระหว่างเรือนเครื่องผูกกับวิถีชีวิตคนบ้านท่าโพธิ์

  2. กระบวนการศึกษา วิถีชีวิต+การอยู่อาศัย อาชีพหลัก/อาชีพรอง เรือนเครื่องผูก สภาพแวดล้อม ไม้ไผ่ ไม้ขัดแตะ ไม้ยูคา วัสดุ หญ้าคา ไม้สะเดา

  3. ผ่าสอด การก่อสร้าง มัดตอก/หวาย ใช้ไม้ไผ่ทำตอก ภูมิปัญญา วิธีการหมัด ข้อเปรียบเทียบ สมัยก่อน ปัจจุบัน

  4. ลงพื้นที่ เมื่อ 17/01/2553 ที่ หมู่บ้านท่าโพธิ์ประตู 4 จาก case study ของเพื่อน ได้ไปศึกษาเรือนเครื่องผูกซึ่งเป็นรายวิชาประวัติศาสตร์ซึ่งตรงกับหัวข้อ ASSIGNMENT พอดี เลยนำ case นี้มาศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเรือนเครื่องผูกกับวิถีชีวิตคนบ้านท่าโพธิ์ ประวัติเจ้าของกระท่อม ชื่อ ลุงสุนทร พรมส้มซ่า อายุ: 65 ปี ป้าละเอียด พรมส้มซ่า อายุ: 63 ปี ที่ตั้ง หมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน ลำได ตำบลเสาหิน อำเภอเมือง จ.พิษณุโลก ขนาดพื้นที่ ที่อยู่อาศัยรวมทั้งพื้นที่การเกษตร ทั้งหมด 9 ไร่ เจ้าของเป็นคนพิษณุโลกโดยกำเนิด ลุงมีบ้านอีกหลังอยู่ในเมือง แต่จะอยู่เฝ้านาตลอดเลยมาอยู่ที่นี่เลย ตัวเรือนสร้างประมาณ 3ปี ใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมด 3 วัน ** พบว่าแถวนี้ เรือนเครื่องผูกหายากมาก มีแต่ห้างนาที่เป็นเครื่องสับทั้งนั้น

  5. เรือนเครื่องผูก สัมพันธ์ เรียบง่าย ไม่หวือหวา อาชีพหลัก ทำการเกษตร อาชีพรอง เลี้ยงสัตว์ ไก่.ปลา วิถีชีวิต+การอยู่อาศัย ความเป็นธรรมชาติทั้งเรื่องความเป็นอยู่อาชีพและวัสดุในการสร้างเรือนเช่น ไม้ไผ่ หญ้าคา พันธุ์ไม้บริเวณบ้าน เป็นไม้ผลและพืชไร่ สภาพแวดล้อม

  6. วัสดุ ไม้ไผ่ ไผ่เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไป ตามธรรมชาติ เมื่อถูกนำมาสร้างบ้านเรือนอายุการใช้งานมันสั้นประมาณ 3-5 ปี วงจรการใช้ไผ่ ปลูก ใช้งาน ตัด

  7. ใช้ทำโครงสร้างหลักๆ เช่น เสา ดั้ง หาบริเวณที่นาของลุงเพราะมันเป็นต้นไม้มีเยอะและตัดมาซ่อมแซมบ้านเรื่อยๆ ไม้ยูคา ไม้สะเดา ใช้ทำพื้น หาบริเวณที่นาของลุงเอง เช่นกันไม่ไปรบกวนใคร

  8. หญ้าคา เป็นวัสดุที่หาได้ทั่วไปป้าถักเอง เอามาทำหลังคา แต่ในปัจจุบันป้าบอกว่า “แต่เดี๋ยวมันเริ่มหายาก ต้องสั่งซื้อจากชาวบ้านที่มีหญ้าคาอยู่ในที่นาของตน”

  9. กระท่อมหลังนี้ลุงสร้างเอง ใช้เวลา 3วัน โดยไม่ใช้ สเกลหรือการวัด ใช้การเดา ลุงบอกว่า “ขนาดไม้ที่หายาวสั้นแค่ไหนก็สร้างเท่านั้น มันก็เลยออกมาเป็นอย่างนี้ไม่ค่อยเรียบร้อย แต่ก็อยู่ได้ สบายด้วย” การก่อสร้าง ไม้รับอกไก่มัดด้วยเชือกปอและใช้ไม้ขัดและยึดแบบลูกสลักตรง ยึดจันทันกับแปด้วยตอกมัดแบบเอี่ยวคอไก่ ยึดจันทันกับแปด้วยตอกแบบกากบาทเอี่ยวคือไก่เช่นกัน ใช้เชือกมัดดั้งกับอะเส

  10. ไม้รับคานใช้ไม้ไผ่บากไม้ให้เป็นร่องแล้วสอดไม้สะเดาเข้าไปไม้รับคานใช้ไม้ไผ่บากไม้ให้เป็นร่องแล้วสอดไม้สะเดาเข้าไป แปของเรือนเก็บถ่านใช้ไม้ไผ่ลำเล็กยึดหัวท้ายด้วยตอก ที่เก็บของ ใช้เศษไม้ไผ่เล็กๆวางถี่ๆ ยึดด้วยตอก แบบเอี่ยวคอไก่ ** เดี๋ยวมีภาพวีดีโอให้ดูวัน Present คะตอนนี้ยังตัดต่อไม่เสร็จ

  11. ภูมิปัญญา ตอกทำมาจากลำไผ่ที่ผ่า 8 ซีกแล้วผ่าให้เป็นเส้นบาง แล้วนำไปตากให้แห้ง พอจะใช้ก็เอาไปชุบน้ำเพื่อให้มันเหนี่ยวมัดง่าย เชือกทำมาจากต้นปอ ขึ้นตามบ้านลุงเองลอกมาเปลือกปอแล้วนำไปตาก จะใช้ก็ชุบนำ เหมือนตอก ผิวไม่เป็นเสี้ยนเหนี่ยวกว่าตอก การทำหญ้าคา ต้องนำไปชุบน้ำก่อนแล้วนำมาทำถักด้วยปอ **ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นวัสดุทางธรรมชาติทั้งนั่น และใช้ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์จากรุ่นสู่รุ่น ตามคำบอกเล่าของคุณป้า

  12. ปัจจุบัน ข้อเปรียบเทียบ สมัยก่อน สมัยก่อน ป้าบอกว่า ที่แถวนี้รวมทั้ง มน.เป็นนาหมด ที่แถวนี้จะมีกระท่อมเต็มไปหมดมีการทำหญ้าคา หัตถกรรมจากไผ่หลังเสร็จจากฤดูทำนา วิธีชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ และชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนจน เลยมีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นเรือนเครื่องผูกเยอะมาก เพราะหาวัสดุทำง่ายประหยัด เรือนเครื่องผูกเลยมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตอย่างมาก เมื่อสิบปีที่แล้ว ม.สร้างหลวงมายึดที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน ชาวบ้านเลยขาดที่ดินทำกินออกไปหางานทำต่างถิ่นแล้วพอมีเงินกลับมาสร้างบ้านเลยใช้ สังกะสี ปูน ตอกตะปู วัสดุที่คงทน ตอนนี้เรือนเครื่องผูกไม่ค่อยได้พบเห็นแล้ว เหลือแต่ห้างนา แต่ก็เป็นสังกะสี และใช้ตะปูตอก

  13. ขอขอบคุณ ผู้ให้ข้อมูล ลุงสุนทร พรมส้มซ่า อายุ: 65 ปี ป้าละเอียด พรมส้มซ่า อายุ: 63 ปี อาจารย์ที่ให้คำปรึกษา แหล่งข้อมูล http://web.ku.ac.th/agri/paitong/topic.htm http://library.psru.ac.th/rlocal/menu-rlocal-03.html

More Related