1 / 46

Information Technology for Life

GESC103. Information Technology for Life. Name: Teacher / Contact. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. 1.1 วิวัฒนาการของสารสนเทศ. ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล( Data Processing)  เพื่อใช้ในการคำนวณและการ ประมวลผลข้อมูล

grace
Download Presentation

Information Technology for Life

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. GESC103 Information Technology for Life Name: Teacher / Contact

  2. บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

  3. 1.1 วิวัฒนาการของสารสนเทศ ยุคแรก เรียกว่า ยุคการประมวลผลข้อมูล(Data Processing) เพื่อใช้ในการคำนวณและการ ประมวลผลข้อมูล ยุคที่ 2มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ เรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อการ ยุคที่ 3การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ยุคปัจจุบัน ความเจริญของเทคโนโลยีสูงมาก มีการขยายขอบเขตของการประมวลผลข้อมูลไปสู่ การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ ซึ่งเรียกว่า “ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ”

  4. รูปที่ 1.1 แสดงวิวัฒนาการของสารสนเทศ

  5. 1.2 สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ 1. เมื่อมีวิทยาการความรู้ หรือสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 2. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 3. เทคโนโลยีสื่อสารยุคใหม่มีความเร็วในการสื่อสารสูงขึ้น 4. เทคโนโลยีการพิมพ์ที่มีความสามารถในการผลิตสารสนเทศสูงขึ้น 5. ผู้ใช้มีความจำเป็นต้องใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษา 6. ผู้ใช้มีความต้องการใช้สารสนเทศ เพื่อตอบสนองความสนใจ

  6. 1.3 ความหมายของคำว่า ข้อมูล 1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถบอกได้ว่า มีค่ามากหรือน้อย แต่จะสามารถบอกได้ว่าดีหรือไม่ดี หรือบอกลักษณะความเป็นกลุ่มของ ข้อมูล เช่น เพศ ศาสนา สีผม คุณภาพสินค้า ความพึงพอใจฯลฯ 2. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)หมายถึง ข้อมูลที่สามารถวัดค่าได้ ว่ามีค่ามากหรือน้อยซึ่งสามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ ส่วนสูง น้ำหนัก ปริมาณต่างๆ ฯลฯ

  7. ข้อมูลเชิงปริมาณยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ลักษณะคือ ข้อมูลเชิงปริมาณแบบต่อเนื่อง (Continues Data) ข้อมูลเชิงปริมาณแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data)

  8. เมื่อจำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)หมายถึง ข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ขึ้นเอง เช่น การเก็บแบบสอบถาม การทดลองในห้องทดลอง 2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Second Data)หมายถึง ข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาจากหน่วยงานอื่น หรือผู้อื่น ที่ได้ทำการเก็บรวบรวมมาแล้วในอดีต เช่น รายงานประจำปีของหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลท้องถิ่นซึ่งแต่ละอบต. เป็นผู้รวบรวมไว้ ฯลฯ

  9. เมื่อจำแนกตามระดับการวัด สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดคือ 1. ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) 2. ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) 3. ข้อมูลระดับช่วงชั้น, อันตรภาค (Interval Scale) 4. ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale)

  10. ข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินงานที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วและเก็บข้อมูลข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วและเป็นปัจจุบันมีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมอาจมีทั้งประเภทตัวเลข ข้อความ วันที่ รูปภาพ เช่นที่อยู่เบอร์โทรศัพท์คะแนนของนักเรียน เป็นต้น

  11. ชนิดของข้อมูล (Types of Data) เราสามารถแบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้ 1.ข้อมูลที่เป็นอักขระ (Alphanumeric Data) 2. ข้อมูลที่เป็นภาพ (Image Data) 3.ข้อมูลที่เป็นเสียง (Audio Data) 4.ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหว (Video Data)

  12. 1.3.1 กรรมวิธีการจัดการข้อมูล (Data manipulation ให้มีคุณค่าเป็นสารสนเทศ) การจัดการข้อมูลให้มีคุณค่าเป็นสารสนเทศ กระทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้อมูล ซึ่งมีวิธีการ หรือ กรรมวิธีดังต่อไปนี้ 1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย - การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้ได้อย่างทันเวลา - การตรวจสอบข้อมูลเมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

  13. 2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ - การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูลข้อมูลที่เก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับ การ ใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน • การจัดเรียงข้อมูลเมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร • การสรุปผลบางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ - การคำนวณข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลข ที่สามารถ นำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้

  14. 1.4 ความหมายของสารสนเทศ (Information) สารสนเทศ คือ โครงสร้างของข้อความใดๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทาง จินตภาพ (ภาพลักษณ์) ของผู้รับ (ข้อความ หมายถึง ที่รวมของสัญลักษณ์ต่างๆ มีโครงสร้างที่มี จุดมุ่งหมาย โดยผู้ส่งมีเป้าหมายที่จะ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาง จินตภาพ (+ความรู้สึกนึกคิด) ของผู้รับ (สาร)

  15. รูปที่ 1.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

  16. สรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ

  17. 1.4.1 หลักเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์ หรือผลผลิต การที่บ่งบอกว่าผลผลิต หรือ ผลลัพธ์มีคุณค่า หรือสถานภาพเป็นสารสนเทศ หรือไม่นั้น เราใช้หลักเกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา 1. ความถูกต้อง (Accuracy) ของผลผลิต หรือผลลัพธ์ 2. ตรงกับความต้องการ (Relevance/pertinent) 3. ทันกับความต้องการ (Timeliness)

  18. 1.5 คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี ในการจัดการเพื่อให้องค์การบรรลุถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่องค์การตั้งไว้นั้น  ดังที่กล่าวมาแล้วว่าข้อมูลและสารสนเทศเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทุกองค์การ ทั้งนี้สารสนเทศที่ดีควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) 2. ทันต่อความต้องการใช้ (Timeliness) 3. ความสมบูรณ์ (Completeness) 4. การสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (Relevance) 5. ตรวจสอบได้ (Verifiability)

  19. นอกจากลักษณะที่ดีของสารสนเทศดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีคุณสมบัติที่แอบแฝงของสารสนเทศอีกบางลักษณะที่สัมพันธ์กับระบบสารสนเทศ และวิธีการดำเนินงานของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะมีความสำคัญแตกต่างกันไปตามลักษณะงานเฉพาะอย่าง ซึ่งได้แก่ 1. ความละเอียดแม่นยำ 2. คุณสมบัติเชิงปริมาณ 3. ความยอมรับได้ 4. การใช้ได้ง่าย 5. ความไม่ลำเอียง 6. ชัดเจน

  20. 1.6 คุณภาพของสารสนเทศ คุณภาพของสารสนเทศ จะมีคุณภาพสูงมาก หรือน้อย พิจารณาที่ 3 ประเด็น ดังนี้ 1.ตรงกับความต้องการ หรือไม่ โดยดูว่าสารสนเทศนั้นผู้ใช้สามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพได้ มากกว่าไม่ใช้สารสนเทศ 2.น่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือมีหัวข้อที่จะใช้พิจารณา เช่น ความทันเวลา กับผู้ใช้ เมื่อ ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้มีสารสนเทศนั้น หรือไม่ 3.สารสนเทศนั้นเข้มแข็ง พิจารณาจากการที่สารสนเทศสามารถเคลื่อนตัวเองไปพร้อมกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป

  21. นอกจากนั้นซวาสส์กล่าวถึง คุณภาพของสารสนเทศจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ การ ทันเวลา ความสมบูรณ์ ความกะทัดรัด ตรงกับความต้องการ ความถูกต้อง ความเที่ยงตรง (Precision) และรูปแบบที่เหมาะสม ในเรื่องเดียวกัน โอไบร์อัน กล่าวว่าคุณภาพของสารสนเทศ พิจารณาใน 3 มิติ ดังนี้ 1. มิติด้านเวลา (Time Dimension) 2. มิติด้านเนื้อหา (Content Dimension) 3. มิติด้านรูปแบบ (Form Dimension)

  22. ความสำคัญของสารสนเทศ สารสนเทศแท้จริงแล้วย่อมมีความสำคัญต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านการศึกษา ด้าน เศรษฐกิจ ด้านสังคม ฯลฯ ในลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ทำให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความรู้ (Knowledge) และความเข้าใจ (Understanding) ในเรื่องดังกล่าว ข้างต้น 2. เมื่อเรารู้และเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้ว สารสนเทศจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจ (Decision Making) ใน เรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 3. นอกจากนั้นสารสนเทศ ยังสามารถทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) ที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  23. 1.7 บทบาทของสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

  24. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. บทบาทต่อการดำเนินชีวิต เช่น การติดต่อสื่อสารและการคมนาคมขนส่ง 2. บทบาทเกี่ยวกับข้อมูล เช่น การจัดเก็บข้อมูลและการสร้างฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล เป็นต้น 3. บทบาทด้านธุรกิจ เช่น งานด้านการตลาด การวิเคราะห์แนวโน้มการเจริญเติบโตของบริษัท 4. บทบาทด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซอฟท์แวร์สื่อการสอน 5. บทบาทด้านการทหาร เช่น การสื่อสารระหว่างหน่วยงานทางราชการ งานด้านข่าวกรอง 6. บทบาทด้านการแพทย์ เช่น การรักษาพยาบาล การผ่าตัด การตรวจโรค

  25. ITEM • รูปที่ 1.3 แสดงการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม

  26. 1.8 องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 1. ฮาร์ดแวร์ (เครื่องจักรอุปกรณ์) 2. ซอฟต์แวร์3. ข้อมูล4. บุคลากร5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  27. รูปที่ 1.4 แสดงองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

  28. บุคลากรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง ข้อมูลเป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ

  29. 1.8.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software)

  30. ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ  อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล  หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือ หน่วยความจำ  หน่วยความจำสำรอง

  31. ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ  ซอฟต์แวร์ระบบ - โปรแกรมระบบปฏิบัติการ - โปรแกรมอรรถประโยชน์ - โปรแกรมแปลภาษา

  32. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ - ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป - ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน - ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ สำหรับกระบวนการการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพ ดังแผนภาพต่อไปนี้คือ

  33. การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การแสดงผลข้อมูล รูปที่ 1.5 แสดงกระบวนการจัดการระบบสารสนเทศ

  34. 1.8.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ

  35. สื่อกลาง ต้นแหล่งของข้อความ จุดรับข้อความ รูปที่ 1.6แสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม

  36. นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ 1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล 3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล 4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล 5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร 6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล

  37. 1.8.3 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 2. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก 3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น 4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส 5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา 6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น

  38. 1.8.4 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 1. การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ 2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ 3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร

  39. นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ 1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง 2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ 3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง

  40. 1.9 ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศจนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย นับได้ว่าเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือยุคข้อมูลข่าวสาร ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์อย่างมหาศาล ยังผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อบุคคล องค์กร หรือสังคม เราสามารถจำแนกผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศออกเป็นสองด้าน คือ ผลกระทบด้านบวก และผลกระทบด้านลบ

  41. 1.9.1 ผลกระทบด้านบวก 1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส 3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน 4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม 5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ 6. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม 7. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน

  42. 1.9.2 ผลกระทบด้านลบ 1. ก่อให้เกิดความเครียดในสังคมมากขึ้น 2. ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือการแลกเปลี่ยนวัฒนรรมของคนในสังคมโลก 3. ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น 4. การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง 5. การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลโดยการเผยแพร่ข้อมูลหรือรูปภาพ 6. เกิดช่องว่างทางสังคม 7. อาชญากรรมบนเครือข่าย 8. ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

  43. 1.10 ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับความสนใจนำมาใช้งานในหลายลักษณะและเกือบทุกธุรกิจ โดยที่พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทุกวงการทั้งภาคเอกชนและราชการ ระบบสารสนเทศช่วยสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรได้ดังนี้

  44. สรุปเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน ระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องมีระบบข้อมูลหรือระบบฐานข้อมูลที่จัดเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเข้าถึงระบบข้อมูลนี้อาจจัดการให้อยู่ในรูปของระบบผู้ใช้คนเดียว (เช่น PC – based system) หรือระบบเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) หรือระบบหลากผู้ใช้ที่มีคอมพิวเตอร์ระดับ เมนเฟรมเป็นแม่ข่าย ตลอดจนระบบเครือข่ายแบบ client/server system ที่ผู้ใช้ขององค์กรกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ แต่สามารถแลกเปลี่ยนและเข้าถึงสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

  45. 1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ 2. ช่วยในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ โดยผู้บริหาร 3. ช่วยในการตรวจสอบการดำเนินงาน เมื่อแผนงานถูกนำไปปฏิบัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 4. ช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตูของปัญหา 5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น 6. ช่วยลดค่าใช้จ่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ธุรกิจลดเวลา

  46. FAQs?

More Related