1 / 40

แนวคิด กระบวนการจัดการความขัดแย้ง วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554

กระบวนการจัดการความขัดแย้ง. Process of Conflict Management. แนวคิด กระบวนการจัดการความขัดแย้ง วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554. ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. เนื้อหาวันนี้. ต่อ เรื่อง self กับการทำงาน ความขัดแย้ง การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง

gitel
Download Presentation

แนวคิด กระบวนการจัดการความขัดแย้ง วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการจัดการความขัดแย้งกระบวนการจัดการความขัดแย้ง Process of Conflict Management แนวคิดกระบวนการจัดการความขัดแย้งวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2554 ดวงหทัย บูรณเจริญกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

  2. เนื้อหาวันนี้ • ต่อ เรื่อง self กับการทำงาน ความขัดแย้ง • การศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง • 2 แนวคิดในการทำความเข้าใจความขัดแย้งเพื่อการออกแบบกระบวนการจัดการความขัดแย้ง

  3. ความสามารถในการโอบรับความขัดแย้งความสามารถในการโอบรับความขัดแย้ง Conflict Capacity • อะไรบ้างที่จะช่วยให้เราในฐานะผู้ทำงานกับความขัดแย้งสามารถโอบรับความขัดแย้ง • เราจะพัฒนาความสามารถในการโอบรับความขัดแย้งขึ้นได้อย่างไร

  4. การจัดการความขัดแย้ง:ลักษณะความใส่ใจการจัดการความขัดแย้ง:ลักษณะความใส่ใจ แก้ปัญหา ยินยอม ประนีประนอม ใส่ใจ ผู้อื่น ไม่ทำอะไร ไม่ใส่ใจอะไรทั้งสิ้น แข่งขัน ใส่ใจตนเอง

  5. บุคลิกการจัดการความขัดแย้งบุคลิกการจัดการความขัดแย้ง เน้นเรื่องสิทธิและความร่วมมือ รักษาสิทธิ แข่งขัน ร่วมมือ ประนีประนอม ไม่รักษาสิทธิ ยอมตาม หลีกเลี่ยง ร่วมมือ ไม่ร่วมมือ นำไปสู่เป้าหมายของตัวเองก่อน

  6. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบุคลิกการจัดการความขัดแย้งปัจจัยที่ส่งผลต่อบุคลิกการจัดการความขัดแย้ง • วิธีคิดและความรู้สึกที่มีต่อตัวเรา (self concept) • ความคาดหวัง (expectation) คิดว่าผู้อื่นต้องการแก้ปัญหาหรือไม่ • สถานการณ์ (situation) เรารู้จักคู่กรณีไหม เรื่องส่วนตัวหรืองาน • ตำแหน่งหรืออำนาจ (position/power) เรามีอำนาจมาก-น้อยกว่าคู่กรณี • การฝึกฝน (practice) สามารถวางท่าทีให้เหมาะกับความขัดแย้ง • ทักษะการสื่อสาร (communication skills) ผู้ที่มีทักษะย่อมแก้ปัญหาได้ดีกว่า • ประสบการณ์ชีวิต (life experiences) การอบรมเลี้ยงดู

  7. คุณค่าที่สนับสนุนการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์คุณค่าที่สนับสนุนการจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ • ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ • เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ • การอยู่ร่วมในประชาคมเดียวกัน • ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ • การไม่ใช้ความรุนแรง

  8. ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ • เอาใจเขาใส่ใจเรา • จงปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา • ถ้าสวมบทบาทเป็นอีกฝ่ายแล้วคาดว่าควรได้รับการปฏิบัติอย่างไรจึงเป็นการปฏิบัติชอบ ก็ปฏิบัติอย่างนั้น • ในแต่ละวัฒนธรรม บรรทัดฐานการปฏิบัติชอบอาจแตกต่างกันไป แต่บรรทัดฐานเช่น การไม่ใช้ความรุนแรง การเคารพ การไม่หลอกลวง ความรับผิดชอบ ฯลฯ เป็นบรรทัดฐานอันเป็นที่ยอมรับโดยกว้าง

  9. เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ • มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกันในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ • ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ได้รับการตอบสนองซึ่งความต้องการพื้นฐาน มีสิทธิเสรีภาพในมโนธรรม ในทางความคิด ในการแสดงออก ปลอดพ้นจากการขู่บังคับ • ความเสมอภาคมิได้หมายความว่าทุกคนจะมีสถานภาพ อำนาจ สมบัติ ฯลฯ เท่ากัน หากหมายความว่าความแตกต่างในเรื่องดังกล่าวไม่เป็นเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ

  10. การอยู่ร่วมในประชาคมเดียวกันการอยู่ร่วมในประชาคมเดียวกัน • คู่ขัดแย้งต่างยอมรับว่า ทั้งสองฝ่ายเป็นสมาชิกของประชาคมที่กว้างออกไป ซึ่งต่างก็ต้องการรักษาไว้ • แม้จะมีความแตกต่าง ขัดแย้งกันมากเพียงไร แต่ทั้งสองฝ่ายต่างยอมรับการอยู่ร่วมในประชาคมเดียวกัน • ประชาคมดังกล่าวย่อมมีค่านิยมและบรรทัดฐานหลักร่วมกัน • การอยู่ร่วมกันบนฐานความร่วมมือและการเกื้อกูลให้ต่างฝ่ายต่างได้รับสิ่งที่ตนต้องการและเคารพสิทธิของกันและกัน

  11. ความผิดพลาดได้ • คนเราอาจขัดแย้งกันได้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น เห็นต่างในเรื่องของหลักฐานที่ใช้ น้ำหนักที่ให้ต่อหลักฐานแต่ละชนิด ความคลุมเครือทางจริยธรรมหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ • คนที่มีเหตุมีผลย่อมเห็นว่าความเห็นต่างเป็นเรื่องธรรมดา • คนที่มีเหตุมีผลย่อมคิดว่าอีกฝ่ายก็มีเหตุมีผลได้ • คนที่มีเหตุมีผลเข้าใจว่าวิจารณญาณของตน เฉกเช่นของผู้อื่น ย่อมผิดพลาดได้

  12. การไม่ใช้ความรุนแรง • หมายถึงการไม่ใช้กลยุทธเชิงขู่บังคับ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเห็นพ้อง • กลยุทธดังกล่าวหมายรวมถึง - การใช้ความรุนแรงทางกายภาพ - การใช้ความรุนแรงทางจิตใจ (เช่นทำให้เสียหน้า อับอาย) - การทำลายทรัพย์สิน - การขัดขวางโอกาส เช่นโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงาน - การปฏิบัติโดยมิชอบต่อคนที่เขารัก

  13. “you must be the change you want to seein the world.” “เธอต้องเป็น ความเปลี่ยนแปลง ที่เธออยากจะเห็น ในโลกนี้” Mahatma Gandhi

  14. การศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้งการศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้ง • การศึกษาสาขานี้เริ่มในยุคสงครามเย็นในทศวรรษที่ 1950s และ 1960s ซึ่งมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และมีความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ • ความขัดแย้งระหว่างประเทศ การเมืองในประเทศ ความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรม • การทำวารสารเกี่ยวกับการแก้ไขความขัดแย้ง Journal of Conflict Resolution

  15. การศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้งการศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้ง (ต่อ) • 1980s ความขัดแย้งเกี่ยวกับการกีดกันสีผิวในแอฟริกาใต้ (Apartheid)  Problem Solving Workshop • ตะวันออกกลาง  เจรจาด้วยกระบวนการสันติภาพ (peace process) • เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย 1990s เกิด internal conflicts, ethnic conflicts ความขัดแย้งระหว่างอำนาจในรัฐกลายเป็นประเด็นร่วมของหลายประเทศ

  16. การศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้งการศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้ง (ต่อ) • ‘การปะทะทางอารยธรรม’ Clash of Civilizations, แซมมวล ฮันติงตัน Samuel P. Huntington (1993, 1996) • To understand current and future conflict, cultural rifts must be understood, and culture — rather than the State — must be accepted as the locus of war.

  17. ประเด็นสำคัญของ ข้อเสนอการปะทะทางวัฒนธรรม • คำถามเคลื่อนจาก “คุณอยู่ข้างใคร” มาเป็น “คุณคือใคร” • คุณอยู่ข้างใคร  เป็นเรื่องการเมืองสำคัญ  เปลี่ยนแปลงและเลือกข้างได้ • คุณคือใคร  ปัญหาตัวตน (self) และ โลกวัฒนธรรม (cultural world)  เปลี่ยนยาก • ความขัดแย้งจึงมีลักษณะเด็ดขาดและเอื้อให้เกิดความรุนแรงได้มาก

  18. การศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้งการศึกษาเรื่องการจัดการความขัดแย้ง (ต่อ) • ข้อโต้เถียงเกี่ยวศัพท์ทางวิชาการ (Terminology) ด้านการจัดการความขัดแย้ง Conflict Regulation, Conflict Resolution, Conflict Management and Conflict Transformation

  19. การแก้ไข Vs การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง

  20. วิพากษ์กรอบคิดการแก้ไขความขัดแย้งวิพากษ์กรอบคิดการแก้ไขความขัดแย้ง สมมุติฐานของการแก้ไขความขัดแย้งคือ - ฝ่ายต่าง ๆ ในความขัดแย้งเป็นผู้มีเหตุมีผล (สมมุติฐานนี้ถูกวิพากษ์ว่ามักไม่เป็นจริง เพราะมีการใช้การรับรู้ -perception - และอารมณ์มากกว่า) - การรับรู้ที่ผิดๆ เป็นเหตุสำคัญของความขัดแย้ง (สมมุติฐานนี้ถูกวิพากษ์ว่าการรับรู้ที่ผิดๆ ไม่มีพลังเมื่อเทียบกับโลกทัศน์ที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงที่เป็นเหตุสำคัญมากกว่า)

  21. วิพากษ์กรอบคิดการแก้ไขความขัดแย้งวิพากษ์กรอบคิดการแก้ไขความขัดแย้ง - หลักการแก้ไขความขัดแย้งใช้ได้กับความขัดแย้งตั้งแต่ระดับบุคคลถึงระดับระหว่างประเทศ (สมมุติฐานนี้ถูกวิพากษ์ว่าความขัดแย้งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ ซึ่งต้องการการจัดการที่ต่างกันในเวลาและบริบทที่ต่างกัน) - การให้คุณค่าที่สูงแก่การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (สมมุติฐานนี้ถูกวิพากษ์ว่าคู่กรณีมักไม่มีความเห็นเช่นนี้ และเลือกที่จะต่อสู้ต่อไป ดีกว่าที่จะที่แสวงสันติภาพ)

  22. วิพากษ์การจัดการความขัดแย้งวิพากษ์การจัดการความขัดแย้ง การแก้ไขความขัดแย้งมักมีนัยยะว่าสามารถบรรลุข้อตกลงซึ่งเมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว จะเป็นการยุติความขัดแย้งนั้น ๆ ได้ การจัดการความขัดแย้งมักมีนัยยะว่าสามารถรับมือความขัดแย้งให้อยู่ในกรอบ เช่นไม่รุนแรง ไม่ทำให้องค์รวมเสียหายหรือเสียหายบ้างได้ผลดีบ้าง ให้เกิดความยุติธรรมในกระบวนการแม้ไม่พอใจผลก็ต้องยอม ฯลฯ อย่างไรก็ดี ความขัดแย้งยังดำรงอยู่ไม่มากก็น้อย

  23. กรอบคิดการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งกรอบคิดการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง เนื่องจากความขัดแย้งมีความอ่อนตัวสูง และเป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น กระบวนการที่มุ่งให้ความขัดแย้งเปลี่ยนไป ย่อมต้องมีพลวัตสูงและปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน ความขัดแย้งแก้ไขไม่ได้ (ในความหมายที่ว่าทำให้หมดไป) แต่เปลี่ยนแปลงได้ การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งจึงมุ่งทำให้ความขัดแย้งที่หยั่งรากลึก แก้ไขยาก และยืดเยื้อเรื้อรัง เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งที่ขยับตัวไปสู่ความสร้างสรรค์มากขึ้น นั่นคือใช้ความรุนแรงน้อยลง หรือต่อสู้กันด้วยวิธีการอื่น เช่นการเมือง

  24. กรอบคิดการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งกรอบคิดการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง การแปลงเปลี่ยนมุ่งทั้งตัวบุคคลและสังคม การแปลงเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อประชาชนปรับเปลี่ยนระบบคุณค่าและความเชื่อเกี่ยวกับตัวเองและผู้อื่น การแปลงเปลี่ยนเป็นการเสริมพลังให้ประชาชนสามารถแก้ไขปัญหาของตนเอง การแปลงเปลี่ยนมุ่งส่งเสริมความมีจิตใจสูง ความเข้มแข็งทางจิตใจและความเมตตา การแปลงเปลี่ยนเชิญชวนให้เล็งผลเลิศและเกิดความหวัง

  25. การแปลงเปลี่ยน ความขัดแย้ง (Conflict Transformation) การยุติความขัดแย้ง (Conflict Resolution) การรับรู้เรื่องความขัดแย้ง เป็นปัญหา ที่ต้องขจัด เป็นเรื่องธรรมดา โครงสร้าง ความสัมพันธ์ ประเด็น ความขัดแย้ง จุดสนใจ ระยะยาว เวลา ระยะสั้น จะทำอย่างไร ให้ปัญหาจบ จะทำให้ความสัมพันธ์ ดีขึ้นได้อย่างไร คำถาม

  26. จุดเน้นเชิงวิธีการ ในกรอบคิดการแก้ไขความขัดแย้ง วิธีการที่นิยมใช้คือ การสื่อสาร การเจรจา การไกล่เกลี่ย การประนอม ฯลฯ ถ้าใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการก็ให้บทบาทแก่ผู้ดำเนินรายการในการกำหนดกติกาและควบคุมการสื่อสารไม่ให้ความขัดแย้งขยายวง ในกรอบความคิดการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง วิธีการที่นิยมใช้คือ การสื่อสารอย่างสันติ การสานเสวนา(dialogue) การช่วยให้ทุกฝ่ายเกิดการรับรู้เองว่าได้ประโยชน์ ฯลฯ ถ้าใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้ดำเนินรายการมีหน้าที่ช่วยเปิดพื้นที่ทางความคิดและมีบทบาทเป็นวิทยากรกระบวนการ (process facilitator)

  27. ขีดแบ่งที่คลุมเครือ แม้จะมีกรอบคิดต่างกันดังที่กล่าวแล้ว แต่โดยทั่วไปเรามักใช้คำว่าการแก้ไข การจัดการ การคลี่คลาย การแปลงเปลี่ยน ฯลฯ ในความหมายใกล้เคียงกันคือ การทำให้ความขัดแย้งลดลง เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หรือ(เกือบ)หมดไป การแก้ไขความขัดแย้งเกิดขึ้นได้เมื่อคู่กรณีต่างก็มีเจตจำนงที่จะหาทางออกที่เหมาะที่สุดแก่ทั้งสองฝ่าย หรือกล่าวโดยเฉพาะในบางกรณีคือ ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีแปลงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

  28. ภารกิจของการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งภารกิจของการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง • ภารกิจของการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งให้ดีขึ้นและเป็นประโยชน์ คือการระบุเป้าหมายเชิงบวกสำหรับทุกฝ่าย วิธีการที่เปี่ยมไปด้วยจินตนาการในการหลอมรวมทุกฝ่ายเข้าด้วยกันโดยปราศจากความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความรุนแรงถือเป็นความล้มเหลว การแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เดชา ตั้งสีฟ้า (แปล) (2550)สำนักพิมพ์คบไฟ แปลจาก Conflict Transformation by Peaceful means เขียนโดย Johan Galtung

  29. แนวทางการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งแนวทางการแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง • การถักทอสายสัมพันธ์สร้างโยงใย • ยุทธศาสตร์ใคร • แป้งเชื้อวิกฤติ • กาลักน้ำ • โครงสร้าง-กระบวนการ • เวทีที่ปรับตัวอย่างชาญฉลาด • วิธีคิดเชิงเส้น vs การเฉลียวพบ

  30. แนวทางการจัดการความขัดแย้งที่ดี • การจัดการความขัดแย้งอาจใช้เวลามากกว่าการยุติความขัดแย้ง • การจัดการความขัดแย้งที่ดีเป็นการเสริม-ป้อง (provention) ความขัดแย้งที่ดี ด้วยการใช้การจัดการ (intervention) ที่จำเป็นที่จะไม่ทำให้ความขัดแย้งที่รุนแรงเกิดขึ้นอีก ต.ย. หลายประเทศทำข้อตกลงหยุดยิง (ceasefire treaty) แต่ไม่อาจทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนได้ เพราะกระบวนการจัดการที่ไม่รอบด้าน • การจัดการความขัดแย้งที่ดีควรจัดการกับปัจจัยเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรม อันเป็นเหตุของความขัดแย้ง โดยเฉพาะในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ เช่น การกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม การจัดการศึกษา conflict capacity กลไกทางสังคมในการจัดการความขัดแย้ง และความมั่นคงปลอดภัย (ความกลัว-ความขาดแคลน) ซึ่งมักต้องอาศัยการเสียสละและมีราคาแพง

  31. ปรากฎ – คู่กรณีแสดงตัว ทุกฝ่ายรับรู้ว่ามีความขัดแย้ง ปรากฎชัดเจน – คู่กรณีเข้ามาจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งปรากฏ ความขัดแย้งปรากฏ Emerging/Manifest conflict ความขัดแย้งแฝง Latent conflict เป็นระยะที่ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ ปรากฎตัวออกมาจนเป็นที่สังเกต โดยที่คู่กรณี อาจยังไม่ตระหนักว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น

  32. วิเคราะห์ให้เห็นความขัดแย้งวิเคราะห์ให้เห็นความขัดแย้ง ทางโครงสร้างและวัฒนธรรม ปรากฏ – positive peace ทางตรง กระทบต่อสุขภาวะ เช่น เผด็จการ คอรัปชั่น การกระจายทรัพยากรอย่างอยุติธรรม โครงสร้าง แฝงเร้น – negative peace มองไม่เห็น ทำให้ละเลย อธิบายให้เกิดความชอบธรรม-เป็นเรื่องทั่วไป วัฒนธรรม

  33. การคิดเชิงวิเคราะห์เบื้องต้นการคิดเชิงวิเคราะห์เบื้องต้น ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ พฤติกรรม บริหารวิกฤต จำแนก แจงนับ หาแบบแผนพฤติกรรม ป้องกันแก้ไขได้ตรงจุด หาเหตุแห่งแบบแผนพฤติกรรม วางระบบระเบียบ หาเหตุเชิงความคิดความเชื่อ ปรับระบบความคิด 33

  34. การคิดเชิงวิเคราะห์เบื้องต้นการคิดเชิงวิเคราะห์เบื้องต้น ปฏิกิริยา พฤติกรรม/กิริยา หาแบบแผนพฤติกรรม ออกแบบใหม่ หาเหตุแห่งแบบแผนพฤติกรรม จัดโครงสร้างใหม่ หาเหตุเชิงความคิดความเชื่อ ระบบคุณค่าใหม่ 34

  35. การคิดเชิงวิเคราะห์เบื้องต้นการคิดเชิงวิเคราะห์เบื้องต้น ระงับความรุนแรง พฤติกรรม หาแบบแผนพฤติกรรม ป้องกันความรุนแรง หาเหตุแห่งแบบแผนพฤติกรรม ลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หาเหตุเชิงความคิดความเชื่อ ลดความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม 35

  36. วิเคราะห์ไฟไหม้ เหตุการณ์ – เกิดเพลิงไหม้ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน – แก้ไขระดับเหตุการณ์โดยจัดให้มีรถดับเพลิง ฯลฯ หาแบบแผนการเกิดไฟไหม้ – เกิดไฟไหม้บ่อยในช่วงใด – ช่วงตรุษจีน – สาเหตุน่าจะมาจากการจุดธูปเทียน ฯลฯ หาแบบแผนการเกิดไฟไหม้ – เกิดไฟไหม้บ่อยในที่ใด – ในชุมชนแออัด – สาเหตุน่าจะมาจากสายไฟเก่า – สาเหตุน่าจะมาจากการเผาไล่ที่ ฯลฯ 36

  37. วิเคราะห์ไฟไหม้ ตัวอย่างวิธีแก้ไขเมื่อได้วิเคราะห์แบบแผนพฤติกรรม - เตือนภัยในช่วงเวลาที่มีโอกาสเกิดไฟไหม้สูง - ตั้งสถานีดับเพลิงใกล้จุดเสี่ยง - จัดหารถดับเพลิงขนาดเล็กให้เข้าไปในชุมชนแออัดได้สะดวก - ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ - ซักซ้อมการป้องกันไฟไหม้ในช่วงเวลา หรือในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ 37

  38. วิเคราะห์ไฟไหม้ วิเคราะห์ระดับโครงสร้าง – ระบบก่อสร้างอาคาร ระบบการเดินสายไฟ ระบบดับไฟ ระบบหนีไฟ ฯลฯ วิธีแก้ไขระดับโครงสร้าง - วางระเบียบผังเมือง วางระเบียบการก่อสร้างอาคาร วางระเบียบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคาร วางระบบหนีไฟ วางวิธีปฏิบัติในการฝึกซ้อมการหนีไฟ/การดับไฟ วางระบบการตรวจตราจุดเสี่ยงหรือช่วงเวลาเสี่ยง วิเคราะห์ความคิดความเชื่อ - ไม่ตระหนัก ความประมาท ฯลฯ ปรับระบบคิด – อาศัยการศึกษาและสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้เรื่องไฟไหม้ การอบรมและฝึกซ้อมเพื่อสร้างนิสัยในวัยเยา 38

  39. วิเคราะห์การก่อการรุนแรงใน จชต. ระดับเหตุการณ์ – ไปถึงที่เกิดเหตุโดยเร็ว จับกุมดำเนินคดีโดยมีหลักฐาน ฯลฯ ระดับแบบแผนพฤติกรรม – เหตุการณ์เกิดบ่อยที่ใด ในเวลาใด ลักษณะของผู้ก่อการ ลักษณะแนวร่วม ลักษณะความรุนแรง อาวุธที่ใช้ เหตุจูงใจ แรงจูงใจ อุดมการณ์ ข้อเรียกร้อง เงินสนับสนุน ฯลฯ ระดับโครงสร้าง – ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ระบบการปกครอง นโยบายภาษา ฯลฯ ระดับความคิดและวัฒนธรรม – การสอนศาสนา ประวัติศาสตร์ ค่านิยมของข้าราชการ พื้นที่ทางสังคมเพื่อถักทอสายสัมพันธ์ ฯลฯ 39

  40. วิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันวิเคราะห์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน ระดับเหตุการณ์ – ป้องกันมิให้การชุมนุมเป็นชนวนความรุนแรง ลดการด่าทอและปฏิบัติการจิตวิทยาทางสื่อ ฯลฯ ระดับแบบแผนพฤติกรรม – การชุมนุมเกิดบ่อยที่ใด ในโอกาสใด ใครคือผู้ชุมนุม ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมแต่ละครั้ง ลักษณะของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พันธมิตร) ลักษณะของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แหล่งที่มาของเงินสนับสนุน บทบาทของพรรคการเมือง บทบาทของข้าราชการ บทบาทของรัฐบาล บทบาทของสื่อมวลชน ระดับโครงสร้าง – รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระบบการเลือกตั้ง การใช้อำนาจตุลาการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ความเหลื่อมล้ำในสังคม ระบบสื่อสารมวลชน ระดับความคิดและวัฒนธรรม – ค่านิยมประชาธิปไตย อำนาจนิยม ธนานิยม ค่านิยมของข้าราชการ พื้นที่ทางสังคมเพื่อการสานเสวนาทางการเมือง ฯลฯ 40

More Related