1 / 17

นักปรัชญาการศึกษา

นักปรัชญาการศึกษา. นำเสนอโดย นายโกศล เลิศล้ำ รหัส 47064820 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. นักปรัชญาการศึกษา. ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี. ประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี. เกิดวันที่ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2459 ที่ จังหวัดภูเก็ต

Download Presentation

นักปรัชญาการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นักปรัชญาการศึกษา นำเสนอโดย นายโกศล เลิศล้ำ รหัส 47064820 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา

  2. นักปรัชญาการศึกษา • ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี

  3. ประวัติ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี • เกิดวันที่ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2459 ที่ จังหวัดภูเก็ต • ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่จังหวัดภูเก็ต • มัธยมศึกษาตอนปลายที่รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย • 2476-2478 โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร • 2478 - 2481 อักษรศาสตร์บัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • 2482 ประกาศนียบัตรครูมัธยม (ป.ม.) • 2491 - 2492 M.A. จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา • 2492 - 2496 PH.D จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา • 2506 จบหลักสูตร ว.ป.อ. จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร • ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2536 รวมอายุ 77 ปี 1 เดือน 13 วัน

  4. บทบาททางการศึกษาไทยของ ศ.ดร.สาโรช บัวศรี • เป็นผู้บุกเบิกในการยกมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง คือให้เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี โท เอก • เป็นผู้บุกเบิกในการยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา (ได้รับการยกฐานะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2496 และมี พ.ร.บ. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497) • เป็นราชบัณฑิตในสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ประเภทวิชา ปรัชญาราชบัณฑิตยสถาน • เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมการศึกษาประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมคนแรก และเป็นนายกสมาคม 2 สมัยติดต่อกัน เพื่อสนับสนุนอาชีพครูและเผยแพร่แนวคิดทางการศึกษา • เป็นผู้นำการศึกษาแผนใหม่หรือการศึกษาแบบพิพัฒนาการ( Progressive Education) มาใช้ในวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเป็นผู้คิดตรา และสีประจำวิทยาลัย ตามแนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการ คือ การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม

  5. ข้อคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี “ปรัชญาการศึกษาเป็นเพียงหน่อซึ่งแตกออกจากปรัชญาเท่านั้นเอง” หมายความว่า ครั้งแรกต้องมีปรัชญาเสียก่อน แล้วต่อมานักการศึกษาเลือกเอาหลักการบางประการจากปรัชญาอันเป็นแม่บทนั้นมาดัดแปลงร้อยกรองขึ้นเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาโดยเฉพาะ แล้วเรียกระบบแห่งความคิดที่สร้างขึ้นนั้นว่า ปรัชญาการศึกษา

  6. ความหมายของการศึกษา • การศึกษาคือ การเจริญงอกงามที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน เนื่องจากได้รับประสบการณ์ ที่เลือกเฟ้นให้แล้วเป็นอย่างดี หรือ คำจำกัดความของการศึกษาสั้น ๆ คือ “การศึกษาคือการงอกงาม” นั่นเอง การศึกษาคือการงอกงามเนื่องจากได้พัฒนาขันธ์ทั้ง 5 ของแต่ละบุคคลเพื่อลดอกุศลมูลให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้

  7. ขันธ์ 5 • รูป ซึ่งตีความหมาย ได้ว่า ร่างกาย • เวทนา ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า คือ ความรู้สึก • สัญญา ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า คือ ความจำ • สังขาร ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า คือ ธรรมารมณ์ทั้งปวง เช่น ความคิดเรื่องสิ่งใดดีหรือไม่ ดี เจตคติ เป็นต้น ซึ่งรวมเรียกว่า ด้านจริยะ • วิญญาณ ซึ่งอาจตีความหมายได้ว่า ความรู้ อกุศลมูล • โลภะ (อยากได้) • โทสะ (คิดประทุษร้าย) • โมหะ (หลงไม่รู้ความจริง) การศึกษาคือการงอกงามเนื่องจากได้พัฒนาขันธ์ทั้ง 5 ของแต่ละบุคคลเพื่อลดอกุศลมูลให้เหลือน้อยที่สุด เท่าที่จะทำได้

  8. ความมุ่งหมายของการศึกษาความมุ่งหมายของการศึกษา พิจารณาได้ดังนี้ • เกี่ยวกับผู้เรียนมุ่งพัฒนา รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้เป็นไปในทางที่ดี • เกี่ยวกับสังคม เนื่องจากทุกคนเป็นสมาชิกของสังคม ดังนั้นต้องมุ่งให้เป็นพลเมืองที่ดี รู้หน้าที่ รู้รักร่วมมือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม • เกี่ยวความคิด ให้คิดเป็น เพื่อปัญหาในชีวิตตนได้ • เกี่ยวกับความร่มเย็นของชีวิตในสังคม มุ่งก่อให้เกิดคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขและร่มเย็น

  9. หัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาหัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา 1. การศึกษาระดับโรงเรียนหรืออุดมศึกษา นั้นตั้งอยู่บนรากฐานบางประการ 2. การศึกษามีปรัชญาเป็นรากฐานในแต่ละประเทศ 3. หลักบางประการของปรัชญา มาร้อยกรองเป็นระบบหรือโครงสร้าง 4. ประเทศที่มีปรัชญาอยู่แล้ว จะสร้างปรัชญาการศึกษาขึ้นใช้ในโรงเรียนของประเทศตน

  10. หัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา(ต่อ)หัวข้อในการคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา(ต่อ) • เกี่ยวกับ “ความหมายของการศึกษา” หรือ “การศึกษาคืออะไร” • เกี่ยวกับ “ ความมุ่งหมายพื้นฐานของการศึกษา” • เกี่ยวกับ “นโยบายพื้นฐานของการศึกษา” • เกี่ยวกับ “วิธีการของการศึกษา” • เกี่ยวกับ “ เนื้อหาของการศึกษา”

  11. พุทธศาสนากับการศึกษาแผนใหม่พุทธศาสนากับการศึกษาแผนใหม่ • พุทธศาสนาเป็นรากฐานของการศึกษา ดังนี้ • ในฝ่ายเนื้อหาของการศึกษา อาจปรับมาจากมรรคมีองค์แปด • ในฝ่ายวิธีการของการศึกษา อาจปรับเอาไว้จากขั้น หรือวิธีการของ “อริยสัจสี่” • ในแง่ของจิตวิทยาแห่งการเรียนรู้อาจปรับเอาได้จากความคิดเรื่อง “ญาณ” ในระดับต่าง ๆ (ระดับสูงสุดของญาณก็คือ “ทศพลญาณ” ของพระพุทธองค์)

  12. มรรคมีองค์ 8 - สัมมาทิฏฐิ - สัมมาสังกัปปะ - สัมมากัมมันตะ - สัมมาวาจา - สัมมาวายามะ - สัมมาอาชีวะ - สัมมสติ - สัมมาสมาธิ

  13. ขั้นทุกข์ (ชีวิตนี้เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง) ขั้นสมุทัย (สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์ได้) ขั้นนิโรธ (การดับทุกข์) ขั้นมรรค (จากการปฏิบัติสิ่ง ต่างๆ ด้วยตนเองแล้วก็ตกลงสรุปผล การกำหนดปัญหา พิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดปัญหาให้ถูกต้องและเหมาะสม การตั้งสมมติฐาน เมื่อเข้าใจในปัญหาโดยรอบแล้วถึงสาเหตุ ลองกำหนดหลักการในการแก้ไขได้ การทดลองและเก็บข้อมูล ทดลองตามที่ตั้งสมมติฐานจนสำเร็จ และจดหรือจดจำผลการปฏิบัติเพื่อจะได้พิจารณาต่อ การวิเคราะห์ข้อมูล จากผลต่าง ๆ ที่จดไว้ในขั้นการทดลองนั้นเพื่อจะได้รู้ว่า สิ่งใดแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ดั่งเดิมนั้นได้ หรือไม่ประการใด สรุปผล อริยสัจสี่

  14. ทศพลญาณ • หมายถึง ญาณที่เป็นกำลังของพระพุทธองค์ 10 อย่าง เช่น • ฐานาฐาณะญาณ ญาณที่รู้ว่าสิ่งใดเป็นไปได้ และสิ่งใดเป็นไปไม่ได้ • นานาธิมุตติกญาณ ญาณที่รู้อัธยาศัยของคนทั้งปวง • บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ • จุตูปปาตญาณ ญาณที่รู้จัก จุติ และปฎิสนธิ ของบุคคลทั้งปวง ฯลฯ

  15. การศึกษาแผนใหม่ • ในเรื่องหลักสูตรการศึกษาแผนใหม่ • ในเรื่องวิธีการสอน • ในเรื่องการสอบ หรือการวัดผลการศึกษาแผนใหม่ • ในเรื่องการบริหารโรงเรียน ใช้การบริหารแบบ ประชาธิปไตย

  16. บทสรุปที่น่าคิดด้านปรัชญาการศึกษาบทสรุปที่น่าคิดด้านปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการศึกษาซึ่งเป็นแต่เพียงหน่อของลัทธิปรัชญาอันเป็นแม่บท ปรัชญาการศึกษาใด เมื่อสร้างขึ้นแล้วก็ต้องคอยปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมอยู่เสมอมิใช่ว่าสร้างขึ้นแล้วก็แล้วไป ดังนั้นการที่ช่วยคิด ช่วยเสนอ ช่วยติง ช่วยเสริม ฯลฯ ย่อมเป็นเรื่องที่ถูกต้องและน่าสรรเสริญอยู่เสมอ ไม่ถือว่าเป็นการ “ยื่นคอให้สับ” แต่ประการใด พุทธปรัชญาหรือพุทธศาสนา มีรากแผ่ซ่านลึกซึ้งลงไปเกือบทุกแห่งทุกมุมของชีวิตคนไทยแล้ว ก็ย่อมจะเกี่ยวพันกับพุทธปรัชญาอันเป็นแม่บทแน่นอน และก็จะเห็นชัดว่าเป็นปรัชญาที่อยู่ลึกในใจคนไทยส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าสร้างปรัชญาการศึกษาขึ้นจากพุทธปรัชญาก็ไม่น่าจะเป็นที่ขัดข้องหรือบกพร่องอะไรมากนัก

  17. จบบริบูรณ์ ขอได้รับความขอบคุณ จากท่านผู้ที่รับฟังการนำเสนอทุกท่าน

More Related